โครงการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการกรมพัฒนาที่ดินระดับชำนาญการ หลักสูตร การพัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ รุ่นที่ 2


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์กรมพัฒนาที่ดิน รุ่นที่ 2 ทุกท่าน

วันนี้ (วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2555) เป็นวันปฐมนิเทศและพิธีเปิดของโครงการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการกรมพัฒนาที่ดินระดับชำนาญการ หลักสูตร การพัฒนาทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ รุ่นที่ 2 ซึ่งได้รับเกียรติจาก     ผอ.เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 1 กล่าวเปิดฯ และให้ข้อคิดในการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา และศ.ดร.จีระ หงส์ลาดรมภ์ แนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ ที่สำคัญในหลักสูตรนี้ สำหรับโครงการนี้แบ่งการเรียนรู้เป็น 2 ช่วงระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม -14 กันยายน 2555 ระยะเวลาทั้งหมด 8 วัน

ขอใช้ Blog นี้เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันครับ

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 500384เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2012 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2012 10:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ในยุคที่โลกเปลี่ยน และ

แนะนำการเสนอโครงการเชิงนวัตกรรม

โดย     ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

-          ความรู้ที่ได้จากการอบรมนี้ สามารถนำเอาไปต่อยอดได้

-          Hard Skill ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

-          Soft Skill ทำอย่างไรที่จะคุยกับลูกค้า และจะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ มีการบริหารจัดการที่ดีและเกิด Impact ต่อประชาชน

-          ทฤษฎี 3 V ได้แก่

Value Added

Value Creation การสร้างขึ้นมา การร่วมมือกับหน่วยงานอื่น

Value Diversity  เอาความหลากหลายมาเป็นพลัง ในปัจจุบัน คือ เรื่องอาเซียน เสรี ต้องรู้เขา รู้เรา มีความหลากหลาย เรื่องอายุที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความขัดแย้งกัน ความหลากหลายที่เกิดขึ้นในภาคใต้ แต่เป็น Value Less Diversity

-          ต้องมีการเปิดโลกทัศน์มองให้กว้างเรื่องการบริหาร

-          Back To Basic ต้องสำรวจว่ามีคุณธรรม จริยธรรม หรือไม่

-          การเป็นผู้นำ ต้องมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ต้องเปลี่ยนก่อนที่จะมีการบังคับให้เปลี่ยน

-          คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร

-          การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเมืองไทย ต้องมีการปลูก และเก็บเกี่ยว

เงื่อนไข 4 ขั้นตอน

1. ต้องสำรวจตัวเองว่า Where are we?

2.  จะไปทางไหน

3. ยุทธวิธี หรือ เป้าหมายที่จะไป

4. ไปอย่างไรถึงจะสำเร็จ

- หากต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตร ต้องใช้ความคิดนอกกรอบ จินตนาการ ซึ่งจะมาก่อน ความคิดสร้างสรรค์ และมาก่อนนวัตกรรม

- กรมพัฒนาที่ดิน ต้องเจออุปสรรคหลายด้าน ผลประกอบการมีทั้งบวก และลบ ต้องมี Wisdom ที่จะเอาชนะอุปสรรค

- การจะทำงานสำเร็จได้

   ต้องมีตัวละคร 3 กลุ่ม

CEO หรือ ผู้นำ ต้องมีความสามารถในการนำองค์กร

Smart HR

Non-HR

-          ทุนมนุษย์เป็นการตอบโจทย์ว่าองค์กรจะไปทางไหน

หลักการและเหตุผล

-โลกาภิวัตน์

-ความเสี่ยง / Multiple Crisis & Permanent Crisis มาหลายรูปแบบ และมาตลอด ข้าราชการต้องพร้อมที่จะจัดการกับวิกฤติ  และต้องมีเครื่องมือที่จะจัดการกับวิกฤติเหล่านี้

-การสร้างความสามารถทางการแข่งขัน 

-การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  

-การเติบโตอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1)      เพื่อพัฒนาศักยภาพของข้าราชการของกรมพัฒนาที่ดินที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ภาวะผู้นำ บุคลิกภาพ และพร้อมสำหรับการทำงานเชิงรุก

2)      เพื่อสร้างโอกาสจากการเรียนรู้ (Learning Opportunities) เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดเห็น และการปะทะกันทางปัญญา

3)      เพื่อฝึกการคิดโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนางานของกรมฯ ให้ก้าวไกล เป็นที่ยอมรับของประชาชนและสังคม

4)      เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เห็นความสำคัญของการมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ ผลักดันการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และสังคมแห่งการเรียนรู้ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะพัฒนาองค์กรและประเทศไทยไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างยั่งยืน

 

วิธีการเรียนรู้

ทฤษฎี 4L’s

-          Learning Methodology             มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

-          Learning Environment             สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

-          Learning Opportunities                        สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้  

-          Learning Communities             สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

  ทฤษฎี 2R’s

-          Reality - มองความจริง                

-          Relevance - ตรงประเด็น   การปรับปรุงให้ทุกอย่างดีขึ้น หาทางออกเพื่อ เอาชนะอุปสรรค

ทฤษฎี 3L’s

-          Learning from pain เรียนรู้จากความล้มเหลว   

-          Learning from experiencesเรียนรู้จากประสบการณ์ 

-          Learning from listening    เรียนรู้จากการรับฟัง

วิธีการเรียน

  • การเรียนเป็นทีม (Teamwork)
  • การทำ Workshop
  • อ่านบทความดี ๆ ทุกวัน
  • การทำการบ้าน (Assignment) ผ่าน Blog   
  • การร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Brain storming) จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง (Case study& Best Practice) เช่นที่ผ่านมามีการศึกษา เรื่อง Social Innovation, Change Management ฯลฯ
  • มีการวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง (Evaluating)
  • ทุกวันจะมีการเขียนรายงานสรุปว่า“วันนี้ได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการเรียนรู้ – Lesson learn ของเรา คืออะไร?”  ในBlog www.chiraacadmy.com

 

 

 

 

 

 

สิ่งที่ต้องการจากการฝึกอบรม

กลุ่ม 1

          1.  วิธีการหาจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อพัฒนาตนเอง

อ.จีระ : หากมีจุดอ่อน เช่น เรื่องภาษา แนะนำให้ไปเรียนภาษา และค้นหาจุดอ่อน จุดแข็ง ค้นหาตัวเอง  เมื่อมีการเรียนรู้ที่นี้ ให้มากที่สุด 

            2.การนำองค์ความรู้ของแต่ละคนมาใช้ เพื่อพัฒนาองค์กร

            3. การบริหารจัดการของแต่ละกลุ่ม แต่ละฝ่าย เพื่อนำไปใช้พัฒนาองค์กร

กลุ่ม 2  

1. ทัศนคติ และแนวคิดเชิงบวก

2. การฝึกทักษะในการถ่ายทอดองค์ความรู้

3. การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการทำงาน

กลุ่ม 3

1. อยากรู้การพัฒนาบุคลากร

2. กระบวนการคิดนอกกรอบ

3. การสร้างเครือข่าย

กลุ่ม 4

            1. การบริการคนในองค์กร

2. การจัดการแนวความคิดอย่างเป็นระบบ

3. ประสบการณ์ และความรู้ เพื่อนำไปใช้กับการทำงาน

กลุ่ม 5

          1. การสร้างเครือข่าย ซึ่ง อ.จีระอยากให้เสนอโครงการใหม่ๆ

            2.  รู้ศักยภาพของตนเอง ให้รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง ( Being )

            3. เป็นโอกาสเปิดโลกทัศน์ของตนเอง เพื่อนำไปสู่ของการพัฒนา ทั้งตนเอง และองค์กร

อ.จีระ : คนที่จะเก่ง ต้องเป็นคนที่ไม่มีคำตอบอย่างเดียว ต้องตั้งโจทย์ และถามคำถามอยู่เสมอ

 

 

สรุปการบรรยาย หัวข้อ...การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ของกรมพัฒนาที่ดิน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อังคารที่ 28 สิงหาคม 2555

-           การเป็นผู้นำ ต้องทำสิ่งที่ถูกต้อง และถูกจริยธรรม  

-          ผู้นำที่ดีไม่ต้องไปสั่งการ แต่ปล่อยให้คนอื่นเห็นผลงาน และเป็นแบบอย่างที่ดี

-          ผู้นำ ต้องเป็นศิลปะ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์

-          ผู้นำที่ดี คือ เป็นผู้นำที่ใช้อำนาจน้อยที่สุด

วัตถุประสงค์หลัก

-          จับหลักการ ความสำคัญ why วิธีการ how และทำอย่างไรให้สำเร็จเรื่องภาวะผู้นำ และการสร้างผู้นำในองค์กรของเรา

-          แบ่งปันความรู้ เพื่อค้นหาตัวเอง ทำให้ความเป็นผู้นำของท่านสูงขึ้น และนำไปปฏิบัติได้

-          สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกัน

-          สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง

โลกาภิวัตน์และผลกระทบ

-          Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology

-          เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA, AEC 2015, ฯลฯ

-          เรื่องการเงินเสรี  อัตราแลกเปลี่ยน

-          บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา

-          เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right

-          เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ                   

-          เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย

-          เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน

-          เรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

ต้องวิเคราะห์และทันเหตุการณ์

 

ปัจจุบันเข้าสู่ยุคที่เน้น เรื่อง

-          ความยั่งยืน

-          ความฉลาด

-          ความคิดสร้างสรรค์

-          นวัตกรรม

-          ทุนทางปัญญา

ชนิดของผู้นำ

            - Trust / Authority

            - Charisma ดึงเอาเป็นเป็นเลิศออกมาได้เสมอ

            - Situational ผู้นำที่ดี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ในอนาคต คือ Community ใน AEC

            - Quiet Leader   ไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง แต่เน้นเรื่องคิดเก่ง

Trust มี 3 ขั้นตอน

-          สร้าง (Grow)  การมีศรัทธาได้ต้องมีการสร้างแบรนด์ขึ้นมา  เพราะอาจจะมีจุดอ่อนทางการตลาด

-          ขยาย (Extend)

-           ดึงกลับ ถ้าหายไป  (Restore)  เช่น การเคหะแห่งชาติ  ถูกสั่งให้สร้างบ้านเอื้ออาทร แล้วเกิดการคอร์รัปชั่น ชื่อเสียงก็หายไป เพราะฉะนั้น ต้องมีวิธีที่จะต้องดึงชื่อสียงกลับมาด้วย

Trust มีหลายประเภท

 1. Self Trust – ตัวเองต้องมีก่อน สัญญาจะทำอะไรกับตัวเองต้องสำเร็จตามสัญญา

       2. Relationship Trust – ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร ซึ่งมีความสำคัญมาก ในการสร้างความมั่นใจให้กับเกษตร

       3.Organization Trust

       4. Social Trust การยอมรับของสังคม

- คนในองค์กร ต้องศึกษาว่าใครเป็น Role Model ในองค์กร

       Mandela เป็นตัวอย่างของผู้นำที่ดี เพราะต้อสู้ เพื่อความเป็นธรรมของคนผิวดำ ถูกคนผิวขาวจับอยู่ในคุก 25 ปี แต่พอออกมาก็ไม่เคยล้างแค้นใคร

       คุณสมบัติของผู้นำของท่านผู้ว่าฯ เกษม จาติกวณิช หรือ “Super K”  ผู้นำต้องฟังความเห็นผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ ผู้นำต้องรู้จักให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่โอ้อวดและยกตนข่ม ผู้นำต้องมีความเมตตา โอบอ้อมอารีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

       ทฤษฎีล่าสุดของ  Jack Welch  คือ ต้องเป็นผู้นำที่เป็น Teacher & Coach

      ทฤษฎี 5 E’s

1. Example คือ เป็น/สร้างตัวอย่างที่ดี

 2. Experience คือ สะสม/ถ่ายทอดประสบการณ์

 3. Education คือ ให้การศึกษา ให้ความรู้  เช่น การจัดอบรม

 4. Environment คือ สร้างบรรยากาศที่ดี  

5. Evaluation คือ มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การสร้าง KPI

ประเทศไทย เป็นระบบ  Command Control ไม่ยอมให้ หรือ สกัดกั้นคนรุ่นใหม่ ขึ้นมาเป็นผู้นำ

การวิเคราะห์ของอาจารย์ที่ University of Washington ผู้นำจะต้องมี 4 วิธี

1.Character

2. Leadership skill

3. Leadership process  

4. Leadership Value สร้างศรัทธา

 

 

 

 

 

 

Workshop

กลุ่ม1  ผู้นำในกรมของท่านมีกี่รุ่นและแต่ละรุ่นมีคุณลักษณะอย่างไร และผู้นำในอนาคตจะมีคุณสมบัติอย่างไร

          แบ่งเป็น 3 รุ่น 

รุ่นที่ 1 งานที่เด่น คือ การสำรวจดิน และมีหลายหน่วยงานเอาไปใช้  เกิดเป็นชุดดิน และมีงานอนุรักษ์ดินและน้ำ มีการเก็บข้อมูลดิน

            รุ่นที่ 2   ปี 2527 มีสถานี 12 เขต  มีแผนที่กลุ่มดิน และชุดดิน

            รุ่นที่3 นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ทำเขตพัฒนาที่ดิน

            ผู้นำในอนาคต

1. ต้องมีความยืดหยุ่น มีวิสัยทัศน์ มีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และงานวิจัย

2. มี EQ ,IQ

3. มีคุณธรรม และจริยธรรม

กลุ่ม 2    เลือกตัวอย่างของผู้นำที่เป็นต้นแบบของข้าราชการไทย 

      2.1) ผู้นำในระดับโลกที่ท่านชื่นชอบ 2 คน และชอบเพราะเหตุใด?

            - ในหลวง เป็นต้นแบบของกรม พัฒนาที่ดิน เพราะท่านคิดโครงการใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ

            - สตีฟ จอฟ  เพราะเป็นผู้มองการณ์ไกล ในการสร้างไอโฟน ไอแพด  ซึ่งปัจจุบันนำมใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก

      2.2) ผู้นำในวงการราชการที่ท่านชื่นชอบ 2 คน และชอบเพราะเหตุใด?

          - สืบ นาคะเสถียร  เพราะ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่กลัวอำนาจที่สูงกว่า มีจริยธรรมในการทำงาน ทำงานด้วยความโปร่งใส

            - ดร.สุเมธ  ตันติเวชกุล  เพราะเป็นผู้นำโครงการพระราชริ

กลุ่ม3   ผู้นำ (ในวงการราชการ) ที่เป็นต้นแบบของข้าราชการที่ท่านชื่นชอบ มีคุณสมบัติอย่างไร? วิเคราะห์โดยเน้น 4 คุณลักษณะ คือ

Character – ความเป็นตัวตน  ต้องมีคุณธรรม มีบุคลิกในการเป็นผู้นำที่ดี

Skills  – ทักษะที่จำเป็น ความเชี่ยวชาญการบริหารคน งาน ทรัพยากร และความขัดแย้งในองค์กร ความคิดเป็นระบบ การสร้างทีมงาน

Process – ขบวนการผู้นำ  ต้องเป็นคนที่มีความรู้  ชอบเรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งภายนอกองค์กร และต่างประเทศ มีความกล้าคิดกล้าทำ เข้าใจปัญหาอุปสรรค

Value    – คุณค่าของการเป็นผู้นำ  การสร้างศรัทธาและเป็นแบบอย่างที่ดี และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีโอบอ้อมอารีให้ผู้ผู้ใต้บังคับบัญชา

กลุ่ม 4  เสนอวิธีการที่เป็น Roadmap รูปธรรมสำหรับการสร้างภาวะผู้นำของราชการรุ่นใหม่ในอนาคตให้สำเร็จได้อย่างไร? และมีอุปสรรคอะไร

            1.  แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้มีประสบการณ์โดยการค้นคว้าอ่านหนังสือ และจากสื่อต่างๆ

2. มอบหมายงานเพื่อฝึกปฏิบัติจริง

3.สร้างบรรยากาศให้ทุกคนเสนอความคิดเห็นร่วมกัน

4.ติดตามและประเมินผล จากงานที่ได้รับมอบหมาย

อุปสรรค  มาจากนโยบายของผู้บริหาร  และงบประมาณ ทัศนคติของผู้บริหาร และผู้ร่วมงาน  

กลุ่ม 5    ถ้าท่านเป็นผู้นำในอนาคต ใน10 ปีข้างหน้า

            Vision ของกรมคืออะไร   พัฒนา และฟื้นฟูทรัพยากร สู่การพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน

            Mission คืออะไร 

1. กำหนดทิศทางการใช้ที่ดินของการเกษตรอย่างยั่งยืน

            2. กำหนดเขตโซนนิ่งให้เหมาะกับพืช

3.ส่งเสริมการปรับปรุงดินกับเกษตร

4.รองรับการใช้เกษตรอินทรีย์ในการเข้าสู่ประชาคมโลก

            ยุทธวิธี คืออะไร  ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล  ภาษา ทัศนคติ ความเป็นอยู่ และ IT  การจัดบริหารองค์กรให้ภาครัฐ  เผยแพร่งานวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย  การบริการเชิงรุก โดยการนำเอาข้อมูลลงในเวปไซด์ เพื่อให้ประชาชนได้รับความรวดเร็ว และมีความพึงพอใจ การสร้างเครือข่ายนักวิชาการด้านดินในระดับนานาชาติ

            Core Value  คืออะไร ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรอย่างมีส่วนร่วม

การวิจารณ์โดยชัยพร เหมมะ  

กลุ่ม 1 เน้นเรื่องจริยธรรม เพราะฝ่ายราชการควรมุ่งเน้นเรื่องจริยธรรม

กลุ่ม 2  ควรศึกษาเรื่อง 2L’s

กลุ่ม 3  งานวิจัยเรื่องเกษตร จะนำไปปฏิบัติยาก และไม่ถึงมือเกษตรกร

กลุ่ม 5 มีน้อยองค์กรมากที่คิดเรื่องการลดขนาดธุรกิจตัวเอง ซึ่งการทำบริษัทให้เล็กลงจะทำให้มีพลังในการขับเคลื่อนไปได้เร็วขึ้น  

การวิจารณ์โดยกัปตันปุญญาณัฐส์

กลุ่ม 1  วิเคราะห์พัฒนาการจากอดีต และปัจจุบันได้อย่างดี

            ปัจจุบัน เรื่องจริยธรรม และคุณธรรม เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก

            การมองระยะยาว

กลุ่ม 2  ผู้นำระดับโลก คือ สตีฟ จอปส์ และคิดนอกกรอบ  แต่ควรคิดว่ากรอบอยู่ไหนก่อน

กลุ่ม 3  เรื่องSkill เป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะ  และเรื่องทุนมนุษย์เริ่มมาจากตั้งแต่เล็ก ตั้งแต่การเลี้ยงดูของพ่อแม่ กรมพัฒนาที่ดินต้องมีการปลูกคน และเก็บเกี่ยวคน และต้องมีการทำให้สำเร็จ

กลุ่ม 4 อุปสรรค  คือเรื่องงบประมาณซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่ในหลวงตรัสว่า ต้องทำงานท่ามกลางความขาดแคลนให้ได้

กลุ่ม 5  วิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางขององค์กร ซึ่งในหลวงทรงให้แนวคิดที่ดี ที่เป็นแบบอย่างให้กับประชาชน

สรุปการบรรยาย หัวข้อ ... บริหารตน เข้าใจคน เพื่อผลสัมฤทธิ์ของงาน

(Managing Self Performance)

โดย    อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

หัวข้อและวัตถุประสงค์ คือ

  1. ตัววัดความสำเร็จ ศักยภาพและสมรรถนะการทำงาน  (Competency)    

รู้ว่าองค์กรมองและการพัฒนาบุคลากรและผู้นำด้านใดบ้าง

  1. รู้จักตนเองและมีเป้าหมาย (Know Self & Have Goal)                                                                  รู้จักริเริ่มค้นหาความต้องการในใจตนเอง เพื่อตั้งเป้าหมายให้ชีวิต

3.  สมมิติฐานที่เชื่อแล้วจะช่วย (Big Assumptions for Life)                                                      

เพื่อการประครองชีวิตการทำงานอย่างมีความสุขและความก้าว

4. การทำงานเป็นทีมทีมีประสิทธิภาพ

เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

กติกาการเรียนวันนี้ คือ

ผลัดกันเป็นครู  คือ ช่วยกันแชร์ความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

โดดลงน้ำ  คือ กล้าที่

เพลิน Play +Learn

เวลา

-          คำว่ายาก ควรเปลี่ยนเป็นคำว่า ไม่คุ้นเคย

-          ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนแปลงในชีวิต  คุณควรที่จะเปลี่ยนความคิดก่อน  

Competency  หมายถึง กลุ่มของความรู้ ทักษะ และ คุณลักษณะ ซึ่งประกอบด้วย พฤติกรรม ทัศนคติ และแรงบันดาลใจ ที่บุคลากรจำเป็นต้องมีเพื่อปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร

-          การทำ Workshop จะได้ Self concept, ทัศนคติ, ค่านิยม, มีแรงขับเคลื่อนภายในให้ทำหรือไม่ทำ

-          Human Being เป็นคุณลักษณะที่ทำให้คนมีลักษณะที่สมบูรณ์  คำ 3 คำที่สำคัญคือ

-          Do  เป็นคำที่สำคัญมาก ทุกคนจะมีการกระทำทั้งเรื่องครอบครัว ทั้งที่ทำงาน

-          Have  ค้นหาว่าชีวิตมีเป้าหมายอะไร  แต่ต้องระวังเรื่องการโดนครอบงำจากผู้ที่เป็นCoach  

-           Be  จะไม่โดนการครอบงำ หากรู้จักตัวเองดีพอ

คุณธรรม( Moral): คุณ+ธรรมะ  คือ คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม  ยึดถือปฏิบัติได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงศาสนา  ซึ่งฝึกฝนตารมความต้องการและสภาพแวดล้อมที่เอื้อ

จริยธรรม  แนวทางการปฏิบัติตนเพื่อการบรรลุถึงสภาพชีวิตอันทรงคุณค่าและพึงประสงค์

Validate the Beings 

เราไม่รู้ว่าคนแต่ละคนผ่านอะไรมาบ้าง ต้องมีการพูดคุย เพื่อให้มีการสานความสัมพันธ์ระหว่างกัน

 

 

ได้อะไรจากการเรียนรู้ในวันที่ 28 ส.ค. 55

 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

สรุปการบรรยายเรื่อง

Managing Self Performance

บริหารตน ชนะใจคน เพื่อผลสัมฤทธิ์ในงาน

คุณอิทธิภัทร์ ภัทรเมฆานนท์

 

Five Principles for Success

  1. 1.      Know Your Outcome
  2. 2.      Take Action
  3. 3.      Have Sensory Acuity
  4. 4.      Have Behavioral Flexibility
  5. 5.      Operate from a Physiology & Psychology of Excellence

 

Know Your Outcome

-                   คนจะสำเร็จในงานต้องรู้ว่าความสำเร็จในงานนั้นคืออะไร

-                   การทำงานอะไรก็ตามถ้าไม่สามารถแปลงเป็นเป้าหมายตัวเองได้จะไม่มีความสุข

-                   การทำงานต้องหา Purpose ให้ได้ทั้ง 2 ด้าน

-                   ทำแล้วเพื่ออะไร แล้วมีส่วนสำเร็จในการทำงาน

 

กระบวนการการเกิดกลยุทธ์เพื่อสร้างความสำเร็จ

เป้าหมาย  à      กำหนดกลยุทธ์   à     วางแผน à      ถ่ายทอด   à   ปฏิบัติ

 

The Law of Attraction

Ask, then Believe and you shall Receive

Ask – Believe (+Action) – Receive

(อธิษฐาน  เชื่อแล้วลงมือทำ คุณจึงจะได้)   

 

 

เมื่อไรที่ตั้งเป้า เมื่อนั้นจะบรรลุ

ให้เขียนเป้าหมายชีวิต 16 หัวข้อ

 

การจัดการบริหารเวลา

ทำกิจกรรมกลุ่ม

โจทย์ ทำไมท่านคิดว่าการบริหารจัดการทีมที่มีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญต่อกรมพัฒนาที่ดิน

แสดงความคิดเห็น

1.ภารกิจของกรมมีความหลากหลายในงาน ตัวบุคลากรต้องมีประสิทธิภาพ เพราะแต่ละคนเป็นเหมือนฟันเฟืองที่สำคัญ (งานหลากหลาย ทุกส่วนมีความสำคัญแตกต่างกัน)

2.ต้องมีการสังเคราะห์กลั่นกรองจากข้อมูลที่ได้ระดมความคิดเห็น

3.แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแตกต่างกันรวมแล้วมีประโยชน์สูงสุด

4.ลดขั้นตอนการทำงาน

5.แสดงถึงภาพลักษณ์องค์กร

6.ดึงจุดเด่นแต่ละคนมาใช้ในการทำงานให้คนเห็นว่ากรมพัฒนาตลอดเวลา

 

สรุปคือการระบุจุดมุ่งหมายให้ไปสู่ทิศทางเดียวกัน  เป็นส่วนระบุเอกลักษณ์และตัวตน  การระดมความคิดมีเนื้อหาอะไร

ถ้ามีการแบ่งบทบาท แล้วเห็นว่าการมีประสิทธิภาพทำงานเป็นทีมดีขึ้น ค่อยไปคุยกับเจ้านาย

เน้นการรวมพลังกันก่อนในการทำงาน ถ้าคนเสียงดังลุกขึ้นพูดจะลำบาก

สิ่งแรกคือ

1. ต้องรู้จักตัวเองก่อน

2. ต้องรู้จักคนอื่นว่าใครมีความชำนาญอย่างไร

 

เทคนิคในการ Facilitate ในการระดมความคิดเห็น

-                   ทีมเมื่อเสนอความคิดแล้วให้ทีมตัดสินใจเองว่าจะทำหรือไม่ ตัวอย่างเช่น เอา Post it ให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็น แล้วนำมาจัด Grouping

 

กิจกรรมที่ ให้เวลา 20 นาทีในการทำ Mission นี้

สร้าง Model บ้านพักตากอากาศเสมือนจริงจากอุปกรณ์ที่มีให้เท่านั้น

คือเป็นแบบไทย ,ทรงสูง, มีความมั่นคง

คำสั่งด่วน ให้โยกย้ายสลับคนสามคนในสองทีม ดังต่อไปนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม

รางวัลการประกวด

ผลงานมีผลต่อการโปรโมทการทำงานของทีม

มีโอกาสก้าวหน้ารองรับทิศทางการเติบโตขององค์กรและทุกคนจะได้โยกย้าย

ได้ดูงานและได้รับพิจารณาไปรับตำแหน่งที่ดีขึ้นในปีงบประมาณหน้า

 

สรุปให้แต่ละกลุ่มคิดว่า

  1. คิดว่ากระบวนการที่ทำงานสิ่งที่ทำได้ดีมีอะไร
  2. ถ้าเพิ่มเติมมากกว่านี้สิ่งใดจะให้การทำงาน Perfect

 

กลุ่ม 5

สิ่งที่เพิ่มเติม คือ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมจะทำให้สร้างดีกว่านี้ คือระยะเวลา สร้างที่ไหน งบประมาณเท่าไหร่ และวิเคราะห์ความสามารถคนว่ามีอะไรบ้าง แล้ววางแผนได้ดีขึ้น

กลุ่ม 1

สิ่งที่ทำได้ดีคือความร่วมมือกระตือรือร้น มีการแสดงความคิดเห็นในทีม มีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

สิ่งที่เพิ่มเติม คือ ควรมีการศึกษาข้อมูลก่อน การแบ่งงานไม่ชัดเจนว่าใครถนัดด้านไหน การบริหารเวลา และความมีคนควบคุมดูแล

กลุ่ม 2

สิ่งที่ทำได้ดี คือการทำตามเป้าหมาย บรรลุได้ดี ได้แสดงความคิดเห็น

สิ่งที่เพิ่มเติม คือการแบ่งหน้าที่ยังไม่ชัดเจน ขาดการวางแผนก่อนล่วงหน้า การค้นหาเป้าหมายไม่ชัดเจน ปฏิบัติตามคำสั่ง โดยขาดความเฉลียวใจว่าจริง ต้องการอะไร

กลุ่ม 3

สิ่งที่ทำได้ดี  คือมีความร่วมมือ และเต็มใจทำ ไม่ขัดแย้ง

สิ่งที่เพิ่มเติม คือควรประชุมก่อนเวลาทำงาน  ควรมีการวางแผนเป้าหมายและภาพรวมก่อนจินตนาการของแต่ละคนไม่ตรงกัน และไม่ได้ประสานงานกับท่านอธิบดีฯว่าต้องการแบบใด

กลุ่ม 4

สิ่งที่เพิ่มเติม คือ เรามีเวลาที่จำกัด มีเวลาแค่ 20 นาที ไม่มีโอกาสได้เลือกแบบ ไม่ได้มีการแบ่งงานอย่างชัดเจน ไม่มีการสรุปแบบว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ อุปกรณ์มีน้อย

สิ่งที่ทำได้ดี มีความร่วมมือ ช่วยแสดงความคิดเห็น กระตือรือร้น และแบ่งงานกัน

 

 

สรุปเรื่องการทำงานเป็นทีม

  1. บางกลุ่ม กลุ่มไหนมีคนจ่ายงานจะทำให้ทำงานง่าย
  2. การเข้ามาใหม่ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงให้ดูว่าอะไรเกิดขึ้น
  3. เมื่อระยะเวลาผ่านไปจะเริ่มสร้าง Norm ได้คือรู้ว่าเก่งอะไร จะเริ่ม Perform
  4. มีเป้าหมายร่วมกัน
  5. ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
  6. ทุกอย่างไว้วางใจและเชื่อใจ ใครมี

ปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับทีม

  1. ทัศนคติในการทำงานร่วมกัน
  2. สไตล์การทำงาน
  3. การปฏิสัมพันธ์เชิงเรียนรู้ หรือตอบโต้

-                   ถ้า Focus ที่เป้าหมายร่วมกันจะไม่ค่อยมีปัญหา

การหาคำถามเกี่ยวกับการเรียนรู้ หรือตอบโต้

ปรับภาษาให้มุ่งหาเป้าหมาย ไม่ใช่ออกจากเป้าหมาย

สรุปทีมที่ดีคือ

-                   การสร้างบรรยากาศ ใจกว้าง

-                   เจอกันบ่อย ๆ ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ

-                   ใครบ้างอยู่ในทีมต้องมารู้จักกัน

-                   รู้จักเป้าหมายที่แท้จริง

-                   เมื่อเกิดความลังเลสงสัยในเป้าหมายต้องมาแก้ตรงนี้ก่อน

-                   สร้าง Commitment

-                   High Performance

-                   ถ้ามีใครเข้ามาแล้วเกิดความป่วนต้องปรับมาที่ Trust

-                   เมื่อทำงาน Overload มาก ๆ ก็จะแก้

ลักษณะของทีมคือเอาจุดดีมาใช้ได้อย่างไร ให้เข้าใจตนเองให้ชัด ๆ

 

 

 

 

 

 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

การบรรยายหัวข้อ           Arts & Feelings of Presentation : Effective Design

โดย      อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

 

กิจกรรมแรก  ปิ๊ง..แว๊บ

ย้อนกลับไปวัยเด็กที่มีความฝัน

ถ้าคุณสามารถสร้างฝันได้ คุณก็จะทำได้

ภาระกิจที่ 1

ให้แต่ละคนคิดถึงสิ่งที่อยากเป็นแล้วแปะสิ่งที่อยากเป็นไว้ในหน้าอกซ้าย

1.อยากเป็นอะไรเพราะเหตุผลอะไร

2. คิดท่าสัญลักษณ์

ภาระกิจที่ 2

ให้แต่ละคนเรียงร้อยเรื่องราวแต่ละคนต่อกัน คำสุดท้ายของคนแรกจะเป็นคำแรกของคนต่อไป

 

แสดงความคิดเห็นสิ่งที่ได้

1.ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเหตุการณ์เฉพาะหน้า

2. จินตนาการ

3.การผูกเรื่องราวร้อยเรียงเป็น 1 เรื่อง

4.สนุกสนาน

5.ความสามัคคี ทีมเวอร์ก

6.เราจดจำสิ่งต่าง ๆ ในช่วงปิ๊งแว๊บ

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้

คิด สร้างสรรค์ จินตนาการ ปฏิภาณไหวพริบ รอคอยความสำเร็จ

สนุก สุข จิตวิญญาณ...น้องอนุบาล

ส่งเสริม

การ Movement (We were born to move)

Communication เราจะอยู่ในโหมดปฏิสัมพันธ์กันมากกว่า

3 V

Verbal สื่อสารด้วยคำพูด

Voice เสียงที่มีพลัง

Visual ภาพ

 

ทฤษฎีการสื่อสาร

Verbal  คนฟังรับได้ 7%

Voice   คนฟังรับได้ 33%

Visual   คนฟังรับได้ 55%

ดังนั้นการใช้ภาษาของเสียงและพลังท่าทาง จึงมีพลังมาก

Body Language

Action speaks more than Words

ขณะเคลื่อนไหวจะเกิดสาร Endorphin ที่ทำให้เกิดความรื่นเริง บันเทิงใจ

ทำให้เปิดรับเรื่องราวอื่น ๆ ต่อไป สู่ Impromptu Speech

 

กิจกรรมที่  2 ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนพูดใน 1 นาทีพูด

-                   แนะนำตัว

-                   ประสบการณ์ในการทำงาน

-                   สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้

Zone ที่พูดเป็น Leadership Zone  การประเมินคนพูดในฐานะผู้ฟังเห็นอะไรบ้าง

 

เรื่องราวในการพูดเมื่อเป็น Presenter จะจัดระบบอย่างไรให้จำได้พูดได้และไม่หลงลืม

เทคนิค Power of Three

คือ การจัดระเบียบในความคิดเป็น 3 ประเด็น แล้วคิดเป็นภาพ ดึงภาพออกมาพูดจะทำให้ได้อารมณ์ได้ความรู้สึก

  1. ปัญหา
  2. ทางออก
  3. ประโยชน์

จุดที่ต้องโฟกัสคือการฝึก Eye Contact ให้มองไปที่ตาคนฟังคนละ 5 วินาที

 

ทบทวนว่าเราได้อะไรจากการฝึก Eye Contact นี้

1.เรื่องไหวพริบ

2.ได้สบตาคนฟังทำให้รู้ว่าเขาสนใจเรา

3.พอผู้พูดไปสบตาคนฟังทำให้มีความมั่นใจมากขึ้น

4.ประเมินได้ว่าเขาเข้าใจเนื้อหาที่เราพูดหรือไม่

5.ขณะที่คุย และสบตาจะเป็นการเน้นย้ำไปด้วย

Script

สคริปต์นี้เตรียมขึ้นมาเวลามี Power of Three แล้วเราจะเตรียมอะไรบ้าง

Content is King , Presenter is Sup-tar (ใส่ความเป็นแซบเวอร์ Juicy & Jazz)

Every Presentation  needs  Life&Energy

Script – Roadmap for success to presentation

-                   Opening 10%

-                   Core Message 80%

-                   Closing 10%

We were born to move

กิจกรรม Participation

-                   ฝึกถาม

-                   โต้ตอบ

-                   แลกเปลี่ยนประสบการณ์

-                   วีดีโอคลิป

-                   แบ่งกลุ่มระดมสมอง

ทุกครั้งของกิจกรรมให้ Success Celebrition

-                   สมองเมื่อ 10 นาทีผ่านไป ความสนใจจะลดลง ดังนั้นจึงควรมีกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจให้สนใจฟังโดยตลอด

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายหัวข้อ Problem Solving & Decision Making

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ

 

R2R (Routine to Research)

Routine – งานที่ทำโดยความเคยชิน งานประจำวัน เช่น Front Line

Research – งานที่ค้นคว้า วิจัย งานที่ต้องคิดใหม่ ๆ คือการหาข้อเท็จจริง (Fact)

 

คนเก่ง มี 2 ทีม

  1. ทีมที่ปรึกษาว่าควรทำอย่างนี้ Good news
  2. ทีมที่ปรึกษาแนะนำว่าไม่ควรทำอย่างนี้ Bad news

 

การโกหกสีขาว (White Lie)

ช่วยในการสร้างกำลังใจคนให้ดีขึ้น

Front Line – ระดับล่าง กองหน้า สัมผัสส่วนได้ส่วนเสีย routine 80% ใช้สมอง 20%

Middle Line – ระดับกลาง Routine 50% ตัดสินใจแก้ปัญหา 50%

Top Line – ระดับสูง Routine 20% ตัดสินใจใช้สมอง 80%

 

เลือกสิ่งที่ถูกทำ เรียกว่าEffectiveness

Efficiency  - เป็นการทำอย่างถูกวิธี มีความจำเป็นในระดับล่าง

 

วิชาการของฝรั่ง

คือเอาประสบการณ์ร้อยเรียงมาสอนคนอื่นได้ เปลี่ยนจาก Implicit (ความรู้ที่มีอยู่ข้างในตน) มาสู่ Explicit (ความรู้สามารถถ่ายทอดถึงกันได้ด้วยวิธีการเขียน พูด ฟัง อ่าน)

-          เป็นลักษณะ Tacit Knowledge (ความรู้ฝังในตน)

-          Story Telling เป็นศาสตร์ที่ฟังคนอื่นเล่าดี ๆ

 

Problem Solving เป็นการแก้ปัญหา

-                                  ปัญหา มีทั้งโอกาส และทางที่เจอทางตันอยู่

-                                  ระบบการแก้ปัญหาในการทำงานหมายถึงทางหลายแพร่งที่เราต้องเลือก

-                                  คำจำกัดความของทางแก้ปัญหา มี 3 ประการ

ปัญหาในการทำงานมีองค์ประกอบ 3 ประการ

  1. Unplanned or Unexpectedต้องไม่คาดคิดมาก่อน ไม่ได้วางแผนไว้ วิธีการคือต้องฝึกให้คาดการณ์ล่วงหน้าได้
  2. Caused Unknown ปัญหาที่แท้จริงต้องไม่รู้ว่าสาเหตุคืออะไร แต่บางครั้งรู้เหตุ แต่ไม่แก้เหตุ ไปแก้อาการ
  3. Great Concern เรื่องบางเรื่องก็ควรปล่อยวางบ้าง อย่าไปเอาทุกเรื่อง กังวลทุกเรื่อง ละวางบ้าง บางคนทำทุกเรื่อง บางคนไม่ทำอะไรเลย

 

ประเด็นปัญหาที่พบเสมอในการทำงาน

ในการปฏิบัติงานบริหาร จะพูดถึงปัญหาทั้งแง่ดีและผลไม่พึงปรารถนา

 

การบริหารความเสี่ยง

ระบบสากลเรียกว่า COSO

Impact=Size*Frequency (ผลกระทบ = ขนาดของปัญหา*ความถี่ที่จะเกิดขึ้น)

Impact เกิดจากความถี่หรือปริมาณ

-          Step แรกของการบริหารความเสี่ยง คือการลาดตระเวนดู บริเวณที่รับผิดชอบเสียก่อน

-          การมองจากข้างนอกมองมาที่ข้างใน เป็นลักษณะการมองอย่างชำนาญการ

-          ในเรื่อง Risk เวลาถูกรับงานใหม่ ต้องมีวิธี หรือสปายที่จะรู้ได้ว่ารั่วตรงไหน

  1. มีการวางแผนเรื่องเงินและ Audit เรื่องเงินทำถูกกฎระเบียบหรือไม่
  2. รู้เรื่องกฎระเบียบ วิ่งตามเส้นให้เป็น
  3. ผลงาน ดูที่  Outcome ผลสำเร็จที่เรียน อบรม ไปฝึกอะไรมาถ้าไม่ระวังจะเหนื่อยตลอด

 

คำถามสำคัญที่ต้องตอบเพื่อแก้ปัญหาในงาน

1.What อะไรได้เกิดขึ้น

2.How much ปัญหารุกรามไปถึงไหนแล้ว

3.Where สาเหตุเกิดที่ไหนบ้าง อะไรบ้างอย่าเหมารวม

4.When ห้วงเวลาเกิดจากไหนถึงไหน ไม่ได้เกิดทุกตอน ต้องสังเกตให้ดีว่าเกิดตอนไหน

5.Why ทำไมจึงเกิด

 

หลักความเป็นมนุษย์มืออาชีพ 7 ประการ

1.Self Performance(ผลสัมฤทธิ์ของงาน)  ต้องสอนให้พึ่งพาตนเองได้ อย่าทำให้คนใดคนนึงเสีย Self เด็ดขาด แต่อย่า Spoil ให้ Balance ดี ๆ  ลูกน้องมีทั้งดีและไม่ดีปนกัน แค่ดีอย่างเดียวพอแล้ว ใช้ตรงนั้น แล้วจะมีบริวารเยอะ

2.Value Creation(สร้างคุณค่าเพิ่มในงาน) ของธรรมดาสร้างคุณค่าเพิ่มได้

3.Personality (บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่)

4.Knowledge of Environment(ความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม)

5.Strategy of Vision (วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์)

6.Leadership (ภาวะผู้นำ) ตัดสินและทำในสิ่งที่ไม่มีข้อมูล บางครั้งต้องกล้าฟันธงโดยไม่มีข้อมูล เกิดจากการเรียนรู้เป็นพรแสวง ไม่ใช่พรสวรรค์

7.Team work (การทำงานเป็นทีม) สร้างทีม สร้างมรดกตกทอด ทายาท

 

  • การตัดสินใจในงาน หมายถึง ระบบวิธีการเลือกดำเนินการและใช้ทรัพยากร เมื่อปฏิบัติงานมาถึงจุดที่ต้องเลือกทางเดิน

 

การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ

-          การตัดสินใจในงาน หมายถึง ระบบวิธีการเลือกดำเนินการและใช้ทรัพยากร เมื่อปฏิบัติงานมาถึงจุดที่ต้องเลือกทางเดิน

-          ผู้ที่ใช้ศิลปะในการตัดสินใจ (Qualitative Decision = Must)

โดยไม่คำนึงถึงวิทยาศาสตร์ในการตัดสินใจ         (Quantitative Decision = Want)

เทคนิคการใช้ Must and Want ในการตัดสินใจ

เวลาตัดสินใจอะไรให้เขียนเกณฑ์ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน

  1. 1.         Must คือประเด็นพิจารณาเชิงคุณภาพ ได้แก่ การประมวลความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ แล้วกำหนดเป็นเกณฑ์ (Criteria) อย่างชัดแจ้งว่า ทางเลือกเหล่านั้นข้อไหนผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์นี้ โดยต้องไม่มีข้อสงสัยในการ “ตัดตัว” ว่าทำไมจึงผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์
  2. 2.         Want คือประเด็นเชิงประมาณ ได้แก่การคำนวณโดยให้น้ำหนักความต้องการ (Want) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พิจารณาตามลำดับความสำคัญ

-          ทัศนคติของลูกน้อง ต้องค่อยๆมีการปลูกฝัง

  1. Basic ดี
  2. ประเมินได้บ่อย ๆ
  3. มี Skill Attitude ที่ดี

ศาสตร์การจัดการ

คือจัดการทำอะไรให้สำเร็จโดยใช้คนอื่นทำงานเป็นทีมได้

มี 3 กิจกรรมหลักที่ต้องทำตลอดทั้งชีวิต

1. คิดก่อนทำ คือวางแผน

2.ทำตามที่คิด ลุย คือปฏิบัติการตามแผน ระวังการดึงคนที่ทำตามแผนมาทำอะไรไม่ทำตามแผน การปฏิบัติการถ้าไม่ทำตามแผนที่มีไว้ก่อนต้องทำอะไร

3. ทบทวน สิ่งที่ทำต่างกันอย่างไร และเพราะอะไร

 

2 สิ่งที่ประเทศไทยต้องการ คือ

  1. รู้วิชาการจัดการ (เป็นปัญหาสุดวิสัย) เราไม่คาดการณ์เลยคิดว่าเป็นปัญหาสุดวิสัย ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงคือ มีสัญญาณอยู่แล้ว

การที่รัฐบาลอ่อนแอแล้วไปได้ถือว่าเป็น Strength

 

 

โจทย์ ให้เลือกทำเลที่ตั้งกรมใหม่จำนวน 100 ไร่

Must คือ เกณฑ์ที่ต้องได้ ต้องเป็นคุณค่าที่นโยบายผ่านได้ ถ้าไม่ผ่านต้องตก ส่วนใหญ่ถามนาย หรือเพื่อน

Want ต่างกับ Must คือน้ำหนักไม่เท่ากัน  เป็นเชิงปริมาณที่ต่อรองได้ ถามคนทำงานในกรม หรือลูกน้อง เป็นลักษณะ Survey ใช้สำหรับการตัดสินใจเชิงคุณภาพและ Professional

Problem Solving Decision Making Form (แบบฟอร์มการตัดสินใจ)

เรื่อง......................................................................

                        ทางเลือก

ข้อพิจารณา

1

2

3

     MUST

รังสิต

พุทธมณฑล

สมุทรปราการ

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

ผล (Must)

 

 

 

WANT

น้ำหนัก

คะแนน

รวม

น้ำหนัก

คะแนน

รวม

น้ำหนัก

คะแนน

รวม

1

 

4        x

=

 

4        x

=

 

4        x

=

 

2

 

3         x

=

 

3        x

=

 

3        x

=

 

3

 

2        x

=

 

2         x

=

 

2        x

=

 

4

 

1        x

=

 

1        x

=

 

1        x

=

 

     ผล (Want)

คะแนนรวม

 

 

 

 

 

                       

 

 

 

 

 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หัวข้อ           บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่

โดย    อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

-    ศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่

-    เทคนิคการดูแลใบหน้าและแต่งหน้าให้ดูดีมีสไตล์

-    การเลือกทรงผมกับบุคลิกคนทำงานรุ่นใหม่

-    มาดและท่วงท่าอิริยาบถของคนทันสมัย

-    การรับประทานอาหารเมื่อออกงานสังคม

 

ความประทับใจแรกพบ

-                   ไม่จำเป็นต้องดี สามารถมีทั้งดีและไม่ดีได้

-                   เราต้องเน้นการสร้างความประทับใจแรกพบด้วยตัวคุณเอง

  1. Image ภาพลักษณ์ภายนอก
  2. Social & Business manners, Table manners
  3. Know how to use Body Language
  4. Know your Role
  5. Know how to present yourself in the public

 

55 % มองเห็นจากภาพลักษณ์ภายนอก

38%  น้ำเสียง

7% คำพูดที่ออกมาเป็นอย่างไร

 

บุคลิกคนเราประกอบด้วย

1.การแต่งตัว

2.มาด เช่นผู้หญิงมีมาดตอนใส่ส้นสูง ผู้ชายมีมาดตอนใส่สูท

3.พูดจาดี รู้จักการพูดจากับคน

4.กาลเทศะ ตอนนี้เล่นบทอะไร

5.อารมณ์ดี

 

ศิลปะการแต่งกายสไตล์นักบริหารยุคใหม่

ชีวิตคนเรา ประกอบด้วย เส้นสาย สีสัน สัดส่วน

เส้นสาย

ผู้หญิง ผู้ชาย ถ้าอยากขายาวให้ใส่กางเกงสูงนิด เอวต่ำหน่อย

สีสัน

คนผิวคล้ำอย่าเลือกสีดำหมด

สี

สีโทนร้อน กับสีโทนเย็น

ความหมายและอิทธิพลของสี

สีน้ำตาล ซื่อ สะอาดเรียบง่าย มนุษย์สัมพันธ์ดี

สีทอง ความมั่งคั่ง พิธีการ

สีดำ ความเป็นคนหัวโบราณ ลึกลับ แต่ทันสมัย

สีเงิน ความโก้ เพรียว

สีเขียว ความเจริญรุ่งเรือง สะดวกสบาย

สีขาว ความสะอาดเรียบง่าย

สีเทา ความทันสมัย

สีม่วง สีคนสูงศักดิ์ ความศักดิ์สิทธิ์

สีม่วงอ่อน หรูหรา นุ่มนวล

สีเทอควอยส์ โดดเด่น

สีเบส คนหัวเก่า สบาย ๆ

การใส่สูท

ใส่ให้พอดีตัว สูทใช้บ่อยคือสีดำ สีน้ำเงิน

ความยาวของขากางเกงให้อยู่เหนือพื้นดินประมาณ ½ เซนติเมตร และไม่ใส่กางเกงมีจีบหน้า

เนคไทด์

ความยาว พอดีคือกลางหัวเข็มขัด

ปกเสื้อเชิ้ต

ถ้ามีกระดุม จะดูเนี้ยบ

สีฟ้า

คนผิวคล้ำ ต้องใส่สีฟ้าที่มีหยดสีขาวเยอะ

ถุงเท้า

ควรสีเดียวกับรองเท้า

ผู้หญิง

รองเท้าที่ใส่กับสูทควรใส่รองเท้าที่ปิดหัว ใส่กับสูทไม่ควรเปิดหัวเด็ดขาด

รองเท้าสีขาวอย่าใส่ เพราะจะทำให้เท้าดูใหญ่

ส่วนประกอบร่างกาย

ข้างบนต้องสั้นกว่าข้างล่าง

อยากสูงให้ใส่กระโปรงทรงดินสอ

สิ่งที่ไม่ควรทำคือ

ติดผมกระจุกกระจิกเหมือนพลาสติก

กระเป๋า

ต้องเลือกให้พอดีตัวอย่าใหญ่เกินไป ถ้าใส่สูทอย่าสะพายเป้

รองเท้า

อย่าใส่หัวใหญ่ ๆ ให้ใส่หัวเล็ก ๆ

เข็มขัด

เวลาทำงานให้ใช้หัวเรียบ ๆ

ปากกา

เวลาใช้ให้ใช้ดีหน่อย

บุคลิกการนั่ง

เวลานั่งเก้าอี้ มือขวาจับพนัก แล้วจะเข้าที่ด้านซ้ายของเก้าอี้เสมอ

ผู้หญิง การนั่งที่ดูดี ไม่ต้องพิง นั่งแค่ครึ่งเดียว หัวเขาชิด วางขาซ้อนกันเป็น 10 นาฬิกาหรือบ่ายสองโมง ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง

ผู้ชาย ไม่ต้องนั่งกว้างมาก ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง ถือว่าไม่สุภาพ

การยืน

ผู้ชายยืนขาแยกเล็กน้อยระหว่างฝ่ามือ

การไหว้

การไหว้ด้วยความเร็วแต่ทำให้คนประทับใจอย่างไร

ศอกไม่กลาง  ค่อยๆ ก้มศรีษะมองปลายเท้าตัวเองอย่างช้า ๆ ไหว้ด้วยหลัง ไม่ใช่ก้น

ทุกครั้งที่ได้ใช้สวัสดีค่ะ/ครับ

ท่วงท่า

ต้องไม่หน้าท้องยื่น

ต้องไม่ไหล่ห่อ ก้มงอไปข้างหน้า

เข่าต้องไม่งอ

การนั่งโซฟา

ต้องรู้ว่าเวลานั่งแล้วนั่งตรงไหน

1.ความปลอดภัย

2.ความสะดวกสบาย

3.การให้เกียรติ

4. อัธยาศัยไมตรี

5.ความเป็นระเบียบเรียบร้อย

เจ้าของบ้านจะนั่งใกล้ประตูที่สุด

ผู้หญิงจะนั่งไกลประตูที่สุด

เวลาไปบ้านผู้ใหญ่มาก ๆ

ให้รอผู้ใหญ่เข้ามาก่อนแล้วเลือกที่นั่งก่อน ให้คนที่สนิทกับผู้ใหญ่นั่งใกล้ผู้ใหญ่มากที่สุด

การนำเสนองาน

อย่านั่งหันหลังให้ประตู ให้หันหน้าเผชิญกับประตู

การนั่งรถ

นั่งรถเก๋ง

ที่ VIP คือข้างหลังเยื้องคนขับ (ยกเว้นทหารจะนั่งหลังคนขับ)

คนที่ 2 นั่งหลังคนขับ

คนที่ 3 นั่งกลาง

นั่งรถตู้

ให้ทุกคนขึ้นข้างหลังก่อนให้เต็ม

คนที่เป็น VIP จะนั่งเบาะแรกหลังคนขับ

การแนะนำตัว

ยืนห่างหนึ่งช่วงแขน

เวลาแนะนำ ใครสำคัญกว่าให้กล่าวชื่อคนนั้นก่อนจะถือว่าให้เกียรติคนนั้น

การเดินมากับเจ้านาย

เดินตามให้อยู่ด้านซ้ายของเจ้านาย

เดินนำให้อยู่ข้างขวาของเจ้านาย มือขวาจะเป็นมือเปิดทางเสมอ มือขวาจะใช้เปิดประตู

เวลาแนะนำลูกค้ากับเจ้านาย

ลูกค้าถือว่าใหญ่เสมอ

1.ทักทายลูกค้าด้วยคำว่าสวัสดีก่อน

2.เอ่ยชื่อลูกค้าก่อน แล้วแนะนำเจ้านาย แนะนำตำแหน่งเจ้านายเล็ก ๆ ก่อน

3. เจ้าของกิจการกล่าวสวัสดีแล้วพูดขอบคุณ

เวลาแนะนำในที่สาธารณะ

ไม่ต้องแนะนำก็ได้ ถ้าแนะนำแสดงว่าไม่รู้จักกาลเทศะ ให้แค่ทักเฉย ๆ พอ

การเรียกขานกัน

ถ้าไม่รู้จักกันใช้คำว่าคุณนำหน้าเสมอทุกครั้ง รู้จักกันแล้วค่อยเรียกอย่างอื่น ยกเว้นในต่างจังหวัดใช้ พี่ ป้า น้า อา คุณยาย ได้

มารยาทบนโต๊ะอาหาร

ผ้าเช็ดปาก นั่งปุ๊บ ค่อย ๆ คลี่ออกมา อย่าคลี่หมด

ผู้หญิงหรือผู้ชาย ควรมีทิชชู่ในกระเป๋าเสมอ

อุปกรณ์อาหาร ต้องใช้ 2 มือเสมอ

คมมีด อย่าหันออกให้หันเข้าตัวเสมอ

เวลาทานยังไม่เสร็จให้วางส้อมกับมีดค้างไว้ก่อน พอคนอื่นทานเสร็จแล้วประมาณ 2-3 คนค่อยรวบมีดส้อม

ห้ามแจกนามบัตรบนโต๊ะอาหาร จะแจกนามบัตรหลังจากเลิกงานเลี้ยงแล้วเท่านั้น

แขกคนสำคัญจะนั่งขวามือเสมอ ภรรยาอยู่ขวามือ

การนั่งจะสลับชายหญิงเสมอ

ทานเสร็จแล้วเวลาจะลุกจากโต๊ะให้พับผ้ากันเปื้อนเท่าที่จะพับได้วางไว้ที่โต๊ะ

แล้วลุกออกจากโต๊ะทางเดิม

น้ำตาล ครีม ใช้วิธีส่งผ่านกัน

โทรศัพท์ให้ปิดเสียง หรือสั่น

ถ้าโทรศัพท์เรื่องด่วน ให้ขออนุญาต

อย่าพูดเวลาอาหารอยู่เต็มปาก อย่าเคี้ยวอาหารเสียงดัง อย่าเรอ

ส้อมกับมีด ส้อมเป็นเหมือนช่วยกดอุปกรณ์

ขนมปังใช้มือบิดทีละคำ

ไม่ส่งมีดเข้าปาก ไม่ใช้มีดชี้กัน คุยกัน

 

 

 

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ ในวันที่ 29-30 สิงหาคม 2555

 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

การบรรยายหัวข้อ Creative Thinking and Value Creation

กับการทำงานของกรมพัฒนาที่ดิน

โดย              อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

 

  1. Supply Management ของหญ้าแฟก

=ห่วงโซ่อุปทานของหญ้าแฟก

=ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

  1. การใช้ประโยชน์จากเยื่อหญ้าแฟก

ให้นึกถึงเฟอร์นิเจอร์ราคา 3 แสน บริษัทที่ร่วมทำคือบริษัทโยธกา เป็นลักษณะต้นแบบ

การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฟกคือบ้านดิน

กระบวนการในการบริหารจัดการความเสี่ยง

  1. Cottage Industry Model เป็นโมเดลของเศรษฐกิจฐานชุมชนเอาชุมชนเป็นตัวตั้งแต่ Develop เศรษฐกิจในนั้นผ่านฐานหญ้าแฟก

หมู่บ้านแม่กำปองคือหมู่บ้านตัวอย่างที่ได้แนะนำมาอย่างยาวนาน เริ่มต้นที่ดิน

สิ่งที่ย้ำประโยชน์อย่างมากคือ เรายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือ รักษาหน้าดิน

-                   เวลาทำอะไรก็ตามต้องตั้งคำถามว่าเพื่ออะไร

-                   กรมพัฒนาที่ดิน ดูแลเรื่องเกษตร หน้าดิน การใช้ที่ดินเป็นหลัก ให้รวมถึงการขุดดินมาใช้ด้วย

-                   ที่มาของบริษัท IT ทางการแพทย์ ได้มาจากวังไกลกังวล

-                   1. เราควรมีชีวิตเพื่อคนอื่นบ้าง  2. เรามีชีวิตเพื่อให้เป็นความสุขจริง ๆ

Positive Thinking การคิดบวก

-                   Well Planning

-                   วัตถุประสงค์การมีชีวิต ต้องไม่มีอารมณ์อคติ อารมณ์ลบ ความคิดสร้างสรรค์ต้องเกิดจากอารมณ์ปกติ  ไม่คิดลบกับมนุษย์ทั้งโลก

-                   เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในแผน 10 แผน 11

-                   สรุปคืออยากเชิญทุกคนเป็นคนไทย จะได้คิดสร้างสรรค์  คิดแบบบวก ๆ คิดแบบชีวิตมีอนาคต

-                   มีชีวิตเพื่ออะไร มีชีวิตเพื่อรุ่นต่อไปใช่ไหม

ในฐานะเป็นข้าราชการลองทบทวนว่ากลับไปบ้านจะทบทวนดีหรือไม่ เราเป็นข้าราชการไปเพื่ออะไร มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

-                   การคิดบวก คือจุดเริ่มต้นความคิดสร้างสรรค์ทั้งมวล

-                   การจินตนาการมีความสำคัญมากกว่าความรู้ อัลเบิร์ต ไอน์สไตล์

-                   ทุกวันนี้ความรู้ Limit เราหมดเลย ความรู้เป็นตัวตามหลังจินตนาการ

-                   วิสัยทัศน์ขิง จอหน์ เอฟ เคนาดี้ คือเอาคนไปลงบนดวงจันทร์แล้วกลับบ้านด้วย

-                   วิสัยทัศน์ Vision จินตนากร แล้วจินตนาการเหล่านั้นมี Norm บังคับอยู่

-                   ลีโอดาโน ดาร์วินซี ค้นหาจินตนาการวาดกล้ามเนื้อมนุษย์

-                   ความรู้ในอดีตห้ามผ่าศพ แต่ลีโอดาโนแอบไปผ่าเพื่อดูกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดเป็นความรู้ขึ้นมาก

-                   ความรู้ Limit มนุษย์

-                   เหตุที่ต้องมาเรียนวันนี้เพราะว่าแต่ละท่านไม่ได้อยู่ในยุค Modern อีกต่อไป

ยุค Modern คือยุควิศวกร แพทย์ ทหาร ยุคความรู้เชิงเดียว เป็นยุคของความเป็นไปได้

ยุค Post Modern คือยุคปัจจุบัน เป็นเหตุผลที่เราจด AEC เป็นยุคแห่งความเป็นไปได้ ไม่ใช่ผิด ถูกอีกต่อไปแล้ว

เหตุที่ทำให้ทีวีแบนลงเพราะเข้าสู่โลกยุคนี้แล้ว ในวันนี้โทรศัพท์ทั้งหลายแบนลง

3 ปีข้างหน้า เกิดจินตนาการ AEC มีอะไรบ้าง

ยุคของการใช้แรงงานราคาถูกทั้งหลายกำลังหมดลง ประเทศไทยจะรอดต้องนำพาประเทศไทยเข้าสู่ยุค Post modern จินตนาการ ความรู้

ยุค Knowledge Base Economy เป็นยุคให้ความรู้เป็นพื้นฐาน โรงงานจะปิดตัวลง จะหายไป จินตนาการเริ่มทำงาน งบประมาณปี 57 ต้องวางแผนใช้งบประมาณสำรวจที่ดิน

แผนที่ดาวเทียมเอาเงินกี่ล้าน

East West Economic Corridor เชื่อมอาเซียนจากดานังลงตาก ผ่านตากทะลุเบ็งกอล รูปแบบการใช้ที่ดินจังหวัดตากจะเปลี่ยนไปแล้ว พื้นที่เปลี่ยนไปใช้สมุทรสงครามทันที ถ้าต้องทำโรงงานที่ทะเลสมุทรสาคร ต้นทุน Logistics ต้องย้ายทันที

            ผลกระทบทางด้านบวกและลบ AEC ต่อการใช้เครื่องบินใหม่ ๆ จังหวัดตากเป็นต้นน้ำ

            สรุปคือ AEC เกี่ยวกับกรม แล้วนำจินตนาการมาบวกไว้

            จากนี้เป็นต้นไป การทำอะไรก็แล้วแต่ต้องทบทวนไปหาต้นทางให้ได้

            AEC เกิดจากการรวมกลุ่มของ Margin เพื่อต่อรองกับอำนาจเก่า ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเทศทางยุโรป

            กรมพัฒนาที่ดิน ควรหันลับมาฟื้นฟู ดิน ป่า น้ำ เพื่อให้อยู่อย่างมั่งคั่ง

            โมเดล แม่กำปอง         ได้รางวัลหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และหมู่บ้านพอเพียงมาเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี และขายไฟฟ้าคืนให้กฟภ. แล้ว ตั้งสหกรณ์กาแฟ มีธารทองที่น้ำใสตลอดทั้งปี การท่องเที่ยวว่าด้วยหมู่บ้านเชิงนิเวศ

            การเริ่มต้นที่โครงการหลวงตีนตก เป็นลักษณะการเปิดรับความรู้ใหม่ทำให้แม่กำปองเป็นอย่างทุกวันนี้

การจินตนาการได้ ต้องยอมรับความรู้ใหม่ตลอดเวลา เป็นเหมือนแก้วน้ำต้องเทน้ำทิ้งพร้อมรับความรู้ใหม่ตลอดเวลา อย่าทำตัวเป็นแก้วที่คว่ำอยู่กลางสายฝน กล่าวโดยท่านว.วชิรเมธี

ความรู้ใหม่ที่รับเข้ามา เกี่ยวกับการใช้ความรู้ใหม่มาโดยตลอด

วัฒนธรรมเมี่ยงทางภาคเหนือ หายไปแล้ว เพราะมองว่าเชย ใครปลูกเมี่ยงแสดงว่าจน และเจ๊ง เมี่ยงแต่ก่อนที่ดีที่สุดต้องไปดอยสะเก็ด แต่ในวันนี้เลิกกิน คนหนุ่มสาวหายไปจากหมู่บ้าน ไม่มีงานทำ ตายเพราะเคมี เพราะสารตกค้าง  คนหนุ่มสาวสมัยนั้นหายไป แต่ปัจจุบันคนหนุ่มสาวกลับมาที่บ้านแม่กำปองหมดแล้ว  และมีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม เพราะ เรื่องท่องเที่ยวกลับมาแล้ว

            ยุทธศาสตร์กรม ต้องเขียนแผนในการรองรับ AEC ในปี 2556 โดยใช้โมเดลแม่กำปอง จ.เชียงใหม่

            ยุทธศาสตร์กรมเรื่องใหม่ต้องทำเรื่องการแบรนดิ่งกรม เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์

            ภาคอีสาน จ.บุรีรัมย์ มีหมู่บ้าน  ปลูกผัก ปลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่

            ภาคใต้ ภูเก็ต  มีการฟืนฟูป่าโกงกาง

            ส้มโอ 3 น้ำ ที่อัมพวาอร่อยที่สุด เพราะดินดี น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำจืด ซึ่งปัจจุบัน ประเทศจีนนำไปไหว้สารทจีน

            ความรู้ทางเกษตรพื้นฐาน คือ เรื่องดิน และโยงเข้ากับเรื่องเศรษฐกิจ และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะมีความยั่งยืน

ตัวอย่าง ลองเสนอโปรเจคแผ่นดินทองของดีเมืองจันทร์ ของดีลำพูน ฯลฯ ถ้าเสนอหลายที่พร้อมกัน แม้อธิบดีฯ ไม่เห็นด้วยแต่ประชาชนเห็นด้วย อธิบดีจะให้ทำเอง

            Creative Driven Economy รัฐบาลกำลังพูดเรื่องนี้ งบประมาณแผ่นดินกำลังไปทางนี้ กรมพัฒนาที่ดินจึงควรคิดว่าจะทำอะไร

            AEC เริ่มต้นจากการเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง เอา Talent ภูมิปัญญาท้องถิ่นตั้ง  มีความรู้ใหม่เติมเข้าใหม่ ทุนเดิมมีอยู่แล้วคือทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาชาวบ้าน ให้เพิ่มความรู้เข้าไป ภูมิปัญญาเดิม ต่อยอดด้วยความรู้ใหม่

            ตัวอย่าง แม่กำปองเกิดเป็น Wealth ความเข้มแข็งชุมชน

            ผนึกกำลัง ภาครัฐ เอกชน การศึกษา เพี่อเดินไปสู่อาเซียนให้ได้

ความคิดสร้างสรรค์ มาจากไหน คิดอย่างไร

            ตัวอย่างที่สตูล มีโครงการเขา ป่า นา เล ได้รับผลตอบรับมาก ที่ภูเก็ตทำแถวปากคอก ตรงพังงาเบ ก็ได้รับผลตอบรับสูงเช่นกัน

            การใช้พื้นที่ประโยชน์ที่ดิน ถ้าไม่กำหนดทิศทางใหม่ ๆ หรือนำเสนอ

การกำหนดทิศทางหรือนโยบายไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินไป ไม่ใช่แค่เราเสียหาย แต่ระบบนิเวศจะเสียหายไปด้วย

            นิคมอุตฯ ระยอง จันทรบุรี ตราด โคราช พอ AEC มา นิคมจะขยายไปทางพม่าแน่นอน ถ้าเกิดคนเหล่านี้มาลงทุนเยอะขึ้น นาเกลือไปหมดแล้ว

            นกที่บินมาจากไกล ๆ ที่อพยพมาทั้งหมด ตัวอย่าง ที่บางปู ให้ลองไปเที่ยวอีก 2 เดือนตอนปีใหม่ จะพบว่ามีนกมาบางปูเยอะมาก แสดงว่าน้ำไม่มีแล้วในที่อื่น

            ถ้าบางโรงงานย้ายไปใช้แรงงานราคาถูกกว่า ถ้าเลิกจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าฟื้นฟูแล้ว แผนงาน โครงงานของท่านจะทำอย่างไร ตัวอย่างสวนส้มฝางหายจาก 50,000 ไร่ เหลือ 20,000 ไร่              ถ้านักพัฒนาที่ดินชี้นำทิศทางใหม่เช่นปลูกส้มใช้เนื้อที่มหาศาล แต่อินทผาลัม พบว่าผลตอบแทนเยอะมาก ก็ควรแนะนำให้ปลูกอินทผาลัมมากขึ้นเป็นต้น

            เน้นให้กรมพัฒนาที่ดินเป็น Trend Setter ในการวางทิศทาง และชี้นำจะเป็นประโยชน์มาก

            การบุกรุก การใช้เทคโนโลยีเกษตรฯ ไปในที่อยู่อาศัย ถ้าชาวบ้านรู้เขาไม่อยากให้บุกรุกต่อไป  แต่เรื่องการดูนก เป็นเรื่องของนักท่องเที่ยวคุณภาพ คนที่ทำตรงนี้แล้วได้ประโยชน์คือแถวทางขึ้นแก่งกระจานข้างล่าง มีการทำบ่อดูนก ปรากฎว่าได้รายได้เข้ามาจำนวนมาก

            การดูนก เป็นความสุขที่เงินก็ซื้อไม่ได้ ร่างกายจะหลังสารเอ็นโดฟินขึ้นมา แต่ยกตัวอย่างที่บางปูถ้าต่อไปเกิดนิคมอุตสาหกรรมขึ้นมามาก นกที่บางปูก็จะหายไปด้วยแต่พบว่าที่แม่กำปอง ตอนนี้นกกลับมาหมดแล้ว

            จินตนาการจะเกิดได้ต้องเป็น Expertise

            Expertise คือให้คำแนะนำหรือพูดคุยกับผู้มีประสบการณ์ตรง

            ปกติเราทุกคนเป็น Creator อยู่แล้ว

Holistic Framework

-                   เอาจินตนาการเป็นตัวตั้ง

-                   เวลาเปิด AEC แล้วลูกค้าจะมาใช้ข้อมูลไหนบ้าง แต่ก่อนเป็น Supply Driven แต่ปัจจุบันต้อง Differentiate  คิดแบบองค์รวม อะไรเก่งทำไป อะไรไม่เก่งใช้ Network  ตัวอย่างกิจกรรมดูนกโคกคาม

-                   ใช้วิธีการใหม่ ๆ Media ใหม่ ๆ ในการสอนเรื่องเหล่านี้ ทำแบบองค์รวม

-                   อยากเสนอมุมมองใหม่ ๆ มองอนาคต

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อยากให้เชิญชาวบ้านปลูกต้นไม้ที่เกี่ยวกับนก

Workshop เราจะทำอะไรได้ใหม่ ๆ บ้างในพื้นที่เรา

ตัวอย่างที่ผู้เข้าร่วมเสนอ คือ อยากให้คิดกิจกรรมสร้างสรรค์ อย่างเช่น ปัตตานีโมเดล ป่าฮาราบารา

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

Workshop

สรุปการนำเสนอโครงการที่สร้างสรรค์ของแต่ละพื้นที่

กลุ่ม 1 โครงการบ้านใหม่อยุธยาบางบา จะมีกุ้งแท้อยู่ ไหว้พระ 9 วัดอยุธยา ชาวบ้านจะได้กลับมาที่วิถี (แปลว่าวัฒนธรรม)  โครงการ ทำนาบัว

กลุ่ม 2 โครงการนาเรา ข้าวคุณ ให้ผู้สนใจเรียนรู้ประสบการณ์ทำนา มาทำนากับเรา มีพื้นที่นาให้ กำหนดปฏิทินว่าแต่ละช่วงทำอะไร หว่านข้าว ตกกล้า ฯลฯ คนจะทำต้องลงทะเบียนก่อนถึงทำได้ สร้างข้อมูลในการติดตามแปลงนาผ่าน Facebook  Webpage  และหลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว จะมีส่วนบอกว่าข้าวผลิตมาจากอะไร ทำอะไรได้บ้าง

ถ้าขยายต่อเป็นโครงการสวนเรา ผลไม้คุณก็ได้เหมือนกัน

การซื้อขาย Product ซื้อความเป็น ECO ,Organic ,Fair Trade , Sustainable ,Natural Living, Well Being

โครงการนาเรา ข้าวเหนียวหอมมะลิคุณ

กลุ่ม 3  ลำใยอินทรีย์ออกานิกส์ เนื่องจากลำพูนมีปัญหาในเรื่องอุตสาหกรรม แล้วคนจีนมาเยอะ หากินกับออกานิกส์ยากมาก แบ่งเป็น 3 โซน สีแดงความเสี่ยงสูง โซนสีเหลือง  โซนสีเขียวอยู่ข้างบนสุดเป็นโซนทำออกานิกส์ รับสมัครเกษตรกรทำออกานิกส์ทั้งหมด

ต่อยอดเพิ่มเติมโดยอาจารย์ณรงค์ศักดิ์ คือการ แบรนดดิ้งผลไม้ไทยในตลาดจีน

สร้างลำใยบริบทในการทำสวนอาหารแทน ปัญหาอยู่ที่การตลาดเพราะลำใยที่ถูกทั้งหมดไปที่เก่าแถวเชียงแสน  แต่ก่อนค้าขายผ่านฮ่องกง

ตัวอย่าง...ที่ที่ถูกที่สุดของผักโครงการหลวงคือตลาดไท  มาที่ตลาดบ้านใหม่ ชลบุรี วิ่งไปที่ตลาดนาเกลือ ที่ที่แพงที่สุดคือภูเก็ต

Supply Chain Management ลำใยอินทรีย์ ลำพูน ที่คิดต้องทุกกระบวนการทุกสายน้ำ ทำอย่างไรให้สดที่สุดไปถึงตลาดเซี่ยงไฮ้ ใครมีลำใยหนึ่งต้นขอเก็บกิโลละบาทเป็นค่า Marketing ลำพูนจะแก้ปัญหาได้หมดถ้าตั้งบริษัทลำใยลำพูน จังหวัดลำพูนในอนาคตต้องเป็น Green Farm

กลุ่ม 4 โครงการฟื้นฟูทุเรียนพันธ์พื้นเมืองภาคตะวันออก ครบวงจรห่วงโซ่อุปทาน

เนื่องจากที่จันทบุรี ตราด ระยอง โค่นผลไม้แต่ไปปลูกยางพารากันเยอะมาก จนลืมภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองดี ๆ หลายพันธุ์ไม่แพ้ หมอนทองและชะนี  เช่น ทุเรียนพันธุ์นกหยิบ ทำไมถึงปล่อยให้ทุเรียนพันธุ์พวกนี้หายไป ทำไมไม่สร้างจุดขายเมื่อต้อนรับ AEC  อนุรักษ์แบรนด์พื้นเมืองไว้ แต่มีปัญหาคือทุเรียนอันนี้ต้องใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน กรมพัฒนาที่ดินสามารถช่วยแนะนำวิธีการปลูกให้ไม่เน่าแล้วส่งเสริมการขายอย่างไรได้บ้าง

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คิดให้จนจบกระบวนการ ส่วนใหญ่เกษตรกรไทยมีปัญหาเรื่องการตลาด ต้องคิดตั้งแต่ต้นน้ำจนจบ  ขายแล้วใครซื้อ ใครเป็นคนเจรจา อยากให้ส่งเสริมเรื่องพันธุ์มังคุดโบราณไปด้วย เป็นลักษณะหยินหยาง กินทั้งทุเรียน มังคุด  เช่นสิงคโปร์ ถ้าจะแบรนดิ้งเรื่องนี้กลับไปหาเรื่องเดิมคือ Marketing

กลุ่ม 5 โครงการปัตตานีโมเดล  เป็นการนำเที่ยว ระกะสุกะ ดินแดนพหุวัฒนธรรม ปัตตานีเป็นดินแดนทางวัฒนธรรม ตามคอนเซปต์ ชิมฟรี เที่ยวฟรี ที่พักฟรี มีชาชัก น้ำบูดู ลูกหยี ผลิตภัณฑ์จากปลา มีฟาร์มตัวอย่าง 9 โครงการ ลูกทัวร์จะได้ศึกษาการทำการเกษตรด้วย เที่ยวฟรี แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ และวัฒนธรรมปัตตานี  มีทะเล ทุ่งนา ภูเขา เกิดความมหัศจรรย์ว่าทำไมทำนาใกล้ทะเลได้ขนาดนี้ มีการทำการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีทั้งฝึกทำนา และทะเล

ข้อเสนอแนะ เชื่อว่าคนไทยทั้งประเทศอยากมีประสบการณ์ตรงนี้ การท่องเที่ยวสมัยใหม่คือการสร้างประสบการณ์ให้นักท่องเที่ยว  เรือกอแระ เปลี่ยนจากเขียนลายบนเรือ เป็นลายบนจาน ถ้าจะเริ่มทำ ของฟรีเหล่านี้อาจไม่ต้องเที่ยวฟรีก็ได้ แต่ลองร่วมกับสงขลาว่ามีของดีจาก 3 แผ่นดินในภาคใต้ก็ได้  ถ้าเราเอาของดีออกมาได้จริงเราจะทำอย่างไรดี

พบว่าคนในพื้นที่เห็นของดีเยอะแต่ไม่ค่อยได้ยกออกมาเป็นกระบวนการ ทางแก้คือยกของดีแต่ละพื้นที่มาให้เห็นบ่อย ๆ เช่นลูกหยี

มนัสนันท์ ไชยนุรัตน์

สิ่งที่ได้จากการฟังท่านอ.จีระ หงส์ระดารมภ์

หลังจากที่ฟังท่านอาจารย์จีระบรรยายให้ข้อคิดในการทำงาน การคิด การให้ความรู้เรื่องทุนมนุษย์ ทำให้เข้าใจตนเองมากขึ้น ได้แนวทางนำไปพัฒนาตนเอง  รู้จักคิดรู้จักมองอนาคต คิดเพื่อส่วนรวม ทำให้ตื่นตัว ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ชอบมากที่อาจารย์บอกว่า ถ้าจะชนะอาจารย์ได้คุณต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ซึ่งอาจารย์มากด้วยประสบการณ์แต่อาจารย์ไม่เคยหยุดเรียนรู้เลยค่ะ ได้ข้อคิดในการเป็นผู้นำในการทำงานราชการ ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ที่สำคัญอาจารย์บอกว่าต้องเป็นคนดีค่ะ

หนังสือทุนมนุษย์ 8K’s และ 5 K’s

ดิฉันชื่นชมในความรู้ ความสามารถของท่านอ.จีระอยู่แล้ว ยิ่งได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วยิ่งทำให้

ทราบว่าท่านเป็นนักพัฒนาทุนมนุษย์อย่างแท้จริง หนังสือเล่มนี้ให้ข้อคิด และแนวทางพัฒนาตนเองหลายอย่าง คือนอกจากความรู้ ต้องมีความสุข ต้องมีเครือข่าย มีทุกอย่างในทุนมนุษย์ 8K’s และ 5 K’s ที่อาจารย์เขียนหนังสือนี้เป็นทางลัดในการนำไปใช้ได้ดีมาก เพราะอาจารย์ได้เขียนมาจากประสบการณ์อันยาวนานของท่าน อ่านแล้วนำเอาไปใช้ได้ค่ะ

สิ่งที่ได้จากการฝึกอบรม วันที่ ๒๙-๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๕

การฝึกอบรมครั้งนี้ได้ความรู้เยอะมากคะ เป็นศาสตร์ที่แตกต่างจากที่เคยอบรมแต่เป็นเรื่องจริงและจำเป็นอย่างมากในการทำงานในทุกวันนี้ เริ่มตั้งแต่ การรู้จักตนของตัวเอง การตั้งเป้าหมาย การคิดสร้างสรรค์  การคิดวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหา จากอาจารย์ทุกท่าน ทุกท่านสุดยอดมากคะ ประสบการณ์ที่ทุกท่านถ่ายทอดมาเปรียบเสมือนเส้นทางลัดในการดำเนินชีวิตและการทำงานที่มีทิศทาง นับเป็นการยากที่จะมีโอกาสได้ฟังท่านบรรยาย ด้วยสายงานที่ไม่เหมือนกัน แต่ด้วยการคิดแบบใหม่ คิดการบูรณาการ การคิดนอกกรอบ ของผู้บริหารและ แนวคิดการพัฒนาทุนทรัพยากรมนุษย์ของท่านอ.จีระ จึงทำให้พวกเราชาวพัฒนาที่ดินได้มีโอกาสพัฒนาทางความคิดที่อยู่ในกะลา ได้ออกนอกกรอบ ทำให้เราได้รู้จุดอ่อนของพวกเราโดยเฉพาะการเงิน การตลาด การประชาสัมพันธ์ ขาดแบรนด์  ต้องขอบคุณท่านอาจารย์ที่ชี้แนะ นอกจากนี้ยังพบว่าการทำงานต้องมีศิลปะด้วย ต้องมีความสุข ความสนุก ชอบมากคะ juice and jazz.. ของอาจารย์ตวง อาจารย์น่ารักมากคะ และยังได้ความรู้เรื่องมารยาทการไหว้ การแต่งกาย เสื้อผ้า รองเท้า จากท่านอ.น้อย อาจารย์เก่งบุคลิกดี ติได้จี๊ดแต่จำได้คะ นอกจากนี้ยังได้เรื่องการรู้จักตัวเอง รู้จักการคิดจากท่านอาจารย์สุดยอดนัก create ของเมืองไทย สุดยอดมากค่ะ

มนัสนันท์ ไชยนุรัตน์ สถานีพัฒนาที่ดินขอนแก่น

จารุวรรณี เตรียมวิจารณ์กุล

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ ในวันที่ 29 สิงหาคม 2555 หัวข้อ บริหารตน เข้าใจคน เพื่อผลสัมฤทธิ์ของงาน(Managing Self Performance) และ หัวข้อ Team Building การสร้างและบริหารทีมเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในองค์กร โดย อาจารย์อิทธิภัทร ภัทรเมฆานนท์

ในบางครั้งคนเราถ้าเกิดเจอสถานการณ์ที่คับขันก็สามารถแสดงศักยภาพส่วนลึกของตนเองออกมาได้  ซึ่งฉันเชื่อว่าทุกคนมีความสามารถและมีศักยภาพส่วนลึกของแต่ละคนอยู่ภายในแต่หัวหน้างานหรือผู้ร่วมงานสามารถดึงออกมาใช้ได้หรือไม่

หัวข้อ Art & Feeling of Presentation : Effective Design โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

รู้สึกได้ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย  เมื่อคนเรารู้สึกผ่อนคลายก็จะมีจินตนาการใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ  ทำให้รู้ว่าทุกคนมีความฝันในตัวเองแล้วจะสามารถก้าวเดินไปยังความฝันของตนเองได้หรือไม่  ในบางครั้งควาคิดที่เป็นปิ๊งแว๊บก็จะสามารถสร้างงานและความสำเร็จให้กับเราได้ในอนาคต

ในวันที่ 30 สิงหาคม 2555 หัวข้อ Problem Solving & Decision Making (1-2) โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ได้เรียนรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหาและการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างเป็นระบบมากขึ้น  ว่าคนเราควรทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักเสียก่อนมิใช่ทำงานอย่างหว่านแห

หัวข้อ บุคลิกภาพของนักบริหารยุคใหม่ โดย อาจารย์ณภัสวรรณ จิลลานนท์

ได้เทคนิคการแต่งกายให้เหมาะสมและดูดีในสังคม  วิธีท่วงท่าการเดิน  การนั่ง  การร่วมรับประทานอาหารในสังคมชั้นสูง

ในวันที่ 31 สิงหาคม 2555 หัวข้อ Creative Thinking and Value Creation กับการทำงานของกรมพัฒนาที่ดิน โดย อาจารย์ณรงค์ศักดิ์ ผ้าเจริญ

จากการฟังอาจารย์แล้วจะได้แนวคิดที่จะต่อยอดการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า  และแนวคิดที่เป็นระบบมากขึ้นในการวางแผนงานให้ครบวงจรเพื่อจำหน่ายสินค้า  หรือการทำงานต้องมีการวางแผนเป็นขั้นตอนเพื่อย่นลดระยะเวลาการทำงานและใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่าในการทำงาน  ในการทำงานบางครั้งไม่ควรลืมวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่เราได้ตั้งไว้  แล้วถ้าคนเรามีความคิดบวกก็จะมีความคิดสร้างสรรค์ดีๆ เสมอ

สรุปการบรรยาย

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายกรมพัฒนาที่ดิน

(วัฒนธรรมองค์กร/การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร ลูกค้าและ Stakeholders)

โดย     อาจารย์ขวัญฤดี ผลอนันต์

อาจารย์สุทธิเดช สุทธิสมณ์

Mind map มีประโยชน์มากมาก ช่วยคิด สามารถนำไปใช้ประยุกต์ได้ในทุกงาน สรุปการประชุม

เป็นวิธีการเขียน วิธีการที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง

ให้ทำกิจกรรมในจำคำ และเขียนคำทั้ง 16 คำเท่าที่จำได้ในเวลา 32 วินาที

-          คนจำได้เกินครึ่งจะมีไม่เยอะ  คนส่วนใหญ่จะจำได้เท่ากับค่าเฉลี่ย คือ 9 คำ

-          สมองไม่ได้ถูกออกแบบให้จำ  ไม่ชอบจำตัวอักษร

-          จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

สมองซีกซ้าย เกี่ยวกับวิชาการ  คิดวิเคราะห์ คิดเลข หาเหตุผล อ่านหนังสือ

สมองซีกขวา เกี่ยวกับการผ่อนคลาย  จินตนาการ  การกะระยะ หาช่องว่าง

อยากให้ใช้สมองทั้ง2ซีก พร้อมๆกัน ใช้เป็นการประสานสมอง ทำให้การคิดดีขึ้น

การจดบันทึกเพื่ออะไร?

-          จดบันทึกประจำวัน

-          จดบรรยาย

-          จดการประชุม

แต่การจดแบบตัวอักษร ทำให้ง่ายต่อการลืม

เทคนิค 5 ส  เพื่อดึงสมองซีกขวาให้ทำงาน

1. สัญลักษณ์

2. สั้น

3. เส้น

4. สี

5. สวย

การอ่าน Mind Map

-          อ่านจากตรงกลางเรียกว่า แก่นแกน และดูเส้นที่อยู่รอบๆ ที่ปลายโคนหนาเรียกว่ากิ่งแก้ว หรือการคิดภาพรวม คิดกว้างๆ ปลายเล็กลง  หรือกิ่งก้อย รากฝอย  คิดเรื่องเล็กๆ รองลงมา

-          เขียนลงในกระดาษเปล่าไม่มีเส้น

-          คิดจากจุดศูนย์กลาง  สีจากกิ่งแก้วไปกิ่งแก้ว ควรเป็นสีเดียวกัน

-          คำที่เอามาใส่ต้องเป็นคำสั้นๆ คำนาม คำกิริยา หรือตัวเลข 

-          คำที่เขียนอยู่บนเส้น แล้วเอาปลายเส้นต่อเชื่อมโยงข้อมูล อย่าให้เส้นขาด

ผังความคิด ต่างจาก Mind map เพราะMind map ใช้จินตนาการ ใช้สีช่วยจำ เส้นช่วยต่อ ช่วยต่อความคิดให้ดีขึ้น

 

ประสบการณ์

การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้

ใน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

อาจารย์สุทธิเดช สุทธิสมณ์

LO - Learning Organization  คือ  องค์กรแห่งการเรียนรู้

LO  ทำองค์กรให้เป็นอมตะหรือยั่งยืน 

                การทำ LO คือ การสร้างวัฒนธรรม “การเรียนรู้” ในองค์กรให้คนเกิดการใฝ่รู้ เรียนรู้ รอบรู้ กระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง  และองค์กร อย่างต่อเนื่อง

                การติดตั้ง LO ในองค์กรเสมือนกับการปลูกต้นไม้ ให้มี ผลไม้  

ผลไม้ คือ ความรู้ (Knowledge) ผู้ปลูกจะต้องใช้หลักการ ใช้เทคนิค อดทน ใจเย็น

LO เป็นศาสตร์ และเป็นศิลปะในการปลูกต้นไม้ โดยมี  KM    เป็นการบริหารจัดการผลไม้

Peter Senge  กล่าวว่า เป็นองค์กรซึ่งสมาชิกภายใน สามารถขยายขอบเขตความสามารถของตน  เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้อย่างแท้จริง  เป็นที่ๆส่งเสริมให้เกิดและขยายแนวความคิดใหม่ๆออกไป  สามารถแสดงออกทางความคิดอย่างมีอิสระ  และเป็นที่ซึ่งคนจะเรียนรู้ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง

วินัย 5 ประการของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

  1. วิสัยทัศน์ร่วม (Building shared      vision)
  2. เรียนรู้เป็นทีม (Team learning)
  3. บุคลากรชั้นเลิศ (Personal mastery)
  4. มีแบบแผนความคิดร่วม (Mental model)
  5. คิดเป็นระบบ (Systems thinking)

ข้อบ่งชี้ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

  • ผู้บริหารสูงสุดขององค์กร  ประกาศนโยบายพัฒนาองค์กรไปสู่วิถีแห่งองค์กรแห่งการเรียนรู้ ( L.O.)
  • ทรัพยากรภายในองค์กร เครื่องมืออุปกรณ์ ห้องสมุดห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ มีและพร้อมใช้งาน
  • พนักงานมีจิตใจ  ใฝ่รู้  ขวนขวายที่จะรู้และลงมือศึกษา  ค้นคว้า  วิจัย   สร้างนวัตกรรมใหม่ อย่างต่อเนื่อง
  • เวทีการนำเสนอ เปิดกว้างและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง

ประวัติความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรของ กฟภ.

  • ประเทศไทย  ในมุมมองด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า ( Electricity Supply Industry - ESI)
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  ในฐานะผู้ผลิต  ส่งและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า (Distribution Retail Supply or  Power Distributor)
  • ประเทศไทย 70% ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานธรรมชาติ

พลังงานในประเทศไทย

  • 1879 (2422)  : เริ่มมีระบบไฟฟ้าใช้ครั้งแรกในโลก (อเมริกา)
  • 1884 (2427)  : เริ่มมีไฟฟ้าใช้ในประเทศไทย  โดยเจ้าหมื่น ไวยวรนารถ ( เจิม  แสง - ชูโต)
  • 2473   : เริ่มมีไฟฟ้าใช้ในส่วนภูมิภาค (นครปฐม  ราชบุรี)
  • 2497   : จัดตั้งองค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • 2501   : จัดตั้งการไฟฟ้านครหลวง  (กฟน.)
  • 2503   : จัดตั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
  • 2512   : จัดตั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  (กฟผ.)

การไฟฟ้าแบ่งเป็น 5 ยุค

ทศวรรษที่ 1 บุกเบิกก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้ชุมชนใหญ่ (2503 – 2513)

ทศวรรษที่ 2 เร่งรัดขยายไฟฟ้าสู่ชนบท (2514 – 2523)

ทศวรรษที่ 3 ส่งเสริมความเจริญทางด้านธุรกิจและ อุตสาหกรรม (2524 – 2533)

ทศวรรษที่ 4 นำเทคโนโลยีชั้นสูงพัฒนามาตรฐานการบริการระดับสากล(2534 – 2543)                       

ทศวรรษที่ 5 พัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องพร้อม สำหรับการแข่งขันทางธุรกิจ (2544–2553)

  ประสบการณ์การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ใน กฟภ. ในช่วงปี ๒๕๕๐ – ๕๔

  1. ระบบ        KM   ของ กฟภ.
  2. ระบบ e-Learning
  3. ระบบ        e-Library /   e-Book
  4. หนังสือ / เอกสาร
  5. เวทีการนำเสนอผลงานวิจัย / นวัตกรรม

วิธีการสร้าง LO  ของกลุ่มSupervisors & Officers

-          สร้างLearning Organization Awareness

 

-          ติดตามการเรียนรู้

-          ปลูกฝังความรู้

กิจกรรมที่ดำเนินงาน

-          จัดบรรยายวิชาการและความรู้ทั่วไป (Seminar) และ จัดกิจกรรมสัมมนาระดมสมองและการสร้างทีมงาน(Brain Storming & Team Building)

-           จัดศึกษาดูงานภายในประเทศ  (Study Tour)

-           จัดตั้งเครือข่ายสื่อสารการเรียนรู้  (Team Learning)

-           จัดทำวิจัยพนักงาน (Employees’ Research)

ความสามัคคี เป็นเรื่อง หากท่านไม่ร่วมแก้ปัญหา ท่านก็คือส่วนหนึ่งของปัญหา...  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุปโดย ทีมงาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Workshop

หลังจากฟัง– อาจารย์สุทธิเดช – อาจารย์ขวัญฤดี

นำเสนอโครงการการสร้างทุนมนุษย์ในกรมพัฒนาที่ดิน

ดังต่อไปนี้ (ใช้ Mind Map และแนวคิด LO มาวิเคราะห์และนำเสนอ)

    กลุ่มที่ 1 ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital)

    กลุ่มที่ 2 ทุนทางเครือข่าย (Networking Capital)

    กลุ่มที่ 3 ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital)

    กลุ่มที่ 4 ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)

    กลุ่มที่ 5 ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital)

กลุ่มที่ 3 ทุนแห่งความสุข

โครงการ กรมพัฒนาที่ดินในฝัน มีรูปความไม่จำกัดขององค์กร

  1. 1.      สำนักงาน  เป็นออฟฟิตแบบไม่เป็นทางการ ทำงานที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องเซ็นชื่อเข้าออก สามารถทำในสถานที่ที่อยู่ได้ ทำงานได้ทุกที่ ในสำนักงานมี Entertainment Complex มีสถานที่ออกกำลังกาย มีโรงหนังในสำนักงาน มีคาราโอเกะ สนุกเกอร์คลับ  การแต่งกาย สามารถใส่ชุดอะไรก็ได้ทำงานก็ได้ ทรงผมแบบไหนก็ได้  มี Food Center อาหารไทยจีน ญี่ปุ่น มีศูนย์สุขภาพ  มีโรงพยาบาล มีแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์ทางเลือกเช่นฝังเข็ม เรื่องสุขภาพมีการปฏิบัติทางจิตใจ สมาชิก
  2. 2.      บุคลากร มีความรับผิดชอบ คิดสร้างสรรค์ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการจัดการความรู้ร่วมกัน มีขวัญกำลังใจทำงาน
  3. 3.      อุปกรณ์ มี IT Center มีระบบเครือข่ายใช้ได้จริง มีศูนย์ข้อมูลที่ทันสมัย สามารถหาข้อมูลทางวิชาการได้ มีการประชุมผ่านเวปวีดิโอคอนเฟอเร้นท์ มี E-library มี Mobile Car  ที่ Support ได้ตลอดเวลา มี Notebook อุปกรณ์การสื่อสาร มีการให้อินเตอร์เนต คนละ 1 User Account  
  4. 4.      ประโยชน์ ความรวดเร็ว ไม่เสียเวลาทำงาน เกษตรกรได้รับบริการที่รวดเร็ว ใช้ระบบ IT Support ลดต้นทุนต่าง ๆ เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น เกษตรกรยั่งยืน เกษตรกรได้รับบริการ มีความสุขทั้งตัวเองและเกษตรกร

ร่วมแสดงความคิดเห็น

อาจารย์ขวัญฤดี

-          เวลาเขียนคำสั้น ๆ จะโยงความคิดต่อได้ง่ายขึ้น กระจายความคิดได้ง่ายขึ้น ภาพรวมไม่มีปัญหา

อาจารย์สุทธิเดช

-          ถ้ามองในมุม LO เกิดในเรื่อง Team Learning มีความคิดนอกกรอบในการรับผิดชอบแต่ละตัว  สิ่งที่จัดการเรื่องทางกาย และจิตใจ ต้องเอาใจให้อยู่ทางจิตใจ สิ่งที่นำเสนอเป็นการคิดนอกกรอบ การนำเสนอ หลายท่านมีวิสัยทัศน์ร่วม

อาจารย์กิตติ

-          ชื่อโครงการอยากให้ชื่อที่โดนใจไม่ใช่แค่ พ.ด.ในฝัน

กลุ่มที่ 1 ทุนทางจริยธรรม (Ethical Capital)

โครงการพัฒนาที่ดินใสสะอาด

 

1.หลักการและเหตุผล ส่วนใหญ่คิดประโยชน์ส่วนตนไม่คิดส่วนรวม ขาดพรหมวิหาร 4 ขาดกำลังใจในการทำงาน

 

2.วัตถุประสงค์ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้ใช้ชีวิตมีความสุข

 

3.กิจกรรม การคัดเลือกบุคลากรแต่ละระดับ และมีการอบรม ไปวัดทำสมาธิ กรรมฐาน วัดจากเสียงตอบรับจากเกษตรกร มีการให้รางวัล การเลื่อนขั้นเงินเดือน โบนัสปลายปี

 

4.ประโยชน์ เจ้าหน้าที่มีความซื่อสัตย์ ได้งานที่มีคุณภาพ เกษตรกรทำงานได้บรรลุเป้าหมาย เจ้าหน้าที่มีจิตสาธารณะ ช่วยเหลือส่วนรวมและช่วยผู้อื่น

*** ฝากไว้ คือขอให้ข้าราชการทุกท่าน คิดดี ทำดี และมีปัญญา

อาจารย์ขวัญฤดี

ลงรายละเอียดชัดเจน มีคำบางคำที่สามารถรวบให้เหมือนกันได้ จะได้ไม่ต้องเขียนคำยาว ใช้คำหลักแล้วมีประเด็นย่อย ๆ  ระวังเส้นตั้ง ๆ จะทำให้อ่านยาก ให้เขียนเส้นยาวจะอ่านง่ายขึ้น

อาจารย์สุทธิเดช

เรื่องนี้เป็นเรื่องนามธรรม เป็นการสร้างได้ยาก สิ่งที่นำเสนอได้ใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่มาปะติดปะต่อทุกเรื่อง มีความคิดเป็นระบบ System Thinking มีความเป็น Personal Mastery คือคิดดี ทำดี มีปัญญา ถ้าทุกคนที่ได้รับฟังการนำเสนอจะฝังอยู่ในตัว เป็นการนำความคิดอันใหม่เกิดขึ้นได้

กลุ่มที่ 2 ทุนทางเครือข่าย (Networking Capital)

โครงการ หมอดินอาสาพัฒนาที่ดิน

 

1.ประเภท และกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาตั้งแต่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด

2. องค์ความรู้ มีการจัดการฝึกอบรม เป็นวิทยากรของกรม ภายนอก และส่วนราชการอื่น ๆ มีการดูงานจากศูนย์ศึกษาพัฒนาตัวอย่าง การดูงานจากเอกชน ภูมิปัญญาทั้งหลายจากปราชญ์ชาวบ้าน

3. เครือข่าย แบ่งเป็นส่วนราชการ อาสาสมัคร ท้องถิ่น มีกรมที่ดิน กรมการปกครอง สำนักงานตำรวจ กระทรวงเกษตรมี สปก. สหกรณ์ กรมวิชาการ องค์กรสวนยาง กรมเกษตร กระทรวงศึกษาธิการ มีโรงเรียนต่าง ๆ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา กระทรวงกลาโหม ทหารบก ทหารเรือ ส่วนอาสาสมัครมีครูบัญชี ครูสวนยาง สมาชิก อกม. อสม.  ส่วนท้องถิ่น มีอบต. อบจ. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน

4.การกำหนดบทบาทหน้าที่ ต้องมีความชัดเจนมากกว่าที่เป็นอยู่ งานหลักมี 2 กิจกรรมคือ

1.บริการตรวจวิเคราะห์ดิน มีการแจกจ่ายผลิตภัณฑ์กรมต่าง ๆ มีการถ่ายทอดไปให้พี่น้องเกษตรกรรม

2.การถ่ายทอดความรู้ มีการจัดทำศูนย์เรียนรู้ จัดทำแปลงสาธิต ศูนย์อบรมต่าง ๆ

อาจารย์ขวัญฤดี

รูปแบบสวยงาม มีคำกับเส้นยาวพอกันทำให้อ่านง่าย และไม่กินเนื้อที่ เวลานำเสนอให้คนเห็นภาพรวม ต้องนำเสนอแบบคิดกว้างก่อนว่า 4 หลักมีอะไรบ้างแล้วค่อยลงรายะเอียด

อาจารย์สุทธิเดช

การนำเสนอ ความคิดครอบคลุมดี การเชื่อมโยงความรู้ เครือข่ายครอบคลุมดี  เป็นการคิดครบวงจร มีระบบ System Thinking ที่ดี

 

กลุ่มที่ 4 ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)

โครงการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่ของกรมพัฒนาที่ดิน

1.วัตถุประสงค์ มองเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ของราชการ ,การสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น,การสร้างวัฒนธรรมที่ดี

2.วิธีการแบ่งหัวข้อหลัก 4 หัวข้อ 1.ความรู้ 2.การแต่งกาย 3.มารยาท 4. สุขภาพ

-          ความรู้ มีการอบรม ศึกษาดูงานในและต่างประเทศ , ห้องสมุด, IT เทคโนโลยีต่าง ๆ

-          การแต่งกาย มี 1 วันใส่ผ้าไทย มีชุดกรมฯ เป็นชุดซาฟารีที่สุภาพ

-          มารยาท มองเรื่องการทักทาย การไหว้ การเคารพผู้ใหญ่ การให้เกียรติกัน

-          สุขภาพ จัดกิจกรรมออกกำลังกาย อาหารปลอดสารพิษ สารเคมี จัดกีฬาสี ตรวจสุขภาพประจำปี

3. ประโยชน์

-          ต่อตนเอง ทำให้สุขภาพแข็งแรง มีมารยาทดี บุคลิกดี

-          ส่วนรวม เป็นภาพลักษณ์ที่ดีในกรมพัฒนาที่ดิน มีความสามัคคี มีความรักใคร่กัน

4. ปัญหาอุปสรรค

-          นโยบาย

-          งบประมาณ ทำได้หรือไม่อย่างเช่นเรื่องการแต่งกายมาสู่ทุนทางวัฒนธรรม

-          บุคลากร ทัศนคติพร้อมหรือไม่

-          เวลา ความต่อเนื่องของเวลาที่นำสู่การพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม

อาจารย์ขวัญฤดี

รูปภาพสื่อความหมายได้ดี 

Mindmap ให้เห็นความเชื่อมโยง เชื่อมโยงกันอย่างไร เห็นความสัมพันธ์ในการปรับกลยุทธ์ตรงนี้ได้

อาจารย์สุทธิเดช

วัฒนธรรม เป็นความดีงาม ที่สะสมเป็นระยะเวลานาน มีการสร้างความต่อเนื่อง มีการศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ จะเป็นที่ถูกใจของคนในห้องนี้ เคล็ดลับการจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้คือตั้งกติกา แล้วให้ใจคนในองค์กรเพื่อให้เกิดความสำเร็จ

 

กลุ่มที่ 5 ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital)

โครงการ LDD แอพพริเคชั่นตัวใหม่ใช้กับมือถือ

  1. 1.      ฐานข้อมูล

-          การสำรวจวางแผนพัฒนาที่ดิน

-          การปรับปรุงดิน

-          การอนุรักษ์ดินและน้ำ

-          การวิเคราะห์ดิน มีการวิเคราะห์รับรองดินมาตรฐานและดินออนไลน์

  1. 2.      แนวทางการพัฒนา

ประกอบด้วยการบูรณาการ บุคลากร และอุปกรณ์

-          มี One stop service ช่วยให้ความรู้

-          การพัฒนาบุคลากร มีการสำรวจอัตรากำลัง เทคโนโลยีฯ

-          มียุวหมอดิน และหมอดินอาสาเป็นตัวแทนถ่ายทอดความรู้

-          อุปกรณ์ Hard Ware ,Soft Ware มีการพัฒนาความรู้เพื่อเอามาใช้ประโยชน์ได้จริง

  1. 3.      การวิเคราะห์ปัญหา

-          บุคลากร การศึกษาเพียงพอหรือไม่ เช่นควรมีการจัดอบรมเพิ่มเติม ศึกษาดูงาน ส่งเจ้าหน้าที่เรียนต่อด้านนี้ ภาษา ทัศนคติปรับปรุงความคิดให้ก้าวหน้า

-          อุปกรณ์ เป็น Software มีการจดลิขสิทธิ์หรือไม่ มีการ Update ข้อมูลตลอดเวลา

-          งบประมาณมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว

  1. 4.      การนำไปใช้

-          Mobile Unit

-          Net

-          Mobile Phone

อาจารย์ขวัญฤดี

ข้อสังเกต การใช้กระดาษตามรูปแบบของมันมากเกินไป ถ้าเปลี่ยนกระดาษแนวนอนจะกระจายความคิดได้เยอะกว่า เวลาเขียนให้ใช้กระดาษในสายตาที่มองเห็น

5 กลุ่ม มีกิ่งแก้ว 4 กิ่งเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน กิ่งแก้วขึ้นอยู่กับเรื่องตรงกลาง ให้จำได้สบายตา ประมาณ 5-8 กิ่งกำลังดี ถ้าเรื่องเยอะก็จับกลุ่มรวมกันได้

อาจารย์สุทธิเดช

มีความคิดรวบยอด มีการนำเสนอ LDD Application สามารถเป็นจริงได้ และเผยแพร่ได้ทั้งภายในและภายนอกได้

สมองมีหน่วยความจำที่ยิ่งใหญ่ ความไม่จำกัดของสมองทำให้โอกาสในการหาความรู้เพิ่มขึ้น การแสดงออกทุกกลุ่ม เข้าใจ Discipline ที่ 5 ของ Peter Senge

แต่ละกลุ่มมี Personal Mastery ที่ดีมากแต่สิ่งที่เพิ่ม LO คือการสร้างความต่อเนื่อง

 

อาจารย์ขวัญฤดี

การเขียน Mindmap เพื่อเป็นเครื่องมือในการระดมความคิดที่ดี

การปรับใช้กับทีมงาน

ให้โจทย์ ให้ทุกคนเขียน Mindmap โจทย์เดียวกัน แล้วเอาที่แต่ละคนเขียนระดมความคิดเป็น Mapใบใหญ่จะได้ความคิดที่หลากหลายมากขึ้น

ลองดาวโหลด I mindmap  หรือ Thinkbuzan.com

สรุป Mindmap คือใช้หลักการเชื่อมโยงและจินตนาการ

 

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

Innovative Project

โดยอาจารย์กิตติ ชยางคกุล

Key Word

  1. โครงการนวัตกรรม
  2. เกี่ยวกับกรมพัฒนาที่ดิน
  3. แต่ละกลุ่ม Keyword ไม่เหมือนกัน  จากโจทย์ที่ได้มีอะไรในโจทย์นี้

-          ข้าวหอมมะลิ

-          ประเทศเพื่อนบ้าน

-          สิ่งแวดล้อม

-          ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)

-          เกษตรกรรมของคนเมือง (Urban Agriculture)

การสร้างโครงการนวัตกรรม

  1. การสร้างการจูงใจให้คิด แต่ละกลุ่มต้องตั้งเงื่อนไขว่าจากโจทย์ที่ได้จะทำได้แค่ไหนภายใต้เงื่อนไขอะไร
  2. แต่ละกลุ่มมีผู้มีส่วนได้เสียใครบ้าง ต้องระดมสมองและคิดออกมา ต้องดูผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการสื่อสารในกลุ่มและ Share ความคิดเห็น  แต่ละคนมี จุดแข็งใน Area ต่างกัน การร่วม Share จะเป็นประโยชน์
  3. สิ่งที่อยากให้ทำคือเข้าใจวิสัยทัศน์ของกรมพัฒนาที่ดินหรือไม่ ว่ากรมนี้ต้องการอะไร
  4. โครงการต้องการทำอะไร เพื่อใคร และผลที่เกิดขึ้นเพื่ออะไร
  5. อยากให้ทุกกลุ่มในวันนี้คำนวณตัวเลขออกมาว่างบประมาณ ประมาณเท่าไหร่
  6. Key word ต้องทำได้จริง สานต่อและเป็นรูปธรรมได้
  7. ถ้าโครงการจินตนาการเยอะอย่าง พ.ด.ในฝัน ดีมาก ให้ดึงโครงการใหญ่โครงการเดียวที่ต้องเร่งทำ
  8. พิจารณาถึงความเสี่ยงของโครงการฯ

วิสัยทัศน์กรมพัฒนาที่ดิน

พัฒนาที่ดินให้สมบูรณ์ เพิ่มพูนผลผลิต ให้ทิศทางการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม

โจทย์

  1. บทบาทของกรมพัฒนาที่ดินกับนวัตกรรมการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลิ
  2. บทบาทของกรมพัฒนาที่ดินกับนวัตกรรมเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน
  3. บทบาทของกรมพัฒนาที่ดินกับนวัตกรรมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  4. บทบาทของกรมพัฒนาที่ดินกับการสร้างทุนทางเครือข่ายกับผู้มีส่วนได้เสีย
  5. บทบาทของกรมพัฒนาที่ดินกับนวัตกรรมพัฒนาวิถีเกษตรกรรมของคนเมือง
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปโดยทีมงานศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

การบริหารความขัดแย้งการเจรจาต่อรอง (ตามแนวพระราชดำริ)

โดย อาจารย์สุขุม นวลสกุล

 

นักบริหารควรมองว่าความขัดแย้งนั้นมีส่วนที่ดีด้วยคือ

1.ทำให้มีความคิดหลากหลาย

2.มีทางเลือกเพิ่มขึ้น

การบริหารความขัดแย้ง แยกเป็น 2 อย่าง

1.ความขัดแย้งที่เป็นอุปสรรค ก่อให้เกิดปัญหา

2.ความขัดแย้งที่ดีเช่นมีความคิดเห็นหลากหลาย ก่อให้เกิดทางเลือกและการพัฒนา

การบริหารคือการไม่ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นตามธรรมชาติ

เราต้องสนับสนุนให้เกิดความขัดแย้ง  ไม่ปล่อยให้เกิดการไม่พูด

ความขัดแย้ง

-          ความขัดแย้งที่ดีคือความขัดแย้งในเรื่องส่วนรวม เป็นเรื่องดี นักบริหารต้องพยายามสนับสนุนให้เกิด

-          ความขัดแย้งที่ไม่ดีคือความขัดแย้งในเรื่องส่วนตัวคือ เป็นความขัดแย้งที่เราไม่ชอบใครแล้วแสดงความไม่เห็นด้วย

สิ่งที่ระวังคือ

-          เอาความขัดแย้งเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องส่วนตัวต้องระมัดระวัง

-          จะต้องจัดการเรื่องการเสียดสี อิจฉา ริษยา หัวหน้าต้องจัดการอย่าให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมาเพราะจะเป็นอันตรายมาก ต้องมีจิตวิทยาในการบริหาร อย่าชี้ให้คนอารมณ์ร้อนพูดจะยิ่งไปกันใหญ่ ต้องชี้คนพูดที่พูดแล้วผ่อนคลาย

-          การเป็นนักบริหารต้องรู้นิสัยใจคอพอสมควร

-          คนบางคนไม่พูดในที่ประชุมแต่พูดข้างนอกต้องระมัดระวัง  เวลาคนเงียบต้องพยายามกระตุ้นให้พูดให้เกิดความผ่อนคลายลง

-          นักบริหารที่ดีต้องรู้จักสังเกตคนฟัง ให้อ่านหนังสือของวิษณุ เครืองามเรื่องการบริหารบ้านเมืองจะทำให้เราสามารถรู้สไตล์การพูดของแต่ละคน

การมองปัญหา

  1. คนเป็นนักบริหารต้องมีทัศนคติที่ดีกับปัญหา ต้องมองว่าปัญหาเป็นเรื่องการท้าทายความสามารถ ยกตัวอย่างเช่น พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จะชอบว่าทุกอย่างไม่มีปัญหา และเชื่อว่าทุกปัญหาแก้ได้ ปัญหามีไว้แก้ไม่ได้ไว้แบก อย่างเช่น นายอานันท์ ปันยารชุน

บางเรื่องไม่เป็นปัญหาก็อย่าทำให้เป็นปัญหา

  1. คนเราอย่าดูปัญหาในแง่มุมเดียว ต้องมองให้ได้หลาย ๆ มุมเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
  2. การแก้ปัญหาให้นึกถึงใจเขา – ใจเรา เพราะเราพกใจมาทำงาน ใครไม่ทำตามใจเราจะรู้สึกว่าคนนั้นผิด เวลามีอะไรเกิดขึ้นในแง่ของปัญหาอย่าคิดเอามาตรฐานเราเป็นหลักให้คิดถึงใจเขาด้วย เวลาขึ้นอยู่ที่สูงอย่าลืมกำพืด ให้นึกถึงตอนเราเป็นผู้น้อย
  3. การแก้ปัญหาหนึ่งจะนำไปสู่อีกปัญหาหนึ่งเสมอ ทำไปแล้วเกิดอะไรขึ้นแล้วปัญหาใหม่กับปัญหาเก่าอะไรหนักกว่ากันถ้าปัญหาใหม่หนักกว่าก็อย่าไปแก้ปัญหาเก่า

การวิเคราะห์ปัญหา

  1. วิเคราะห์จากข้อเท็จจริง
  2. อารมณ์
  3. ผลประโยชน์

ความขัดแย้งโดยตรงที่ท้าทายความสามารถนักบริหาร มี 3 ลักษณะได้แก่

1.ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล เราเป็นนักบริหาร แนวในการบริหารต้องถือหลักกันดีกว่าแก้ เพราะเกิดแล้วแก้ยาก เพราะจะมีอารมณ์มีที่ติมาเกี่ยวข้อง อย่าคิดว่านักบริหารทำได้ทุกอย่าง กันดีกว่าแก้ เราต้องรู้สาเหตุ สาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบุคคลจากความบกพร่องของหัวหน้า

          - หัวหน้าต้องมีความเท่าเทียมกัน อย่าให้เกิดความอิจฉาริษยากัน

          - ลดการเอารัดเอาเปรียบ หัวหน้าต้องสอดส่ายสายตาดูแลลูกน้องอย่างทั่วถึง

          - หัวหน้าต้องทำหน้าที่เป็นโฆษก ผู้อธิบายได้ว่าอะไรเปลี่ยนแปลง บทบาทนักบริหารต้องเป็นโฆษกขององค์กร ไม่ใช่พรสวรรค์ แต่เป็นพรแสวง ต้องซัก ต้องถาม ต้องใช้การประชุมให้เป็นประโยชน์ เราต้องลดความขัดแย้งด้วยการเป็นโฆษก

2.ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับองค์กร  คือทำงานกับองค์กรแต่ไม่ชอบองค์กร

3.ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน เราเป็นนักบริหารทำอย่างไรไม่ให้รู้สึกขัดแย้งกับหน่วยงานอื่น

            - หัวหน้าจะลดไม่ให้คนขัดแย้งกันต้องเข้าใจบทบาท บทบาทหัวหน้าต้องประสานงานไม่ใช่ประสานงา ต้องติดเบรก ไม่ใช่เหยียบคันเร่ง เวลาประชุมระหว่างหน่วยงานต้องฟังหน่วยงานอื่น หัวหน้าอย่าสังคมแคบ ต้องฟังปัญหาหน่วยงานคนอื่นด้วย คนเราเป็นหัวหน้าหน่วยงานอย่าเผลอ หัวหน้าที่เข้าใจบทบาท

ความขัดแย้งยุติลงได้หลายมิติ

-          รัฐศาสตร์ยุติปัญหาด้วยการประนีประนอม ไม่ตัดสินว่าใครผิด ใครถูกเป็นหลัก

-          นิติศาสตร์ ยึดการถูกกฎระเบียบ ถูกกฎหมาย

-          คำถาม ทั้ง 2 หลักดีทั้ง 2 หลัก เมื่อขัดแย้งเกิดขึ้นควรใช้หลักรัฐศาสตร์ก่อน เพราะทำให้การอยู่ร่วมกันมองหน้ากันได้

-          การทำตัวเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและลูกน้องยอมรับได้มากเท่าไหร่จะสามารถดูแลความขัดแย้งได้

-          ถ้าเรามีพฤติกรรมเป็นที่ยอมรับของผู้คนจะทำให้คนยอมรับเราได้

-          เวลาฟันธงด้วยหลักนิติศาสตร์ต้องตรงจริง ๆ

-          ถ้าทุกคนเห็นแก่ส่วนรวมเรื่องจะสงบ

-          การเจรจาการแก้ปัญหา ให้ใช้สติปัญญา ต้องรับฟัง ถ้าได้พอสมควร แล้วต้องหยุด อย่ายึดทิฐิ เอาชนะ

จากการดูงานที่บริษัท CP ฟาร์มกำแพงเพชรในวันที่ 11 กันยายน 2555 สรุปได้ว่า CP เน้นผลิตพืชเศรษฐกิจซึ่งตรงนี้เกี่ยวข้องกับการตลาด เขามองเห็นว่าพืชชนิดไหนมีโอกาสเติบโตด้านเศรษฐกิจ ก็ส่งเสริมเพื่อผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับบริษัท โดยที่ฟาร์มนี้มีการวิจัยพืชสามชนิดด้วยกันคือ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าว ในส่วนกลุ่มงานวิจัย มีการแบ่งกลุ่มความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการส่งเสริมบุคลากรในด้านพัฒนาทุนทางความรู้ โดยให้ทุนการศึกษาต่อ เช่น นักวิจัยข้าว ก็ส่งไปศึกษาที่ประเทศจีน ซึ่งจีนเป็นประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าว การส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ก็ส่งผลดีให้กับบริษัท เมื่อคนมีความรู้ ก็มีงานวิจัยที่ดีๆออกมา ทำให้ CP มีพืชสายพันธุ์พืชที่ดีออกสู่ตลาด บริษัทก็มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

สรุปการเรียนวันที่ 12 กันยายน 2555 Mind Map โดย อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการถ่ายทอดความคิด โดยใช้แผนที่ความคิด (mind map) ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความคิดโดยใช้ภาพ สี เส้น เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ทำให้มองเห็นได้หลายๆมุม องค์ประกอบของการทำ mind map ประกอบด้วย 5 ส คือ 1.สัญลักษณ์ (การใช้ภาพแทนคำพูด) 2.สั้น (การใช้คำสั้นๆกระทัดรัด) 3.เส้น (ใช้เส้นในการเชื่อมโยง) 4.สี (ใช้สีในการแยกเรื่องและดึงดูด) 5.สวย (มีความคิดสร้างสรรค์ ทำออกมาให้สวย) การเรียนเรื่องนี้สามารถนำมาวางแผนในการทำงานได้ ไม่ว่าจะเป็นแผนงานในแต่ละวัน หรือแผนงานระยะยาว หรือโครงการต่างๆที่เราคิด เราจะได้ฝึกการเชื่อมโยงและการจินตนาการ เพื่อให้ mind map ของเราอ่านแล้วเข้าใจง่าย ถ่ายทอดความคิดออกมาได้ชัดเจนครบถ้วน และมีความสวยงามน่ามอง น่าจดจำ

ประสบการณ์การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ในการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดย อ.สุทธิเดช สุทธิสมณ์ เห็นภาพการพัฒนาของ กฟภ ในแต่ละทศวรรษจากอดีต สู่ปัจจุบัน และ นอกจากนี้ กฟภ มีการวางแผนอนาคต และมีการเตรียมความพร้อมเพื่ออนาคต โดยจะมีการพัฒนาบุคลากร มีการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ให้หน่วยงาน มีการจัดอบรมให้แก่บุคลากรในแต่ละระดับ หลักสูตรการอบรมก็แตกต่างกันไปในแต่ละระดับ จุดหนึ่งที่เขาเห็นความสำคัญคือ สถานที่ที่จะไปอบรม กฟภ ให้บุคลากรเป็นผู้เลือกว่าอยากไปที่ไหน (เป็นการจูงใจให้บุคลากรอยากไปอบรม ถ้าเขาอยากไป มีส่วนทำให้เขาอยากเรียนรู้) กฟภ จะแบ่งจำนวนคนในการอบรมแต่ละรุ่นไม่ให้มากเกินไป หลังจากการอบรม กฟภ จะได้กลุ่มของบุคลากรในแต่ละระดับ ซึ่งเป็นการเตรียมคนที่พร้อมจะขึ้นเป็นผู้นำ นอกจากนี้ กฟภ ยังมีการส่งเสริมความสามัคคีในกลุ่ม ซึ่งจะทำให้องค์กรก้าวหน้า จากตัวอย่างของ กฟภ ทำให้เห็นว่าการพัฒนาบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าบุคลากรมีความรู้ และมีความสามัคคี หน่วยงานก็จะเจริญก้าวหน้า เราสามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้ โดยเริ่มพัฒนาตัวเราเองก่อน และสร้างความสามัคคีภายในกลุ่มควบคู่ไปด้วย

และจากการทำงานกลุ่ม โดยให้ใช้ mind map และแนวคิด LO มาวิเคราะห์ เป็นการฝึกปฎิบัติหลังจากการเรียน ในกลุ่มมีการช่วยกันคิดวิเคราะห์ เมื่อทำเป็น mind map คนในกลุ่มสามารถมองเห็นภาพได้ง่าย สมาชิกแต่ละคนสามารถต่อเติม เสนอความคิดเห็นเพิ่มได้เรื่อยๆ นอกจากได้คิดวิเคราะห์แล้ว ยังก่อให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มด้วย

สรุป การบริหารความขัดแย้ง การเจรจาต่อรอง (ตามแนวพระราชดำริ) โดย อ.สุขุม นวลสกุล (12 กันยายน 2555) ความขัดแย้งมีทั้งด้านดีและไม่ดี ความขัดแย้งที่ดี เป็นเรื่องความขัดแย้งส่วนรวม นำไปสู่การพัฒนา ส่วนความขัดแย้งที่ไม่ดี เป็นเรื่องความขัดแย้งส่วนตัว ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งการเป็นผู้บริหารหรือเป็นผู้นำ ต้องรู้จักบริหารความขัดแย้ง ความขัดแย้งที่สำคัญ คือความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล คนที่เป็นผู้นำต้องรู้สาเหตุความขัดแย้ง บริหารจัดการได้ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ส่วนมากเป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียมกัน ผู้นำ ต้องให้ความเสมอภาคกับลูกน้อง อย่าให้เกิดีวามเหลื่อมล้ำในองค์กร นอกจากนี้ผู้นำ ต้องทำหน้าที่เป็นโฆษก สามารถถ่ายทอดข้อมูลได้ดี สื่อสารให้ลูกน้องเข้าใจ
ในเรื่องของการมองปัญหา เราต้องมีทัศนคติที่ดีต่อปัญหา ให้คิดว่าเป็นเรื่องท้าทาย ปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ ให้มองปัญหาหลายๆมุม เอาใจเขามาใส่ใจเรา และการแก้ปัญหาต้องไม่เพิ่มปัญหาใหม่ที่หนักกว่าเดิม กล่าวโดยสรพป ผู้นำ ต้องเป็นคนที่รู้จักแก้ปัญหาในองค์กร วิธีการแก้ปัญหาอย่างแรกคือ ให้ใช้หลักรัฐศาสตร์ คือกรแก้ไขแบบประนีประนอม แต่ถ้าไม่ได้ผล ให้ใช้หลักนิติศาสตร์ คือ ตัดสินแก้ไขปัญหาจากความถูกต้องตามระเบียบ ถูกกฎหมาย

สรุป ดูงานกำแพงเพชร วันที่ 11 กย. 55

   การผลิตพันธ์ุพืชของ CP. ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ยางพาราและปาล์ม CP ดำเนินการบนพื้นฐานที่มุ่งเน้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรและไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาและปรับปรุงพันธ์

 

สรุปการบรรยายหัวข้อ

ผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร - การบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย      ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ทุกท่านที่กำลังจะก้าวเป็นผู้นำแถวหน้าขององค์กรในวันนี้เข้าใจ และตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของผู้นำ ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี และบริหารการเปลี่ยนแปลงและนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ

แนวคิด 10 ข้อเรื่องวัฒนธรรมองค์กรในมุมมองของ ดร.จีระ

  1. วัฒนธรรมองค์กร      คือ สิ่งที่ไม่ได้เขียนไว้เป็นกฏระเบียบ คำสั่ง      แต่มีความหมายต่อทุกคนในองค์กร มีทั้งดีและไม่ดี
  2. ต้องคำนึงว่า

-          ใครเป็นผู้ก่อตั้งองค์กร

-          องค์กรกำเนิดมานานแค่ไหน

-          องค์กรตั้งอยู่ที่ไหน

-          กิจกรรมขององค์กรทำอะไรเป็นหลัก

-          คนที่ทำงานประกอบด้วยคนประเภทไหน

3.  วัฒนธรรมองค์กรไม่ใช่ Static จะต้องปรับตัวให้พร้อมรองรับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

4. องค์กรต้องสามารถปรับตัว รองรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

5. ผู้นำที่ดีต้องไม่ใช่เก่งเรื่อง กลบยุทธ์ การเงิน การตลาด  แต่ต้องเป็นคนที่สนใจวัฒนธรรม

6. สิ่งที่ยากสำหรับความเข้าใจ Culture คือ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นและไม่สนใจ เพราะผู้นำไม่มีความสามารถในการเรียนรู้อุปสรรคต่อการทำงาน

7. วัฒนธรรมองค์กรจะเกิดความขัดแย้งระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่

  1. ปัญหาหลักในองค์กรก็คือ      แต่ละคนมองวัฒนธรรมขององค์กรแตกต่างกันและตีความหมายที่ไม่เหมือนกัน      บางองค์กรจะมีการทำวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อค้นหาวัฒนธรรมองค์กรที่แท้จริง      กฟผ. ลงทุนมหาศาล ธุรกิจใหญ่ ๆ อย่าง SCG ก็ทำวิจัย
  2. ผู้นำที่ดีจะต้องสื่อสาร      (Communicate) เรื่องวัฒนธรรม (Culture)      ขององค์กรให้แก่ผู้ร่วมงานอย่างมีคุณภาพ
  3. Culture      ในองค์กรอาจจะถูกอิทธิพลจากประเทศหรือภาค      แต่ระดับองค์กรก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ที่ได้กล่าวมา และในองค์กรมักจะเน้น      Core Culture และ Sub-Culture

Workshop

กลุ่ม 1  อธิบาย Culture ของกรมพัฒนาที่ดินที่เป็นจุดดี 4 เรื่อง  พร้อมทั้งให้เหตุผลตาม lecture ข้อ 2

-          การสำรวจดิน ดร.พิสุทธ์ เป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องดิน จากรุ่นสู่รุ่น

-          การถ่ายทอดการอนุรักษ์ดินและน้ำ

-          งานต่างๆเช่น งานเกษียณอายุ ก็เข้าไปเคารพผู้ใหญ่

-          หมอดินอาสา มีภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ทั้งเรื่องหญ้าแฝก การปรับปรุงบำรุงดิน

กลุ่ม 2 อธิบาย Culture ของกรมพัฒนาที่ดินที่เป็นจุดอ่อน 4 เรื่อง พร้อมทั้งให้เหตุผลตาม lecture ข้อ 2

-          ดีแต่ทำ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

-          ส่วนใหญ่เป็นระบบอุปถัมภ์ อธิบดีไม่สนใจเรื่องเงิน

-          การประชาสัมพันธ์เผยแพร่

-          การรับคำสั่งจากผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเดียว ไม่คิดนอกกรอบ

กลุ่ม 3  เสนอวิธีการที่จะนำวัฒนธรรมของกรมพัฒนาที่ดินไปสู่ 3V และทำสำเร็จได้อย่างไร? และเสนอโครงการที่เป็นรูปธรรม 1 โครงการ

            โครงการองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่ต้องกระจายความรู้ให้ข้าราชการทุกคน

            นำองค์กรไปสู่ภาคเอกชนมากขึ้น และมีความสัมพันธ์กับเกษตรกร

            1. คลังสมอง

- การปรับปรุงบำรุงดิน

- การสำรวจดิน

- การวิจัยปัญหาต่างๆ

2. เครือข่าย

            -ภายนอก  หาเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน  นักวิชาการอิสระเพื่อไปให้ความรู้กับเกษตรกร

            - ภายใน  เกษตรกร บุคคลภายใน กระทรวง กรมต่างๆ กรมชลประทาน หมอดินอาสา แต่ไม่ได้ให้ค่าตอบแทนเป็นเงิน ให้เป็นข้อมูลความรู้

3. วิธีการที่นำไปสู่เป้าหมาย

- องค์ความรู้ที่มีอยู่ จะเอาไปแบ่งปัน รับฟัง แลกเปลี่ยน ทำให้สังคมเจริญขึ้น

- องค์กรแห่งการเรียนรู้ ต้องมีการเรียนรู้ข้ามศาสตร์

กลุ่ม 4  เสนอวิธีการที่เหมาะสมในการลดปัญหาของวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นจุดอ่อนและเอาชนะอุปสรรคได้อย่างไร? และเสนอโครงการที่เป็นรูปธรรม 1 โครงการ

            โครงการลดปัญหาการวิ่งเต้นซื้อตำแหน่ง ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติ

-          ปัญหา

ผู้บริหารไม่มีคุณภาพ ไม่มีคุณธรรม  งานที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เกิดความขัดแย้งในองค์กร  เกิดการนินทาว่าร้าย การคอร์รัปชั่น  ขาดแรงจูงใจในการทำงาน

เครือข่ายได้ประโยชน์ไม่เต็มที่  เพราะคิดแต่เรื่องผลประโยชน์  

-          ผลกระทบของปัญหา

วัฒนธรรมองค์กร ภาพลักษณ์องค์กรไม่ดี ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

คนทำงานหมดกำลังใจ

-          วิธีการแก้ปัญหา

มีการฝึกอบรม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึก

กลุ่ม 5  เสนอวิธีการที่จะนำวัฒนธรรมของกรมพัฒนาที่ดินไปสู่ AEC /International ที่เหมาะสม เป็นรูปธรรม และเสนอโครงการที่เป็นรูปธรรม 1 โครงการ

            โครงการพี่สอนน้อง เพื่อก้าวไปสู่ AEC

-          แบ่งปันความรู้ไปยังประเทศด้อยพัฒนา

-          ออกไปสำรวจทรัพยากรดินประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อวางแผนการใช้ที่ดิน

-          ศึกษาดูงาน และมีการทำวิจัยร่วมกัน

-          ให้กลุ่มประเทศ AEC มาดูงานในประเทศไทย

-          แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างประเทศAEC

 

 

 

 

 

 

 

 

สรุป อ.ขวัญฤดี ผลอนันต์

    การใช้ mindmap เป็นบันทึกช่วยจำโดยกำหนด keyword สั้นๆ ประกอบกับการวาดรูป ใช้ลายเส้น สี ให้ความสวยงาม ทำให้เรามีขบวนการจดจำที่เป็นระบบและจำได้ดีกว่าและไม่ลืม

สรุป. อ. สุทธิเดช สุทธิสมพงษ์

 Leaning organization องค์กรแห่งการเรียนรู้ แนวคิดในการบริหารและพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จและจัดการความรู้

สรุป อ.สุขุม นวลสกุล

  การบริหารความขัดแย้งที่เกิดจากความไม่เหมือนกัน ไม่ตรงกัน และอุปสรรคต่างๆ ทั้งที่เกิดจากส่วนรวม และส่วนตัว ซึ่งมีอิทธิพลต่อการทำงานและต่อองค์กร การบริหารความขัดแย้งของระหว่างองค์กร/ภายในองค์กร ผู้บริหารต้องรู้จักนิสัยใจคอของคนในองค์พอสมควร ผู้บริหารต้องมองปัญหา/ควาทขัดแย้ง ในทัศนคติที่ดี มองหลายมุม คิดถึงใจเขาใจเรา และเมื่อต้องแก้ปัญหา จำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาใหม่ที่จะเกิดขึ้นตามมา
 จากการไปทัศนศึกษาดูงานที่สถานีวิจัยฟาร์มกำแพงเพชร (CP) ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวลูกผสม การผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมันและยางพารา  ซึ่งจะเห็นได้ว่า CP เขาให้ความสำคัญกับการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิต ซึ่ง CP มีเครื่องมือ บุคคลากร และงบประมาณที่จะมาช่วยสนับสนุนในการปรับปรุงพันธุ์อย่างเต็มที่ ในขณะที่ภาครัฐ เช่น กรมการข้าว กรมวิชาการเกษตร ฯลฯ ยังขาดการสนับจากหน่วยงานในเรื่องงบประมาณและบุคคลากรทำให้การแข่งขันกับบริษัทCP ในการที่จะปรับปรุงพันธุ์ข้าว ยางพารา หรือปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพและให้ผลผลิตสูงสู่เกษตรกรเป็นไปได้น้อย ดังนั้นเกษตรกรก็ต้องพึ่งพาบริษัท เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อพันธุ์ที่ค่อนข้างแพงและเพิ่มต้นทุนการผลิต
 ข้อเสนอแนะ สถานที่ไปดูงานค่อนข้างไกลใช้เวลาเดินทางนาน ทำให้ผู้อบรมอ่อนเพลีย ดังนั้นจึงไม่ค่อย active ในการดูงาน นอกจากนี้อยากจะไปดูงานที่มีองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สามารถเกิดแนวคิดที่จะนำไปปรับปรุงหน่วยงานของตัวเอง

สรุปการบรรยายหัวข้อ

การบริหารจัดการเชิงคุณภาพ (Total Quality Management)

กับการทำงานของกรมพัฒนาที่ดิน

โดย     รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

จุดเด่นของกรม

-          เชี่ยวชาญเรื่องดิน

-          ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

-          ความเอาใจใส่ต่อความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่

ลูกค้าต้องการอะไร

-          คุณภาพชีวิตการกินดีอยู่ดี

-          ต้องให้คุณค่าแท้ คือ การพัฒนาด้านดิน

ถ้าคนใดโฟกัสไม่พอ ความพอเพียงจะไม่ถึง แต่ถ้าคนใดโฟกัสพอ ก็จะมีความพอเพียง

คุณค่าที่แท้จริงของมนุษย์เป็นเรื่องของประสบการณ์ ความสามารถ  ความรู้ ถ้ารู้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งมีคุณค่าสำหรับเรา เราก็ต้องทำ เกิดเป็นความรักและ ศรัทธา

ความรักหรือศรัทธา ทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนไปหาเป้าหมาย คือต้องมีแรงบันดาลใจ และมีจินตนาการ

คำถาม ทำอย่างไรจึงจะทำให้ลูกค้าพึงพอใจสูงสุด

กลุ่ม1 เกษตรกร

-          ให้การต้อนรับแบบยิ้มแย้มแจ่มใส ถามว่าต้องการอะไร พด.1 พด. 2  คืออะไร ก็ต้องแนะนำ และอธิบายให้เขาเข้าใจ  มีการบริการหลังการขาย แบ่งให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ

-          ภาคอีสานจะชอบกรมพัฒนาที่ดิน ต้องพัฒนาคน แล้วพัฒนาดิน ก็จะสิ้นความยากจน

-          ตัวผลงานที่เป็นรูปธรรมยังไม่ชัด หากทำจะมีเงินเข้ากรมมากขึ้น

 

 กลุ่ม2 หน่วยงานของรัฐ

-          คุณภาพของผลงานถูกต้อง ทันสมัย ข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว

-          เจ้าหน้าที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส

-          ต้องคิดถึงคุณภาพที่แท้จริงของเราว่าต้องการให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการพัฒนาที่ดิน

-          ผลงานที่เป็นคุณค่าของหน่วยงานอื่น ก็ต้องให้งานเขา

กลุ่ม3   หมอดิน

-          มี 80,000 คน ทั่งประเทศ

-          ต้องการองค์ความรู้เพื่อไปถ่ายทอดซึ่งได้จากการอบรม

-          หมอดินสามารถรับค่าตอบแทน และได้รับความรู้จากการศึกษาดูงาน

-          แลกเปลี่ยนความรู้ในศูนย์เรียนรู้

-          เรื่องขวัญ และกำลังใจเป็นเรื่องที่สำคัญที่หมอดินต้องการ ทุกปีมีการประกวดต่างๆ ซึ่งมีรางวัลเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ

-          ต้องทำให้หมอดินมีสุขภาพและมีความสุข  และต้องให้ตามความต้องการของหมอดิน

-          ให้หมอดินเข้าไปช่วยเกษตรกร

กลุ่ม4 นักเรียน

-          ต้องให้ความรู้ สอดแทรกความสนุกสนาน

-          ปลูกจิตสำนึก โดยใช้เกมส์ เพื่อให้เด็กค้นพบตัวเอง

-          เร่งเร้า กระตุ้น สอนโดยการเข้าค่าย

-          ทำให้เด็กมีความพึงพอใจ  

กลุ่ม5 เจ้านาย

       - สร้างความประทับใจ เจ้านายแต่ละคน มีนโยบายที่ต่างกันไป

       - ต้องมีความรับผิดชอบ มุ่งความสำเร็จเชิงคุณภาพของงาน

       - อยู่บนงบประมาณอย่างคุ้มค่า

       - ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ เสนอความคิดใหม่ๆให้กับเจ้านาย

       - มีน้ำใจ

ต้องทำงานให้มีคุณค่า แล้วชีวิตจะมีสุข ผลงานก็จะดี

            TQM พลังของกายและใจ 

-          ในด้านลูกค้า เราต้องให้ใจลูกค้า แล้วต้องคำนึงว่าลูกค้าต้องการอะไร เพื่อสนองต่อสิ่งที่เขาต้องการ

เรื่อง Team

-          ต้องมีใจกว้าง

-          อยู่บนโลกของเหตุและผล

เวลาดูว่าใครผิดหรือถูกต้องตัดสินใจให้ 4Q ทำงาน

-          IQ

-          EQ

-          MQ ศีลธรรม ความถูกต้อง

-          SQ  การเอาตัวรอด ซึ่งมีอยู่กับทุกคน

ต้องทำให้ 4Q ทำงานพร้อมกัน

ประเทศต้องการทำให้ได้ประโยชน์ร่วมกัน  โดยการทำงานให้ 4Q ทำงานร่วมกัน  

 

 

 

 

 

 

สรุปการบรรยายหัวข้อ

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ และ

การแนวคิด Blue Ocean กับการทำงานของกรมพัฒนาที่ดิน

โดย         รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

หัวใจสำคัญของ  Blue Ocean Strategy คือ ลูกค้า

ประเด็นที่สำคัญ คือ ต้องเปลี่ยนทัศนคติให้คิดบวก มองหาตลาดใหม่ๆ

การสร้างตลาดใหม่

-          มองข้ามไปยังอุตสาหกรรมทางเลือกอื่นๆ

-          มองข้ามไปยังกลุ่มกลยุทธ์อื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน

-          มองข้ามไปยังห่วงโซ่ของผู้ซื้อ

-          มองข้ามไปยังผลิตภัณฑ์เสริมและข้อเสนอบริการเพิ่มเติม

-          มองข้ามไปยังความพึงพอใจทางอารมณ์  หรือด้านการใช้งานสำหรับผู้ซื้อ

ปลากระป๋องโรซ่า: สามารถลดต้นทุนและเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการในเวลาเดียวกัน

เทคนิคการขอบคุณ ทำให้เกิด Positive thinking  การอยู่ในองค์กร เราก็ต้องคิดทางบวก เพื่อก้าวเข้าสู่ Blue Ocean

-          People ลูกค้า

-          Product

-          Passion ความรู้สึกหลงไหล

-          Planet

-          Profit

-          Process

-          Price

-          Place

วิธีการคิดแบบ Blue Ocean  

สตีฟ จอปส์ : มีความสามารถที่คิดเรื่องเทคโนโลยีหน้าจอTouch screen

หากสามารถเปลี่ยนวิธีคิด ให้เป็นการเข้าใจอย่างยั่งยืน ก็สามารถพัฒนาจาก Blue Ocean เป็น White Ocean

 

Innovative

ต้องหาให้เจอว่าลูกค้าต้องการ อะไร และทำให้ลูกค้ามากกว่าที่ลูกค้าคาดคิด

การ์ตูนเรื่องสโนว์ไวท์ มีรถฟักทอง ในปัจจุบัน ทำรถฟักทองจากไฟเบอร์กลาส

คุณค่าจริงที่ลูกค้าอยากได้ คือ คำแนะนำที่ทำให้ลูกค้าเกิดรายได้มากขึ้น

 

กิจกรรมกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มสร้าง Product Blue Ocean

 

 

 

สรุปการเรียนวันที่ 13 กันยายน 2555 ผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร การบริหารเปลี่ยนแปลง โดย อ.จีระ หงส์ลดารมภ์

 คนที่เป็นผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการเรียนรู้อุปสรรคต่อการทำงาน มีความรู้รอบด้าน สนใจในเรื่องวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรมีส่วน

สำคัญที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาองค์กร และองค์กรเองต้องมีวัฒนธรรมขององค์กรอย่างแท้จริงด้วย

Total Quality Management (การควบคุมคุณภาพโดยรวม) โดย อ.เฉลิมพล เกิดมณี ต้องมีการแยกแยะให้ออกว่าสิ่งไหนเป็นคุณค่าแท้ สิ่งไหนเป็นคุณค่าเทียม ถ้าเราเห็นคุณค่าที่แท้จริงขององค์กรก็จะเกิดความรัก ความศรัทธา เกิดแรงผลักดันสู่ความคิดสร้างสรรค์ ทำให้มีงานใหม่ๆ ออกมา เวลาจะทำอะไรต้องเข้าใจคุณค่าขององค์กร ตัวเรา และสิ่งที่ลูกค้าอยากได้ ต้องตอบโจทย์สิางที่ลูกค้า จึงจะเป็นงานที่บรรลุเป้าหมาย

Blue Ocean โดย อ.เฉลิมพล เกิดมณี เป็นการมองเรื่องการเติบโตด้วยแนวทางใหม่ พัฒนาสินค้าใหม่ๆ สร้างสินค้าในรูปแบบที่แตกต่าง และสร้างความต้องการใหม่ๆ ทำอะไรให้ลูกค้าได้มากกว่าที่ลูกค้าคิด ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดิน ลูกค้าส่วนมากคือ เกษตรกร เราต้องหานวัตกรรมใหม่ๆ หาวิธีการบริการ วิธีการเพื่อนำข้อมูลไปส่งเสริมแบบใหม่ๆ เพื่อทำให้เกษตรกรได้รับในสิ่งที่เขาพอใจ ได้ในสิ่งที่เขาอยากได้ และวิธีการต้องไม่เหมือนกับหน่วยงานอื่น

ภาวะผู้นำในกรมพัฒนาที่ดิน ในมุมมองของข้าพเจ้า โดย ดร.อรรถ สมร่าง แนะนำให้พัฒนาคน มีมุมมองแนวคิดที่กว้างไกล ในส่วนงานวิชาการเสนอให้ทำเกี่ยวกับ climate change และการส่งเสริม food safety เนื่องจากว่าเป็นปัญหาที่เป็นประเด็นร้อน ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างมาก เช่น การเปลี่ยนแปลงของกงการเจริญเติบโตของพืช คุณภาพและปริมาณของผลผลิต ส่วน food safety นั้นปัจจุบันคนหันมาบริโภคผักปลอดสารกนมากขึ้น และสนใจเกี่ยวกับการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในหลายๆประเทศ ให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาก ซึ่งตลาดของ food safety มีอัตราที่เพิ่มขึ้น ถ้าเราสามารถทำให้เป็น food safety ได้เกษตรกรของเราจะมีรายได้ขึ้น การทำเป็น food safety ก็เป็นการเพิ่มม๔ลค่านองผลผลิตอย่างหนึ่งเหมือนกัน นอกจากนี้ท่านยังเน้นเรื่องการใช้ IT เพื่อเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ข้อมูล เป็นคลังความรู้ อยากให้นำข้อมูลที่มีอยู่มาขึ้นเวป สามารถใช้ internet ในการค้นหาได้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการข้อมูลเป็นอย่างมาก ผู้ที่มาค้นหาข้อมูลสามารถนำข้อมูลที่มีบนเวปไปใช้ได้เลย และท่านได้ฝากไว้ว่า การทำงาน ให้ตั้งใจทำงาน ทำให้เป็นสุข แล้วคนอื่นจะเห็นความดีของเราเอง

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เศรษฐกิจโลก-เศรษฐกิจไทย และ AEC 2015

กับผลกระทบและการปรับของกรมพัฒนาที่ดิน

โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย  อธิคมรัตนกุล

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ได้เรียนรู้และเข้าใจสภาพเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมสู่การก้าวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

ปัจจัยสำคัญของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยที่สำคัญในปัจจุบันและอนาคต

  • สภาวะโลกร้อน
  • วิกฤติพลังงาน ผลิตภัณฑ์บางส่วนเพื่อส่งออก แล้วเป็นพลังงานให้ได้

พืชพลังงานจะบริหารจัดการอย่างไร บางส่วนมีส่วนเสียหายกับดิน มีการทำลายดินเยอะ ต้องหาวิธีปรับปรุงและซ่อมแซม นักโลจิสติกส์ต้องพยายามเข้าใจผลิตภัณฑ์ เข้าใจตลาด

  • เศรษฐกิจโลกตะวันตก เริ่มเปลี่ยนแปลง โลก Old World เริ่มจนลง ความเจริญเริ่มกลับมาที่เอเชีย คนเอเชียยังขยันอยู่
  • อายุประชากรโดยเฉลี่ยสูงขึ้น รัฐบาลมีอายุอยู่ 4 ปี  ทำอย่างไรให้คน 4 ปี Happy ภาระรัฐบาลมากขึ้น ถ้ารัฐบาลไม่เก็บเงินเพื่ออนาคต
  • ค่านิยมทุกอย่างกำลังทำลายสังคมระดับหนึ่ง พวกเราในอนาคตกำลังประสบปัญหาว่าเราไม่มีเงินใช้กัน
  • ในตัวเลขที่ประชุมกับกระทรวงอื่นมีคนยื่นภาษี 60 ล้านคน คนขอคืนภาษี 2 ล้านคน
  • ปัญหาผู้ก่อการร้ายมากขึ้น
  • การขาดแคลนทรัพยากร ทุกคนแย่งทรัพยากรกัน
  • ปัญหาขาดแคลนแรงงาน
  • ประชาคมอาเซียนต้องมีความเท่าเทียมกัน เช่นไทยขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท พม่าที่อยู่ในประเทศไทยก็ควรขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทเช่นกัน

ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

การสร้างความร่วมมือแบบหุ้นส่วนการพัฒนาเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

1.อนุภูมิภาค

2.อาเซียน

3.อาเซียน+3 อาเซียน+6 เอเปค และเอเชียแปซิฟิค

ติดตามได้ที่ www.nesdb.go.th เวปไซต์ของกสช.

Asean desk มีหน่วยงานหรือกรมที่สอดคล้องกับพันธกิจของอาเซียนหรือหน่วยงาน

สาระสำคัญของ 9 แนวทางการพัฒนาภายใต้กรอบการสร้างความเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

  1. พัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์และพลังงานภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคต่าง ๆ
  2. พัฒนาฐานการผลิตและการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอนุภูมิภาค
  3. สร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
  4. เข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศ ระหว่างภูมิภาคโดยมีบทบาทที่สร้างสรรค์เพื่อเป็นทางเลือกในการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศในเวทีโลก
  5. สร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเคลื่อนย้ายแรงงานและการส่งเสริมแรงงานไทยในต่างประเทศ
  6. มีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการป้องกันภัยจากการก่อการร้ายและอาชญากรรม ยาเสพติด ภัยพิบัติและการแพร่ระบาดโรคภัย
  7. เสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศในการสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีจริยธรรมและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  8. เร่งรัดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว
  9. ปรับปรุงและเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคีการพัฒนาภายในประเทศตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่น

อาเซียนคือใคร

            ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 มีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ ปัจจุบันรวมเป็น 10 ประเทศ

1.อินโดนีเซีย

2.มาเลเซีย

3.ฟิลิปปินส์

4.สิงคโปร์ ไม่คบมาเลเซีย  ต้องการกดหัวเศรษฐกิจไทยไว้

5.ไทย

6.บรูไน ไม่คบอินโดนีเซีย

7.เวียดนาม

8.ลาว ไม่คบไทย คบเวียดนาม

9.พม่า

10.กัมพูชา ไม่คบไทย คบลาว กับ เวียดนาม

ประชาคมอาเซียน(Asean Community)

  1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Political-Security Community : APSC) 
  2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community :AEC) มีความคืบหน้ามากสุดประมาณ 70%
  3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural,Community : ASCC)

One Vision, One Identity, One Community

หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม

  1. APSC – เรื่องความมั่นคง ต้องการรักษาเสถียรภาพการเมืองการปกครอง
  2. AEC – ต้องการมีมาตรฐานเดียวกัน มีศักยภาพแข่งขันสูง พัฒนาเศรษฐกิจเท่าเทียมกัน และบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์
  3. ASCC – เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม ความยุติธรรมและสิทธิ ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

ASEAN Connectivity ต้องการเชื่อมโครงสร้างเข้าด้วยกัน

-          การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ปตท.ได้แหล่งก๊าซธรรมชาติที่พม่า ทวาย

-          ความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ ต้องไปแก้กฎระเบียบต่าง ๆ แก้กฎหมาย แก้บทบัญญัติ เช่น ด้านเกษตร CIQ

-          ความเชื่อมโยงด้านประชาชน ด้านการศึกษา วัฒนธรรม ท่องเที่ยว ทำอย่างไรให้มีการเชื่อมโยงและไปด้วยกัน

มิติที่ดำเนินการ

  1. เปิดเสรีการค้าสินค้า บางเรื่องอาจเปิดปี 2015 บางเรื่องเปิดปี 2020  ต้องลงดูรายละเอียดบางอัน
  2. เปิดเสรีการบริการ
  3. เปิดเสรีการลงทุน
  4. เปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุน
  5. เปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ

เส้นทางเศรษฐกิจอาเซียน

ทั้งทางบก และทางน้ำ

ท้ายที่สุด เส้นทางเหล่านี้ต้องเกิด

ถนนสายอาเซียนในไทย

-          AH1  อรัญประเทศ-หินกอง-บางปะอิน-กรุงเทพฯ-แม่สอด

-          AH2  สะเดา-หาดใหญ่-กรุงเทพฯ-เชียงราย-ท่าเข็ก

-          AH3  เชียงของ-เชียงราย

-          AH12 หนองคาย-อุดรธานี-นครราชสีมา-หินกอง

-          AH13 นครสวรรค์-พิษณุโลก-ห้วยขน

-          AH15 นครปฐม-อุดรธานี

-          AH16 ตาก-ขอนแก่น-มุกดาหาร

-          AH18 หาดใหญ่-สุไหงโกลก

-          AH19 กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง-กบินทร์บุรี-นครราชสีมา

-          AH112 คลองลอย-บางสะพาน

-          AH121 มุกดาหาร-ยโสธร-บุรีรัมย์-สระแก้ว

-          AH123  บองติ-กาญจนบุรี-นครปฐม-กรุงเทพฯ-ชลบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด-ระยอง-ตราด-หาดเล็ก

 

ตัวอย่างโครงการ กรมพัฒนาที่ดิน กับอาเซียน

-          มีคลัสเตอร์งานพัฒนา วิจัยและการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน ในเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญกับอาเซียน

-          ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ได้เงินงบประมาณสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน

-          มีการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน หรือ ผลกระทบด้านต่าง ๆ ในการพัฒนาที่ดิน

-          ข้าราชการและพนักงานของกรมพัฒนาที่ดิน มีความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ และทักษะต่าง ๆ เพียงพอต่อการทำงานในอาเซียน

-          บรรยากาศภายในหน่วยงาน มีความเป็นนานาชาติสูงขึ้น

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการนำเสนอรายงานโดย ทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

นำเสนอรายงานกลุ่ม 1

โครงการแพทย์ปฐพีชี้ทางรวย

ยกระดับศูนย์ให้ทันสมัย ให้คนที่เข้ามาได้รับความรู้ทำให้ชีวิตดีขึ้น คุณภาพผลผลิตดีขึ้น

วัตถุประสงค์

1.เพื่อลดรายจ่ายของกระบวนการผลิต

2.การปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้น

3.เผยแพร่นวัตกรรม กรมพัฒนาที่ดินมีนวัตกรรมออกมาเยอะ ทำยังไงให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด

พื้นที่ที่ดำเนินการ เป็น 77 จังหวัด

จังหวัดละ 1 ศูนย์

ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี

วิธีการ

1.คัดเลือกเกษตรกรก่อนอันดับแรก อำเภอไหนมีหมอดินที่มีประสิทธิภาพก็คัดเลือกเอา ให้หน่วยพัฒนาที่ดินคัดเลือกหมอดินที่มีศักยภาพถ่ายทอดได้

2.เอาหมอดินเข้ามาสู่กระบวนการฝึกอบรม

3.จัดหาอุปกรณ์ให้เขาสามารถถ่ายทอดให้คนในพื้นที่สนใจได้

4.ประชาสัมพันธ์

5.เปิดดำเนินการ อาทิตย์ละ 1 วัน ให้เกษตรกรเข้ามาเรียนรู้ ดำเนินการว่าต้องการอะไร

เราจะไม่บริการศุกร์ เสาร์ อาทิตย์

มีวิธีการประเมินผล

โครงการนี้ทำแล้ว เกษตรกรนำไปดำเนินการต่อยอดให้ผลผลิตดีขึ้นหรือไม่ ก่อให้เกิดรายได้จริงหรือไม่ ลดรายจ่ายจริงหรือไม่ ใครเข้ามาใช้บริการของเรา ใครได้วัตถุดิบไป

ผู้รับผิดชอบ

ราชการที่เข้าไปต้องเข้าไปรับผิดชอบ

เจ้าหน้าที่สถานีต้องเข้าไปเรียนรู้ร่วมกัน เจ้าหน้าที่เข้าไปเป็นพี่เลี้ยงให้ด้วย

งบประมาณ

ปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ ให้เป็นมาตรฐานขึ้น มีอะไรที่เป็น Hi-Tech ขึ้น ติดต่อเจ้าหน้าที่ได้รวดเร็วขึ้น

ผลได้ผลเสียเกิดขึ้นกับใครได้บ้าง

1.เกษตรกรที่รับบริการ ผลผลิตดีขึ้น ดินดีขึ้น ลดต้นทุนได้จริง สินค้าเป็นอินทรีย์มากขึ้น ยอมรับในตลาดโลกมากขึ้น

2. ผู้ประกอบการจัดให้ตามใจเขาเป็นอะไรมาถาม ปรับตัวทำอย่างไรให้ขายได้เหมือนเดิม

3.ใช้สารเคมีน้อยลง คุณภาพดินดีขึ้น คุณภาพชีวิตเกษตรกรดีขึ้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 30 %  สามารถติดตามประเมินผลได้จริงหรือไม่ ใช้สารเคมีลดลง

2.พื้นที่ดินที่ได้รับลดลง ใน 1 รายได้ 20 ไร่ เป็น 10,000 ไร่ต่อปี 77 จังหวัดพื้นที่ดำเนินการลดต้นทุนเพิ่มขึ้น ดินดีขึ้น

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ดร.เฉลิมพล

  • ชื่นชม เนื่องจากใช้กลไกอย่างดีที่มีอยู่ขององค์กรคือในเรื่องหมอดินมาทำงาน  Key สำคัญคือการสร้างกลไกนี้ หรือเรื่องคน
  • เราไม่ได้เริ่มที่คน ดังนั้นควรดูว่าสิ่งที่เราอยากทำนั้นเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการหรือไม่ สิ่งที่ต้องทำสามารถตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าจริงหรือไม่ อย่างเช่น เกษตรกรต้องการรายได้ที่ดีขึ้น ดังนั้นโครงการต้องเชื่อมต่อไปถึงปลายทางให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นให้ได้
  • การคัดเลือกเกษตรกร คัดเลือกหมอดินดีมาก การทำโครงการสำเร็จได้ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1.ผู้บริหารบนเห็นด้วยหรือไม่ พร้อมผลักดันหรือไม่ 2. เจ้าหน้าที่ 3. หมอดิน
  • มีการคิดกลไกการเสริมสร้างความสามารถเจ้าหน้าที่ขึ้น
  • ข้อดีคือทำคล้ายคลินิกเกษตรกร
  • เรามีนวัตกรรมที่ดีเยอะ ได้กลับมาวิเคราะห์หรือไม่ว่าของดีทำไมไม่ใช้ หรือใช้แล้วไม่ไปอย่างรวดเร็ว
  • เทคโนโลยีพร้อมใช้ในการเข้าสู่ผู้ใช้หรือการใช้อย่างไร
  • การขาดแรงจูงใจ เมื่อทำดีแล้ว นักวิชาการได้อะไร หมอดินได้อะไร ผู้บริหารได้อย่างไร จึงควรมีการสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพิ่มขึ้น
  • เมื่อเข้าใจลูกค้าเราต้อเข้าใจเรื่องการสร้างรายได้ ดังนั้นจึงต้องให้ความเข้าใจเกษตรกรในเรื่องตลาดด้วย มีกลไกในส่วนรายละเอียดต้องปรับปรุงตรงหัว ที่คิดร่วมกัน

คุณพิชญ์ภูรี

  • ในมุมมองทางด้านเอกชน ขาดตัวอย่างที่ชัดเจน อยากให้เกษตรกรไปทำตัวอย่างให้ชัดเจน
  • เราทำอย่างไรช่วยเกษตรกรซึ่งเป็นลูกค้าเราได้ ช่วยตัวเรา ช่วยผู้บริหารเราได้อย่างไร
  • สินค้าเกษตร ต้นทุนต่ำ คุณภาพดี ราคาสูง ในคลินิกนี้ต้องใส่ Detail เช่น Green Food ใส่เข้าไปในตัวคลินิก แล้วไปดูพืชเศรษฐกิจ ต้องดูว่าเราพัฒนาพันธุ์ดินให้ถั่วเหลืองดีได้หรือไม่ เราต้องวิเคราะห์ใส่ไปในคลินิก ต้องมาดูอย่างเรื่องกาแฟมีที่ปลูกใหม่ที่สุรินทร์ ได้ต้นแบบจากบุรีรัมย์เป็นต้น  เป็นกาแฟบนอารยธรรมขอม
  • ดร.เฉลิมพล บอกว่ากาแฟชอบอากาศเย็น และพื้นที่ดินเค็มอย่างอีสาน จะทำให้กาแฟได้คุณภาพสูงเหมือนปลูกในที่เย็น
  • ความรู้เรื่องดินทำอย่างไรใส่ในคลินิกและเพิ่มมูลค่าสูงได้

อาจารย์ทำนอง

  • คลินิกใช้งบประมาณเท่าไหร่
  • อยากดูงานที่ไหน หัวข้ออะไร
  • ดร.เฉลิมพล อยากให้ไปดูงานของกลุ่มชุมชนที่เติบโตได้จนเป็นลักษณะ Global เช่นกาแฟดอยช้าง และ Jim Thomson

ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ 1.มีนักวิชาการที่เข้มแข็ง 2.มีเกษตรกรที่เข้มแข็ง 3.มีนักธุรกิจที่เก่งและมีใจช่วยสังคม

 

นำเสนอรายงานกลุ่ม 2

โครงการเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในทุ่งกุลาร้องไห้แบบบูรณาการครบวงจร

สิ่งที่คิดเพิ่มคือ ความเป็นอยู่ดีของเกษตรกร

Keyword คือ

  • กรมพัฒนาที่ดิน
  • นวัตกรรม
  • ข้าวหอมมะลิ

เริ่มจาก

  • ดูว่านวัตกรรมไหนโดดเด่นในกรมพัฒนาที่ดิน
  • ข้าวหอมมะลิ มีความหอมและมีพื้นที่ปลูกได้เฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการลงข้าวหอมมะลิเป็นอินทรีย์จะไปลงที่ไหน ตรวจดูแล้วพบว่าพื้นที่เหมาะกับการปลูกข้าวคือพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่แต่ก่อนมีความแห้งแล้งกันดาร ชาวบ้านความเป็นอยู่ค่อนข้างแย่ แต่ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ทุ่งกุลาร้องไห้เปลี่ยนไปเป็นจุดแข็ง ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ดีขึ้น เหมาะนำเอาข้าวหอมมะลิไปทำ
  • ลักษณะพื้นที่เป็นก้นกระทะ มีการนำเอาระบบชลประทานไปลง สภาพพื้นที่เป็นจุดแข็ง มีคุณสมบัติของดินที่พอใช้ได้
  • ชาวบ้านปลูกข้าวหอมมะลิเป็นหลักอยู่แล้ว แต่การทำอินทรีย์ยังไม่เป็นกลุ่มและพัฒนาเข้มแข็งขึ้นได้ จึงตั้งโครงการข้าวหอมมะลิอินทรีย์ทุ่งกุลาร้องไห้ ส่วนในเรื่องนวัตกรรมมีการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เทียบเคียงได้กับปุ๋ยเคมี ด้วยผลงานวิจัยที่ยืนยัน ทำให้ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ได้แน่นอน

วัตถุประสงค์

  • เพิ่มปริมาณผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 2.สร้างมูลค่าเพิ่มข้าวหอมมะลิอินทรีย์ พื้นที่ดำเนินการจ.สุรินทร์ ศรีษะเกษ ยโสธร มหาสารคามจังหวัดละ 500 ไร่ เป็นโครงการจากประเทศไทยก่อนแล้วขยายไปสู่อาเซียน

วิธีการดำเนินการ

  • ได้ทุ่งกุลาร้องไห้แล้วมีการทำ Zoning อีกครั้งหนึ่ง ทำการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพที่พร้อมจะทำ
  • คัดเลือกเกษตรกรที่มีความซื่อสัตย์ และมีความพร้อมในพื้นที่ มีการจัดฝึกอบรมกระบวนการทำอินทรีย์ กระบวนการผลิตและจัดทำ Packaging
  • การผลิต ชาวบ้านสอนให้เขาปรับปรุงดินโดยใช้พืชปุ๋ยสด ใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีการอบรมเข้มข้นเป็นพิเศษ

งบประมาณ

  • 9 ล้านสามแสนสี่หมื่นเจ็ดพันห้าร้อยเจ็บสิบบ้านสนับสนุนเกษตรกรจากกรมพัฒนาที่ดินให้ 3,700 บาทต่อไร่ มีกระบวนการร่วมดำเนินการหลายหน่วย เช่นโครงการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร หน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  และกรมพาณิชย์จังหวัด ดูแลเรื่อง Packaging Branding
  • เรื่องการขาย มีกระทรวง ICT และกรมประชาสัมพันธ์จังหวัดช่วย
  • มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรเข้ามาช่วยตรวจรับรอง มีการได้ Food Safety มี Soil Safety มีการได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

วิธีการ

  • เปิดรับสมัครผลงานประกวด Branding ออกแบบโลโก้ ตั้งยี่ห้อ และร้อยเรื่องราวทุ่งกุลาร้องไห้มาร่วมใน Packaging ให้ได้
  • รางวัล รับประทานข้าวหอมมะลิอินทรีย์ฟรี 1 ปี

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ดร.เฉลิมพล

  • ก่อนอื่นทำไมกรมพัฒนาที่ดินต้องทำโครงการนี้ ทำไมต้องเป็นเรา
  • กรมพัฒนาที่ดินเก่งเรื่องดิน แต่สิ่งที่พยายามทำคือข้าวหอมมะลิ  ถ้าโครงการนี้เสนอขึ้นไปถึงรัฐบาล จะโดนถามว่าใช่โครงการเราหรือไม่ครับ
  • อะไรคือความเด่นของเรา คือดิน  ดินกับข้าวหอมมะลิมีใครทำหรือยัง
  • ทุ่งกุลาร้องไห้มีดินที่เหมาะกับข้าวหอมมะลิกี่ชุด เราหรือไม่ว่าชุดไหนดีกว่าชุดไหน
  • ทำโครงการนี้ให้หมุนมุมใหม่เอาความเก่งของเราขึ้นมา เอาดินขึ้นมาเป็นหลัก
  • ชุดนี้มีนวัตกรรมอะไรบ้าง  มีข้าวอินทรีย์ส่งออกแล้ว
  • บนความเก่งคือเรามีข้อมูลชุดดินเก่งมาก หาจุดยืนเป็นข้อเก่งมาทำงานเชื่อมโซนนิ่ง ข้อมูล GIS ว่าตรงไหนเป็นข้อมูลส่งออกมีมูลค่าสูง ทำให้โครงการนี้โดดเด่นอย่างไม่มีคนทำ

คุณพิชญ์ภูรี

  • เรามาทำเป็นจุดเด่นได้หรือไม่ ย้อนกลับไปดูชุดดินที่มีหลายชุดเปรียบเทียบดูกับพื้นที่อื่นดูหรือไม่ ซึ่งสามารถสร้างข้าวอันใหม่
  • จุดเด่น มีการบอก Networkชัดเจน  มีการดูชุดที่สำรวจอยู่แล้ว
  • ให้เพิ่มการวิจัยเรื่อง Climate Change การเปลี่ยนแปลง 1-2 องศาได้ข้าวเปลี่ยนแปลงแล้ว
  • แนวความคิดที่ดีต้องได้รับการปรับแปรง และนำไปใช้ได้

อาจารย์ทำนอง

  • สามารถปลูกข้าวหอมเหมือนปาร์ตี้ได้ไหม เหมือนปลูกผักได้ไหม

 

นำเสนอรายงานกลุ่ม 5

โครงการชุมชนรักษ์ดินบ้านบางปอย

  • เป็นเรื่องการทดลองที่ดิน พันธุ์พืช
  • ขยะมีการแยกส่วน
  • การปลูกป่าเพิ่ม เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม
  • การมีส่วนร่วม มีจังหวัดเขต ผู้นำชนเผ่า ในพื้นที่ การวางกฎระเบียบ วางการจัดการการมีส่วนร่วม การถ่ายทอดความรู้
  • ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องคนในพื้นที่ ทัศนคติดูแลสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน ความคงทน การศึกษาอัตรากำลังต่าง ๆ
  • ปัญหานโยบาย ในป่าไม้พื้นที่ดำเนินการเสื่อมโทรมแล้ว การส่งเสริมเรื่องของพืชผัก และต้นไม้ในพื้นที่ เรื่องนโยบายที่เกี่ยวข้องในรัฐบาล
  • ความไม่ต่อเนื่องของนโยบาย น่าจะเป็น 3 ปี ถึงมีภาพรวมในชุมชน
  • แผน 5 ปีเขตลุ่มน้ำย่อยตำบลแม่คละ  มีพื้นที่ก่อนดำเนินการเป็นข้อมูลทั่วไปที่แบ่งให้เห็นถึงความลาดชัน ชั้นความสูง และชุดดินต่าง ๆ ในพื้นที่ ตามแผนพัฒนาที่ดินแต่ละจุดเป็นอย่างไร เอาพื้นที่เกษตรกรรม 1,700 ไร่เข้ามา มีพื้นที่ดำเนินการ การถือครองที่ดิน มีที่ดินทำกิน 800 ไร่

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ดร.เฉลิมพล

  • ชื่นชมการคิดทำงานแบบมีส่วนร่วม เรื่องคน ความรู้ และครบวงจร
  • ตอนจะถอยออก จะถอยออกอย่างไรและจะยั่งยืนได้
  • การวัดผล และประเมินผล เป็นการวัด Outcome และ Impact ของประเทศ
  • เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ ที่ทำให้ลดผลกระทบลง
  • เชื่อว่าโครงการนี้มีนวัตกรรมแต่ไม่มีการหยิบนวัตกรรมมานำเสนอว่าอะไรเป็นจุดเด่นของโครงการนี้เช่นการมีส่วนร่วม
  • ถ้าโครงการนี้ประสบผลสำเร็จจะขยายผลด้วยวิธีไหน การขยายโดยใช้ภาครัฐเป็นแกนได้หรือไม่ ต้องมี อบต.เข้ามาโดยไม่ต้องได้รับส่วนร่วมจากภาคกระทรวงลงไป ถ้าทำแบบนี้ได้ทำให้กลไกขยายผลได้แน่

คุณพิชญ์ภูรี

  • เอาโครงการนี้มาเป็นนวัตกรรมได้อย่างไร
  • ข้อมูลแน่นมาก แต่เสียงบอกถึงความกลัวที่ไม่ได้รับงบประมาณเพิ่ม
  • ต้องเพิ่มศิลปะในการสื่อสารองค์กรให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ
  • ดูว่านวัตกรรมใหม่ที่อยากส่งเสริมให้นวัตกรรมนี้อยู่คืออะไร
  • การมีส่วนร่วมของชุมชน อบต. อบจ.มีหรือยัง กลับไปทำเรื่องการสื่อสารองค์กร
  • วิทยุชุมชนมีโครงการนี้ได้หรือไม่
  • ลองถ่ายคลิปวีดิโอจากของจริง ออกรายการเกษตรแล้วต่อยอดได้อย่างไร
  • ดร.เฉลิมพลบอกว่าให้เอาบุคคลที่ 3 มาถ่ายคลิปจะดีมาก

อาจารย์ทำนอง

เป็นโครงการที่ดีมาก ทำแล้วจะสามารถนำสู่อาเซียนได้เลย

 

นำเสนอรายงานกลุ่ม 4

E-Advisor 1.0 ปลูกผักอินทรีย์บนเหล่าเต๊ง

ลูกค้าคือใคร

  • Hi-so เล่นอินเตอร์เนตได้ มีความรู้
  • แนวคิดนี้เกิดจากว่าคนรวยอยากกระเสือกกระสน เริ่มท้าทาย เริ่มทดลอง ตัวอย่างเช่นบ้านควายมีเศรษฐีลงทะเบียน 25,000 บาท ไปทำนา

วิธีการ

  • สิ่งปกคลุมเป็นต้นไม้ ใบไม้ ทำสวนผักบนเหล่าเต๊ง ผักเป็นไม้ประดับได้  เป็นกระถางแตก กระเช้า ได้ ทำดินถุง  เจาะรูในกระสอบเล็ก  ปลูกกะหล่ำ ปลูกผักต่าง ๆ ในถุงได้ ทำให้สวยโดยเติมอิฐบล็อกได้
  • ความรู้ในการปลูกผักอินทรีย์ใช้เวลาสั้น ๆ สามารถหาได้จากอินเตอร์เนตได้ อ่านซ้ำได้
  • ขอพ.ด.สำเร็จรูปที่กรมพัฒนาที่ดินได้
  • คาดว่ามีคนชมเวปไซต์อย่างต่ำ 10,000 คนต่อปี
  • โปรแกรม มีรายละเอียดค่าฝึกอบรม มีการพัฒนา E-Advisor ใหม่ ๆ ตลอดไม่เก่า

สิ่งที่จะได้

  • ประหยัด
  • เกิดความสุขทางอารมณ์

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ดร.เฉลิมพล

  • เป็นนวัตกรรมชัดเจน
  • อยากให้มองลูกค้านอกกรุง
  • กลุ่มคนเมืองจะเป็น สว. มีเงินซื้อสำหรับผู้สูงอายุ
  • น่าจะมีการนำ Artist มาใช้ เช่นมีรสนิยมทางใจที่ทำให้ใจได้รับการพัฒนา EQ ของเด็ก ๆ การออกแบบตรงกับลูกค้ายุคดิจิตอล โครงการดูหรูหรามีรสนิยม ทำอย่างไรให้โครงการนี้ขยายได้
  • ทำ E แบบสองทาง เช่นมีการแนะนำ ทำการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ มีการขยายผลอย่างรวดเร็วในการเข้าถึงประชากร ดูตัวอย่างโครงการแม่ฟ้าหลวง

อาจารย์ทำนอง

  • IPad ต้องง่ายหน่อย Keep it simple and stupid คนโง่ เด็กก็ใช้ได้

คุณพิชญ์ภูรี

  • ถ้านำโครงการนี้ไปต่อยอดแล้วหารายได้เสริม เช่นดินถุงให้ข้าราชการขายดินถุงได้ อาจมีการรวมกลุ่มขายว่ามาจากกรมพัฒนาที่ดิน เอาพ.ด.ใส่เข้าไปด้วย
  • เอาพ.ด.แช่ มีการต่อยอดได้
  • ในเวปไซด์ให้ใส่ พ.ด.สำหรับร้านดอกไม้ คนเมืองทำพ.ด.ร้านดอกไม้ ถ้าแช่ในอะไรแล้วจะดี ฝากเป็นอาชีพไว้

นำเสนอรายงานกลุ่ม 1

พัฒนานวัตกรรมเพื่อความร่วมมือของประเทศ

  • รายงานเผาป่าหรือวัสดุทางการเกษตร สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น
  • วัตถุประสงค์ต้องการปลูกจิตสำนึกให้รักษ์โลก โดยการนำเทคโนโลยีของกรมมาใช้คือ พ.ด. 2 ต้องการลด Green House Gas คาร์บอนไดออกไซด์ ลดอุณหภูมิของโลก การไถกรบพืชในดิน
  • กิจกรรมทำหมักซุปเปอร์ พ.ด. 2 ทำภายใต้สภาพดินที่มีความชื้นสูงใช้เวลาหมักที่รวดเร็ว มีการใช้สารออร์กานิกส์ และดิออกานิกส์ เช่นสารปรับปรุงดินที่มีปัญหา เช่นดินเปรี้ยว มีแมกนีเซียม แก้ปัญหาดินเค็มเข้ามา
  • มี IDD Model ตรวจวัดปริมาณคาร์บอนสู่บรรยากาศ และเก็บกักในดินได้ เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย ประหยัดและเก็บคาร์บอนในดินได้สูง
  • มีงานวิจัย ICC จะกลายเป็นมูลค่าเพิ่มของงานชิ้นนี้

งบประมาณ

  • มีการทำงบร่วมกันระหว่างประเทศไทยและเพื่อนบ้าน มีการของบร่วมกัน มีงบดำเนินการ แปลงสาธิต 1 Size ใช้เงิน 4.5 ล้านบาท

วิธีการ

  • ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ช่วยรักษาธาตุอาหารในดินสูง ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษในดิน

Outcome

  • ด้านสิ่งแวดล้อมถ้ามีการทำต่อเนื่องจะทำให้มีดินที่อุดมสมบูรณ์ขึ้น มีดินที่เป็นประโยชน์ มีการลดการปลดปล่อย กรีนเฮ้าส์แก๊ซ

ข้อเสนอแนะ

ดร.เฉลิมพล

1.จะลงไปอย่างไรกับพื้นที่ให้เขามีส่วนร่วม

2.มีโครงการใหม่อะไรบ้าง หาจุดคิดใหม่ ๆ แก้จุดอ่อนโครงการนี้

3.การเลือกพื้นที่ในการทำ ต้องไม่ใช่ที่ลุ่ม เมื่อไรที่เป็นที่ลุ่มจะเกิดมีเธนขึ้น

4.การประเมินผลต้องประเมินในมุมใหญ่ให้ครบวงจร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

5.ประเด็นสำคัญคือหาความใหม่ให้ได้ อะไรคือนวัตกรรม  การออกเรือเหมือน Blue Ocean ขอให้ทำแตกต่างขึ้นมาก็เหมือน Differentiate แล้ว ถ้าทำแล้วต้องทำให้เลิศให้ได้

คุณพิชญ์ภูรี

  • ชื่นชมในวิธีการนำเสนอตั้งแต่ชื่อโปรเจค
  • ข้อมูลพื้นฐานดี
  • ขั้นตอนการนำเสนอดีมาก ยกตัวอย่างดีมาก การไถกลบ การใช้ พ.ด. การประเมินผล
  • นวัตกรรมอยู่ที่ LDD Model ซึ่งถูกซ่อนอยู่ตรงกลาง
  • จุดอ่อน GMS ทำอย่างไร  เศรษฐกิจพอเพียงช่วยได้ ถ้าไม่มีงบ 1.1 แสนยูโร ก็เสนอต่ำกว่าให้ทำเป็นโครงการตัวอย่างก่อนอย่างเศรษฐกิจพอเพียงได้

อาจารย์ทำนอง

  • การบริหารจัดการ นำเรื่องการเจรจาต่อรองไปใช้ ทำอะไรด้วยวิธีการไม่ร้องขอ
  • ยั่งยืนได้ด้วยวัฒนธรรมองค์กร ถ้าทุกอย่างเปลี่ยนแปลงแล้ว วัฒนธรรมองค์กรไม่เปลี่ยน สิ่งที่คิดไว้จะกลับมาที่เก่า สรุปคือต้องมีนวัตกรรมทำให้กลุ่มเป็นที่รู้จักในการเจริญเติบโต
  • เราอยากได้ผู้นำอย่างไร

หลังจากจบหลักสูตร...ได้อะไรบ้าง ก่อนเข้ารับการอบรมเรามีความคาดหวังต่ำมาก.เพราะเราอบรมมามากได้เรียน ได้เพื่อน ได้เที่ยว แล้วก็จบบทเรียน ไม่ได้เอามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ได้ต่อยอด อาจารย์แต่ละท่านก็ไม่เคยรู้จัก แล้วเราจะได้อะไร. พอได้เข้ารับการอบรม พูดได้อย่างความภาคภูมิใจ ถ้าไม่ได้มาอบรมเราคงเสียใจไปอีกนาน เขาสอนให้เราคิด และคิดบวก มองจุดหมาย คิดร่วมกัน โดยเฉพาะกิจกรรมกลุมมีความหมายมาก มองภาพรวมมุ่งสู่อนาคต ให้ทุกคนได้แสดงออกบอกงานเป็นทีม โดยเฉพาะการสร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้อบรมมีจดหมายแ้ล้วมุ่งมั่นทะลายกำแพงอุปสรรค์ในการทำงานและเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต ต้องขอขอบคุณ กรมพัฒนาที่ดิน อ.จิระ และทีมงาน เพื่อนๆที่เข้ารับการฝึกอบรม ที่ทำให้โครงการนี้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างภาคภูมิใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท