หัวข้อการทำ CQI เพื่อพัฒนางานประจำงานรังสี


CQI การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

1       ชื่อ

2       ผู้ดำเนินการ3       หลักการและเหตุผล4       วัตถุประสงค์5       กลุ่มผู้ร่วมทีม6       เครื่องมือที่ใช้7       ขั้นตอนในการดำเนินงาน8       ระยะเวลาในการดำเนินงาน9       ประโยชน์ที่จะได้รับ

 

คำสำคัญ (Tags): #หัวข้อการทำcqi
หมายเลขบันทึก: 50289เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2006 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อยากได้ตัวอย่างการทำcqiงานรังสี สักเรื่อง ขอบคุณครับ

ชื่อเรื่อง การประเมินและการดูแลผู้ป่วยที่มารับการตรวจระบบทางเดินปัสสาวะด้วยสารทึบรังสี(I.V.P.)

ชื่อเจ้าของผลงาน นางขนิษฐา ชูชาวนา ตำแหน่ง นักรังสีการแพทย์ กลุ่มงานรังสีวิทยา

ชื่อผู้นำเสนอ นางขนิษฐา ชูชาวนา ตำแหน่ง นักรังสีการแพทย์ กลุ่มงานรังสีวิทยา

สถานที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว โ E-mail Kanitta305 @hotmail.com

หลักการและเหตุผล

การตรวจระบบปัสสาวะด้วยสารทึบรังสีที่เรียกว่า I.V.P. (Intravenous pyelography ) เป็นการตรวจดูการทำงานของไตซึ่งใช้สารทึบรังสี(Contrst media) ฉีดเข้าทางหลอดเลือดเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรค โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคระบบทางเดินปัสสาวะโดยใช้ สารทึบรังสี 2 ชนิดคือ ชนิดที่แตกตัว (ionic ) และชนิดไม่แตกตัว (nonionic) ที่ฉีดเข้าหลอดเลือดดำเพื่อดูการทำงานของไต แต่เนื่องจากสารทึบรังสีอาจทำให้เกิดการแพ้หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อร่างกายจนถึงแกชีวิตได้ซึ่งนับว่าเป็นการตรวจที่มีความเสียงสูง และจากการที่ได้ศึกษาข้อมูลจากการศึกษาของ Katayama และคณะ พบว่าผู้ป่วยที่ใช้สารทึบรังสีชนิดแตกตัวทั้งหมด 169,284 ราย มีปฏิกิริยาแพ้ร้อยละ 12.66 และผู้ป่วยที่ใช้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวทั้งหมด 168,363 ราย มีปฏิกิริยาการแพ้ ร้อยละ 3.13 จะเห็นว่าไม่ว่าจะใช้สารทึบรังสีประเภทใดก็มีโอกาสจะแพ้ได้ ส่วนการใช้สารทึบรังสีในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว ในการตรวจดูการทำงานของไต ปีงบประมาณ 2549 จำนวน 312 ราย และใช้สารทึบรังสีชนิดแตกตัว 292 ราย มีการแพ้ จำนวน 5 ราย คิดเป็น ร้อยละ 2 และใช้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัว 20 ราย ไม่มีรายงานการแพ้ ในการปฏิบัติงานของนักรังสีการแพทย์ที่ต้องทำการป้องกันมิให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้สารทึบรังสี จึงทำให้ต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้สารทึบรังสีเป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ และมีความปลอดภัยขณะรับบริการ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบการให้บริการตรวจเอกซเรย์ด้วยการใช้สารทึบรังสี เพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการต่อไป

วัตถุประสงค์

1 เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยทั้งสภาพร่างกายและจิตใจในการรับบริการตรวจ

2 เพื่อลดความเสี่ยงในการแพ้สารทึบรังสีของผู้ป่วยในระดับรุนแรง

3 เพื่อสร้างแนวทางการปฏิบัติงานในการป้องกันการแพ้สารทึบรังสีระดับรุนแรง

เป้าหมายและเครื่องชี้วัด

จำนวนครั้งของการเลื่อนนัดตรวจจากการเตรียมตัวไม่พร้อมของผู้ป่วย

อัตราการแพ้สารทึบรังสีระดับรุนแรง ร้อยละ 0

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ

การดำเนินการเดิม

1 แนะนำผู้ป่วยโดยตรงเฉพาะผู้ป่วยนอกโดยแนะนำเฉพาะวิธีการตรวจ

2 ให้เตรียมการตรวจโดยการงดน้ำ อาหาร

3 ไม่มีการประเมินการทำงานของไต

สภาพปัญหา

1 มีผู้ป่วยไม่ได้รับการตรวจเนื่องจากเตรียมตัวไม่พร้อม

2 ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดไตวายสูงหลังจากได้รับสารทึบรังสี

3 ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีสูง

4 ผู้ป่วยมีความกังวลสูงเวลามารับบริการตรวจพิเศษทางรังสีมักไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ

การปรับปรุงที่เกิดขึ้น

สร้างระบบการดำเนินการ ใหม่โดยการให้บริการตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ(ตรวจไต) ด้วยสารทึบรังสีมีขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ระยะดังนี้

1 ระยะก่อนได้รับสารทึบรังสี

2 ระยะขณะได้รับสารทึบรังสี

3 ระยะหลังจากได้รับสารทึบรังสี

1 ระยะก่อนได้รับสารทึบรังสี

1 ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อนการได้รับสารทึบรังสี ทางด้านร่างกาย จิตใจ และความเสี่ยงต่างๆ

- ซักประวัติผู้ป่วยว่าเคยตรวจด้วยสารทึบรังสีมาก่อนหรือไม่ เพราะถ้าเคยตรวจมาแล้ว ผู้ป่วยมีโอกาสแพ้มากกว่าปกติ, ประวัติการแพ้อาหารทะเล ,ประวัติการแพ้ยา, หากผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้ มาก่อนเช่นรู้สึกร้อน คลื่นไส้ อาเจียน อาจให้ยาแก้แพ้ ก่อนใช้สารทึบรังสีชนิดแตกตัว

- ซักประวัติการมีโรคประจำตัวต่างๆ เช่นโรคหอบหืด,โรคน้ำท่วมปอด,โรคล้มบ้าหมู,โรคภูมิแพ้ ,โรคหัวใจ,โรคไต,โรคเบาหวานที่มีภาวะไตบกพรอง(Serum creatinin มากกว่า 1.5 mg/dl ถ้ามีประวัติโรคต่างๆนี้ อาจส่งผลให้มีการแพ้สารทึบรังสีชนิดแตกตัวได้

- ประเมินผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(การตรวจเลือด)ได้แก่ค่า BUN ,Cr เพื่อป้องกันการถูกทำลายของของไตจากการใช้สารทึบรังสี เพราะถ้าพบว่าผู้ป่วยมี ภาวะการ ทำงานของไตบกพร่องอยู่ ควรพิจารณาใช้การตรวจด้วยวิธีอื่นแทน เช่นการตรวจอัลตราซาวด์ หรืออาจใช้สารทึบรังสีที่เป็นสารทึบรังสีที่ไม่แตกตัว (nonionic) แทน

- ประเมินสภาพผู้ป่วยว่ารู้สึกตัวดี หรือไม่รู้สึกตัวและไม่ทราบประวัติการแพ้ต่างๆ

2 ผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้ เช่นภูมิแพ้ หอบหืด แพ้อาหารทะเลหรือแพ้สารทึบรังสี จะเป็นผู้ป่วยที่มี

ความเสี่ยงสูง ต้องทำการปรึกษาแพทย์ และได้ยาแก้แพ้ก่อนฉีดสารทึบรังสีเช่น Prednisolone

Diphenhydramine (แล้วแต่แพทย์) และอาจเลือกใช้สารทึบรังสีแบบไม่แตกตัว (nonionic)

3 แนะนำผู้ป่วยงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 4 -6 ชั่วโมง ก่อนส่งตรวจ เพื่อป้องกันการสำลัก

หากได้รับสารทึบรังสีแล้วมีการอาเจียน และแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆหากเป็นผู้ป่วยนอก และ

สำหรับผู้ป่วยในแพทย์จะทำการให้สารน้ำมาก่อนฉีดสารทึบรังสี

4 ประเมินสภาพผู้ป่วยว่าขณะนั้นมีสภาพวิตกกังวลหรือไม่ หากมีความวิตกกังวลตื่นเต้นต้องปรึกษา

แพทย์ แพทย์อาจให้ยาคลายกังวลก่อนมาทำการตรวจ

5 ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติให้ทราบถึงขั้นตอนการตรวจ ผลของสารทึบรังสีที่อาจเกิดขึ้นได้และ

การปฏิบัติตัวต่างๆขณะเข้ารับการตรวจ เพื่อขอความร่วมมือในการตรวจและคลายความวิตกกังวล

6 เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติซักถามข้อสงสัยต่างๆ

7 ออกใบนัดผู้ป่วยพร้อมแนบวิธีการเตรียมตัวผู้ป่วยให้ผู้ป่วยพร้อมเบอร์โทรศัพท์เพื่อถ้าผู้ป่วยมีข้อสงสัย

โทรมาสอบถามได้

8 เมื่อผู้ป่วยเข้าใจ ให้ผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมรับการตรวจด้วยสารทึบรังสี ถ้าผู้ป่วยปฏิเสธการตรวจให้ผู้ป่วยเซ็น

ใบไม่ยินยอมรับการตรวจ แล้วส่งพบแพทย์เพื่อพิจารณาตรวจวิธีอื่นๆ

9 การจัดเตรียมความพร้อมที่จะทำการตรวจด้วยสารทึบรังสี

อุปกรณ์และยาต่างๆในรถฉุกเฉินต้องมีการตรวจสอบชนิดจำนวน และวันหมดอายุอย่าง สม่ำเสมอและนักรังสีการแพทย์ต้องได้รับการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพหรือการช่วยเหลือผู้ป่วยแพ้สารทึบรังสีเป็นประจำด้วย

1. จัดเตรียมรถฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตให้พร้อมได้แก่ ออกซิเจน พร้อมชุดให้ออกซิเจน และสายทั้ง canula และ/หรือ mask ชุดให้สารละลาย,เข็ม,กระบอกฉีดยา เครื่องมือในการใส่ท่อหายใจ(laryngoscope) และท่อหายใจ (endotracheal tube) ขนาดต่างๆ oral airway

2. ความพร้อมเครื่องดูดเสมหะ พร้อมอุปกรณ์

3. เครื่องวัดสัญญาณชีพ

4. Ambu bag

5. ยา ต่างๆ เช่น สารละลาย NSS , ringer solution ,adrenaline,diazepam

6. ทำการตรวจสอบสารทึบรังสีโดยตรวจสอบวันที่หมดอายุ ตรวจดูลักษณะของสารทึบรังสีก่อนใช้ว่ามีตะกอนเปลี่ยนสี หรือไม่ ถ้าใช้สารทึบรังสีที่มีความหนืดมากๆควรอุ่นให้ได้อุณหภูมิ 37 องศาเซนเซียส ก่อนฉีด เพื่อง่ายต่อการฉีดและลดอาการปวดของผู้ป่วย

10 กลุ่มงานรังสีวิทยา ได้จัดทำกริ่งฉุกเฉิน ที่สามารถกดตามแพทย์และพยาบาลจากตึกอุบัติเหตุให้มาช่วย

เหลือหากเกิดภาวะฉุกเฉินกับผู้ป่วยขณะตรวจเอกซเรย์ได้

2 ระยะขณะได้รับรังสี

1 จัดเตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ในการฉีดสารทึบรังสีด้วยหลักปราศจากเชื้อ

2 เตรียมรถช่วยชีวิตฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ มาไว้ใกล้ ๆ

3 เชิญพยาบาล มาทำการฉีดสารทึบรังสี

1. พยาบาลมาพูดคุยแนะนำผู้ป่วยเรื่องการฉีดสารทึบรังสี ทำการวัดความดันโลหิต ประเมินความกลัวและวิตกกังวลของผู้ป่วย

2. ทำการฉีดสารทึบรังสี จนหมดตามขนาดและน้ำหนักของผู้ป่วย

3. ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนในการฉีดสารทึบรังสีเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ หากผู้ป่วยเกิดอาการผิดปกติ

4. นักรังสีการแพทย์ สังเกตุอาการผิดปกติต่างๆขณะฉีดสารทึบรังสีและพูดคุยซักถามผู้ป่วยเป็นระยะๆ

5. สังเกตอาการถ้าผู้ป่วยปวดมาก บวม แดง บริเวณที่ฉีดสารทึบรังสี หยุดฉีดและพยาบาลจะเลือกบริเวณอื่นแทน หากเกิดอาการผิดปกติขั้นรุนแรงให้หยุดฉีดและรีบรายงานแพทย์

3 หลังจากฉีดสารทึบรังสีเสร็จ ทำถ่ายภาพเอกซเรย์ ตามหลักวิชาการโดยการถ่ายภาพรังสีใช้เวลา 5 นาที

20 นาทีท่านอนคว่ำ 30 นาที ขณะตรวจทำการปรึกษารังสีแพทย์เป็นระยะ และถ่ายภาพตามเวลาที่

รังสีแพทย์ต้องการจนสุดท้าย หลังจากปัสสาวะออกหมด ในตลอดการตรวจต้องคอยสังเกตผู้ป่วยตลอด

เวลา และให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆบนเตรียง และถ้ามีการขยายเวลาที่จะทำการถ่ายภาพออกไปอีกเป็น 30,60

นาที ให้ผู้ป่วยรอบริเวณที่ไกล้ๆ ที่สามารถช่วยผู้ป่วยได้ทัน เพราะมีการรายงานจากที่อื่นๆ ผู้ป่วย

เกิดอาการแพ้หลังจากรับสารทึบรังสีไปแล้ว 60 นาที

3 ระยะหลังได้รับสารทึบรังสี

1 นักรังสีเทคนิคต้องสังเกตอาการใกล้ชิดใน 5 นาทีแรก และสังเกตอาการต่อไปอีก 30-60 นาที เพื่อระวังการแพ้ที่อาจตามมา

2 ทำการตรวจวัดสัญญาณชีพและสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยก่อนและหลังการได้รับสารทึบรังสี

3 หากพบว่ามีอาการข้างเคียงหรือแพ้เกิดขึ้นให้บันทึกอาการต่างๆโดยละเอียดในใบบันทึกการแพ้สารทึบรังสี พร้อมทั้งให้คะแนะนำแก่ญาติให้ทราบเพื่อป้องกันและหลีกเลียงการได้รับสารทึบรังสีชนิดเดิม

4 ให้คำแนะนำผู้ป่วยให้ดื่มน้ำมากๆ

5 ให้เบอร์โทรศัพท์แก่ผู้ป่วยเพื่อติดต่อเมื่อมีอาการผิดปกติ(ผู้ป่วยนอก)

6 ถ้าผู้ป่วยมีอาการแพ้ยา ต้องทำการส่งผู้ป่วยไปซักประวัติการแพ้ยาที่กลุ่มงานเภสัชกรรม ตามระบบ

สรุป

ในการตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินปัสสาวะ(ไต) ทำการสร้างระบบเตรียมตัวตั้งแต่การได้รับใบส่งตรวจจากแพทย์คือ ส่งผู้ป่วยตรวจ BUN, Cr ตั้งแต่ที่มาทำการนัดตรวจ ถ้าเป็นผู้ป่วยใน นักรังสีการแพทย์จะเข้าไปให้คำแนะนำการเตรียมตัวที่เตียงผู้ป่วยเพื่อประเมินสภาพผู้ป่วย ทำให้การเตรียมตัวผู้ป่วยถูกต้องและพร้อมที่จะตรวจเมื่อถึงวันตรวจ และลดอัตราการเลื่อนนัดได้เป็นอย่างดี และเนื่องจากการตรวจใช้สารทึบรังสีชนิดแตกตัวเป็นส่วนใหญ่ เวลาฉีดเข้าหลอดเลือดจึงมีผลข้างเคียงต่ออวัยวะต่างๆ ในบางครั้งอาจทำให้เกิดการแพ้ตั้งแต่ละดับน้อย ปานกลาง จนถึงรุนแรงและอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้นนักรังสีการแพทย์ผู้ทำการตรวจต้องมีทักษะในการประเมินและดูแลผู้ป่วยทุกๆระยะตลอดการให้สารทึบรังสี จึงมีความสำคัญมากในการป้องกันและหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ และยังช่วยประเมินผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงออกไปได้อีกโดยอาจจะใช้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัว หรือหลีกเลี่ยงการตรวจไปใช้วิธีอื่นแทนได้ทำให้สามารถช่วยผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย และหากเกิดภาวะความเสี่ยงกับผู้ป่วยก็มีกริ่งตามแพทย์ พยาบาลจากตึกอุบัติเหตุมาช่วยได้ทันเวลา จาการดำเนินการปี งบประมาณ 2550 (ตุลาคม 49-ปัจจุบัน)ไม่มีรายงานการแพ้สารทึบรังสีระดับรุนแรงเพราะถ้าพบปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยจะดำเนินการเตรียมป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น

ผลที่เกิดขึ้นหรือผลสำเร็จของการดำเนินการ

1 ผู้ป่วยมีการเตรียมตัวที่ดีทำให้ไม่ต้องเลื่อนนัด

2 มีการคัดกรองผู้ป่วยก่อนการตรวจเพื่อเลือกวิธีตรวจที่เหมาะสม

3 ทำให้เลือกใช้สารทึบรังสีที่ผู้ป่วยปลอดภัย

4 ทำให้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉิน สร้างความมั่นใจแก่ผู้มารับบริการ

ข้อเสนอแนะ

การตรวจไตด้วยสารทึบรังสีมีความจำเป็นต้องทราบถึงภาวะการทำงานของไตก่อนการใช้สารทึบรังสีเพราะสารทึบรังสีที่ใช้อาจส่งผลให้การทำงานของไตลดลงและอาจเกิด ภาวะไตวาย ได้ และเมื่อตรวจเสร็จควรให้ผู้ป่วยทานน้ำมากๆเพื่อให้ไตขับสารทึบรังสีออกจากร่างกายให้หมดเร็ว เพราะมีผลงานวิจัยว่าผู้ที่ใช้สารทึบรังสีอาจเกิดการแพ้ได้หลังจากใช้สารทึบรังสีแล้ว 60 นาที

1.1 การทบทวนพยาธิสภาพขอผู้ป่วยที่มีผลต่อการตั้งค่าการให้ปริมาณรังสี ( Exposure)

การตั้ง Exposure ตั้งตาม Technique ปกติ โดยไม่ได้ดูการวินิจฉัยเบื้องต้นของแพทย์สงสัยเป็นโรคอะไร ซึ่งบางครั้งเมื่อตั้งค่า Technique ปกติภาพออกมาขาวไปดำไป เมื่อนำฟิล์มมาวิเคราะห์แล้วพบว่าสาเหตุเกิดจากพยาธิสภาพของตัวผู้ป่วยเอง ทำให้เราต้องมาถ่ายฟิล์มซ้ำ เช่น ผู้ป่วยที่มีโรค Pneumonia, Pneumothorax, asitis ฯลฯ เป็นต้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อลดจำนวนฟิล์มเสีย

2. ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายโรงพยาบาล

3. ลดการถ่ายฟิล์มซ้ำ, ลดเวลาในการทำงาน

4. ลดปริมาณรังสีให้กับผู้ป่วย

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

1. เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ไม่สนใจการวินิจฉัยโรคเบื้องต้น

2. เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ตั้งค่า Exposure ไม่เหมาะสมกับพยาธิสภาพของผู้ป่วย

การปรับปรุง

1. เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ดูการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นของแพทย์ ก่อนถ่ายภาพ เพิ่มหรือลด Exposuer ตามพยาธิสภาพของผู้ป่วย เพื่อความเหมาะสม

2 . ทบทวนโรคของผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพต่างๆซึ่งทำให้เกิดผลต่อการตั้งค่า Exposure

3 . นำภาพถ่ายรังสีที่มีลักษณะของพยาธิสภาพต่างๆมาติดบอร์ดไว้ที่ Controlเพื่อเตือนสติเวลาตั้งค่า Exposureแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

4. ประชุมเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ฟื้นฟูวิชาการเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วยที่มีผลต่อการให้ปริมาณรังสีดังนี้

โรคผู้ป่วยที่ต้องเพิ่มการให้ปริมาณรังสีได้แก่

1 Ascites มีน้ำในช่องท้อง

2 Pleural effusion มีน้ำในเยื่อหุ้มปอด

3 Pneumonia ปอดบวม

4 Aortic aneurysm เส้นเลือดแดงโปร่งพอง

โรคผู้ป่วยที่ต้องลดการให้ปริมาณรังสีได้แก่

1 Bowel obstruction การอุดตันของลำไส้

2 Emphysma ถุงลมโปร่งพอง

3 Pneumothrax ลมในปอด

ผลลัพธ์

- สามารถลดปริมาณฟิล์มเสียที่เกิดจากการถ่ายภาพไม่เหมาะสม

- ทำให้สามารถลด Cost ลดเวลาในการทำงาน ทดต้นทุนค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล

- เจ้าหน้าที่สามารถป้องกันตัวจากการติดเชื้อของผู้ป่วยก่อนได้

อยากได้ตัวอย่าง การทำ CQI น่ะค่ะ..ขอบคุณล่วงหน้าคะ

อยากได้ตัวอย่างการทำ CQI งานการเจ้าหน้าที่น่ะคะ..ขอบคุณล่วงหน้าคะ..

เรียนคุณไก่น้อย

CQI เป็นการนำปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน มาวางแผนการพัฒนาเพื่อลดปัญหาที่เกิด

อาจจะเป็นการสร้างระบบงานใหม่เพื่อแก้ปัญหานั้นๆ

หรืออาจเป็นการทบทวนการให้บริการของเราเองในแต่ละวันก็ได้ว่าเราทำดีแล้วหรือยัง

ยิ่งเป็นงานการเจ้าหน้าที่เป็นงานที่ให้บริการลูกค้าภายใน เรื่องความก้าวหน้า ขวัญ กำลังใจของบุคลากรในองค์กร ฯลฯ เราทำได้ดีหรือยัง ถ้ามองตนเองอาจไม่ครอบคลุมลองให้ลูกค้าตอบแบบสอบถาม

หรือลองถามตนเอง ว่างานที่ทำอยู่ทุกวัน เราทำดีหรือยัง ถ้ายังทำให้ดีได้ไหม ถ้าดีแล้วทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมทำอย่างไร

แล้วลองเขียนตอบคำถามนั้นๆดู

การจะได้มาซึ่งปัญหา ต้องมีการวิเคราะห์งานของตนเองว่าให้บริการลูกค้าเป็นอย่างไร

ลูกค้าพอใจหรือไม่ มีข้อเสนอแนะอะไรบ้าง

แล้วจึงนำปัญหานั้นมาหาแนวทางแก้ไขตามหลักการของ CQI คือ ตั้งเป้า เฝ้าดู และปรับเปลี่ยน

หรืออาจใช้ระบบ PDSA

ของคุณคะยินดีแลกเปลี่ยนคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท