somtawin
นาง สมถวิล somtawin โชติคณาทิศ

โรงเรียนพระยาประเสริฐฯ กับ “การจัดการความรู้ โมเดลปลาทู”


ในการทำ KM หัวใจคือ "ตัวปลา" หรือกระบวนการ ลปรร. ซึ่งจะต้องคู่กับการสะกัด หรือจับประเด็น "หางปลา" หรือ ขุมความรู้ ที่มาจากการ ลปรร. โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเรื่องเล่า

999666

777888

โรงเรียนพระยาประเสริฐฯ  รับการตรวจเยี่ยมจากทีม  ดร. เลขา ปิยะอัจฉริยะ และผู้อำนวยการวัฒนา  อาทิตย์เที่ยง    หัวหน้า "โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้  และทีมKM จาก สพท. กทม. เขต 2   เมื่อวันที่ 11  กันยายน  2549   ในวันนั้น  โรงเรียนพระยาประเสริฐฯนำโดยผู้อำนวยการสมาน  ชื่นอิ่ม  ได้รายงานการปฏิบัติงานตามโครงการ  สรุปประเด็นได้ว่า  หลังเข้าร่วมโครงการ  เราได้ให้ความรู้ การจัดการความรู้  โมเดลปลาทู แบบปูพรมกับคณะครู  และเริ่มมีเรื่องเล่า  ในทิศทาง  ต่อยอดโรงเรียนในฝัน เน้นเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้    โดยกำหนดชุมชนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้และเปิดบล็อกบันทึกเรื่องเล่าไปบ้างแล้ว   วันนั้นเราได้ข้อแนะนำมากมาย  โดยเฉพาะเรื่องการบันทึก  ขอยกข้อคิดเห็นของ  อาจารย์วิจาณ์  พานิช  ท่านเล่าว่าKM มันเป็นแค่เครื่องมือ  มันไม่มีชีวิต     มันจะก่อผลดีก็ได้ ก่อผลร้ายก็ได้    อยู่ที่ผู้ใช้  วิธีใช้  ใช้ทำอะไร     ผมมองว่าผลร้ายที่สุดของ KM คือการที่มันถูกเอาไปเป็นเป้าหมายสุดท้าย     มีการเอาไปอวดกัน ว่า "ฉันทำ KM นะ" แล้วก็จบ     ซึ่งก็จะจบจริงๆ คือหน่วยงานนั้นก็จะเดินสู่ "นรกอเวจี" ไป         สคส. เป็นแค่ "พ่อค้า" เสนอขายเครื่องมือ     ไม่ใช่ผู้ใช้เครื่องมือ     ที่จริง สคส. ไม่ใช่พ่อค้า     เพราะไม่ได้เอากำไรเข้าตัว     หวังกำไรแก่แผ่นดินหรือสังคม     ซึ่งผู้ทำ "กำไร" คือผู้ใช้ "เครื่องมือ" KM นั่นเอง     ไม่ใช่ สคส.          ในการทำ KM หัวใจคือ "ตัวปลา" หรือกระบวนการ ลปรร.    ซึ่งจะต้องคู่กับการสะกัด หรือจับประเด็น "หางปลา" หรือ ขุมความรู้ ที่มาจากการ ลปรร.     โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเรื่องเล่า      ผมเริ่มเห็นอย่างชัดเจน ว่าคนในวงการครูจับประเด็นไม่เก่ง     จับออกมาเป็นประโยคสั้นๆ ไม่ค่อยได้     ถ้าเช่นนี้ การฝึกอบรม KM แก่ครูควรต้องใช้เวลากับการฝึกจับประเด็นให้มาก     ต้องออกแบบกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะนี้     ซึ่งสำหรับคนในอีกบางวงการ อย่างที่ผมไปเห็นที่ รพ. ศรีนครินทร์ จับประเด็นเก่งมาก     ไม่มีความจำเป็นต้องออกแบบฝึกทักษะจับประเด็นเป็นพิเศษ     สคส. เราเริ่มมีความรู้ความเข้าใจ  สามารถจำแนกแยกแยะ "ลูกค้า" ได้มากขึ้นแล้ว   

วิจาณ์ พานิช
๑๖ กย. ๔๙

วันนี้  18  กันยายน  2549  เราประชุมทบทวน  หัวปลาอีกครั้งเพื่อกำหนดแผนงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมขึ้น  สรุปประเด็นได้ว่า  เป้าหมายจะพัฒนาผู้เรียนต่อยอดตามยุทธศาสตร์โรงเรียนในฝัน คือ1.  ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดวิเคราะห์   ôนักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง     ใช้  ICT เพื่อการเรียนรู้     มีนิสัยใฝ่รู้  เรียนเป็น     มีความสามารถคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ 2.  ผู้เรียนมีทักษะการดำรงชีวิต มั่นใจในตนเองôนักเรียนมีทักษะการดำรงชีวิต    มีคุณธรรม    มั่นใจในตนเอง และกล้าแสดงออก 3.   ผู้เรียนมีความเป็นไทย

ôนักเรียนมีความเป็นไทย      มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สืบสาน    ประเพณีศิลปวัฒนธรรม   และภูมิปัญญาท้องถิ่น

 
หมายเลขบันทึก: 50743เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2006 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เต็มไปด้วยสาระค่ะ  ขอบคุณที่นำมาแลกเปลี่ยน  เขียนเรื่อยๆนะคะ จะตามอ่านค่ะ

1.น่าจะมีรูปของครูทุกคน

2.อยากจะบอกว่ารักนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เพลงเพราะ  ค่ะ

ฟังแล้วนึกถึงวันเด็ก.......   วัยเด็ก.......กิจกรรมเด็กๆ......

สวัสดีค่ะ   พี่  เสน่ห์   และคุณนักเรียนห้องครูวันเพ็ญ 6/5

ดีใจที่นักเรียนสนใจบล็อกคุณครู    

คุณครูพี่เสน่ห์คิดถึงนักเรียนค่ะ

ร.ร.ตรงนี้น่าเรียนมากเลยคะคุณครูก็มีแต่คนสวยๆๆทั้งนั้นเลย สะอาดดีปลอดโปร่งดีน่าอยู่น่าเรียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท