ข่าว : รร.เมืองแพร่วอนคนช่วย อุ้มตองเหลืองเรียน


ก็หนังสือกระดาษ วันที่ 12 หนังสือบนเน็ตเป็น วันที่ 11 ไปได้ จึงขอบันทึกไว้ ) และขอสำเนาข่าวดังกล่าวมาเก็บรวบรวมไว้ เพื่อเ็ป็นข้อมูลสำหรับการศึกษา ความเข้ารู้ ความเข้าใจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

                        เที่ยงเศษวันศุกร์ ที่ 15 กันยายน 2549 ไปรับประทานอาหารมื้อเที่ยงที่ร้านธนยา  เป็นข้าวลาดแกง 2 อย่าง 25 บาทพร้อมน้ำดื่ม ได้อ่านหนังสือ คม ชัด ลึก ลงวันที่ 12 กันยายน 2549 มีข่าวและภาพเกี่ยวกับตองเหลือง และการศึกษา อยู่หน้า 1 เด่นเป็นกรณีตามข่าวจากบ้านท่าวะ อ.สอง จ.แพร่   จึงตัดสินใจโทร.บอกเล่า ดร.สุวัฒน์ฯ อดีต ผวจ.น่าน  หัวหน้าคณะจิตอาสาฯ  ให้ทราบเพราะเห็นว่าท่านสนใจ เอาใจใส่อยู่ และยังเป็นที่ปรึกษา รมต.ศึกษาฯ ด้านกรศึกษาชาวไทยพื้นที่สูง ( ชาวเขา ) อยู่  อีกอย่างเกรงว่า จะตกข่าวเลยต้องโทรบอกเล่าไปให้รับทราบไว้    แต่เมื่อกลับมาบ้านตอนค่ำนี้ได้ค้นหาข่าวสารที่พบในหนังสือกระดาษ ที่อ่านเมื่องเที่ยงทางอินเตอร์เน็ต  พบว่า เป็นข่าวของวันที่ 11 กันยายน 2549  ( ก็หนังสือกระดาษ วันที่ 12  หนังสือบนเน็ตเป็น วันที่ 11 ไปได้ จึงขอบันทึกไว้ )  และขอสำเนาข่าวดังกล่าวมาเก็บรวบรวมไว้  เพื่อเ็ป็นข้อมูลสำหรับการศึกษา ความเข้ารู้ ความเข้าใจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2549   http://www.komchadluek.net/2006/09/11/a001_45995.php?news_id=45995

รร.เมืองแพร่วอนคนช่วย อุ้มตองเหลืองเรียนหนังสืองบอาหารฝืด
โรงเรียนบ้านท่าวะ เมืองแพร่ระส่ำ รับเด็กนักเรียนเผ่าตองเหลืองเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ จำใจเจียดงบปกติซื้ออาหาร-นมจูงใจให้เด็กมาโรงเรียน วอนสังคมยื่นมือช่วย ผอ.เผยเตรียมจัดโครงการเกษตรยั่งยืนเลี้ยงดูนักเรียน แถมดึงพ่อแม่เด็กตองเหลืองร่วมฝึกอาชีพหวังช่วยตัวเองให้รอด แกนนำชนเผ่าตองเหลืองยอมรับ อยากให้ลูกๆ ได้เรียนหนังสือมากขึ้น

 ผลพวงจากความเปลี่ยนแปลงของโลก และทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย ทั้งจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นและจากน้ำมือของมนุษย์ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อประชากรในชุมชนเมืองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อชนกลุ่มน้อยต่างๆ โดยเฉพาะชนเผ่าตองเหลืองใน อ.สอง จ.แพร่ ซึ่งอดีตเคยอาศัยอยู่ในป่า มีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่กลมกลืนกับป่า มีวัฒนธรรมที่แปลกแยกจากคนเมือง ปัจจุบันชนเผ่าตองเหลืองที่อาศัยอยู่ในผืนป่าในพื้นที่ของ ต.สะเอียบ อ.สอง ได้อพยพจากป่าออกมาประกอบอาชีพรับจ้างจำนวนมาก

 ทีมข่าว ”คม ชัด ลึก” เดินทางไปยังโรงเรียนบ้านท่าวะ หมู่ 8 ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เนื่องจากโรงเรียนแห่งนี้รับเด็กชนเผ่าตองเหลืองอายุระหว่าง 4-14 ปี มาเรียนในโรงเรียน หลังจากที่เด็กเหล่านี้ต้องออกจากป่ามาพร้อมกับพ่อแม่ ที่ออกมาเร่ร่อนรับจ้างชาวบ้าน

 นายพนมพันธ์ ดอกหอม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าวะ (ราษฎร์บำรุง) ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 8 บ้านท่าวะ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เปิดเผยว่า โรงเรียนได้รับเด็กชนเผ่าตองเหลือง หรือ ”บราบรี” จำนวน 20 คน มาเรียนร่วมกับเด็กๆ ซึ่งเป็นลูกของชาวบ้านในพื้นที่หมู่ 8 บ้านท่าวะ  ต.สะเอียบ เพราะวิถีชีวิตของชนเผ่าตองเหลืองได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมจะอาศัยและหากินในป่าเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้ออกจากป่ามารับจ้างชาวบ้านปลูกและเก็บข้าวโพดแลกกับเงินค่าจ้างวันละ 50 บาท

 ทั้งนี้ ระหว่างที่พ่อแม่ออกจากป่ามารับจ้างในหมู่บ้านก็จะนำลูกๆ มาด้วย  ซึ่งเด็กชาวเขาเผ่าตองเหลืองต้องเร่ร่อนตามพ่อแม่ไปทำงานรับจ้างตามที่ต่างๆ  แล้วแต่ใครจะจ้างมา โรงเรียนจึงเล็งเห็นว่า ควรให้ดึงเด็กเหล่านี้มาเรียนหนังสือในโรงเรียน ดีกว่าจะเร่ร่อนตามผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กมีโอกาสเรียนหนังสือและนำความรู้ที่ได้กลับไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์กับตนเองและครอบครัว เพราะชนเผ่าตองเหลืองมีเพียงภาษาพูดที่เป็นภาษาท้องถิ่นของตนเอง คือ ภาษา “บราบรี” ไม่มีภาษาเขียน จึงไม่สามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้

 นายพนมพันธ์ กล่าวอีกว่า หลังจากรับเด็กชนเผ่าตองเหลืองมาเรียนหนังสือร่วมกับเด็กทั่วไป ซึ่งมีประมาณ 44 คน โรงเรียนต้องนำงบประมาณที่ได้รับจัดสรรสำหรับเด็กทั่วไปที่ได้รับมาหัวละ 1,100 บาทต่อปี เฉลี่ยให้แก่เด็กจากชนเผ่าตองเหลือง โดยเฉพาะค่าอาหารกลางวันที่เด็กทั่วไปจะได้หัวละ 6 บาท ก็ต้องแบ่งมาให้แก่เด็กชนเผ่าตองเหลืองหัวละ 3 บาท รวมทั้งโรงเรียนต้องแบ่งนมที่ได้รับจัดสรรมาให้แก่เด็กเหล่านี้ด้วย เพื่อดึงให้เด็กชนเผ่าตองเหลืองมาเรียนหนังสือทุกวัน เพราะบางวันเด็กชนเผ่าตองเหลืองมักจะหยุดเรียนตามพ่อแม่ไปทำงาน

 “การดึงเด็กชนเผ่าตองเหลืองมาเรียนหนังสือ ต้องใช้ขนมและนมกล่องมาล่อ เพื่อให้เด็กๆ อยากมาโรงเรียน เพราะวิถีชีวิตของพวกเขาไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เร่ร่อนย้ายที่อยู่และไปรับจ้างในที่ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งทางโรงเรียนเองไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะนำมาใช้ดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่” นายพนมพันธ์ กล่าว

 ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าวะ ระบุด้วยว่า ล่าสุดได้จัดโครงการ ”การให้การศึกษาเพื่อชีวิตใหม่” โดยจะขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานและองค์กรภายนอกที่มีจิตศรัทธา เพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอน ชุดนักเรียนและอาหารกลางวัน รวมทั้งนมสำหรับเด็กชนเผ่าตองเหลือง 

 ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการ ”เกษตรเพื่อชีวิตที่ยั่งยืน” โดยแผนงานที่วางไว้ คือ การจัดพื้นที่ภายในโรงเรียนสำหรับปลูกผักกางมุ้ง การเลี้ยงปลาดุกพันธุ์รัสเซีย การเลี้ยงไก่ไข่ สุกร โดยจะให้เด็กนักเรียนทั้งเด็กทั่วไปและเด็กชนเผ่าตองเหลืองที่มาเรียนหนังสือเป็นผู้ปลูกและดูแล ส่วนผลผลิตที่ได้จะนำมาใช้บริโภคภายในโรงเรียน เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายและฝึกฝนให้เด็กๆ มีทักษะในการประกอบอาชีพตั้งแต่เด็ก 

 ที่สำคัญ โรงเรียนยังมีแผนจะดึงพ่อแม่เด็กชนเผ่าตองเหลืองเหล่านี้มาร่วมเรียนรู้การทำเกษตร เพื่อให้นำความรู้ที่ได้กลับไปพัฒนาวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ จากเดิมชนเผ่าเหล่านี้ไม่มีความรู้ความสามารถในการปลูกพืช ผัก หรือเลี้ยงสัตว์ แต่หากได้รับการฝึกฝนและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง จะช่วยให้ชนเผ่าเหล่านี้สามารถประกอบอาชีพได้ โดยไม่ต้องไปรับจ้าง ซึ่งในอนาคตจะทำให้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้นด้วย  

 “ช่วงแรกๆ ที่โรงเรียนรับเด็กชนเผ่าตองเหลืองมาเรียน ร่างกายผ่ายผอมแคระแกร็นกว่าเด็กปกติ ผมเผ้ารุงรัง ไม่รู้จัดการอาบน้ำและแปรงฟัน เมื่อมาเรียนร่วมกับเด็กปกติระยะแรกมีปัญหาในการเข้าสังคมพอสมควร เพราะเด็กเหล่านี้มีกลิ่นตัวเหม็น แต่หลังจากโรงเรียนดึงเด็กชนเผ่าตองเหลืองมาเรียนและแจกอาหาร-นมกล่องให้รับประทาน ร่างกายเริ่มเจริญเติมโตตามวัยและมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่น การเรียนรู้วิธีแปรงฟัน การทำความสะอาดร่างกายและการเข้าสังคมกับเพื่อนฝูง จนปัจจุบันทั้งเด็กปกติและเด็กชนเผ่าตองเหลืองสามารถเรียนและเล่นกันได้เป็นอย่างดี ไม่มีการแบ่งแยก” นายพนมพันธ์ กล่าว

 นายอนันต์ ปัญจา อายุ 31 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 8 ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กล่าวว่า ตนทำอาชีพปลูกข้าวโพด มีไร่ข้าวโพดประมาณ 60 ไร่ แรกๆ ก็ทำเองและจ้างคนในหมู่บ้านมาทำ แต่ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ชนเผ่าตองเหลืองได้ออกมารับจ้างชาวบ้านเก็บข้าวโพด ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่จะให้เงินค่าจ้างวันละ 50-100 บาท รวมกับเลี้ยงอาหารกลางวัน หลังจากรับจ้างเสร็จแล้วในช่วงเย็นชนเผ่าตองเหลืองก็จะกลับเข้าไปอยู่ในป่า

 “ฤดูเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวโพดจะเริ่มในเดือนพฤษภาคม-กันยายน ซึ่งมีระยะเวลารวมประมาณ 4-5 เดือน หลังสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ชนเผ่าตองเหลืองก็ไม่มีอาชีพ ต้องนำครอบครัวออกจากป่าเร่ร่อนไปรับจ้างเล็กๆ น้อยๆ ตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อประทังชีวิต จึงคิดช่วยเหลือ โดยการปลูกบ้านไว้ในไร่ข้าวโพดให้ชนเผ่าเหล่านี้ได้อยู่เป็นหลักแหล่ง และจะสอนให้เขารู้จักทำการเกษตร เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้และสามารถเลี้ยงดูครอบครัว รวมทั้งให้ลูกๆ ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน แทนที่จะหอบครอบครัวออกจากป่าเร่รอนไปโดยไม่มีจุดหมาย” นายอนันต์ กล่าว

 ทั้งนี้ ยอมรับว่าการดึงชนเผ่าเหล่านี้มาอยู่อาศัยในชุมชน อาจทำให้วิถีชีวิตของชนเผ่าตองเหลืองเปลี่ยนแปลงและถูกวัฒนธรรมของชุมชนเมืองกลืนวิถีดั้งเดิมไป แต่หากไม่ช่วยเหลือชนเผ่าตองเหลือง ก็อาจไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะปัจจุบันเขาได้อพยพออกมาจากป่าแล้ว เนื่องจากสภาพผืนป่าถูกทำลาย การหาของป่าหรือใช้ชีวิตอยู่ในป่าจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก 

 นายสม ศรีผาสุข ผู้อาวุโสชาวเผ่าตองเหลือง กล่าวว่า ปัจจุบันชนเผ่าตองเหลืองไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ในป่าได้แล้ว เพราะป่าถูกทำลายจนไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการหาของป่ามารับประทานเหมือนในอดีต ผู้นำครอบครัวจึงต้องนำภรรยาและลูกออกมารับจ้างชาวบ้านตามหมู่บ้าน และอาชีพที่ดีที่สุดก็คือการรับจ้างเก็บข้าวโพด

 ทั้งนี้ เมื่อโรงเรียนบ้านท่าวะ เปิดรับลูกหลานของชนเป่าตองเหลืองเข้าเรียนหนังสือร่วมกับเด็กๆ ในหมู่บ้าน ชนเผ่าตองเหลืองทุกคนรู้สึกดีใจ เพราะอยากให้ลูกหลานได้เรียนหนังสือ มีความรู้ สามารถอ่านออก-เขียนได้ ซึ่งทุกคนก็ตั้งความหวังให้ลูกหลานมีโอกาสได้เรียนหนังสือ นำความรู้ที่ได้กลับมาสอนพ่อแม่ต่อไป

 นายเพชร ศรีพนาสุข ชาวเผ่าตองเหลือง กล่าวว่า ครอบครัวของตนมีลูก 2 คน คนโตเป็นผู้ชาย ได้ส่งไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านท่าวะ ส่วนคนเล็กเป็นหญิงยังไปโรงเรียนไม่ได้ จึงต้องนำลูกเร่ร่อนออกมารับจ้างเก็บข้าวโพดด้วย แต่ตั้งใจว่า หากลูกโตขึ้นและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากกว่านี้ จะส่งลูกสาวคนเล็กไปเรียนที่โรงเรียนเหมือนพี่ชายอย่างแน่นอน

 “ผมอยากให้ลูกๆ ได้เรียนหนังสือ เพื่อจะได้มีความรู้ อย่างน้อยก็สามารถอ่านออก เขียนได้ เขาจะได้กลับมาสอนผมและภรรยาบ้าง และจะได้มีอนาคตที่ดีขึ้น ไม่ต้องรับจ้างเหมือนผม เพราะปัจจุบันวิถีชีวิตของเราเปลี่ยนไปหลังจากป่าถูกทำลาย หากยังดำรงชีวิตอยู่ในป่าต่อไปก็คงต้องอดตาย ผมสงสารภรรยาและลูก จึงต้องนำพวกเขาออกมารับจ้าง เพื่อหาเงินมาซื้ออาหารรับประทาน” นายเพชร กล่าว

 ส่วน ด.ช.เลิศ ศรีพนาสุข ชาวเผ่าตองเหลือง กล่าวว่า ชอบมาโรงเรียน เพราะนอกจากจะได้กินอาหารและนมกล่องที่ครูแจกให้แล้ว ยังได้เรียนหนังสือร่วมกับเพื่อนๆ ด้วย ซึ่งวิชาที่ชอบมากที่สุดคือวาดเขียน เพราะได้ใช้สีระบายภาพ 
 


รร.เมืองแพร่วอนคนช่วย อุ้มตองเหลืองเรียนหนังสืองบอาหารฝืด
โรงเรียนบ้านท่าวะ เมืองแพร่ระส่ำ รับเด็กนักเรียนเผ่าตองเหลืองเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ จำใจเจียดงบปกติซื้ออาหาร-นมจูงใจให้เด็กมาโรงเรียน วอนสังคมยื่นมือช่วย ผอ.เผยเตรียมจัดโครงการเกษตรยั่งยืนเลี้ยงดูนักเรียน แถมดึงพ่อแม่เด็กตองเหลืองร่วมฝึกอาชีพหวังช่วยตัวเองให้รอด แกนนำชนเผ่าตองเหลืองยอมรับ อยากให้ลูกๆ ได้เรียนหนังสือมากขึ้น
 

 ผลพวงจากความเปลี่ยนแปลงของโลก และทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย ทั้งจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นและจากน้ำมือของมนุษย์ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อประชากรในชุมชนเมืองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อชนกลุ่มน้อยต่างๆ โดยเฉพาะชนเผ่าตองเหลืองใน อ.สอง จ.แพร่ ซึ่งอดีตเคยอาศัยอยู่ในป่า มีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่กลมกลืนกับป่า มีวัฒนธรรมที่แปลกแยกจากคนเมือง ปัจจุบันชนเผ่าตองเหลืองที่อาศัยอยู่ในผืนป่าในพื้นที่ของ ต.สะเอียบ อ.สอง ได้อพยพจากป่าออกมาประกอบอาชีพรับจ้างจำนวนมาก

 ทีมข่าว ”คม ชัด ลึก” เดินทางไปยังโรงเรียนบ้านท่าวะ หมู่ 8 ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เนื่องจากโรงเรียนแห่งนี้รับเด็กชนเผ่าตองเหลืองอายุระหว่าง 4-14 ปี มาเรียนในโรงเรียน หลังจากที่เด็กเหล่านี้ต้องออกจากป่ามาพร้อมกับพ่อแม่ ที่ออกมาเร่ร่อนรับจ้างชาวบ้าน

 นายพนมพันธ์ ดอกหอม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าวะ (ราษฎร์บำรุง) ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 8 บ้านท่าวะ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ เปิดเผยว่า โรงเรียนได้รับเด็กชนเผ่าตองเหลือง หรือ ”บราบรี” จำนวน 20 คน มาเรียนร่วมกับเด็กๆ ซึ่งเป็นลูกของชาวบ้านในพื้นที่หมู่ 8 บ้านท่าวะ  ต.สะเอียบ เพราะวิถีชีวิตของชนเผ่าตองเหลืองได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมจะอาศัยและหากินในป่าเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้ออกจากป่ามารับจ้างชาวบ้านปลูกและเก็บข้าวโพดแลกกับเงินค่าจ้างวันละ 50 บาท

 ทั้งนี้ ระหว่างที่พ่อแม่ออกจากป่ามารับจ้างในหมู่บ้านก็จะนำลูกๆ มาด้วย  ซึ่งเด็กชาวเขาเผ่าตองเหลืองต้องเร่ร่อนตามพ่อแม่ไปทำงานรับจ้างตามที่ต่างๆ  แล้วแต่ใครจะจ้างมา โรงเรียนจึงเล็งเห็นว่า ควรให้ดึงเด็กเหล่านี้มาเรียนหนังสือในโรงเรียน ดีกว่าจะเร่ร่อนตามผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กมีโอกาสเรียนหนังสือและนำความรู้ที่ได้กลับไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์กับตนเองและครอบครัว เพราะชนเผ่าตองเหลืองมีเพียงภาษาพูดที่เป็นภาษาท้องถิ่นของตนเอง คือ ภาษา “บราบรี” ไม่มีภาษาเขียน จึงไม่สามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้

 นายพนมพันธ์ กล่าวอีกว่า หลังจากรับเด็กชนเผ่าตองเหลืองมาเรียนหนังสือร่วมกับเด็กทั่วไป ซึ่งมีประมาณ 44 คน โรงเรียนต้องนำงบประมาณที่ได้รับจัดสรรสำหรับเด็กทั่วไปที่ได้รับมาหัวละ 1,100 บาทต่อปี เฉลี่ยให้แก่เด็กจากชนเผ่าตองเหลือง โดยเฉพาะค่าอาหารกลางวันที่เด็กทั่วไปจะได้หัวละ 6 บาท ก็ต้องแบ่งมาให้แก่เด็กชนเผ่าตองเหลืองหัวละ 3 บาท รวมทั้งโรงเรียนต้องแบ่งนมที่ได้รับจัดสรรมาให้แก่เด็กเหล่านี้ด้วย เพื่อดึงให้เด็กชนเผ่าตองเหลืองมาเรียนหนังสือทุกวัน เพราะบางวันเด็กชนเผ่าตองเหลืองมักจะหยุดเรียนตามพ่อแม่ไปทำงาน

 “การดึงเด็กชนเผ่าตองเหลืองมาเรียนหนังสือ ต้องใช้ขนมและนมกล่องมาล่อ เพื่อให้เด็กๆ อยากมาโรงเรียน เพราะวิถีชีวิตของพวกเขาไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เร่ร่อนย้ายที่อยู่และไปรับจ้างในที่ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งทางโรงเรียนเองไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะนำมาใช้ดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่” นายพนมพันธ์ กล่าว

 ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านท่าวะ ระบุด้วยว่า ล่าสุดได้จัดโครงการ ”การให้การศึกษาเพื่อชีวิตใหม่” โดยจะขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานและองค์กรภายนอกที่มีจิตศรัทธา เพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอน ชุดนักเรียนและอาหารกลางวัน รวมทั้งนมสำหรับเด็กชนเผ่าตองเหลือง 

 ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการ ”เกษตรเพื่อชีวิตที่ยั่งยืน” โดยแผนงานที่วางไว้ คือ การจัดพื้นที่ภายในโรงเรียนสำหรับปลูกผักกางมุ้ง การเลี้ยงปลาดุกพันธุ์รัสเซีย การเลี้ยงไก่ไข่ สุกร โดยจะให้เด็กนักเรียนทั้งเด็กทั่วไปและเด็กชนเผ่าตองเหลืองที่มาเรียนหนังสือเป็นผู้ปลูกและดูแล ส่วนผลผลิตที่ได้จะนำมาใช้บริโภคภายในโรงเรียน เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายและฝึกฝนให้เด็กๆ มีทักษะในการประกอบอาชีพตั้งแต่เด็ก 

 ที่สำคัญ โรงเรียนยังมีแผนจะดึงพ่อแม่เด็กชนเผ่าตองเหลืองเหล่านี้มาร่วมเรียนรู้การทำเกษตร เพื่อให้นำความรู้ที่ได้กลับไปพัฒนาวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ จากเดิมชนเผ่าเหล่านี้ไม่มีความรู้ความสามารถในการปลูกพืช ผัก หรือเลี้ยงสัตว์ แต่หากได้รับการฝึกฝนและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง จะช่วยให้ชนเผ่าเหล่านี้สามารถประกอบอาชีพได้ โดยไม่ต้องไปรับจ้าง ซึ่งในอนาคตจะทำให้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้นด้วย  

 “ช่วงแรกๆ ที่โรงเรียนรับเด็กชนเผ่าตองเหลืองมาเรียน ร่างกายผ่ายผอมแคระแกร็นกว่าเด็กปกติ ผมเผ้ารุงรัง ไม่รู้จัดการอาบน้ำและแปรงฟัน เมื่อมาเรียนร่วมกับเด็กปกติระยะแรกมีปัญหาในการเข้าสังคมพอสมควร เพราะเด็กเหล่านี้มีกลิ่นตัวเหม็น แต่หลังจากโรงเรียนดึงเด็กชนเผ่าตองเหลืองมาเรียนและแจกอาหาร-นมกล่องให้รับประทาน ร่างกายเริ่มเจริญเติมโตตามวัยและมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่น การเรียนรู้วิธีแปรงฟัน การทำความสะอาดร่างกายและการเข้าสังคมกับเพื่อนฝูง จนปัจจุบันทั้งเด็กปกติและเด็กชนเผ่าตองเหลืองสามารถเรียนและเล่นกันได้เป็นอย่างดี ไม่มีการแบ่งแยก” นายพนมพันธ์ กล่าว

 นายอนันต์ ปัญจา อายุ 31 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 8 ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กล่าวว่า ตนทำอาชีพปลูกข้าวโพด มีไร่ข้าวโพดประมาณ 60 ไร่ แรกๆ ก็ทำเองและจ้างคนในหมู่บ้านมาทำ แต่ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ชนเผ่าตองเหลืองได้ออกมารับจ้างชาวบ้านเก็บข้าวโพด ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่จะให้เงินค่าจ้างวันละ 50-100 บาท รวมกับเลี้ยงอาหารกลางวัน หลังจากรับจ้างเสร็จแล้วในช่วงเย็นชนเผ่าตองเหลืองก็จะกลับเข้าไปอยู่ในป่า

 “ฤดูเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวโพดจะเริ่มในเดือนพฤษภาคม-กันยายน ซึ่งมีระยะเวลารวมประมาณ 4-5 เดือน หลังสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ชนเผ่าตองเหลืองก็ไม่มีอาชีพ ต้องนำครอบครัวออกจากป่าเร่ร่อนไปรับจ้างเล็กๆ น้อยๆ ตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อประทังชีวิต จึงคิดช่วยเหลือ โดยการปลูกบ้านไว้ในไร่ข้าวโพดให้ชนเผ่าเหล่านี้ได้อยู่เป็นหลักแหล่ง และจะสอนให้เขารู้จักทำการเกษตร เพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้และสามารถเลี้ยงดูครอบครัว รวมทั้งให้ลูกๆ ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน แทนที่จะหอบครอบครัวออกจากป่าเร่รอนไปโดยไม่มีจุดหมาย” นายอนันต์ กล่าว

 ทั้งนี้ ยอมรับว่าการดึงชนเผ่าเหล่านี้มาอยู่อาศัยในชุมชน อาจทำให้วิถีชีวิตของชนเผ่าตองเหลืองเปลี่ยนแปลงและถูกวัฒนธรรมของชุมชนเมืองกลืนวิถีดั้งเดิมไป แต่หากไม่ช่วยเหลือชนเผ่าตองเหลือง ก็อาจไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะปัจจุบันเขาได้อพยพออกมาจากป่าแล้ว เนื่องจากสภาพผืนป่าถูกทำลาย การหาของป่าหรือใช้ชีวิตอยู่ในป่าจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก 

 นายสม ศรีผาสุข ผู้อาวุโสชาวเผ่าตองเหลือง กล่าวว่า ปัจจุบันชนเผ่าตองเหลืองไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ในป่าได้แล้ว เพราะป่าถูกทำลายจนไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการหาของป่ามารับประทานเหมือนในอดีต ผู้นำครอบครัวจึงต้องนำภรรยาและลูกออกมารับจ้างชาวบ้านตามหมู่บ้าน และอาชีพที่ดีที่สุดก็คือการรับจ้างเก็บข้าวโพด

 ทั้งนี้ เมื่อโรงเรียนบ้านท่าวะ เปิดรับลูกหลานของชนเป่าตองเหลืองเข้าเรียนหนังสือร่วมกับเด็กๆ ในหมู่บ้าน ชนเผ่าตองเหลืองทุกคนรู้สึกดีใจ เพราะอยากให้ลูกหลานได้เรียนหนังสือ มีความรู้ สามารถอ่านออก-เขียนได้ ซึ่งทุกคนก็ตั้งความหวังให้ลูกหลานมีโอกาสได้เรียนหนังสือ นำความรู้ที่ได้กลับมาสอนพ่อแม่ต่อไป

 นายเพชร ศรีพนาสุข ชาวเผ่าตองเหลือง กล่าวว่า ครอบครัวของตนมีลูก 2 คน คนโตเป็นผู้ชาย ได้ส่งไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านท่าวะ ส่วนคนเล็กเป็นหญิงยังไปโรงเรียนไม่ได้ จึงต้องนำลูกเร่ร่อนออกมารับจ้างเก็บข้าวโพดด้วย แต่ตั้งใจว่า หากลูกโตขึ้นและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากกว่านี้ จะส่งลูกสาวคนเล็กไปเรียนที่โรงเรียนเหมือนพี่ชายอย่างแน่นอน

 “ผมอยากให้ลูกๆ ได้เรียนหนังสือ เพื่อจะได้มีความรู้ อย่างน้อยก็สามารถอ่านออก เขียนได้ เขาจะได้กลับมาสอนผมและภรรยาบ้าง และจะได้มีอนาคตที่ดีขึ้น ไม่ต้องรับจ้างเหมือนผม เพราะปัจจุบันวิถีชีวิตของเราเปลี่ยนไปหลังจากป่าถูกทำลาย หากยังดำรงชีวิตอยู่ในป่าต่อไปก็คงต้องอดตาย ผมสงสารภรรยาและลูก จึงต้องนำพวกเขาออกมารับจ้าง เพื่อหาเงินมาซื้ออาหารรับประทาน” นายเพชร กล่าว

 ส่วน ด.ช.เลิศ ศรีพนาสุข ชาวเผ่าตองเหลือง กล่าวว่า ชอบมาโรงเรียน เพราะนอกจากจะได้กินอาหารและนมกล่องที่ครูแจกให้แล้ว ยังได้เรียนหนังสือร่วมกับเพื่อนๆ ด้วย ซึ่งวิชาที่ชอบมากที่สุดคือวาดเขียน เพราะได้ใช้สีระบายภาพ 
 

คำสำคัญ (Tags): #ค้นข่าว
หมายเลขบันทึก: 50264เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2006 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท