อาการไม่พึงประสงค์


อินเตอร์เฟอรอนคือ ยาไปยับยั้งไวรัสด้วยตัวเองประการหนึ่งแต่ไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด ประการสอง ออกฤทธิ์โดยกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายให้ไปทำลายไวรัส นี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเหมือนเป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว หลังการฉีด

   วันนี้ไปหาหมอตามนัดหลังฉีดยาไปสองเข็ม หมอถามถึงอาการหลังฉีดยาก็บอกไปว่าเหมือนเป็นไข้ และปวดหัวมาก หมอบอกต้องยอมรับกับมันเพราะเรารู้ก่อนแล้วว่ามันจะมีผลตามมาอย่างนั้น

   เลยมาค้นอ่านในหนังสือที่เคยไปเสวนามาและสมุดบันทึกการรักษา ว่าทำไมยาถึงมีผลอย่างนั้น

   กลไกในการรักษาโรคของยาแ   ส่วนยาไรบาไวริน ยิ่งแปลกกว่านั้น คิดกันว่ายาไปทำให้ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมอย่างมากจนไวรัสสับสน เพิ่มจำนวนไม่ได้ ภาวิทยาศาสตรืเรียกว่า มิวตาเจน(Mutagen) แต่ให้รู้จริงว่ายาไปทำอะไรก็ไม่มีใครตอบได้ ที่รู้แน่แน่ก็คือถ้าให้อินเตอร์เฟอรอนอย่างเดียว โรคหายได้ไม่กี่เปอร์เซนต์แต่พอเพิ่มยาไรบาไวรินเข้าไปทำให้ประสิทธะภาพของการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างมาก

   ในสมุดบันทึกการรักษาได้เขียนบอกอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบจากการใช้ยาดังนี้

   ได้แก่ "Flu-Like" Symptoms เป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยและมีความรุนแรงในระดับต่ำถึงปานกลาง อาการจะประกอบดด้วยไข้ หนาวสั่น ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ

   หากเกิดอาการดังกล่าวขึ้น แสดงว่าร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อยา แต่หากท่านมีข้อสงสัยหรือกังวลกับอาการดังกล่าวกรุณาปรึกษาแพทย์

   อาการอ่อนเพลีย

   เป็นอาการที่พบบ่อย ท่านอาจรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และอาจเกิดร่วมกับอาการอื่น เช่น ฉุนเฉียวง่าย ขาดสมาธิ เฉื่อยชา เป็นต้น

  - ควรฉีดยาก่อนนอน เนื่องจากอาการอ่อนเพลียมักเกิดขึ้นหลังการฉีดยาไปแล้ว 4-6 ชั่วโมง การนอนหลับจะช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้

  - ควรพักผ่อนมากมากหลังจากฉีดยาไปแล้ว

  - ควรดื่มน้ำหรือเครื่องดื่ม เช่นน้ำผลไม้ให้มาก อย่างน้อย 10-16 แก้วทุกวัน โดยเฉพาะก่อนและหลังฉีดยา

  - การออกกำลังกายเบาเบา เช่น การเดิน จะช่วยลดความเครียดและเพิ่มความสดชื่นให้แก่ท่านได้

   อาการซึมเศร้า (Depression)

   ท่านอาจมีอารมณ์เปลี่ยแปลงได้ง่าย สับสน กังวล รู้สึกทุกข์ เป็นอาการที่พบได้ระหว่างรับการรักษา อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้นานเป็นสัปดาห์

   - หากท่านมีอาการซึมเศร้า กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ กังวล ควรปรึกษาแพทย์

   - หากท่านมีอาการรุนแรงดังต่อไปนี้ คือ รู้สึกทุกข์มาก ร้องให้บ่อย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมภายนอก ขาดสมาธิ ควรปรึกษาแพทย์

   - ทำจิจใจให้แจ่มใส การพูดคุยกับเพื่อน หรือผู้ใกล้ชิด จะช่วยให้เกิดความผ่อนคลายและสบายใจขึ้น

   ลดความอยากอาหาร (Loss of appetite)

   ท่านอาจไม่รู้สึกหิว รู้สึกว่ารสชาติอาหารเปลี่ยนไป และอาจรู้สึกคลื่นไส้เมื่อรับประทานอาหาร นอกจากนี้ภาวะทางอารมณ์ ก็ส่งผลทำให้ทานอาหารได้น้อยลง

   - ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

   - อาจวางแผนสำหรับอาหารแต่ละมื้อเพื่อกระตุ้นความอยากอาหารของท่าน

   - ท่านอาจลงมือปรุงอาหารเอง

   - การดื่มน้ำหรือเครื่องดื่ม เช่น น้ำผลไม้ อย่างน้อย 10-16 แก้วทุกวัน จะช่วยลดอการไม่พึงประสงค์นี้ได้

   คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย (Nausea /Vomiting/Diarrhea)  อาการคลื่นไส้เป็นอาการที่พบบ่อยมาก และอาจถูกกระตุ้นโดยกลิ่นอาหาร ภาวะท้องว่าง อาหารมัน

   - ไม่ควรรับประทานอาหารในขณะที่คลื่นไส้

   - หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการคลื่นไส้

   - หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องเสีย

   - รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย

   - หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน อาหารรสจัด อาหารที่มีกากใยสูง อาหารดิบ

   ผมร่วง(alopecia)/อาการทางผิวหนัง(Skin Reactions)

    อาการผมร่วง ผมบางอาจเกิดขึ้นได้ชั่วคราวระหว่างการรักษา ส่วนอาการทางผิวหนังเกิดจากการใช้ยา จัดเป็นอาการที่มีความรุนแรงในระดับต่ำถึงปานกลาง อาจทำให้ผู้ที่มีโรคผิวหนังแบบ eczema หรืโรคเรื้อนกวาง อยู่แล้วมีอาการรุนแรงขึ้นได้หลังจากฉีดยา

   - เส้นผมจะงอกขึ้นใหม่หลังจากสิ้นสุดการรักษา

   - ท่านที่เส้นผมร่วงมากควรปรึกษาแพทย์

   - ควรเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดยาเพื่อบรรเทาอาการคันและผิวหนังแห้ง

   -ไม่ควรอาบน้ำอุ่น เนื่องจากจะทำให้ผิวแห้ง และควรใช้ครีมบำรุงผิวเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแกผิวหนัง

   - หากผิวหนังบวม แดง ปวด ควรปรึกษาแพทย์

    อาการข้างเคียงอื่น

    ผลต่อต่อมไทรอยด์

   ต่อมไทรอยด์อาจทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีอาการต่อไปนี้ ได้แก่ อาการขาดสมาธิ รู้สึกหนาวหนาว ร้อนร้อน ตลอดเวลา น้ำหนักขึ้น ผิวหนังแห้ง เป็นต้น

   ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

   ท่านอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้

..................

   หมอบอกว่าอยู่ที่ตัวเราเอง เมื่อรู้ว่าจะมีผลข้างเคียงตามมาก็ให้รับรู้เรียนรู้มันไป

   ผมคงจะอยู่กับมัน รับรู้เรียนรู้อยู่กับมัน อีกเป็นปีเลยทีเดียว

..................

ขอบคุณ

หนังสือไขรหัสตับอักเสบเรื้อรัง นพ.ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์ นพ.พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์

สมุดบันทึกการรักษา ด้วยยา เพคอินทรอนร่วมกับยา เรเบทอล ของ บ. MSD

หมายเลขบันทึก: 501449เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2012 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ให้กำลังใจคะ รู้ก่อนว่าจะเกิดอะไร เพื่อจะได้รู้ทันอาการนะคะ

เป็นกำลังใจให้อีกคนนะคะ

โชคดีที่คุณพิชัยฝึกฝนตัวเองมาดีค่ะ คงจะมองลมหายใจเข้าออกด้วยใจที่สงบเมื่อมีอาการข้างเคียงเพราะยาที่ได้รับค่ะ

พักผ่อนให้มากๆ และอย่าเครียดนะคะ พยายามมีความสุขกับบททดสอบนี้ค่ะ

ฝันดีค่ะ

สวัสดีตรับ ท่าน

ขอบคุณมากครับ

เหมือนท่านได้แนะนำการดูแลสุขภาพ

มอบความรู้ดีๆให้พวกเรา

จึงส่งกำลังใจ มอบให้ท่านสดใส แข็งแรง นะครับ

ดูแลตัวเอง ค้นคว้าดีมาก ๆ เลยนะคะ

อ่านบันทึกท่านพิชัย แม้ในยามเจ็บไข้ ไม่สบายหนัก

กับภาพประจำตัว ที่ยิ้มมม ยิ้มแบบคนมีกำลังใจในตนเองสูง

แปลกแต่จริง คือ อ่านแล้วกลับรู้สึกได้รับพลังใจจากท่านด้วยค่ะ

เชื่อนะคะ กำลังใจดี กำลังกายจะดีขึ้นตามในเร็ววันค่ะ

ขอบพระคุณ และขอส่งกำลังใจมาอีกคนนะคะ สาธุค่ะ

เด็กๆมาอยู่เป็นเพื่อนวันเสาร์ ฝากดอกไม้มาให้คุณลุงค่ะ :)

 

สู้ๆครับเป็นความรู้ที่ดีมากขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆท่าน ส่วนผมฉีดเข็มที่ 20 แล้วยังเหลือ 28 คับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท