CoP ครู...กับเทคโนโลยี


       มุมมองที่คำนึงและเหมือนเป็นโจทย์ต่อการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ของมนุษย์...จากประสบการณ์ที่ได้รับผ่านเวที CoP ครูภาษาอังกฤษ สพท.เขต 1 จังหวัดหนองคาย...แม้ล่วงเลยมาหลายวันมากแล้ว...แต่ในห้วงคำนึงดิฉันก็ยังพยายามแสวงหาคำตอบแก่ตนเองถึง Appropriate technology หรือการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมนั้นควรเป็นอย่างไร ที่สามารถตอบสนองต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของมนุษย์...อันนำไปสู่ความยั่งยืนทางปัญญาแห่งการเรียนรู้ของ "มนุษย์"...ต่อไป...

       จากการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่าน ดร.วิรัตน์  คำศรีจันทร์ ในบันทึก "บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษาสู่สังคมที่มีฐานความรู้" นั้น..ทำให้ดิฉันเริ่มที่จะมั่นใจในทางเลือกของตนเองที่หักเห..มาเรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา...ดิฉันเชื่อและมองเห็นได้ว่า..สามารถนำไปสู่การเชื่อมโยงได้ทุกภาคส่วนสาขาวิชาชีพ - อาชีพในสังคม...และที่มากไปกว่านั้นคือการขับเคลื่อนไปสู่การเกิดเป็นสังคมฐานความรู้...ที่คนในสังคมสามารถสร้างความรู้...อันมาจากกระบวนการทางปัญญาของตนเองได้...

       และจากการพูดคุยเสวนากับท่านผู้อำนวยการพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 1 จ.มหาสารคาม ท่าน ดร.สุรัตน์  ดวงชาทม  เกี่ยวกับการขับเคลื่อน KM ตามเกณฑ์ของ กพร. ที่พยายามขับเคลื่อนในแวดวงการศึกษานั้น ปัญหาอุปสรรคหนึ่งที่ท่านเจอซึ่งก็คงไม่แตกต่างไปจากทาง สพท. เขต 1 จังหวัดหนองคาย...ก็คือ การนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวบังคับให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่สภาพแห่งความจริง..และการจัดการความรู้อย่างแก่นแท้ที่แท้จริงนั้น "เทคโนโลยี" ไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของกระบวนการการจัดการความรู้...แต่เรามักไปยึดติดที่เทคโนโลยีเสียเป็นส่วนใหญ่...

       จากทางเลือกที่ดิฉันเสนอไปที่ สพท.เขต 1 จ.หนองคายนั้น..ที่ว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นกับว่าเราจะจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้นั้นอย่างไรบ้าง...แต่เท่าที่ติดตามเป็นระยะ...ดิฉันก็ยังรับรู้ได้ว่าทางผู้ปฏิบัตินั้นยังคงมีความกังวลกับ...เทคโนโลยีและตัวชี้วัดที่องค์กรต้องดำเนินไปตามกฏเกณฑ์...แต่อย่างไรก็ตามดิฉันมองว่านี่เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่เราสามารถแก้ไขและหาทางออกได้...แต่ความยั่งยืนที่มีมากกว่านั้นคือ...การค้นหา Best Practice ที่มีอยู่อย่างเป็นเนื้อแท้ในตัวบุคคล เพื่อนำไปสู่การออกแบบต่อว่า...Best Practice ที่ว่านั้นนำไปสู่การถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอดกันต่อไปได้อย่างไร...

 

หมายเลขบันทึก: 50269เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2006 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อันนี้ต้องฝาก กะปุ๋ม คิดพัฒนาแล้วล่ะ เพราะทุกวันนี้ คำว่า เทคโนโลยี ถูกตีความในลักษณะ  concrete technology ก็เลยต้องเกี่ยวโยงกับ เครืองไม้เครืองมือที่เป็น ไฟฟ้า สวิทซ์ปิด เปิด มีกลไกอันซับซ้อน จนทำให้หลายคนมองข้ามของง่ายๆ ใกล้ๆตัว

อย่างเรืองการแลกเปลียนเรียนรู้อีก ผมสังเกตนะว่า

ทำไมหลายคน เช่น กะปุ๋ม ปภงกรณ์ เข้ามาใช้ประโยชน์จาก gotoknow อย่างคุ้มค่าเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต  แต่ขณะที่หลายๆ คนเข้ามาเพียงแค่แวะมาดู และเดินไป

เพราะอะไรหรือ

ไม่มีอะไรจะเล่า มีแต่เล่าไม่ถูก ชอบอ่านแต่ไม่ชอบเขียนชอบเล่า อายกลัวแสดงอะไรไม่เข้าท่า หรือแม้แต่เรืองที่เราอาจจะมองข้าม ทักษะในการใช้คอมและการพิมพ์สัมผัส  หรืออะไรก็แล้วแต่

ผมเคยคิดนะว่า จะลองเปิดวิชา reflective thinking ที่บ้านเรา โดยผ่านเวบ แบบที่เรากำลังทำกันอยู่

แต่ก็อดคิดถึงปัญหากลัวว่า เด็กจะมองไปที่เทคโนโลยี มากกว่าการพัฒนากระบวนการต่อยอดทางความคิด

เอ ผมควรจะเริ่มที่ตรงไหนก่อนดีครับ

 

มีครั้งหนึ่งได้มีโอกาสฟังบรรยาย "เทคโนโลยีกับการศึกษา" จากท่าน ดร.อุทัย  ดุลยเกษม...ท่านพูดถึงว่า เทคโนโลยีนั้นหมายถึง...สิ่งที่ต่อยอดออกมาจาก...แขน-ขา..หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มนุษย์ไม่สามารถใช้อวัยวะในร่างกายทำได้...เช่น ไม้สอยมะม่วง ก็เป็นเทคโนโลยี...อุปกรณ์จับปลาก็เป็นเทคโนโลยี...แต่ที่เรานึกไม่ถึงก็เพราะว่า เรา scope เทคโนโลยีไปที่เครื่องไม้เครืองมือที่เป็น ไฟฟ้า สวิทซ์ปิด เปิด มีกลไกอันซับซ้อน ...Hardware .Sofeware....อย่างที่ คุณคนไกล (อ.เชษฐา)...ว่านั่นแหละคะ

...

เราลองเปลี่ยนมุมมองใหม่...ย้อนกลับความคิด และคิดให้แตกต่างต่อยอดออกไปในอีกทิศทาง...เราจะสามารถใช้ทรัพยากร...และศักยภาพที่มีอยู่ใกล้ตัวอย่างที่เรามองไม่เห็น...มาพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้...โดยไม่ต้องรอว่าต้องมีคอมพิวเตอร์จึงจะ...สามารถสร้างความรู้ (Knowledge  Construction)...

....

ในความเห็นที่ อ.เชษฐา ว่าเกี่ยวกับจะลองเปิดวิชา reflective thinking ที่บ้านเรา โดยผ่านเวบ นั้นกะปุ๋มเห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะทุกวันนี้ที่ภาควิชา...ท่าน รศ.ดร. สุมาลี  ไชยเจริญ ท่านก็ใช้สื่อ web base learning นี้ โดยออกแบบภายใต้แนวคิด constructivist ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน...ซึ่งเน้นกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการสร้างความรู้...มากกว่าที่จะไปท่องหรือจำความรู้...หรือให้ครูบอกความรู้แต่เพียงฝ่ายเดียว...กะปุ๋มมองว่า...วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่เราต้องการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้นี้สำคัญกว่า ดั่งเช่นที่อาจารย์ต้องการเน้นให้เด็กเกิดการคิด...นั่นน่ะก็ประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่เลยทีเดียวคะ

*^__^*

ขอบคุณนะคะที่มา ลปรร.

กะปุ๋ม

เช้านี้ผมเริ่มปฏิบัติการขยายเครือข่าย โดยเริ่มจากแวดวงอาจารย์จิตเวช

ผมชักชวนบรรดาเพือนๆ ในสายงาน ประมาณสิบห้าคน และชักชวนให้สร้างเครือข่ายบนเวบนี้

ยังไงขอคุณ กะปุ๋ม ช่วยผมเรือง แนะนำเทคนิคบ้างนะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

คุณคนไกล...

ยินดีเลยคะ...จากนั้นสร้างแพลนเน็ต/planet..นะคะ..เราจะได้ตามกันเจอ...หรือใส่ป้าย/tag...เราจะกำหนดป้ายด้วยคำว่าอะไรดีคะ...กะปุ๋มจะได้ร่วมด้วย

หากอย่างไรแล้วรบกวนให้กะปุ๋มทราบด้วยนะคะว่ามี Blog ท่านใดบ้าง...กะปุ๋มจะได้ไปร่วมและเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

อ.เชษฐา...

จะสร้างแพลนเน็ต...เลยก็ได้นะคะ กะปุ๋มแวะเข้าไปดูเมื่อสักครู่...กะปุ๋มเห็นว่าท่านไม่ได้ทำ planet จากนั้นเราก็ค่อย add blog ต่างๆ เข้ามาไว้ใน planet ตัวอย่างดั่งเช่นที่กะปุ๋ม ทำ Planet CoP-R2R  หรือ Guru-CoP...ลองดูนะคะ แลกเปลี่ยนกันได้ตลอด

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

คุณกะปุ๋ม ครับ

ผมจะเอาบลอค บรรจุลง พลาเน็ต ได้ยังไงครับ

ช่วยแนะนำด้วย ขอบคุณครับ

คุณคนไกล...

ขออภัยนะคะ...ที่มาตอบช้าไปหน่อย..แต่กะปุ๋มว่าตอนนี้คุณน่าจะทำได้แล้วนะคะ...เพราะกะปุ๋มเข้าไปดูในแพลนเน็ตแล้ว...พบว่ามีหลาย Blog อยู่ใน Planet นั้นแล้ว...

...

คนจิตเวช...น่าจะได้ถึงเวลาแห่งการขยาย...วง ลปรร. กันกว้างขึ้นนะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท