การทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับบ


การทำพินัยกรรมแบบเขียงเองทั้งฉบับ          

 พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ พินัยกรรมแบบนี้มีกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๕๗ จะต้องทำดังนี้

                        (๑) ต้องทำเป็นหนังสือ

                        (๒) ต้องลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรม ทั้งนี้เพื่อให้ปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับนี้ทำขึ้นเมื่อใด ขณะที่ทำพินัยกรรมนั้นผู้ทำมีความสามารถในการทำพินัยกรรมหรือไม่ เช่น ขณะนั้นผู้ทำพินัยกรรมไม่เป็นผู้ที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือยังเป็นผู้เยาว์ที่อายุไม่ครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ หรือเป็นคนวิกลจริต หากทำพินัยกรรมโดยไม่ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมนั้นก็เป็นโมฆะ(คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑/๒๔๙๓ และ ๓๗๗๖/๒๕๔๕)

                        (๓) ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความทั้งหมดตลอดจนวันเดือนปีด้วยตนเองจะให้ผู้อื่นเขียนแทนไม่ได้เลยไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง และจะพิมพ์แทนการเขียนก็ไม่ได้

                        (๔) ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ไว้ในพินัยกรรม จะใช้ตราประทับหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ หรือลงแกงได หรือเครื่องหมายอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙ วรรคสอง วรรคสาม ไม่ได้ (มาตรา ๑๖๕๗ วรรคสาม)

                        (๕) การขูดลบ ตกเติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเองและลงลายมือชื่อ (ลายเซ็น) กำกับไว้ จะใช้ตราประทับหรือพิมพ์นิ้วมือหรือแกงไดหรือเครื่องหมายอื่นแทนการลงลายมือชื่อไม่ได้ ถ้าการตกเติมพินัยกรรมมิได้ปฏิบัติตามที่กล่าวคือไม่ได้ลงชื่อกำกับข้อความที่ตกเติม ข้อตกเติมก็ไม่สมบูรณ์ในเฉพาะส่วนนั้น แต่ตัวพินัยกรรมที่เคยสมบูรณ์ ยังสมบูรณ์อยู่ตามเดิม หาทำให้พินัยกรรมดีพลอยเสียไปเพราะการตกเติมแก้ไขไม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๗๒/๒๔๙๒)

            พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับนี้ไม่ต้องมีพยานเลย แต่ถ้าประสงค์จะให้มีพยานก็ได้ไม่เป็นการเสียหายอย่างใด มีแต่ทางดี กล่าวคือเมื่อมีผู้ปฏิเสธว่าไม่ใช่พินัยกรรมที่ผู้ตายทำไว้เป็นพินัยกรรม หรือกล่าวอ้างว่าขณะที่ทำพินัยกรรม ผู้ตายเป็นบุคคลวิกลจริต เช่นนี้พยานที่รู้เห็นก็สามารถยืนยันได้ว่าผู้ตายเขียนพินัยกรรมเองและลายมือชื่อผู้ตายในพินัยกรรมเป็นลายเซ็นที่แท้จริงของผู้ทำพินัยกรรม จึงไม่ใช่พินัยกรรมปลอม หรือพยานยืนยันว่าขณะทำพินัยกรรมเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะดี ไม่ได้วิกลจริต หากไม่มีพยานมายืนยันก็จะทำให้เกิดข้อสงสัยได้เพราะผู้ทำพินัยกรรมก็ได้ตายไปแล้ว พินัยกรรมแบบนี้ถ้าเกิดผิดพลาดไปเอาบุคคลที่ต้องห้ามเช่นบุคคลไม่บรรลุนิติภาวะมาเป็นพยานก็ไม่ทำให้พินัยกรรมเสียไปหรือไม่สมบูรณ์แต่อย่างใด แต่มีข้อควรระวังอย่าไปเอาคนที่เป็นคู่สมรสของผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมมาเป็นพยาน เพราะอาจทำให้ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่มีสิทธิตามพินัยกรรม ข้อดีของการทำพินัยกรรมแบบเขียนเองคือผู้ทำพินัยกรรมรู้ข้อความในพินัยกรรมแต่เพียงผู้เดียว ถือได้ว่าเป็นความลับสุดยอดเพราะถ้ามีพยาน พยานนั้นก็ไม่จำต้องรู้ข้อความในพินัยกรรมก็ได้ เป็นแต่รู้ว่าเป็นพินัยกรรมก็เพียงพอ (มาตรา ๑๖๖๘) แต่หากผู้ทำพินัยกรรมมีความประสงค์ให้พยานรู้เห็นข้อความในพินัยกรรมก็ได้ไม่มีข้อห้ามอะไรสามารถทำได้

            ตัวอย่างพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ 

            พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ

พินัยกรรม

 

ทำที่……………………………….

วันที่…………เดือน……………………พ.ศ. ………...

 

ข้าพเจ้า………………………………..……... อายุ…….…ปี  อยู่บ้านเลขที่…….…….. หมู่ที่…...…..   ถนน…………………………….ตำบล/แขวง…………………………..อำเภอ/เขต...........................…............  จังหวัด........................................ ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ขึ้นไว้  เพื่อแสดงเจตนาว่า  เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่กรรมให้ทรัพย์สินของข้าพเจ้าทั้งหมด  ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีต่อไปในอนาคตตกได้แก่.......................................  ...........................................................แต่ผู้เดียว

            พินัยกรรมนี้  ข้าพเจ้าเขียนด้วยลายมือของข้าพเจ้าทั้งฉบับ  ได้ทำไว้ ๒ ฉบับ  มีข้อความถูกต้องตรงกันทุกประการ  ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่.................................................. อีกฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่.......................................

            ขณะทำพินัยกรรมข้าพเจ้ามีสติสัมปชัญญะปกติ

            ข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้ว

 

                                                            ลงชื่อ................................................ผู้ทำพินัยกรรม

 

           

 

คำสำคัญ (Tags): #khonmuang
หมายเลขบันทึก: 502246เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2012 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2014 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

ขอบคุณมากๆค่ะ ได้ความรู้ไปใช้ค่ะ

ขอรบกวนถามว่า ในกรณีที่มีพินัยกรรมซ้อน หรือ มีมากกว่าหนึ่งฉบับ

เราควรมีความรู้หรือข้อควรทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้างคะ

ขอบพระคุณค่ะ

           การทำพินัยกรรมซ้อนจะมีอยู่สองกรณีครับ

1.ทำพินัยกรรมไว้สองฉบับบและพินัยกกรมทั้งสองฉบับไม่ขัดกัน

ตัวอย่างเช่น  นาย ก ทำพินัยกรรมยกบ้านฉบับที่1 ในวันที่ 1 มกราคม 2555 ว่ายกบ้านหลังที่1ให้ นาย ข 

และ นาย ก ยังได้ทำพินัยกรรมฉบับที่ 2 ในวันที่1 มีนาคม 2555 ว่ายกบ้านหลังที่ 2ให้นาย ค

แบบนี้ถือว่าพินัยกรรมทั้งสองนี้ไม่ขัดกันเพราะต่างเป็นคำสั่งสุดท้ายเกี่ยวกับทรัพย์ต่างรายการ

2.ทำพินัยกรรมไว้สองฉบับและพินัยกรรมทั้งสองฉบับขัดกัน

ตัวอย่างเช่น   นาย ก ทำพินัยกรรมยกบ้านฉบับที่1 ในวันที่ 1 มกราคม 2555 ว่ายกบ้านหลังที่ 1 ให้ นาย ข 

และ นาย ก ยังได้ทำพินัยกรรมฉบับที่ 2 ในวันที่1 มีนาคม 2555 ว่ายกบ้านหลังที่ 1 ให้นาย ค

แบบนี้ถือว่าพินัยกรรมทั้งสองนี้ขัดกันให้ถือว่าพินัยกรรมที่ไดำในวันที่ 1 มีนาคม 2555เป็นคำสั่งสุดท้าย

ส่วนพินัยกรรมฉบับที่ทำวันที่ 1 มกราคม 2555 ให้ถอนหรือยกเลิก                                                                                                                                                         

 ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ดีมีประโยชน์แบบนี้

ขอบคุณมาก ๆ คะสำหรับข้อมูล

 พินัยกรรมนี้  ข้าพเจ้าเขียนด้วยลายมือของข้าพเจ้าทั้งฉบับ  ได้ทำไว้ ๒ ฉบับ แสดงว่าผู้ทำต้องเขียนเองทั้งฉบับจำนวน ๒ ฉบับเลยใช่ไหมครับ จะก๊อปปี้ด้วยแผนหมึึกแล้วลงลายเซ็นเอง ไม่ได้ใช่ไหมครับ

ตอนนี้ถ้าผู้ทำพอนัยกรรมนอนอยู่ รพ ไม่สามารถพูดหรือเขียนได้แล้วค่ะ

จะลงชื่ออย่างไรดีคะ แล้วเราต้องมีพยานไหมคะ

คุณ siriluk

หากผู้ที่นอนอยู่โรงพยาบาล ต้องมีสติสัมปชัญญะ และพอพูดได้ ต้องเข้าคุณสมบัติที่ทำพินัยกรรมทำด้วยวาจา (ป.พ.พ. มาตรา 1663)มีดังนี้

การทำพินัยกรรมด้วยวาจาเป็นกรณีเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม ซึ่งในพฤติการณ์เช่นนี้ ผู้ทำพินัยกรรมไม่อาจหาเครื่องมือเครื่องเขียนได้ทันท่วงที หรือกว่าจะหาได้ก็ถึงตายเสียก่อน ผู้ทำพินัยกรรมสามารถทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ ดังนี้

  1. ผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
  2. พยานทั้งหมดต้องไปแสดงตนต่อนายอำเภอโดยมิชักช้า และแจ้งให้นายอำเภอทราบถึงข้อความเหล่านี้
    - ข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจา
    - วัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม
    - พฤติการณ์พิเศษที่ขัดขวางมิให้สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมาย
    กำหนดไว้นั้นด้วย
  3. ให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขตจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยานทั้งหมดนั้นต้องลงลายมือชื่อ ถ้าลงลายมือชื่อไม่ได้จะลงลายพิมพ์นิ้วมือ โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คนก็ได้

อนึ่ง ความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมนี้ย่อมสิ้นไป เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่เวลา
ผู้ทำพินัยกรรมกลับมาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กฎหมายกำหนดไว้

ให้เรียกพยานที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย มา 2 คนขึ้นไป

ตอนนี้ถ้าผู้ทำพอนัยกรรมนอนอยู่ รพ ไม่สามารถพูดหรือเขียนได้แล้ว แต่มีสติสัมปะชัญญะ ให้พาผู้ทำพินัยกรรมไปหาเจ้าพนักงานปกครองของอำเภอโดยมีพยาน สองคน เซ็นชื่อไม่ได้ให้ปั้มลายมือของผู้ทำพินัยกรรมได้

ผมอยากทราบว่า ถ้าเขียนพินัยกรรมเอง เช่น นาง ก เขียนใส่กระดาษธรรมดา ไม่มีหัวกระดาษ ถึงน้องสาวว่า  ถึง นาง ก ให้นำเงินในบัญชี ทั้งหมดแบ่งให้ลูกหลาน แบ่งบ้านให้หลาน ง แบ่งตึกให้หลาน ข และลงชื่อ วันที่ โดยไม่มีพยาน แบบนี้ถือว่าเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ไหมครับ

และถ้าเขียนโดยไม่มีคำว่า "หลังจากข้าพเจ้าตายแล้ว" แบบนี้จะถือว่าเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ไหมครับ

และพินัยกรรมที่สมบูรณ์ จะต้องมีคำนี้ใช่ไหมครับ ถ้าไม่มีถือว่าไม่ใช่พินัยกรรมได้ไหมครับ

                                                                                   ตอบด่วนให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากคะ  เป็นวิทยาทานที่ดีทากเลยคะ

อีกฉับบนี้เก็บไว้ที่ลูกหรือภรรยาได้มั้ยครับ

ผู้รับพินัยกรรมมี2คนจะเขียนอย่างไรดี

ถ้าจะยกทรัพย์สินให้ แต่ห้ามไม่ให้เอาไปขาย จะเขียนลงไป และมีผลบังคับใช้ได้ไหมคะ

ในกรณีที่เรามีประกันอุบัติเหตุของธนาคารเราสามารถระบุชื่อธนาคารพร้อมเลขที่บัญชีได้เลยหรือเปล่าคะ.

ถ้าทำพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ แต่ทำเพียงแค่ฉบับเดียวเก็บไว้ที่ผู้รับมรดก ได้ไหมครับ จะมีผลทางกฎหมายมั้ย

หลังจากที่เขียนพินัยกรรมแล้วเก็บไว้กับใครหรือที่ไหนค

หน่วยงานทำแบบฟอร์มพินัยกรรมให้เสร็จเราเพียงเติมข้อมูลที่ถูกต้องลงไป ถือว่าสมบูรณ์ไหมครับ

หน่วยงานทำแบบฟอร์มพินัยกรรมให้เสร็จเราเพียงเติมข้อมูลที่ถูกต้องลงไป ถือว่าสมบูรณ์ไหมครับ

เมื่อทำแล้วเอาไปฝากไว้ที่อำเภอได้หรือคะ​และอำเภอจะเก็บรักษาไว้ให้เราอย่างไรคะ

พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ จำเป็นจะต้องระบุชื่อผู้จัดการมรดกลงนัยพินียกรรมรึเปล่าครับ

คือว่าย่าอยากทำพินัยกรรมครับ แต่เขียนหนังสือไม่ออก เเละไม่อยากทำพินัยกรรมกรรมแบบธรรมดา อยากถามว่า ให้หลานที่อายุไม่ถึง 15 ปี พิมพ์ให้ และลงลายมือชื่อ ผู้พิมพ์ ไว้ในพินัยกรรมด้วยครับ แบบนี้ได้ไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท