เลี้ยงโคอย่างพอเพียง


การเลี้ยงโคสามารถลดต้นทุนได้ด้วยการใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นให้มากที่สุด
 

เทคนิคการให้อาหารโคขุน

จากที่ได้ไปศึกษาดูงานการเลี้ยงโคขุนในเขตอำเภอสตึกและอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยนั้น ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยช์เกี่ยวกับการให้อาหารโคขุน ดังนี้

  • หลังจากซื้อโคมาใหม่ทั้งจากสนามหรือจากชาวบ้าน การนำโคเข้าคอกวันแรกไม่ควรให้อาหารข้น เนื่องจากโคยังไม่เคยกินอาหารข้น ควรให้หญ้าหรือฟางไปก่อน 1-2 วัน วันต่อมาฝึกให้กินทีละน้อย ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้นจนหลังวันที่ 15 จึงค่อยให้กินเต็มที่ ช่วงแรกนี้ถ้าให้อาหารข้นมากโคจะปรับตัวไม่ทันจะทำให้โคท้องอืดหรือท้องเสียได้

  • ใน 1-2 วันแรกต้องถ่ายพยาธิภายนอก ภายใน ฉีดวัคซีนให้เรียบร้อย ถ้าโคที่ซื้อข้ามถิ่นมาไกล เช่น จากภาคอื่น ๆ ควรฉีกวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย

  • การให้อาหารข้น ควรเป็นเวลา เช้า เย็น จะสะดวกต่อการปฏิบัติงาน

  • ในการให้อาหารแต่ละวันควรให้อาหารหยาบก่อนให้อาหารข้น เพื่อป้องกันการท้องอืดและเกิดกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป

  • การให้อาหารข้นต้องให้ตรงเวลาทุกวันและสม่ำเสมอ และไม่ควรเปลี่ยนสูตรอาหารข้นบ่อย ๆ เพราะจะทำให้ให้โคไม่กินอาหาร ท้องอืด ท้องเสีย

  • ไม่ควรให้อาหารข้นเกินไปเพราะโคจะท้องอืด ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรบางท่านต้องการเร่งน้ำหนักโคมากจึงให้อาหารข้นในปริมาณมาก ซึ่งจะเป็นผลเสียได้

  • โคที่มีอายุน้อยควรให้กินหญ้าอ่อนมากกว่าให้กินฟาง เพราะฟางย่อยยากและให้คุณค่าทางอาหารน้อยกว่าหญ้าอ่อน

  • ในระยะใกล้ขายควรให้อาหารข้นน้อยลง เพราะน้ำหนักโคเริ่มคงที่ การให้อาหารข้นในปริมาณมากจะเป็นการเพิ่มต้นทุน ทำให้มีกำไรน้อย
    นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เลี้ยงโคนั้น มีอยู่ 3 กลุ่ม คือ

  • 1. เลี้ยงโคพื้นเมือง ที่เรียกว่าวัวกระโดน ตัวเล็ก ทนต่อโรค ที่ขายตามหมู่บ้านและส่งเขียง แต่ขายได้ราคาต่ำ ประมาณ 3 ตัวต่อหนึ่งหมื่นบาท เกษตกรกลุ่มนี้มีความสนใจที่จะเลี้ยงโคพันธุ์ผสมมากขึ้น รวมทั้งพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการเลี้ยงที่ลงทุนน้อยและผลผลิตคุ้มค่า ซึ่งถ้าหากกกลุ่มเกษตรกรกลุ่มนี้สามารถทำได้ จะสามารถทำเกษตรมีรายได้ที่สูงขึ้น

  • 2.  เลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมบาร์มัน ฮินดูบราซิล เลี้ยงเพื่อทำพันธุ์ ขายพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และขายเนื้อ ซึ่งต้นทุนตอนซื้อมีราคาสูง แต่ปัญหาที่พบของเกษตรกรกลุ่มนี้คือ มีโคลูกผสม แต่ไม่มีข้อมูลโครายตัวทั้งในด้านอายุ พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เวลานำมาเลี้ยงก็ผสมตามความนิยมของตลาดหรือปล่อยให้โคผสมพันธุ์กันเอง ซึ่งเสี่ยงต่อการได้ลูกโคที่ไม่มีคุณภาพ

  • 3. เลี้ยงเพื่อขุนขายเนื้อ ด้วยการซื้อโคจากสนามมาขุนเพื่อทำน้ำหนักให้มีคณุภาพซากที่ดี แต่ส่วนใหญ่ชาวบ้านยังไม่มีทุนมากพอที่จะเลี้ยงแบบขุนเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังมีความรู้ในเรื่องนี้ดีพอ

จากข้อมูลดังกล่าว การจะทำให้ชาวบ้านเลี้ยงโคได้ดีและประสบผลสำเร็จนั้น ควรส่งเสริมให้เกษตรกร

    • เลี้ยงโคพื้นเมือง พันธุ์ลูกผสม ผสมผสานกันไป เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีและเหมาะสม

    • เปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยง ผสมผสานทั้งแบบปล่อยเลี้ยงและหาหญ้ากิน รวมทั้งเสริมอาหารข้นที่สามารถผลิตเองได้

    • ต้องทำบัญชีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ทราบต้นทุนการผลิตที่แท้จริง ว่าได้กำไรหรือขาดทุนทั้งแง่ของตัวเงิน/สังคม

หมายเลขบันทึก: 50285เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2006 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เริ่มจัดการได้แล้วครับ ความรู้ชักจะเต็มบ้านแล้วครับ รกมากๆจัดการยากนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท