เติมเต็มเรียนเรื่องอาเซียน


อินเทรนด์รู้เรื่อง อาเซียน

รู้เพิ่มเติมที่ได้บันทึกนี้...ขออินเทรนด์ความรู้เรื่อง อาเซียน ก่อนที่เราจะเผชิญหน้าในอีกไม่นานนักค่ะ

จะว่าไปแล้วทุกภาคส่วนล้วนตื่นตัวกับการเรียนรู้เรื่องอาเซียน เป็นการร่วมด้วยช่วยกันเพื่อให้ประชากรของประเทศรู้จัก เข้าใจและตระหนักถึงผลกระทบทั้งด้านดีและไม่ค่อยจะดี ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาก็เช่นกันค่ะ มีกิจกรรมมากมายที่ดึงเอาเรื่องประชาคมอาเซียนมาเกี่ยวข้อง

รู้ลึกรู้จริง ก่อนประเทศไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” เป็นชื่อหัวข้อการสัมมนาที่เราเลือกเป็น “ผู้รับสาร” หลังจากวิเคราะห์ประเด็นเนื้อหาที่จะมีการนำถ่ายทอดโดยวิทยากรผู้ทรงภูมิค่ะ ผู้จัดคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ซึ่งได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการคุณธรรมนำความรู้ระดับอุดมศึกษา ผ่านการดำเนินการโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อพัฒนาบัณฑิตไทย โดยผ่านเครือข่ายบัณฑิตอุดมศึกษา การสัมมนานี้จัดเป็นเวลา 2 วัน ในวันที่  30-31 สิงหาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ เชียงใหม่ แกรนด์วิว โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว มีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นอาจารย์ บุคลากร นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดต่างๆ ของภาคเหนือ จำนวน  270 คน 

นับเป็นโอกาสดีของเราที่เลือกได้ เลือกไปเติมเต็มความรู้วิชาภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การเมือง การท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์ วรรณคดี เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ในการสัมมนาหัวข้อ รู้ลึกรู้จริง ก่อนประเทศไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และตลอดระยะเวลาสองวันเต็ม กับสิ่งที่เราสกัดได้ (มาแบบย่อๆ นะคะ)

ในช่วงพิธีเปิด ข้อคิดจากอธิการบดีมช. ในฐานะประธานพิธีเปิด  รู้ลึกรู้จริงประเทศเพื่อนบ้าน ไม่เพียงอาเซียน ยังมี  สิบบวกหนึ่ง (ติมอร์) บวกสาม (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น) บวกหก (อินเดีย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย) บวกแปด (สหรัฐ  รัสเซีย) และกลุ่ม EU ...สิ่งสำคัญคือการให้ความเข้าใจในวัฒนธรรม ภาษา การศึกษา สิ่งแวดล้อม รู้จักให้ลึกซึ้ง และยังมีอนุอาเซียน ประเทศเพื่อนบ้านเรา ยกเว้นไทย  มี 4 ประเทศ ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม  (ทำไมล่ะ ทำไมเขาจึงมองข้ามเลยไทยเราไป เก็บคำถามไปคิดเป็นการบ้านค่ะ)

หลังภาคพิธีการ เริ่มต้นที่การบรรยายพิเศษเรื่อง ความสำคัญของสถาบันอุดมศึกษากับประชาคมอาเซียน โดย  ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์  อังกสิทธิ์  อธิการบดี มช. พอสกัดความรู้เพิ่มไว้ตามนี้ค่ะ

ความเข้าใจผิดเราคิดว่า อาเซียนใช้ชื่อย่อ  AEC  จริงๆ มีอีกหลายคำย่อ APSC  ASCC  ตามสาขาต่างๆ การเมือง/ เศรษฐกิจ/สังคมและวัฒนธรรม   อาเซียน คือ  ASEAN (เป็นคำย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) กำเนิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510  นับเวลา 45 ปีแล้ว เริ่มทำกฎบัตรอาเซียน ASEAN Charter  ปี 2550  ทบทวนทุกห้าปี เลื่อนเวลาการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นปี 2558 อีกสามปีข้างหน้า

วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ให้ความสำคัญกับการศึกษา ใช้เป็นกลไกในการสร้างความเข้มแข็ง  มองแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน ดูพัฒนาการด้านการศึกษารู้เขารู้เรา ในส่วนความร่วมมือด้านการศึกษา มีจุดเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2518 แต่ไม่ชัดเจนจนเวลาใกล้เข้ามา เหลือเวลาอีกสามปี ในด้านการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมี AUN หรือมหาวิทยาลัยเครือข่าย  (ASEAN University Network)  กำหนดสมาชิกถาวรไม่เกินสามสิบมหาวิทยาลัย สำนักงานตั้งปี 2538 ผ่านมา ที่ กรุงเทพ นับได้17 ปีแล้ว  แต่เราไม่คุ้นเคย  มช. เองเพิ่งได้รับการให้เข้าเป็นสมาชิกถาวรเมื่อไม่นานมานี้  AUN เป็นองค์กรที่ช่วยผลักดันการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาอาเซียน 5 ด้าน  และได้เพิ่มเรื่องกิจกรรมจิตอาสา  USR เป็น CSR ภาคการศึกษา จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพิ่มขึ้น (อ่านเพิ่มเติมเรื่องราว AUN ผ่าน มช. นะคะ>>ความก้าวหน้าของ มช. ในฐานะสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน) อุดมศึกษาไทยกับ AUN/ASEAN  อธิการบดีมองว่า จุดกลางควรอยู่ที่งานวิเทศสัมพันธ์ มีเจ้าหน้าที่ดูด้านนี้โดยเฉพาะ สรุปอีกครั้ง สิ่งสำคัญตอนนี้ฝากไว้ว่าต้อง 1 ทำความตระหนักรู้จักอาเซียน  2 เรียนรู้ภาษา ใน 1 ปี นี้ ไม่ต้องรอ 3 ปี  เราควรต้องรู้

หัวข้อบรรยายต่อมาถูกคั่นด้วยการอ่านเรียงความชนะเลิศประกวด ของนางสาวจิราภรณ์  บ่างศรีวงษ์ นักศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มช. ชั้นปีที่ 4  เป็นการแสดงมุมมองอาเซียน ความคาดหวังต่ออาเซียน และยังเพิ่มความเห็น ให้ข้อเสนอเรื่อง หลักสูตรการศึกษาอาเซียนในระดับอุดมศึกษา ไม่ใช่แค่ อาเซียนเกิดขึ้นเมื่อไร   การเตรียมตัวภาคประชาชนไม่ใช่แค่ตระหนักรู้อย่างเดียว แต่จะมีส่วนร่วมอย่างไร (เป็นการบ้านให้ผู้ใหญ่เก็บกลับไปคิดอีกแล้วค่ะ)

หัวข้อการบรรยายเรื่อง การเมือง การปกครอง 10 ประเทศอาเซียน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โกสุม สายจันทร์   อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยากรให้ความเข้าใจในมุมของปัญหาที่ได้รับการแก้ไขในอาเซียน ประเด็นด้านพลเมือง (การย้ายถิ่นข้ามพรมแดน โรคภัย การค้ามนุษย์) เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม (น่านน้ำเพื่อการประมง ท่าเรือน้ำลึก ไฟป่าในอินโดนีเซีย)

มองบรรยากาศประเทศเพื่อนบ้าน มองการเมือง มองอดีต  ที่จะมีบวก 3/6/8 เพราะการเข้ามาของประเทศเหล่านั้น  เดิมเคยมาทำสงคราม จึงคิดกลับมาช่วยเหลือ (อาทิ สหรัฐฯ  มาเพราะเคยมาทำสงคราม จะกลับมาช่วยเก็บกู้กับระเบิด ทำขาเทียม   ฝนเหลือง ส่วนรัสเซีย จะมาช่วยเวียดนามด้านเศรษฐกิจ) สำหรับแวดวงการเมืองประเทศไทย ข่าวล่าสุดสดร้อนอาจารย์เล่าข่าว ผู้ว่า ฯ แม่ฮ่องสอนแถลงข่าวผลการประชุมความร่วมมือเพื่อกระชับความสัมพันธ์ ฝ่ายตัวแทนรัฐบาลพม่า  ให้จับตามองว่าน่าจะเป็นจังหวัดที่มาแรงด้านอาเซียน แม้จะเป็นจังหวัดที่ปิด

เรื่องราวอาเซียนจาก “รู้ลึกรู้จริง ก่อนประเทศไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียน” ที่สกัดไว้ยังมีต่อได้อีก 2-3 บันทึก ตามเสาหลักอาเซียน และลงลึกด้านการศึกษาของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาไทย เพื่อไม่ให้มีสาระยาวมากเกินไป มีต่อตอนหน้าค่ะแต่สำหรับท่านที่สนใจเอกสารประกอบการสัมมนา มีเผยแพร่ ที่เว็บไซต์ http://stu-aff.oop.cmu.ac.th ติดตามอ่านกันได้เลยค่ะ

ปิดท้ายการ์ตูนความรู้เรื่องอาเซียนแบบสนุกๆ กันนะคะ

คำสำคัญ (Tags): #ASEAN Community#อาเซียน
หมายเลขบันทึก: 500861เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2012 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2012 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

บันทึกนี้สมบูรณ์จริง ๆ ครบทุกเรื่อง แม้กระทั่งประเด็น อนุอาเซียน ซึ่งคนมักมองข้ามและไม่ได้สนใจเลย น่าคิดจริง ๆ ค่ะ

ขอบคุณนะคะ ขออนุญาตลิงก์ไว้ให้ความรู้ต่อค่ะ  :)

 

คุณดาวลูกไก่ มาอ่านเอาความรู้ค่ะ

ไม่ค่อยเห็นพักหนึ่ง ใช่มั้ยคะ

สวัสดีค่ะทุกท่าน

 

Blank หยั่งราก ฝากใบ

  • อนุอาเซียน น่าภูมิใจที่เห็นพี่ไทยเก่ง แต่มองอีกมุม...มองว่าเป็นการรวมตัวกันเพื่อกำจัดจุดอ่อน ทำให้เด่น เก่งขึ้น 4 รุม 1...^_^

Blank ปิยะกุล

  • ขอบคุณค่ะขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบันทึกนะคะ

Blank ขจิต ฝอยทอง

  • ดีจัง น้อง อ.ดร.ขจิต ขอบคุณค่ะ เข้าใจอาเซียนขึ้นเยอะ หลายๆ มุมมอง

Blank ภูสุภา

  • สวัสดีค่ะอาจารย์หมอภูสุภาสบายดีนะคะ
  • ช่วงที่หายไป เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อการโยกย้ายงานค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท