Fareeda
รอ.หญิง เบญจมาภรณ์ Fareeda Hua-jiem

การเขียนงานวิจัย


วิจัยๆๆๆๆ

การเขียนรายงานการวิจัย

            การเขียนรายงานวิจัย เป็นการเล่าเรื่องราวเหตุการณ์และผลที่เกิดขึ้นในขณะที่ดำเนินการวิจัย  รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิจัยและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานของผู้วิจัยเราเขียนรายงานการวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยให้สาธารณชนได้รับรู้เพื่อครูอาจารย์หรือนักการศึกษาท่านอื่นๆจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานของตน หรือเป็นแนวทางที่จะทำการวิจัยต่อไป

                รายงานการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน  คือ  ส่วนหน้า  ส่วนเนื้อหา  และส่วนท้าย  แนวทางการเขียนแต่ละส่วนมีดังนี้

 

                แนวทางการเขียนส่วนหน้า 

ปก ประกอบด้วยชื่อเรื่อง  ชื่อผู้วิจัย  และข้อความอื่นๆเช่น  หน่วยงานของผู้วิจัย  ปีที่ทำวิจัย

บทคัดย่อ  เป็นส่วนที่สรุปย่อเรื่องราวทั้งหมดของงานวิจัย  สิ่งสำคัญที่ควรนำเสนอได้แก่                   วัตถุประสงค์ของการวิจัย  วิธีดำเนินการวิจัยและผลการวิจัย

กิตติกรรมประกาศ  เป็นการประกาศขอบคุณบุคคลและหน่วยงานที่ให้ความอนุเคราะห์และสนับสนุนให้การดำเนินการวิจัยสำเร็จได้ด้วยดี

สารบัญ โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่   สารบัญเนื้อเรื่อง สารบัญตารางและสารบัญแผนภูมิและภาพประกอบ

หมายเหตุ  การกำหนดเลขหน้าในส่วนหน้านี้นิยมใช้ระบบตัวอักษร คือ ก ข ค .....

 

แนวการเขียนส่วนเนื้อหา

                ส่วนเนื้อหาประกอบไปด้วย 5  บท  คือไม่เกิน  20  หน้า

                บทที่  1  บทนำ  2-3  หน้า

                บทที่  2  แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  3-5  หน้า

                บทที่  3  วิธีดำเนินการวิจัย  2-3  หน้า

                บทที่  4  ผลการวิจัย  2-3  หน้า

                บทที่  5  สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ  1-2  หน้า

                ภาคผนวก  3-4  หน้า

                                                                รวมแล้วไม่เกิน  20  หน้า

 

 

บทที่  1  บทนำ  ประกอบด้วยส่วนต่างๆที่เขียนไว้แล้วในแบบเสนอโครงการวิจัย  ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

                ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                ขอบเขตของการวิจัย(ขอบเขตการสร้างสิ่งประดิษฐ์และการประเมินประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์)

                ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

บทที่  2  แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                บทนี้เป็นการนำเสนอแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ใช้เป็นกรอบในการวิจัยต้องเรียบเรียงสรุปกรอบความคิด  หลักการ  การเขียนต้องเป็นการเรียบเรียงเนื้อหาเหมือนกับการเขียนบททางความวิชาการไม่ควรลอกเนื้อหามาต่อกันเป็นท่อนๆ หัวข้อสำคัญน่าจะประกอบด้วย

-                   แนวความคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในงานวิจัย

-                   ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา

 

บทที่  3  วิธีดำเนินการวิจัย

                บทนี้เป็นการนำเสนอถึงวิธีการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หัวข้อที่ควรนำเสนอในบทนี้มีดังนี้

-                   การสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ในการวิจัย มีอะไรบ้าง มีขั้นตอนการสร้างและพัฒนาอย่างไร

-                   ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

-                   การดำเนินการทดลอง เขียนให้ชัดเจนว่าดำเนินการอย่างไร

-                   การเก็บรวบรวมข้อมูลมีแผนอย่างไร เก็บเมื่อใดอย่างไร ใครเป็นคนเก็บ ใครเป้นคนให้ข้อมูล

-                   การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยใช้วิธีการใด

จะเห็นว่าหลาย ๆ หัวข้อในบทนี้อยู่ในแบบเสนอโครงงานวิจัยที่ทำไว้แล้ว แต่ต้องนำมาขยายความและเขียนบรรยายในลักษณะที่ได้ทำไปแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

บทที่  4  ผลการวิจัย

                บทนี้เป็นการนำเสนอผลการวิจัย  ซึ่งมีทั้งผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ  และเชิงคุณภาพหลักการนำเสนอผลการวิจัยทั้งสองลักษณะมีดังนี้

                ผลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

-                   เรียงดับตามวัตถุประ สงค์การวิจัย

-                   ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย  หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาทางสถิติ

-                   หากมีตารางหรือกราฟให้อธิบายอย่างชัดเจนว่าต้องการนำเสนออะไร

 

บทที่  5  สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

                บทนี้เป็นการนำเสนอข้อสรุปจากทุกบทที่ผ่านมาและข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย  การเขียนโดยทั่วไปจะเริ่มจากวัตถุประสงค์การวิจัย  สรุปวิธีการวิจัยโดยย่อ  สรุปผลการวิจัย  การอภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอ  การเขียนสรุปผลการวิจัยควรเขียนในลักษณะการตีความจากข้อมูลให้สั้น  กระชับ  และเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย  การเขียนอภิปรายผลการวิจัย  ควรแยกอภิปรายเป็นประเด็น  โดยชี้ประเด็นว่าสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับทฤษฎีหรือผลการวิจัยที่คนอื่นทำไว้โดยยกเหตุผลมาประกอบการอภิปราย

                การเขียนข้อเสนอแนะ  เป็นการนำเสนอประเด็นที่ควรนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์  ซึ่งมีข้อควรระวังในการนำไปใช้อะไรบ้าง  แนะนำไปใช้อะไรบ้าง และข้อเสนอแนะว่าควรทำวิจัยอะไร  อย่างไร

                การเขียนประสบการณ์ที่ผู้วิจัยได้รับ  ในงานวิจัยเชิงปฏิบัติการหรืองานวิจัยเชิงคุณภาพถือว่าหัวข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก  เพราะเป็นการเล่าถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบปัญหาอุปสรรคที่ผู้วิจัยพบและแนวทางการแก้ปัญหาอุปสรรคเหล่านี้  รวมทั้งการเล่าถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มีคุณค่าต่อผู้วิจัยทั้งในด้านทำงานและหน่วยงาน

 

แนวทางการเขียนส่วนท้าย

                ส่วนท้ายของการเขียนรายงานการวิจัยประกอบด้วย 2  ส่วน  คือ  เอกสารอ้างอิง  และภาคผนวก  การเขียนเอกสารอ้างอิงนั้นควรใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งให้คงที่  การเขียนภาคผนวกอาจจะนำเสนอภาพกิจกรรม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  อุปกรณ์   ตัวอย่างข้อมูลดิบ ทั้งนี้ขอให้พิจารณาความเหมาะสมด้วยว่าควรนำเสนออะไร  ตามลำดับอย่างไร

คำสำคัญ (Tags): #research
หมายเลขบันทึก: 503181เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2012 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2012 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท