ความคาดหวังของผู้รับบริการ


เจ้าหน้าที่ของรัฐ ถ้ารู้งานดี ทำหน้าที่ไม่บกพร่อง มือสะอาด ไม่ขาดมนุษยสัมพันธ์ ก็จะบรรลุความคาดหวังของผู้รับบริการ ทำให้งานได้ผล คนมีความสุข(ทั้งผู้ให้และผู้รับ)

การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานเพื่อให้ผู้รับบริการปลอดภัย และ พึงพอใจ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ   ซึ่งผู้รับบริการก็จะหมายถึง 2 ส่วนคือคนทำงาน และคนไข้/ผู้รับบริการ

 สิ่งแวดล้อมในการทำงาน มีทั้งเรื่องสถานที่ทำงาน ทีมงาน  ระบบงาน

ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ  คือได้ตามที่คาดหวังไว้ เช่นความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และความเป็นมิตร 

คนทำงานก็คาดหวังว่าจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน  ความร่วมมือจากทีมงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับการยอมรับในฐานะคนทำงานคนหนึ่ง ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกจะส่งผลต่อเป้าหมาย ไม่ว่าอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในงาน ขวัญกำลังใจ 

คนไข้มาโรงพยาบาลไม่คาดหวังว่าจะมาคอยหมอนานๆ หรือต้องมารอแฟ้มนานๆจนทำให้ตรวจกับหมอช้า  และไม่คาดหวังว่าจะต้องผ่านด่านพิสูจน์หลักฐานมากมายกว่าจะได้พบหมอ  แต่สิ่งที่คนไข้ต้องการคือพบหมอเพื่อรักษาโดยเร็ว ด้วยความสะดวก ปลอดภัย และสบายใจ 

ดังนั้นความรวดเร็วจึงต้องตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นทุกอย่างออกไป  ทำให้นึกถึงภาพเวลาไปตรวจที่คลินิกซึ่งขั้นตอนจะน้อยมาก ซักประวัติ (รอ) พบแพทย์-ให้การรักษาพยาบาล-จ่ายยา(แนะนำ)-กลับบ้าน

คงต้องทบทวนตนเองว่าในบทบาทหน้าที่ของเราที่เป็นอยู่ว่าเรานั้นเป็นผู้ส่งเสริมให้เกิดระบบบริการที่ดีที่ถือผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางหรือไม่  เราทำดีที่สุดหรือยังเพื่อให้ผู้รับบริการมีความสะดวก ปลอดภัย และพึงพอใจ

 การทำให้งานนั้นเป็นบุญกุศลช่วยเสริมสร้างบารมี ความสุข และความมีคุณค่าแก่ตนเองนั้นต้องอาศัยอิทธิบาท 4 ซึ่งได้แก่

ฉันทะ คือความพอใจในงาน ซึ่งจะเป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อๆไป
วิริยะ คือความพากเพียร  กระทำจนประสบความสำเร็จ รวมทั้งมีความกล้าหาญในการทำสิ่งที่ถูกต้อง
จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้งหัวใจ และเป้าหมายของงาน คือผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง  และความพึงพอใจ
วิมังสา หมายถึงความสอดส่องในเหตุและผล แห่งความสำเร็จ ทำการต่างๆด้วยความคิดและวิจารณญาณ มีปัญญาเหนืออารมณ์

เจ้าหน้าที่ของรัฐ ถ้ารู้งานดี ทำหน้าที่ไม่บกพร่อง มือสะอาด ไม่ขาดมนุษยสัมพันธ์  ก็จะบรรลุความคาดหวังของผู้รับบริการ ทำให้งานได้ผล คนมีความสุข(ทั้งผู้ให้และผู้รับ)ได้

หมายเลขบันทึก: 50328เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2006 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยค่ะ อยากทราบแนวคิดว่ามาจากทฤษฎีไหน ค่ะ ตอนนี้กำลังเรียนเลยสนใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท