เลี้ยงโคอย่างพอเพียง


เลี้ยงโคให้เป็นเงินออม อย่ายอมแพ้ธรรมชาติ

การจัดการความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงโคเพื่อมีชีวิตที่พอเพียง

          การเลี้ยงโค เป็นอาชีพเสริมอย่างหนึ่งที่อยู่คู่กับวิถีของชุมชนมาช้านาน  แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปปัจจัยทางธรรมชาติที่ส่งเสริมการเลี้ยงโคของชาวบ้านกลับลดน้อยลง  ฟ้าฝนน้อยลง ป่าไม้ พืชพรรณและแหล่งอาหารของโคถูกรุกรานและทำลาย เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์  ฟางข้าวที่ปล่อยทิ้งตามท้องนามีราคาค่างวด การที่จะตัดสินใจเลี้ยงโคจึงเป็นเรื่องที่ลำบาก  ถ้าหากย้งไม่พร้อมด้วยประการทั้งปวง  โดยเฉพาะเรื่องของการจัดการ การวางแผน ทั้งในเรื่องของต้นทุน  พันธุ์โค  อาหารโค การดูแลรักษา  โดยเฉพาะเรื่องของอาหารนั้นมีความสำคัญในอันดับต้น ๆ  เพราะถึงแม้มีโคพันธุ์ดีแต่ถ้ามีอาหารไม่เพียงพอ  โคก็คงจะสมบูรณ์ไม่ได้

           วิธีการหาอาหารมาเลี้ยงโคให้เพียงพอนั้น  คนเลี้ยงโคต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำ วิธีเลี้ยงเสียใหม่  นั่นคือ

           เลิกหวังพึ่งพาธรรมชาติ  เน้นการพึ่งตนเอง  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในขณะนี้คือ มีเกษตรหลาย ๆ รายที่เห็นว่าหญ้าตามธรรมชาติขาดแคลน ก็สร้างแปลงหญ้าขึ้นมาเอง  ด้วยการเสียสละพื้นที่ที่เคยทำกิน ที่เคยทำสวน ทำนา มาทำเป็นแปลงหญ้า  หรือหาพื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาปลูกหญ้า  เช่น  ตามคันนา ขอบบ่อน้ำ  คันคูขอบคลองส่งน้ำ โดยการเลือกพันธุ์หญ้าให้สอดคล้องกับลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ว่าหญ้าชนิดใดทนแล้งไม่ทนแล้ง  เกษตรกรบางรายมีพื้นที่จำกัด  ก็สร้างแปลงหญ้าแบบประณีต  นั่นคือ  การปรับสภาพดินและให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างเพียงพอกับการเจริญเติบโตในพื้นที่จำกัด อาจใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยด้วยการใช้สปริงเกอร์ให้น้ำเป็นเวลาและสม่ำเสมอ  ซึ่งพบว่า  แปลงหญ้าประณีตนั้น  1  ไร่  สามารถเลี้ยงโค ได้ 5 - 6 ต่อ ต่อปี

          นอกจากการปลูกแปลงหญ้าแล้วเกษตรกรยังสามารถสร้างป่าเพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับโคได้อีก  เพราะป่าตามธรรมชาตินั้นมีต้นไม้และใบไม้หลายชนิดที่สามารถนำมาเป็นอาหารโคได้  ถ้าเกษตรกรมีพื้นที่ว่างเปล่าก็สามารถปลูกป่าเพื่อเป็นแหล่งอาหารโคได้  โดยพยายามปลูกพืชและต้นไม้หลายชนิด ๆ  ที่ให้ประโยชน์ทั้งกับคนและโค เช่น  ตระกูลประดู่ มะค่า จามจุรี อีกทั้งในขณะที่ปลูกไม้ยืนต้นก็สามารถปลูกหญ้าผสมผสานกันไปด้วย 

          ส่วนเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสมที่ปลูกพืชหลากหลายชนิดนั้น ก็สามารถนำสิ่งที่เหลือจากผลผลิตมาเป็นอาหารโคได้  เช่น  ฟางข้าว ใบกล้วย  ใบกระถิน ใบแค  ต้นข้าวโพด ต้นถั่ว  กากถั่ว เศษผัก มันสำปะหลัง ฯลฯ  แต่ผลผลิตเหล่านี้เกษตรกรจะต้องมีอย่างต่อเนื่อง 

         นั่นคือการที่เกษตรกรจะเลี้ยงโคควบคู่ไปการทำการเกษตรนั้นจะต้องปลูกทุกอย่างที่คนและโคกิน  และให้โคกินทุกอย่างที่เราปลูก

         ขอบคุณค่ะ

         พันดา  เลิศปัญญา

         18  ก.ย. 49

หมายเลขบันทึก: 50700เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2006 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
        การเลี้ยงโคก็เหมือนการปรุงอาหาร ครับ ถึงแม้ว่าเราจะมี ทุนมาก วัถุดิบดี อาหารดี  โรงเรือนดี แม่พันธุ์ดี  แต่ถ้าเอาความรู้ ที่ไม่เหมาะสมเข้าไปไส่ ก็จะ ล้มเหลวได้ครับ
ขอบคุณค่ะพี่พงษ์  ตอนนี้พยายามหาความรู้ไปใส่โค ทั้งความรู้ทางวิชาการและวิชาเกินของชาวบ้าน

ผมว่าคุณใช้คำสับสนมาก โดยเฉพาะคำว่า พึ่งหรือไม่พึ่งธรรมชาติ

ผมว่ายังไงเราก็หนีธรรมชาติไม่พ้น ทำไมเราไม่จัดการความรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติเล่าครับ มองเห็นทางหรือยัง เมื่อมองไม่เห็นทางจงเดินช้าๆ นี่เป็นกติกาสากลนะครับ

ขอบคุณค่ะ ท่านอาจารย์แสวง ที่ช่วยชี้ทางให้อีกรอบ จะพยายามเดินช้าลงและตีกรอบมองภาพให้ชัดอีกครั้งค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท