ลปรร. เรื่องการจัดการความรู้ ของกองทันตฯ (6) ... KM กับงานกลุ่มผู้สูงอายุ ... ว่าด้วยเรื่องหัวปลา


ผู้สูงอายุมีหลายลักษณะ อาจจะเป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรง หรือช่วยตัวเองไม่ได้ หรือนอน complete อยู่ที่บ้าน แต่ว่าพอมาคุยกันแล้ว และจะมาเริ่มกิจกรรม เราก็บอกว่า เราก็ต้องเริ่มที่ผู้สูงอายุที่แข็งแรงก่อน

 

ทพญ.วรางคนา เวชวิธี ... หมออ้อย ได้เล่าเรื่อง การใช้การจัดการความรู้ ในงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ

เริ่มแรกกันก่อนที่ว่า ... ก่อนที่จะทำ ก็ได้คิดก่อนว่า เราจะทำเรื่องอะไร ...

เรื่องของผู้สูงอายุ เดิมทีเดียวเริ่มมาจากฟันเทียม (... ซึ่งกำลัง Hot hit อยู่ในปัจจุบัน เพราะว่า โครงการนี้เป็นโครงการเทิดพระเกียรติ ทุกหน่วยงานด้านทันตสาธารณสุขทำกันทั่วประเทศไทยนะคะ ...) ซึ่งฟันเทียมก็เป็นการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุวิธีหนึ่ง แต่ด้วยข้อจำกัดการทำ การให้บริการซึ่งสามารถครอบคลุมได้ค่อนข้างน้อย และเรื่องฟันเทียมก็ไม่เหมือนฟันธรรมชาติ จึงมีผู้สูงอายุอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เป็นจำนวนมากกว่าผู้ที่ต้องการใส่ฟันเทียม ซึ่งต้องการการดูแล ซึ่งอาจด้วยตัวเอง หรือด้วยตัวบุคลากร ให้มีฟันใช้งานได้ ปราศจากความเจ็บปวด เราจึงมองที่ ทำยังไงกลุ่มผู้สูงอายุจึงจะสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองได้

จะเริ่มอย่างไร ... เพราะเดิมทีเดียวเราก็ไม่แน่ใจว่า มีใครทำโครงการนี้บ้างหรือเปล่า หรือมีกิจกรรมนี้อยู่ที่ตรงไหน เพราะว่าโดยมากแล้วในผู้สูงอายุแล้ว ถ้าพูดถึงการสร้างเสริม หรือการดูแลก็จะส่ายหน้ากันในส่วนใหญ่ เพราะเหมือนกับว่า จะช้าเกินไปหรือเปล่า?

เราจึงมาเริ่มรวมกลุ่มกัน โดยเริ่มจากความต้องการจัดการความรู้ในเรื่อง "ทำให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้เอง" ... จะว่าไปแล้ว นี่ก็คือหัวปลาใหญ่ของงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุละค่ะ

และก็เริ่มจากที่จะเริ่มยังไง ที่ไหน โดยเชิญผู้รู้ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ ผู้ที่อาจจะเริ่ม หรืออยากจะเริ่มงานสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ มาคุยกัน ก็จะมี กองทันตฯ สำนักส่งเสริมสุขภาพ (นวก. และแพทย์) และศูนย์อนามัยที่ 4, 5 และ 10  ซึ่งบางศูนย์เป็น excellent center ของงานสูงอายุ บางศูนย์มีความสนใจ และเชิญ นวก. ที่ทำงานด้านสูงอายุ ทันตบุคลากร มานั่งคุยกันรอบแรก
ตรงนั้นเรามาแลกเปลี่ยนกันว่า แต่ละคน คนที่ทำงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เขามีประสบการณ์ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุอย่างไร พอจะรู้ธรรมชาติของผู้สูงอายุ ว่า ผู้สูงอายุจะทำกิจกรรมอะไรได้บ้าง แล้วเขามีความรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง

ผลสรุปเราได้ความรู้มาจากการจัดกิจกรรมครั้งแรก คือ ผู้สูงอายุมีหลายลักษณะ อาจจะเป็นผู้สูงอายุที่แข็งแรง หรือช่วยตัวเองไม่ได้ หรือนอน complete อยู่ที่บ้าน แต่ว่าพอมาคุยกันแล้ว และจะมาเริ่มกิจกรรม เราก็บอกว่า เราก็ต้องเริ่มที่ผู้สูงอายุที่แข็งแรงก่อน

ก็มาถึงที่ แล้วผู้สูงอายุกลุ่มที่แข็งแรงอยู่ที่ไหน ก็บอกว่า ถ้าเป็นกลุ่มเป็นก้อนก็ต้องเป็นชมรม ... สุดท้ายได้ข้อสรุปออกมาว่า เราจะเริ่มให้เกิดกิจกรรมพวกนี้ในผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุที่แข็งแรงก่อน ก่อนที่จะขยายไปจุดอื่นๆ ต่อไป ... นี่เป็นครั้งแรก

 

หมายเลขบันทึก: 50450เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2006 07:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท