บ้านกระเหรี่ยงแม่ปิง ชุมชนจัดการตนเอง


ประเด็นที่ชาวบ้านได้จากแผนชุมชนกลับไม่ใช่ ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา อย่างที่คุ้นชิน แต่กลับเป็น กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบละเอียด เพื่อสุขภาวะของคนแม่ปิงอย่างแท้จริง

ช่วงวันสองวันที่ผ่านมา ผมเข้าไปในชุมชน บ้านกระเหรี่ยงแม่ปิง  อ.ปายบ่อยครั้ง เพื่อไปเก็บข้อมูลเบื้องต้น และจัดเตรียม นัดแนะชุมชนเพื่อเตรียมการเข้ามาทำเวทีชุมชน ของนักศึกษา ปริญญาโท ส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นำโดย รศ.มนัส ยอดคำ ในระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๘ กย. ๔๙

 การเข้าไปพูดคุย และเก็บข้อมูลทำให้ผม ทราบเรื่องดีๆที่เกิดขึ้นในชุมชนนี้ และทำให้ผมสนใจเป็นอย่างยิ่ง

หากมองเผินๆ หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านกระเหรี่ยง ไม่ไกลเมือง ...ขับรถผ่านไปมาก่อนถึงเมืองปาย แต่ไม่ค่อยได้แวะเยี่ยมจริงจัง ดูไม่โดดเด่นอะไร

 

        ทุ่งนา และป่าชุมชน ของชุมชนบ้านแม่ปิง 

 

ทราบข่าวมาก่อนว่า ชุมชนแม่ปิง เป็นหมู่บ้านที่เข้มแข็ง ในการพึ่งตนเอง...ผมได้ยินมาแบบนี้ โดยตลอด ประกอบกับเห็นตัวประสาน นักพัฒนาบางคนที่ทำงานอยู่ในชุมชน(เป็นคนในชุมชน) บางคนที่เป็นคนเก่ง...

เย็นเมื่อวานนั่งคุยกับ พี่อำพัน ที่บ้านแม่ปิง พี่อำพันเป็นคนท้องที่และ้ทำงานที่ โรงพยาบาลปาย ในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ...และเป็นผู้ขับเคลื่อน เป็นผู้ประสาน ผลักดันสิ่งดีๆให้กับชุมชนของเขาเอง

พี่อำพัน เอากระดาษแผ่นหนึ่งให้ผมดู ...ผมก็แปลกใจว่าคืออะไร...กระดาษแผ่นนั้นบอกเรื่องราวถึง การที่ชาวบ้านร่วมกันต่อต้านนายทุนโรงดูุดทรายที่ข้างๆชุมชน  และศาลพิพากษาแล้วให้ชุมชนเป็นฝ่ายชนะการฟ้องร้องคราวนี้

...นี่เป็นเรื่องราวเมื่อปีที่แล้ว...ผมก็ได้ยินข่าวนี้มาบ้าง... 

เป็นเรื่องราวแรกที่ผมได้ทราบและยิ่งสนใจ...ชุมชนนี้มากขึ้น

เรื่องดีๆที่สอง.. 

คือ ชุมชนได้ร่วมกันทำแผนชุมชนเอง และได้สรุปมาให้ผมดูเป็นเอกสาร

พี่อำพันบอกว่า "ชุมชนทำเองและเราได้แผนชุมชนที่ชุมชนต้องการ"

ผมพลิกอ่านเอกสารแบบรวดเร็ว พบว่า ประเด็นที่ชาวบ้านได้จากแผนชุมชนกลับไม่ใช่ ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา อย่างที่คุ้นชิน แต่กลับเป็น กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบละเอียด เพื่อสุขภาวะของคนแม่ปิงอย่างแท้จริง

พี่อำพัน ชวนผมเดินไปพบ พี่เนตร เป็นสมาชิกชุมชนคนหนึ่ง (ตำแหน่งประธานสภา อบต.แม่ฮี้)  และได้พูดคุยหลายเรื่องราวเกี่ยวกับ กระบวนการพัฒนาแบบธรรมชาติที่บ้านแม่ปิง ปัญหาและการแก้ไขที่น่าทึ่ง...ว่าคิดได้ไง??

 พี่เนตร เสนอโครงการ "ชุมชนส่งเสริมสุขภาพ" ไปยัง สสส. และได้รับการอนุมัติแล้ว จะดำเนินการอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้

ทั้งหมดเป็นเหตุการณ์เบื้องต้นที่ผมเก็บข้อมูลเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับกลุ่มนักศึกษา ..เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้ว ที่ให้นักศึกษาเข้ามาเรียนรู้กับชุมชนที่นี่ ผมคิดว่า นศ.ส่งเสริมสุขภาพ  จะได้เรียนรู้กระบวนการพึ่งตนเองของชุมชน เป็นประสบการณ์การฝึกงานภาคสนาม ได้เป็นอย่างดี

ผมกลับบ้านไปทำเอกสารนำเสนอให้นักศึกษาในวันนี้ (๑๕ กย.๔๙) และจะเข้าไปยังชุมชนอีกครั้งในบ่ายวันนี้ เราจะมีการจัดเวทีกันที่โบสถ์คริตส์กลางหมู่บ้าน

เวทีและการฝึกงานภาคสนามของนักศึกษาครั้งนี้ ผมคาดหวังว่า จะมีเรื่องดีๆ ที่ให้ผมและนักศึกษาเรียนรู้...

แล้วผมจะนำมาเขียนบันทึกแลกเปลี่ยนครับ 


บันทึกนี้ขอแนะนำชุมชนเป็นเบื้องต้นก่อนครับ <p> </p>

หมายเลขบันทึก: 50159เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2006 07:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นชุมชนที่น่าสนใจมาก (อยากจะไปเรียนรู้บ้างจัง...)

ตั้งแต่ทำงานชุมชนมา หายากมากที่มีชุมชนต้องการอย่างนี้

มีกระบวนการให้คิดอย่างไร ?

ที่สำคัญมีคนเก่ง คนประสานที่เป็นของชุมชนเอง แบบนี้สิน่ายกย่องมาก

chah จะคงได้แลกเปลี่ยนเรื่องประเด็นนี้อีกนะค่ะ (น่าสนใจมากค่ะ

  • ชอบครับโดยเฉพาะพี่น้อง ปกากะญอ
  • มีความประทับใจกับชนเผ่าครับ
  • ขอบคุณครับผม

คุณ Chah

คุณ chah เปิด blog และเขียนบันทึกบ้างดีกว่าครับ ผมคิดว่าประสบการณ?ี่ทำมากับชุมชนทางใต้ ล้วนแล้วแต่น่าสนใจ เชื่อแน่ว่าจะมีเรื่องดีๆมาแลกเปลี่ยนกันครับ

ขอบคุณครับ

 

อาจารย์ ดร.ขจิต

อาจารย์จะประทับใจมากกับพี่น้องปกาเกอญอนะครับ..

ชุมชนที่ผมยกมาเล่านี้น่าสนใจมากครับอาจารย์  หากอาจารย์มาเที่ยวที่เมืองปาย จะพาไปทัศนาครับ

  • ขอบคุณมากครับ
  • จะหาทางไปให้ได้ครับผม

อาจารย์ค่ะ

chah ยังไม่เก่งเรื่องงานชุมชน แค่เพิ่งก้าวเข้ามายังไม่ถึง 2 ปี เองค่ะ ยังต้องเรียนรู้อีกเยอะค่ะ การเขียนบันทึกก็เขียนอยู่นะค่ะ

แต่คิดว่าคงยังไม่ต้องเปิด blog นะค่ะ

อยากต้องการเรียนรู้อย่างอื่นดีกว่าค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มากนะค่ะที่ให้คำแนะนำ

คุณ chah

ให้กำลังใจในสิ่งที่ทำอยู่ครับ

ผมยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ 

ผมคิดว่ามีหลายสิ่งที่ไม่ได้ตัดสินจากการคุยกันช่วงเวลาหนึ่งหรือการเห็นช่วงหนึ่ง ถึงแม้การได้เข้าไปสัมผัสในช่วงเวลาหนึ่งของชุมชนเราไม่สามารถสรุปปัญหาได้ง่ายๆเลย ปัจจุบันปัญหาในชุมชนมันสลับซับซ้อนมากตามกระแสความคิดและเศรษฐกิจทุนนิยมปัญหาจริงๆมักถูกปกปิดไว้ ต้องปลอมตัวเข้ามาดูครับถึงจะรู้แจ้งเห็นจริง

สวัสดีครับkenny

ขอบคุณครับ เห็นด้วยครับ ตามที่คุณเสนอแนะมา การนำเสนอเป็นเพียงปรากฏาการณ์ที่เห็นครับ ในเบื้องต้นคงต้องศึกษา กระบวนการอีกหลายขั้นตอน

แต่ที่แน่ๆ ของจริง ของปลอมนั้น คนทำงานพัฒนา เมื่อสัมผัสตั้งแต่เริ่มก็พอจะทราบได้บ้าง อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ร่วมกับชุมชน โดยใช้เวลา และทำความเข้าใจวิธีคิดชุมชน เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ

ยินดีมากๆครับ มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนกันอีกนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท