ชื่นชมภาคี KM ภาคราชการ : กรมสุขภาพจิต


ชื่นชมภาคี KM ภาคราชการ  : กรมสุขภาพจิต

         สคส. กำลังรวบรวมหน่วยงานที่มี KM เด่น ส่งให้แก่ทีม Panel Review    เพื่อประเมินผลงาน และกำหนดอนาคตของ สคส.     จึงนำมาเผยแพร่ด้วย     ข้อเขียนนี้เขียนโดยคุณอ้อ

1. ผลงานด้าน KM โดยสรุปขององค์กรนี้
 - ปลายปี 2548  กรมสุขภาพจิต  ได้เลือกตั้งเป้าหมาย (Knowledge Vision) การทำ KM  ของกรมไว้ใน 2 เรื่องใหญ่   คือ  สุขภาพจิตชุมชน   และ  สุขภาพจิตภัยพิบัติ     หลังจากการจัด  Workshop สร้าง “คุณอำนวย” จัดการความรู้ แล้ว  กรมสุขภาพจิต ได้เริ่มขยายและผลักดันการทำ KM ในหน่วยงานย่อยต่างๆ ที่สังกัดกรม   มีการจัด KM สัญจร ไปตามศูนย์ภูมิภาคต่างๆ 

 - ประเด็นเรื่องย่อยต่างๆ  ที่นำ KM ไปใช้  เช่น ความอยู่ตัวภายใต้ภาวะวิกฤต (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้), การจัดการความรู้ในการเลี้ยงดูลูก, การป้องกันการฆ่าตัวตาย, การดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน, การช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ,  คู่มือหรือเทคโนโลยีที่ใช้กับสุขภาพจิตชุมชนต่างๆ ,  งาน Call Center (โทร. 1323) ให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพจิตแก่ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการนำ KM ไปใช้ในการพัฒนาทักษะของบุคลากรในกรม  เช่น  การพัฒนาการเป็นวิทยากรถ่ายทอด 

 - ปี 2549 กรมสุขภาพจิต  สามารถรวบรวมคลังความรู้ ที่ได้จากการทำจัดการความรู้  ได้มากมาย (รวบรวมขุมความรู้ Explicit Knowledge สุขภาพจิตชุมชน ได้ถึง 297 รายการ,  สุขภาพจิตภัยพิบัติ  ได้ถึง 55 รายการ  และ ขุมความรู้ที่เป็น Explicit Knowledge ที่ถอดมาจาก Tacit Knowledge เรื่องสุขภาพจิตชุมชน และสุขภาพจิตภัยพิบัติ ได้อีกมากมาย)
 
2. งาน KM ส่วนที่ สคส. เข้าไปสนับสนุน (เช่นเดียวกับกรมส่งเสริมการเกษตร และกรมอนามัย)

        - สคส. ไม่ได้ให้เงินทุนสนับสนุนการทำ KM ของกรมเลย     กรมใช้งบประมาณของกรมทั้งหมด
        -  สคส. เป็นที่ปรึกษาแนวทาง และ เป็นวิทยากรจัด Workshop การจัดการความรู้  ให้ในช่วงเริ่ม  2 – 3 วัน (พ.ย. 2548)   และ  สคส. ถือว่า กรมสุขภาพจิต เป็นเพื่อนภาคีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ สคส. และช่วยขยาย “การจัดการความรู้” สู่สังคมไทย    โดย กรมฯ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมงานกับ สคส. อย่างต่อเนื่อง ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น ทางโทรศัพท์, เวทีประชุมภาคีการจัดการความรู้ ภาคราชการ, มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ,   ตลาดนัดความรู้สุขภาพจิตดี ของกรมสุขภาพจิต    

3. งาน KM ขององค์กรนี้ ขณะนี้ดำเนินงานอยู่ในระดับใด
       การจัดการความรู้ ของกรมสุขภาพจิต  มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาถึงปัจจุบัน และคาดว่าจะก้าวหน้าต่อไปอีกในอนาคต     โดยมี  รองอธิบดีวชิระ   เพ็งจันทร์  ซึ่งเป็น Chief  Knowledge Officer (CKO) ของกรม  ให้ความใส่ใจในการสนับสนุนให้มีการนำ KM ไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ ของกรม ในหลายช่องทาง     มีการจัดตลาดนัดความรู้สู่สุขภาพจิตดี (22 ส.ค. 2549)  ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของชาวกรมสุขภาพจิตที่มาจากศูนย์/ รพ. ต่างๆ   มานำเสนอผลงานที่เอา KM ไปใช้  และจัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นสำคัญ  เช่น งานบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย, การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นต้น       

4. ทำให้เกิด  Health Impact  และ well-being Impact  อย่างไร
       การนำ KM เข้าไปในงานหลักของกรมสุขภาพจิต  คือ สุขภาพจิตชุมชน   และ  สุขภาพจิตภัยพิบัติ  ส่งผลถึง สุขภาวะใจ  สุขภาวะชุมชน/ สุขภาวะชุมชน  และสุขภาวะจิตวิญญาณ  (well-being Impact)  แก่ผู้รับบริการ หรือ ประชาชน โดยตรง     และมีผลต่อความสุขในการทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกับหน่วยงานอื่นๆ ที่ทำ KM ด้ผลดี

5. แนบเอกสารเกี่ยวกับ KM ขององค์กรนี้เท่าที่มีมาพร้อมด้วย
 - http://mhtech.dmh.moph.go.th/km1/

6. ชื่อบุคคล สถานที่ และที่ติดต่อ 
       - คุณสมพร     อินทร์แก้ว    และ   คุณภัคนพิน   กิตติรักษนนท์     สำนักงานพัฒนาสุขภาพจิต   กรมสุขภาพจิต   กระทรวงสาธารณสุข  ถ.ติวานนท์   อ .เมือง จ.นนทบุรี   11000    โทร 0-2590-8176    [email protected] 

หมายเหตุ การทำงานของ สคส. ในภาคราชการ

        การทำงานส่งเสริมการจัดการความรู้ ของ สคส. ในภาคส่วนราชการ     สคส. จะเข้าไปผลักดันในจุดเล็กๆ (สคส. ทำงานให้น้อยที่สุด)  แต่เห็นว่าเป็นจุดสำคัญ (จุดคานงัด) ที่จะกระตุ้นให้องค์กรราชการได้มีการนำ KM ไปขยายใช้ต่อไปเรื่อยๆ    โดย องค์กรราชการ นำ KM เข้าไปใช้ในงานประจำของตนเองเพื่อพัฒนา และมีความเป็นเจ้าของ KM และเจ้าของงานอย่าง 100% เต็ม         และ สคส. จะทำหน้าที่เป็นเพียงตัวจักรเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างองค์กรราชการเหล่านั้น (เป็นมิติเชื่อมโยงเครือข่ายที่สูงขึ้นอีกระดับ)
       เป็นการใช้พลังอันน้อยนิดของ สคส.  เพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่สังคม

วิจารณ์ พานิช

๑๗ กย. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 50447เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2006 07:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท