บันทึกรูปแบบงานวิจัยและเครื่องมือวิจัย


บันทึกรูปแบบงานวิจัยและเครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตรศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา...ก่อนสอบวิชาสัมมนา

            จากการศึกษา (อ่านแล้ววิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้) งานวิจัยทางวิทยาศาสตรศึกษาเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี พบว่ารูปแบบงานวิจัยภายในประเทศไทยเป็นรูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณ (ยังไม่พบที่เป็นรูปแบบอื่น) แต่งานวิจัยในต่างประเทศกลับพบรูปแบบงานวิจัยที่หลากหลายทั้งรูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสานวิธีวิทยา แต่สิ่งที่น่าสนใจในความแตกต่างในงานวิจัยของไทยและต่างประเทศที่น่าสนใจ คือ งานวิจัยของไทยขั้นการสร้างนวัตกรรม/สื่อการเรียนรู้ จะมีรูปแบบวิจัยและพัฒนาแทรกอยู่ในงานวิจัยด้วย (มีรายละเอียดการพัฒนาสื่อ/นวัตกรรม และทดลองปรับปรุงกับกลุ่มตัวอย่างซ้ำก่อนนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริง) ขณะที่งานวิจัยในต่างประเทศจะไม่กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาสื่อหรือนวัตกรรม (จะบรรยายหรือยกงานวิจัยมาอ้าง) เหมือนกับแยกงานวิจัยในส่วนการพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมเพื่อตีพิมพ์ต่างหากกับส่วนที่เป็นผลของการนำสื่อ/นวัตกรรมไปใช้

            การใช้สถิติในการวิจัยของงานวิจัยในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้สถิติพรรณนาแต่ไม่ได้อธิบายหรือนำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ กล่าวคือ ไม่ได้ใช้สถิติพรรณนาในการอธิบายบริบทของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งต่างจากงานวิจัยของต่างประเทศที่ใช้สถิติพรรณนาช่วยในการอธิบายบริบทของกลุ่มตัวอย่างประกอบการพิจารณาผลการวิจัย และในส่วนของสถิติอ้างอิงจากการศึกษารูปแบบงานวิจัยในประเทศไทยพบว่ามีการใช้สถิติรูปแบบเดียวกันทั้งหมด เป็นการทดสอบค่าที (t-test) และมีบางส่วนที่เพิ่มเติมการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อควบคุมตัวแปร ในขณะที่งานวิจัยในต่างประเทศใช้สถิติที่หลากหลาย โดยเลือกสถิติตามบริบทของสิ่งที่ศึกษา รวมทั้งการนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาพิจารณาประกอบผลการวิจัยอีกด้วย

            ดังนั้นหากผู้วิจัยต้องการทำวิจัยด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาในอนาคต ควรพิจารณารูปแบบงานวิจัยและเครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตรศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้เหมาะสม เพื่อการก้าวทันโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา

หมายเลขบันทึก: 504855เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 01:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท