ประสิทธิภาพดีกว่าจริงหรือ


ผมเชื่อว่าที่เมืองไทยสมัยหนึ่งก็มีองค์กรต่างประเทศมองเราแบบนี้

มาเล่าเรื่องเมืองเขมร และความรู้ที่ผมได้จาก เพื่อนร่วมทีมประเมินของผมต่อ

 

อย่างที่เคยบอกไว้ คุณเจมส์เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ชอบเล่นกับตัวเลขมาก เขาเอายอดงบประมาณที่ทางรัฐบาลเขมรกับนานาชาติใช้ไปในการสนับสนุนระบบบริหารภาครัฐของเขมร ส่วนที่เกี่ยวกับเรือง สุขภาพเด็กมารวมกัน แล้วเทียบดูกับจำนวนผู้มารับบริการผู้ป่วยนอกที่สถานบริการภาครัฐทั้งหมด

พบว่า มีคนไข้ทั้งหมด ปีละ 3.3 ล้านคน โดยใช้เงินไปทั้งสิ้น 107 ล้านเหรียญ

เสร็จแล้วเขาก็ไปดูตัวเลขของ รพ ที่รัฐบาลสวิสสร้างให้ แต่ทุกวันนี้ใช้เงินจากผู้บริจาคชาวสวิส เป็นส่วนใหญ่

รพกลุ่มนี้มีทั้งหมด 4 โรงอยู่ในพนมเปญ 3 โรง อยู่ที่เสียมเรียบ 1 โรง ทั้งหมดดูคนไข้เด็ก รวมกันปีละ เกือบ 1 ล้านคน ใช้เงินรวมกัน 17 ล้านเหรียญ

บวกลบคูณหารแบบง่ายๆ จะพบว่าระบบบริการรัฐทั้งหมด มีประสิทธิภาพตำ่กว่า รพ กึ่งเอกชน 4 โรงที่ว่ามา เพราะค่าใช้จ่ายต่อหัวเด็กๆที่มรรับบริการ ต่างกันอยู่เกือบเท่าตัว

แต่พอเราเอาตัวเลขที่ใช้ในส่วนกลางไปลบออก ซึ่งตกราว 65% ของยอดเงิน 107 ล้าน ก็จะพบว่า ที่จริงแล้ว ส่วนภูมิภาคของ ภาครัฐ ใช้เงินไป 38 ล้าน เพราะฉะนั้นในแง่ค่าใช้จ่ายต่อหัวก็ตำ่กว่าโรงพยาบาล 4 โรงที่ว่ามา

ดูแล้วก็ตกใจว่า ทางส่วนกลางใช้เงินไปตั้งมากมาย เหลืออกไปให้บริการในส่วนภูมิภาคนิดเดียว 

ถ้ามองในแง่ไม่ดีก็บอกว่าขาดประสิทธิภาพ ส่วนกลางกินเงินไปหมดทั้งที่บริการอยู่ที่ข้างนอก

มองในแง่ดีหน่อยก็บอกว่า หน่วยสนับสนุนที่ส่วนกลางจะให้เล็กกว่านี้คงไม่ได้ เพราะฉะนั้นแปลว่าเงินที่ใส่เข้ามาในระบบ ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน ถ้าใส่มากกว่านี้ จะส่งไปข้างนอกได้ดีขึ้น และจะทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้น

ข้อโต้แย้งจากบรรดา องค์กรต่างประเทศก็บอกว่าไม่จริงหรอก ใส่เข้าไปอีกก็จะถูกดูดไว้ที่ส่วนกลางอีก สัดส่วนที่ถูกดูดอาจจะแย่กว่านี้อีก เพราะมีระบบซับซ้อนที่จะมาคอยดูดแย่งไอติม จนเหลือแต่แท่งไม้ไอติมเวลาไปถึงบ้านนอก

เวลาเจอแบบนี้ และต้องคอยความเช่วยเหลือจากภายนอกที่ช่วยไประแวงไป มันน่าหงุดหงิดจริงๆเลยนะครับ

ผมเชื่อว่าที่เมืองไทยสมัยหนึ่งก็คงมีพวกองค์กรต่างประเทศพูดคล้ายๆกัน ยิ่งเห็นรัฐบาลเผด็จการทหารก็ยิ่งเม้าท์กันสนุกปากแน่ๆ 

หมายเลขบันทึก: 50518เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2006 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Economy of scale ไว้ใช้กับระบบที่โปร่งใสครับ ยิ่งขนาดใหญ่ ยิ่งประหยัด

แต่ถ้าระบบไม่โปร่งใส economy of scale จะกลายเป็นตัวดึงดูดให้เกิดการคอร์รัปชั่น (=คุ้มที่จะหาทางเข้าไปโกงโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำลง)

ในกรณีที่ไม่สามารถนิยามความโปร่งใส ผมกลับมองว่า ควรลืมคำว่า economy of scale แล้วหันไปเน้น economy of variety แทน

นั่นคือ ควรทำให้เล็ก แต่ต้องสามารถปรับตัวได้อย่างคล่องตัว แล้วแข่งขันกันเองในระบบประเมินที่เป็นกลางและเชื่อถือได้ ในเชิงของระบบที่โปร่งใส ใครทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ย ก็ทำให้โตขึ้น ใครทำแย่กว่าค่าเฉลี่ย ก็ทำให้เล็กลง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท