สถานการณ์ในประเทศไทย


ธุรกิจเด่นในสถานการณ์ปัจจุบัน

           สถานณ์การที่น่าจับตาสำหรับสังคมไทยในตอนนี้ คือ  การเมืองไทยที่ยังคงวุ่นวายอยู่   ทุกคนกำลังจับตาทิศทางของการเมืองไทย  ว่าจะเป็นไปในทิศทางไหนกัน     รัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาจะแก้ปัญหาใดเป็นปัญหาเร่งด่วน   แต่สำหรับธุรกิจหนึ่งที่กำลังโดดเด่นท่ามกลางความสับสนทางการเมือง  คือ  ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  เพราะในตอนนี้โดยภาพรวมแล้วเติบโตโดยเฉพาะอาคารชุด  ต่างชาตินิยมเข้ามาลงทุนโดยถือหุ้นได้ไม่เกิน 49%  อาคารสำนักงาน  โรงแรมต่าง ๆ มีการก่อสร้างมากขึ้น  เป็นผลสืบเนื่องรัฐสนับสนุนการท่องเที่ยว       ส่วน    ด้านการลงทุน  การซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย  หรือ อาคารชุด   มีการซื้อเพื่อขายหรือปล่อยเช่ากันมากขึ้นโดยเฉพาะในใจกลางเมือง   อาจเพราะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตลอดเวลา 

           อย่างไรก็ตามธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่เป็นรายได้หลักของประเทศ  แต่จะเติบโตสวนทางกับสถานการณ์ไทยในปัจจุบัน  สิ่งที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญคื่อ  การส่งออก   เพราะการส่งออกเป็นรายได้หลักเข้าประเทศ  เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ   ดังนั้นหน่ายงานที่รับผิดชอบโดยตรงน่าจะเป็นกรมการค้าต่างประเทศ   ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในการกำกับดูแล  ส่งเสริม  ปกป้อง  และรักษาประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศ  

            ด้านการลงทุนรัฐได้เตรียมแนวทางที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในระดับต้นของเอเชียภายใต้กรอบประเทศไทยได้รับผลประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง   และการลงทุนเป็นการลงทุนในระยะยาวพอที่จะทำให้ประเทศที่ถูกใช้เป็นฐานการผลิตจากนักการลงทุนต่างถิ่นได้ใช้ประโยชน์จากการศึกษาวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ  ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม   ภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างชาติ   ปัจจุบันการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจากต่างประเทศมีการแข่งขันกันรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  โดยที่ผ่านมารัฐพยายามกระตุ้นด้านการลงทุนด้วยการให้สิทธิทางภาษี  เช่นลดหย่อนอากรนำเข้า  ภาษีเงินได้นิติบุคคล  หากแต่ปัจจุบันกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป  ทำให้อากรขาเข้าเข้ามามีบทบาทน้อยลงสำหรับการลงทุนแบบ  FDI  แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มกลับเข้ามามีบทบาทมากขึ้น  ปัจจุบันประเทศไทยมีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 30%  ในขณะที่คู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนาม  เมเลเซีย  อยู่ที่ 28%  สิงคโปร์ อยู่ที่ 20%  และปัจจุบันมาเลเซีย  ลดลงมาอยู่ที่ 26%  ซึ่งเป็นผลกระทบสำหรับประเทศไทยแน่นอน  แต่การที่ปรับโครงสร้างภาษีใหม่เพื่อดึงดูดการลงทุนเป็นสิ่งที่ต้องคิดให้รอบคอบ สำหรับการลงทุนของต่างประเทศแม้โครงสร้างภาษีจะเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจลงทุนก็จริง  แต่อย่าลืมว่าปัจจัยด้านสาธารณุปโภค และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ก็เป็นส่วนสำคัญ  ดังนี้การที่ไทยมุ่งที่จะปรับโครงสร้างภาษีอย่้างเดียวอาจไม่เป็นผลก็ได้  และอาจมีผลกระทบต่อประชาชนคนไทยโดยตรงอีก  ดังนั้นการปรับโครงสร้างภาษีต้องคำนึงถึงประชาชนในประเทศเป็นหลักสำคัญ

เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคอุตหากรรมไทย

                จากการปฏิรูปการปกครองที่จะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ  ซึ่งกระทรวงอุตสากรรมได้ประเมินสถานการณ์เบื้องต้น  และเข้าใจกับนักลงทุนในต่างประเทศ  หรือหอการค้าในประเทศ  ไม่ว่าจะเป็นหอการค้าญี่ปุ่น  อิตาลี  ฝรังเศส  เยอรมนี  พบว่ามีผลกระทบค่อนข้างน้อย  เกิดภาวะชะงักงันในระยะสั้น ๆ แต่นักลงทุนบางกลุ่มไม่มันใจจึงชะลอการลงทุนไปบ้าง 

1.       การประเมินสถานการณ์อุตสาหกรรมเศรษฐกิจโดยรวม  ทั้งในปีนี้และปีหน้า  ต้นปีมีการขยายการลงทุน  และการส่งออก  ยอดขายนิคมอุตหาหกรรมเพิ่มขึ้น  แนวโน้มเศรษฐกิจขยับไปในทิศทางที่ดี   แต่เมื่อมีการปฏิวัติเกิดขึ้นคงต้องประเมินใหม่ตามนโยบายรัฐบาล

2.       กรณีน้ำท่วม  ภาคอุตสาหกรรม  ที่ได้รับผลกระทบเสนอคปค.  ให้แก้ไขช่วยเหลือ

อย่างไรก็ตามผู้อำนายการเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  กล่าวว่า  ดัชนีการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไปได้ดียังคงเป็นบวกตลอดทั้งปี  ดัชนีเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อน  อัตราการเติบโตของอุตหากรรมยังเพิ่มขึ้นร้อยละ 4-5  ส่งออกอยู่ในอัตราที่ดี 

           

คำสำคัญ (Tags): #ธุรกิจเด่น
หมายเลขบันทึก: 50719เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2006 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท