สุนทรียสนทนา3 :ทีม EMS2 CT & RIA กับทีมFreezer


ต่อจากบันทึก 1, 2

ทีมที่ 4 EMS2 CT & RIA โดยพี่นุชจิเรจ -วันนี้เปลี่ยนโฉมใหม่ ทั้งสวยและสาวกว่าเดิม เล่นเอาผู้เขียนไม่กล้านั่งใกล้เลยค่ะ

  • พบปัญหาจากการขอผล Lab ด่วน โดยเฉพาะ BUN & Creatinine เพื่อขอทำ CT อีกทั้งผู้ป่วยบางคนที่ต้องรอผลเจาะเลือดก่อนเพื่อดื่มน้ำแร่
  • ปัญหาจากการโทรตามผล Lab. และไม่ทราบว่าใครที่ต้องการผลด่วนเพื่อรอทำ CT ทางคลินิกจะแนบสติกเกอร์ “ CT วันนี้” ให้กับผู้ป่วยถือมาติดต่อยัง OPD เจาะเลือด และทาง OPD ก็จะติด"สติกเกอร์สีแดง" ให้ทางห้อง Lab. ทราบ เพื่อขึ้นทางด่วน
  • กำลังรอสรุปข้อมูลทั้งจากหน่วยเคมี เรื่องการโทรตามผล Lab. อีกทั้งทางเวชศาสคร์ และห้อง CT ได้รับผลตามเวลาที่ประกันไว้หรือไม่
  •  Lab. เคมียังพบปัญหาการโทรตามผล สาเหตุเนื่องมาจากสติกเกอร์แดง “หลุด” ง่าย พี่เปรมจิตและพี่พรกนกจาก Blood Bank แนะนำให้ติดจุกสีพิเศษ คุณนุช รับไว้พิจารณา (ปัญหา คือจุกสีอะไร เพราะใช้กันเกือบครบทุกสีแล้ว)
  • อีกทั้งพบว่าบางครั้งผู้ป่วยไม่ได้ยื่น สติกเกอร์ ให้ทางห้อง OPD ทำให้ “หลุด” ได้เหมือนกัน เพราะบางครั้งถือมารวมกับเอกสารอื่น ๆ และบางครั้งคน OPD Lab. เองไม่ทราบเหมือนกัน เพราะมีคน มาเรื่อย แต่ก็จะพยายามบอก
  • โครงการในทุกวันนี้ถือเป็นงาน “routine” ซะแล้ว

ทีมที่ 5 Freezer “การจัดเก็บ FFP (พลาสม่าสด)ในตู้แช่แข็ง” โดยคุณเปรมจิต และคุณพรกนก ซึ่งเพิ่งกลับมาจากออกหน่วย และต้องรีบกลับไปปั่นเลือดต่อ

  • พบปัญหาว่าการเก็บ FFP ไม่มีที่เก็บเนื่องจาก ตู้เย็นมีน้อย & เสีย จึงเก็บได้ไม่พอ ทำให้ไม่ได้ FFP ไม่ได้คุณภาพ เมื่อนำมาใช้ไม่สะดวก บางครั้งก็หล่นลงมา
  • ได้ดัดแปลงนำลังกระดาษเจาะรู พบว่ากระดาษเปื่อยยุ่ย จึงได้นำมาเสนอในโครงการ
  • แต่จากการนำเสนอในวันนั้น มีการแนะนำให้ใช้ Rack stainless จึงได้ลองนำมาใช้ พบว่าเก็บความเย็นได้ดี และเมื่อจับเวลาการแข็งตัวได้เวลาที่ดี
  • Rack stainless ที่ได้ มาจากผลการ “เก็บของเก่า” โดยไม่ต้องลงทุนแต่อย่างใด และปัญหาก็ลดน้อยลงมาก
  • อ.เสาวฯ เป็นห่วงแนะนำทุกครั้งที่หยิบ FFP ใช้ ให้ใส่ถุงมือผ้าทุกครั้งเพราะอาจเกิด Burn ขึ้นได้ (เคยเกิดอุบัติเหตุขึ้นเหมือนกัน ด้วยความเป็นห่วง FFP จะหล่น จนเอาแขนรับไว้ (ผู้เขียนอดนึกไม่ได้ว่า คน blood blank “ห่วง FFP มากกว่าห่วงตัวเอง” )
  • อ.เสาวฯ บอกว่านี่เป็นตัวอย่างโครงการที่ดี ทำง่าย ลดการสูญเสียจากการตกแตกของ FFP ประหยัดเวลา และลดงาน

เหลืออีก 2 ทีมสุดท้ายแล้วค่ะ

หมายเลขบันทึก: 50108เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ทีม EMS2 CT & RIA

ประเด็นที่ "หลุด"   คือแล็บไม่ได้ขึ้นทางด่วน   เป็นเพราะว่า 

  • บางทีทาง RIA  ไม่ได้ให้ข้อมูลมา   หรือคนไข้ไม่ได้ยื่นเอกสารให้    ประเด็นนี้  จนท. OPD Lab  ต้องใช้ไหวพริบเอาเอง  คือถ้าเห็นเป็น BUN Crea  ต้องถามคนไข้ว่าทำ CT วันนี้มั๊ย...
  • หรือเพราะ จนท. OPD  คนใหม่ (เวียนงาน)   นอกจากแก้ปัญหาด้วยการบอกด้วยวาจาแล้ว    ยังทำเป็นบันทึกช่วยจำ   ติดไว้ให้ทราบทั่วกันด้วย

คุณนุช  บอกว่าทำโครงการนี้แล้ว  โทรศัพท์น้อยลง  การตามผลแล็บลดลง  สบายใจขึ้น (ไม่มีโทรศัพท์มากวนใจบ่อยๆ)

ทีมนี้ทำงานเสร็จแล้ว

อ.เสาวฯ ชมทีมนี้โครงการดี  คือ "ทำง่าย  ได้ผลเยอะ  ไม่ต้องลงแรงมาก"    ทำครั้งเดียวใช้งานได้ตลอดไป (จนกว่า rack จะพัง)    น่าจะนำไอเดียนี้ไปใช้กับการเก็บอย่างอื่นด้วย (ถ้ามี)

ทีมที่ทำงานเสร็จแล้ว  ข้างบนคือ ทีมที่ 5 Freezer
ขอบคุณค่ะ พี่ nidnoi ยอดเยี่ยมจริง  ๆ

คุณศิริช่วยเพิ่ม tag คำว่า Patho-OTOP2 ในบันทึกนี้ด้วยนะคะ จะได้ link เจอทั้ง 4 บันทึกในที่เดียวกันค่ะ

เรียบร้อยแล้วค่ะ พี่โอ๋

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท