dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

อารมณ์-จิตใจ:สิ่งสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย


การพัฒนาอารมณ์-จิตใจของเด็กปฐมวัย

                                อารมณ์-จิตใจ : สิ่งสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย

                       คนเราจะอยู่ในสังคมอย่างมีคุณภาพจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาตั้งแต่ระดับปฐมวัยอย่างเต็มศักยภาพ และจะต้องครอบคลุมพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์- จิตใจ สังคม และสติปัญญา ปัจจุบันเราจะเห็นความวุ่นวายในสังคมที่เป็นปัญหาที่เราแก้ไม่ตก ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นก็มาจากคนหรือมนุษย์เราเป็นส่วนใหญ่ ที่มีการพัฒนาอย่างไม่สมดุลเน้นความเก่ง หรือความสามารถทางวิชาการ ไม่ให้ความสำคัญหรือให้ความสนใจน้อยมากกับการพัฒนาด้านอารมณ์-จิตใจ เราลองมาเริ่มทำอย่างจริงจังคือช่วยกันที่จะทำให้เด็กไทยเรามีอารมณ์-จิตใจ ที่มั่นคง ดีงามต้องเริ่มกันตั้งแต่เล็กๆ และจะต้องพัฒนาให้ควบคู่กับการพัฒนาด้านอื่นๆดังที่กล่าวข้างต้น สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาอารมณ์-จิตใจของเด็กเป็นอย่างมากคือการอบรมเลี้ยงดูของพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และครูปฐมวัย ตลอดจนชุมชนสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก บทบาทของผู้เกี่ยวข้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่รู้แต่ละเลยในการปฏิบัติต่อเด็ก จึงขอย้ำอีครั้งหนึ่งในบทบาทดังกล่าวซึ่งพอจะสรุปได้คือ

- ต้องมีความรัก มีเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาอารมณ์-จิตใจของเด็ก

- สอดแทรกคุณธรรมในการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างต่อเนื่อง

- เริ่มอบรมตั้งแต่เล็กๆ และฝึกอย่างต่อเนื่อง

- ผู้อบรมเลี้ยงดูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี

- ต้องมีระเบียบวินัย ใช้การควบคุมด้วยความรัก ความเมตตา

- มีความรับผิดชอบ มีความละอายต่อการกระทำความผิด มีการลงโทษ-ให้รางวัลที่เหมาะสมกับวัย

- อบรมเลี้ยงดู สั่งสอนอย่างต่อเนื่อง

- มีความเข้าใจต่อความรู้สึกของเด็ก

- มีความอดทนไม่ปฏิบัติตนหรือไม่ทำตามกระแสที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว

                                   ฯลฯ

                 หากผู้ใหญ่เราเป็นแบบอย่างที่ดีและยึดหลักที่กล่าวในการอบรมเลี้ยงดูเด็กของเรา จะทำให้เด็กมีรากฐานทางอารมณ์หรือมีพื้นฐานทางอารมณ์ที่มั่นคงและมีบุคลิกภาพที่พอจะกล่าวได้คือ

- มีความสุขง่าย ทุกข์ยาก

- ประสบความสำเร็จในชีวิต

- มีความอดทนอดกลั้น ไม่หุนหันพลันแล่น

- มีวุฒิภาวะทางอารมณ์

- ทนต่อความผิดหวังได้ และกลับสู่การมีพลังชีวิตที่จะดำเนินชีวิตได้เร็ว

- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีบุคลิกภาพที่ดี

- เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

- มีการตัดสินใจที่ดี ไม่ลังเล มีเหตุผล

- ไม่ย่อท้อหรือยอมแพ้ง่ายๆ

-  มีการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม รู้จักกาลเทศะ

-  สามารถสู้กับปัญหาชีวิตได้ตลอดเวลา

-  เข้าใจจิตใจของผู้อื่น

-  เข้าใจสถานการณ์ทางสังคม ปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างเหมาะสม

                                      ฯลฯ

                   ฉะนั้นการพัฒนาทางอารมณ์-จิตใจต้องเริ่มตั้งแต่เด็กเลย เด็กต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่พอสรุปได้ว่าต้องให้เข้าใจอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง  เข้าใจอารมณ์ของผู้อื่นปรับตัวเข้ากับอารมณ์ผู้อื่นได้ ตลอดจนปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งดังกล่าวต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็กปฐมวัย 

 

 

หมายเลขบันทึก: 503328เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2012 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2012 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท