เสวนาเวทีผู้นำประชาคมกระบวนการยุติธรรมจังหวัดตาก


รวมพลังสร้างเครือข่ายและคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนจังหวัดตาก

                เมื่อ 12 กันยายน ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญเข้าร่วมเสวนาเวทีผู้นำประชาคมกระบวนการยุติธรรมจังหวัดตาก "รวมพลังสร้างเครือข่ายและคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชนจังหวัดตาก" ที่โรงแรมเวียงตากริฟเวอร์ไซต์ ห้องเวียงปิง ซึ่งผมเองติดภารกิจบรรยายการพัมนาคุณภาพโรงพยาบาลของ สสจ.แพร่ในช่วงบ่าย แต่ทางผู้จัดโดยสำนักงานยุติธรรมจังหวัดตากและการประสานของพี่เป้หรือคุณประพจน์ ศรีเทศ ผอ. สนง.ศาลจังหวัดตาก ได้โทรมาประสานว่าขอไปร่วมสักนิดหนึ่งก็ได้ ผมก็ตัดสินใจไปร่วมและต้องออกจากตาก 4 โมงเช้าเพื่อจะไปทันบรรยายที่แพร่ในช่วงบ่ายโมงตรง

                กิจกรรมมี 2 ภาค เช้าเป็นการเสวนาและบ่ายเป็นกิจกรรมกลุ่ม โดยผมต้องเป็นวิทยากรร่วมเสวนาในช่วงเช้ามีวิทยากร 8 คนคือท่านเจริญวิทย์ เกื้อทิพย์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตาก คุณศักดิ์ชาย รวยดี หัวนหาสำนักงานยุติธรรมจังหวัดตาก ผม คุณสุชาติ ตรีวัฒนา ผู้พิพากษาสมทบและอดีตประธานหอการค้าตาก คุณวีระ จุฑาคุปต์ ประนสภาทนายความตาก คุณเพลินใจ เลิศลักขณาวงศ์ ผู้นำประชาคมแม่สอด คุณสบเกษม  แหงมงาม สื่อมวลชนอาวุฌสตาก ดำเนินรายการโดยคุณเป้

                 ผมได้เริ่มเสวนาก่อนเพราะกว่าจะเริ่มก็เกือบ 10 โมงเช้าแล้ว กว่าจะพูดเสร็จก็เกือบ 10.30 น. และพูดจบผมก็ต้องรีบเดินทางไปแพร่เลย จึงไม่ได้ร่วมฟังและร่วมสนทนากับวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุม

                ประเด็นที่ผมพูดเริ่มจาก.......

                การพูดถึงสุขภาพในแง่มุมที่กว้างที่ต้องมีสุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ สังคม และเชาว์ปัญญา ซึ่งประชาชนไม่ควรจะมองเรื่องสุขภาพแค่ยา หมอ โรงพยาบาลเท่านั้น หากมองแต่นี้ไม่ใช่สุขภาพแต่เป็นทุกขภาพ สุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจมีการพูดคุยกันมากมานานแล้ว ส่วนสุขภาพทางสังคมนั้นแม้พูดกันแต่ยังไม่มีความชัดเจนนัก ในขณะที่ทุกขภาวะทางสังคมเกิดขึ้นมากและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ  ครอบครัว ที่เป็นหน่วยเล็กที่สุดของสังคมแต่สำคัญที่สุดในโลก ถูกกระทบและทำลาย ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก เยาวชนและคนทุกวัยอย่างมาก จนทำให้เห็นว่าขณะนี้สังคมไทยกำลังป่วยด้วยโรคที่ร้ายแรงและน่ากลัวเหมือนกับที่คนเราเจ็บป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์(AIDS) ซึ่งผมฝใช้คำว่าสังคมบ้านเราป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันทางสังคมบกพร่องหรือSocial Immunodeficeincy syndromesหรือSIDS ซึ่งเคยเขียนรายละเอียดลงในหนังสือพิมพ์มติชนแล้ว

                หากมองมาที่เด็ก เยาวชน จะพบว่ามีการกระทบต่อสุขภาพของเด็ในทั้ง 4 มิติ(ที่เรียกว่าองค์รวม)

                ทางด้านร่างกาย เด็กถูกทารุณกรรม ล่วงละเมิดทางเพศ ถูกปล่อยให้อดอาหาร หรือปล่อยให้กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์

                ทางจิตใจเด็กถูกปล่อยให้อยุ่กับคนรับใช้ สื่อ ทำให้ขาดความอบอุ่นจากพ่อแม่ จิตใจอ่อนแอ ตกเป็นทาสยาเสพติด เกิดเซ๊กซ์ก่อนวัยอันควร ท้องโดยไม่ได้ตั้งใจ 

                ทางด้านสังคม เด็กขาดกระบวนการขัดเลกาทางสังคม(Socialization)ที่ดี ที่เหมาะกับความเป็นอยู่ ทำให้เด็กเอาแต่ใจตนเอง รอไม่เป็น ทำอะไรไม่เป็น อยุ่ในภาวะพึ่งพิงสูงขึ้น เข้ากับคนอื่นยาก ผิดหวังไม่เป็น

                 ทางด้านเชาว์ปัญญา ขาดความรุ้เท่าทันโลกและสังคม จึงมืดบอดทางปัญญา ตกลงไปสุ่กับดักหรือหลุมพรางแห่งความไม่ดีของสังคมได้ง่าย ระบบการศึกษาสอนให้จำมากกว่าคิด การเรียนรุ้ที่แท้จริงไม่เกิดขึ้น ทำให้ไม่สามารถเอาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

                จากปัญหาที่กระทบต่อเด็ก เยาวชนดังกล่าว ก็ทำให้เด็กเกิดทุกขภาวะ หรือไม่มีสุขภาวะ ที่กระบวนการยุติธรรมสามารถที่จะเข้ามาเป็นหมอสังคม ที่จะช่วยกันป้องกันแก้ไขปัญหาเหล่านี้ที่เกิดแก่เด็กและเยาวชนได้ โดยผมได้เสนอไว้ 2 แนวทาง คือ

1.  กระบวนการยุติธรรมเชิงรับ เป็นการเข้าไปช่วยสรางสุขภาวะหรือกอบกู้สุขภาวะให้กลับคืนมา หรือเป็นการรักษาหรือฟื้นฟูสภาพเช่นการช่วยเยียวยาผู้ที่ถูกทารุณกรรม(Child abuse) หรือล่วงละเมิดทางเพศ ถูกข่มขืน แก้ไขและฟื้นสภาพความพิการเช่นสมองพิการแต่กำเนิด ปัญญาอ่อน ออทิสติก การตรวจร่างกาย การชันสูตรอย่างเที่ยงธรรม การบำบัดผู้ติดสารเสพติด ในทางการแพทย์เรียกว่ารักษาให้หายและฟื้นฟูให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีดังเดิมหรือใกล้เคียงของเดิม

2.  กระบวนการยุติธรรมเชิงรุก เป็นการป้องวกันไม่ให้เด็ก เยาวชนได้รับความไม่เป็นธรรมก่อนที่ความไม่เป็นธรรมนั้นจะส่งผลเสียต่อตัวเขา ซึ่งประเด็นนี้ต้องอาศัยการมองการณ์ไกลของผู้ที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด เช่นการป้องกันการละเมิดสิทธิเด็ก เยาวชนในด้านต่างๆ การป้องกันดูแลตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพื่อไม่ให้มารดามีพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อทารกที่จะเกิดมาเช่นการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การที่มารดาถูกกระทบกระเทือนทางใจจากบุคคลรอบข้าง การกินยาที่มีผลเสียต่อเด็ก รวมทั้งการทำให้เด็กรุ้เท่าทันสิ่งไม่ดีหรือทำให้เขามีปัญญาที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัยเช่นเรื่องอาหารขยะ อาหารที่ไม่มีประโยชน์หรือเป็นอันตรายต่อร่างกายที่ขายกันเกลื่อน กลาดทั่วเมืองไทย ของเล่นอันตรายที่วางขายหรือที่มีอยู่ในโรงเรียน หน่วยงานต่างๆหรือศูนย์การค้า สื่อต่างๆที่ไม่เหมาะสมหรือสรางความเข้าใจผิดหรือการโฆษณาที่หลอกลวงให้เด็กหลงผิด

                    หากเราสามารถทำได้ทั้ง 2 ทางนี้ กระบวนการยุติธรรมที่สรางคาวมเป็นธรรมให้เด็กและเยาวชน ก็จะสามารถคุ้มครองสิทธิเด็กเยาวชนได้ ร่วมไปกับการสรางสุขภาพหรือสุขภาวะให้เกิดแก่เด็กและเยาวชนด้วย 

หมายเลขบันทึก: 50415เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2006 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท