การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย


สัญชาติบิดาสำคัญไฉน

การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย" ในกฎหมายขัดกันของไทยและญี่ปุนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร 

        สืบเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ

            1.       กรณีบุตรชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง บุตรที่เกิดจากบิดา มารดาสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

             2.       บุตรนอกสมรส หมายถึง บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะขอกล่าวอธิบายในส่วนของ กรณีบุตรชอบด้วยกฎหมาย ดังต่อไปนี้       

              กฎหมายขัดกันของญี่ปุ่น APPENDIX 3B Act Concerning the Application of Laws (Horei)   (Law No. 10 , June 21, 1898) ได้กล่าวถึง เรื่องการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย" ไว้ ในมาตรา 17 ซึ่งมีใจความสาระสำคัญดังต่อไปนี้      

                 มาตรา 17 (แบบของความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตรชอบด้วยกฎหมาย )  บัญญัติไว้ว่า

            ( 1 ) การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายในขณะที่บุตรเกิดให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบิดามารดา  และให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย

              ( 2 ) หากสามีได้ถึงแก่ความตายก่อนวันที่เด็กเกิดให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของสามีในขณะที่ถึงแก่ความตาย  และให้อนุมาตรานี้ใช้บังคับกับมาตราที่ได้ระบุไว้ในวรรคก่อน

             กฎหมายขัดกันของไทยที่มีบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481       ได้กล่าวถึงเรื่องการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย" ไว้ ในมาตรา 29 ซึ่งมีใจความสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 

               มาตรา 29  บัญญัติไว้ว่า การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งสามีของมารดา ในขณะที่บุตรนั้นเกิด ถ้าหากในขณะที่กล่าวนั้น สามีได้ถึงแก่ความตายเสียแล้ว ก็ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของสามี ในขณะถึงแก่ความตาย

             ให้ใช้กฎหมายเช่นเดียวกันบังคับการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร            

           เมื่อพิจารณาเทียบเคียงกับกฎหมายขัดกันของไทย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 นั้น ในเรื่อง การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย" ตามกฎหมายขัดกันของไทย  อยู่ใน มาตรา 29   ซึ่งกฎหมายขัดกันของญี่ปุ่นและของไทยมีความเหมือนและความแตกต่างกันในการวางหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว คือ

          กฎหมายไทยและกฎหมายญี่ปุ่นมีความแตกต่างกันดังต่อไปนี้ คือ ในอนุมาตรา 1 ของมาตรา 17 ตามกฎหมายขัดกันของญี่ปุ่นได้ระบุเกี่ยวกับการเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายโดยสามารถเลือกกฎหมายตามสัญชาติของบิดาหรือของมารดามาใช้บังคับ ในขณะที่กฎหมายขัดกันของไทยระบุให้ใช้สัญชาติของบิดาในขณะที่บุตรเกิดเพียงอย่างเดียว ดังนั้นกฎหมายขัดกันของญี่ปุ่นจึงมีขอบเขตที่กว้างกว่ากฎหมายขัดกันของไทย และให้สิทธิเสรีภาพมากกว่ากฎหมายขัดกันของไทย

           กฎหมายไทยและกฎหมายญี่ปุ่นมีความเหมือนกันดังต่อไปนี้ คือ ในอนุมาตรา 2 ของมาตรา 17 ตามกฎหมายขัดกันของญี่ปุ่น และ มาตรา 29 ตามกฎหมายขัดกันของไทยมีใจความสาระสำคัญ  แบบและผลของกฎหมายที่เหมือนกัน กล่าวคือทั้งสองประเทศต่างให้ความสำคัญกับสัญชาติของบิดา  อันเป็นผลที่ได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมันที่ฝ่ายชายเป็นผู้มีอาวุโสสูงสุดและเป็นผู้นำครอบครัว  จึงเป็นผู้ปกครองที่เรียกว่า   patria  potestas กล่าวคือ ถึงแม้ว่าสามีได้ถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตามกฎหมายก็ยังให้ถือสัญชาติของสามี ในขณะที่ถึงแก่ความตาย

          สรุป ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ทั้งสองประเทศต่างมีแนวคิดที่เหมือนกันที่ให้ความสำคัญแก่สัญชาติบิดา เพียงแต่ประเทศญี่ปุ่นได้วางขอบเขตไว้กว้างกว่าเท่านั้น 

หมายเลขบันทึก: 50005เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 03:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รบกวนหน่อยนะคะ ถ้าสามีญี่ปุ่นตาย สิทธิของภรรยาเเละบุตรที่ถูกต้องตามกฏหมายมีอะไรบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท