การรับมรดก


กฎหมายขัดกันของรัสเซียนั้น ในการรับมรดกที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ให้เป็นตามกฎหมายภูมิลำเนาของเจ้ามรดก ในขณะที่อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ภายใต้กฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่

การรับมรดก            

                 งานเขียนครั้งก่อน ได้พูดถึงการรับมรดกโดยเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายขัดกันของไทย กับ ญี่ปุ่น  ครั้งนี้จะพูดถึงการสืบทอดหรือการรับมรดกโดยเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายขัดกันของไทย กับ กฎหมายขัดกันของประเทศรัสเซีย  ซึ่งกฎหมายขัดกันของประเทศรัสเซียจะบัญญัติรวมอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งของรัสเซีย (The Civil Code of The Russian Federation)  โดยอยู่ในส่วนที่สาม ซึ่งจะมีกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล(Private International Law) รวมอยู่ด้วย โดยจะสังเกตได้ว่ากฎหมายของรัสเซีย มิได้แยกกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ออกจากประมวลกฎหมายแพ่ง โดยบัญญัติรวมอยู่ในกฎหมายแพ่งด้วย เพียงแต่ในส่วนที่สาม จะกล่าวถึงกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล(Private International Law) ส่วนประเทศไทยได้แยกกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลออกต่างหากจากกฎหมายแพ่งฯ โดยอยู่ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481             ตอนนี้จะขอพูดถึงในส่วนของ การรับมรดก   ตามกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของรัสเซีย เฉพาะกรณีที่มิใช่การรับมรดกโดยพินัยกรรม ซึ่งอยู่ในมาตรา 1262  ข้อ 1 และ ข้อ 3

           Article 1262  Inheritance1.      “Unless otherwise stipulated by points 2 and 3 of this article, relations involving inheritance are determined according to the law of the country in which the decedent had its last permanent place of residence…..”

            จะเห็นว่ามาตรา 1262 แห่งกฎหมายขัดกันของรัสเซีย ได้พูดถึงการรับมรดกว่าให้เป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมายของประเทศที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาสุดท้ายของเจ้ามรดก นอกจากที่กำหนดในข้อ 2 และ ข้อ 3   ข้อ 2 จะพูดถึงความสามารถของการทำและเพิกถอนพินัยกรรม ซึ่งจะขอข้ามไปข้อ 3 

              ข้อ 3  กล่าวว่า “ Inheritance of immovable property is determined according to the law of the country where said property is located, and involving property entered into the state register of the Russian Federation to Russian law…….”

              ในข้อ 3 จะพูดถึง การรับมรดกในทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ว่า ให้เป็นตามบทบัญญัติกฎหมายของประเทศที่เป็นที่ตั้งของทรัพย์สิน  และรวมถึงทรัพย์สินที่ได้เข้ามาจดทะเบียนตามกฎหมายรัสเซีย…. 

               ส่วนกฎหมายไทยนั้น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา  37 เขียนว่า มรดกเท่าที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่และมาตรา 38 ยังบัญญัติอีกว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ มรดกโดยสิทธิ โดยธรรมหรือโดยพินัยกรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายภูมิลำเนาของเจ้ามรดก ในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

               จะเห็นได้ว่า  ตามกฎหมายขัดกันของรัสเซีย ได้พูดถึงการรับมรดกของทายาทในมาตราที่ 1262 ข้อ 1  ซึ่งพอสรุปได้ว่า  นอกจากทรัพย์สินที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ได้รับโดยพินัยกรรม ตามมาตรา 1262 ข้อ 2 หรือทรัพย์มรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ตามข้อ 3  แล้วให้การรับมรดกของทายาทเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่ซึ่งเจ้ามรดกมีภูมิลำเนาสุดท้ายอยู่ที่ประเทศนั้น  ทำให้เข้าใจได้ว่า ทรัพย์มรดกตามมาตรา 1262 ข้อ 1 น่าจะหมายถึงทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์  เพราะข้อ 3 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ของทรัพย์มรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า ให้เป็นตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่

                จึงอาจสรุปได้ว่า  โดยหลัก กฎหมายขัดกันของรัสเซียนั้น ในการรับมรดกที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ให้เป็นตามกฎหมายภูมิลำเนาของเจ้ามรดก ในขณะที่อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ภายใต้กฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่   ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกฎหมายขัดกันของไทย โดยมาตรา 1262 ข้อ 1 แห่งกฎหมายขัดกันของรัสเซียจะตรงกับมาตรา 38  และมาตรา 1262 ข้อ 3 จะตรงกับมาตรา 37 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วย การขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481   

คำสำคัญ (Tags): #รับมรดก
หมายเลขบันทึก: 50057เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท