การกีดกัน การศึกษาตามอัธยาศัยหรือการศึกษาตลอดชีวิต ไปสู่ชายขอบความรู้ ตอนที่ 2


 การกีดกัน การศึกษาตามอัธยาศัยหรือการศึกษาตลอดชีวิต ไปสู่ชายขอบความรู้ ตอนที่ 2

เมื่อตอนก่อนกล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้ถูกกีดกัน วันนี้จะมาต่อกัน
ว่าทำไมกระบวนการเรียนรู้แบบนี้ได้ถูกกีดกัน ไปสู่ชายขอบความรู้
การศึกษาตามอัธยาศัยหรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่ได้ใช้งบประมาณ
อะไรมากมาย แค่อ้างอิง การใช้ทรัพยากรของการศึกษาสองอันดับแรก
ก็มีทรัพยากรเหลือเฟือแล้ว  ไม่รวมพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้เอกชน
อะไรที่ไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงไม่มีคนสนใจที่จะอยากทำ
คนมักสนใจทำอะไรที่ใหญ่ ๆ มีงบประมาณเยอะ ๆ มีรูปแบบวูบวาบ น่าสนใจ
แต่ไม่เข้าสู้การเรียนรู้จริง ๆ นั่นก็คือความสนใจของนักวิชาการ  ที่สร้างรูปแบบ
ให้จำกัดแค่หน้าที่ในห้องเรียน แค่กระบวนการเรียนของครูต่อนักเรียน
คนที่อยู่ระดับสูงก็จ้องเก็บแต่ ตัวเลข ผลการสอบจากการท่องจำ เพื่อจะได้
โฆษณาว่า โปรเจคนี้  มีความก้าวหน้า ถูกต้อง และดีแล้ว


ที่สำคัญ การศึกษาตามอัธยาศัย ไม่มีใครจัดได้  นอกจากผู้เรียน แบบนี้จึงไม่มีคน
ที่จะเป็นตัวแทนให้ การศึกษาเรียนรู้รูปแบบนี้จริง ๆ ก็อยู่ในชีวิตผู้คนอยู่แล้ว
เพียงแต่กระตุ้น  ให้ความสำคัญ ผ่านสื่อต่าง ๆ ให้เห็นพลังและความสำคัญ
หาเวที  หาช่องทางจากอินเตอร์เนต  ในการนำเสนอ จะพบว่ามีการจัดการความรู้
อย่างมากมายมหาศาล โดยเฉพาะชุมชนชาวบ้าน ขบวนการปราชญ์ชาวบ้าน
ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมอีกมากมาย  คนกลุ่มใหญ่ขนาดนี้ไม่มีปริญญา
แต่มีปัญญา  บางคนไม่ได้เรียนหนังสือ แต่ได้เรียนรู้และประสบความสำเร็จ
มีมากมาย  ต้องพิมพ์หนังสือให้เห็นได้ชัดเจน ถอดบทเรียนและประสบการณ์
ว่าเขาทำได้อย่างไร เขาคิดอย่างไร
 ยุคสมัยที่วิทยาศาสตร์ครอบงำสรรพสิ่ง  การศึกษาในรูปแบบก็รับเอาวิธีคิด
แบบวิทยาศาสตร์แบบเดิม ๆ เข้ามา คือ คนที่ฉลาดทางปัญญาต้องวัดด้วย
ตรรกะความคิด  จึงเกิดรูปแบบการวัดไอคิวเกิดขึ้น และก็สรุปอย่างบิดเบี้ยว
ในสังคมของอเมริกันยุคนั้นว่า คนขาวฉลาด คนดำโง่  เพราะข้อสอบไอคิว
ผลิตโดยคนผิวขาว และเหตุการณ์บริบทของคนผิวขาว
ต่อมาวิทยาศาสตร์ยุคใหม่เจริญขึ้นมีการศึกษาวิทยาการของสมองและปัญญา
โฮวาร์ด  การ์ดเนอร์   ได้นำเสนอปัญญาที่แตกต่างหลากหลายถึงแปดรูปแบบ
ซึ่งก็ขัดกับระบบการเรียนรู้ในรูปแบบ ที่มีปัญญาเพียงระบบเดียวคือ
ระบบตรรกะทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งก็เป็นตัวชูโรงของยุคคลาสสิคทันสมัย
ปัญญาระบบนั้นก็คือ ระบบการท่องจำแล้วนำไปสอบ  ใครสอบได้สิบหรือ
ยี่สิบเปอร์เซ็นต์ของห้องนั้นเก่ง  ใครเรียนวิทย์แล้วฉลาด  ใครเรียนศิลป์นั้นโง่
การกีดกันคนที่ฉลาดทางการกีฬา  ดนตรี ศิลปะ  ออกจากระบบการศึกษา
คนที่ฉลาดทางกีฬา ดนตรี ศิลปะ มักจะเป็นคนระดับกลาง ๆ ในโค้งปกติ
หากได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต อาจทำเขาเป็นอัจริยะด้านนั้น ๆ

ไอน์สไตน์  เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดเกี่ยวกับปัญญาชนิดนี้ การที่ไอน์สไตน์เป็นที่รู้จัก
ก็เพราะยุควิทยาศาสตร์คลาสสิค ทันสมัย ที่ครอบงำโลกอยู่ เขาจึงเป็นที่รู้จักในนาม
ของอัจริยะทางวิทยาศาสตร์  ทั้งที่เขาถูกประณามว่าโง่ และ ไม่สามารถเรียนจบได้
เขาเรียนไม่จบที่ประเทศเยอรมัน ต้องไปเรียนมัธยม และปริญญาที่สวิสเซอร์แลนด์
วิชาทางศิลปศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นภาษา วรรณกรรม เขาไม่ถนัดและสอบตบด้วยซ้ำไป

การที่การศึกษาที่นิยมกันมีเพียงระบบเดียว และไม่เข้าใจในปัญญาที่แท้จริง
ว่าไปแล้วก็เป็นการลงทุนที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ทีได้คนแค่สิบหรือยี่สิบเปอร์เซ็นต์
และเป็นคนที่ถนัดด้านตรรกะ คณิตศาสตร์  เข้ามาเป็นชนชั้นนำในสังคม  ทิ้งคนที่มี
ปัญญาอีกเจ็ดอย่างเอาไว้ท้าย ๆ   หากใช้การศึกษาตามอัธยาศัยที่ก่อรูปขึ้น
อาศัยพรหมวิหารทั้งสี่  เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา  ที่จะเข้าใจความแตกต่างของมนุษย์ ว่ามนุษย์นั้นมีความแตกต่างกันทุกด้าน ดังนั้นจะมีมีวิธีการอย่างหลากหลาย
รวมกลุ่มกัน เสริมพลัง หาแหล่งความรู้ แหล่งการพัฒนา ตามความถนัดของเขา
ให้เรียนรู้อย่างมีความสุข อย่างถนัด และ มีศักดิ์ศรี มีคุณค่า  แม้จะไม่ได้ใบอะไรสักใบเดียว
แต่เขาได้ทักษะปัญญาที่เขาต้องการเรียนรู้ 

ถ้าไม่ทำอย่างนี้แล้ว วิกฤติปัญหาต่าง ๆ จะรุนแรง สะสมเพิ่มมากขึ้น
ยกตัวอย่าง ปัญหาด้านสาธารณสุข การรวมศูนย์อำนาจของการบริหารความรู้ของสาธารณสุข
ทำให้คนป่วยพึ่งพาโรงพยาบาลมากขึ้น จะเห็นได้ว่ามีคนล้นโรงพยาบาล ทำให้แพทย์
และพยาบาลของรัฐทำงานอย่างหนักและเหนื่อยมากขึ้น   โรคเรื้อรังบางอย่างเช่นมะเร็ง
องค์ความรู้ของแพทย์วิทยาศาสตร์  ไม่สามารถจัดการให้หายขาดเหมือนกันโรคที่เกิดจาก
เชื้อโรคได้  หลายคนได้พึ่งตนเองในการรักษาพยาบาล ยกตัวอย่างปรากฎการณ์หมอเขียว
ที่ฟันธงว่า  หมอที่ดีที่สุด คือ ตัวคุณเอง

สำหรับการศึกษาก็เช่นกัน  สักวันหนื่งก็จะมีคนพูดว่า
ครูที่ดีที่สุด คือ  ตัวคุณเอง  และคนจะหันมาใช้การเรียนรู้ตลอดชีวิตหรือตามอัธยาศัย
เป็นเครื่องมือในการพึ่งตนเองในการเรียนรู้


 

หมายเลขบันทึก: 505447เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2012 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ตุลาคม 2012 06:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ถูกต้องค่ะ ไม่ต้องไปจ้างติวที่ไหนด้วย ถ้าแค่ 60 %ของเด็ก เป็นครูของตนเอง......ไม่อยากคิด ปัจจัยสำคัญคือ พ่อ แม่ ยังเข้าใจผิด

บางท่านพูดว่า อยากกลับไปสอนลูกใหม่ ลืมสอนทักษะชีวิตให้ลูก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท