ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ : โรงพยาบาลบ้านตาก


เรื่องนี้ได้เป็น 1 ใน 14 เรื่องผลงานวิชาการดีเด่นของกระทรวงปีนี้ครับ ผมทำในลักษณะ R2R ตามความคิดของผมครับ

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ : โรงพยาบาลบ้านตาก( Success factors to Health promoting Hospital : Bantak Hospital ) 

พิเชฐ  บัญญัติ*                             *โรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตาก  

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทคัดย่อ               

วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาแนวทางและปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาโรงพยาบาลบ้านตากสู่การเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (Health promoting hospital               

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action research) โดยการสังเกต สัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของโรงพยาบาลบ้านตากร่วมกับการศึกษาจากเอกสารและวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ ในช่วงปี 2540-2548               

ผลการศึกษา:   โรงพยาบาลบ้านตากมีแนวทางในการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเป็นของตนเองแต่มีกิจกรรมและผลการดำเนินงานที่สอดคล้องไปกับเกณฑ์การเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มีการมองเรื่องของสุขภาพแบบองค์รวม ไม่เน้นแค่การรักษาโรคแต่เน้นในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและการฟื้นฟูสภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเชาว์ปัญญา ผลักดันการดำเนินกิจกรรมสุขภาพด้วยยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับปัญหาของชุมชน ให้บริการที่เน้นให้ประชาชนดูแลตนเองได้ เลือกการดูแลรักษาตนเองรวมทั้งให้เจ้าหน้าที่ได้มีส่วนตัดสินใจในกิจกรรมที่แต่ละคนรับผิดชอบ เน้นผลลัพธ์มากกว่าตัวกิจกรรมที่ทำ กำหนดพื้นที่รับผิดชอบทั้งอำเภอร่วมกับสถานีอนามัยดูแลทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย  มีการจัดบริการทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชนแบบผสมผสานทั้งบริการส่วนบุคคล บริการกลุ่มคนและบริการชุมชน  มีกิจกรรมที่เหมาะกับบริบทของชุมชนและสร้างนวัตกรรมในการบริการ มีการทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพในโรงพยาบาลและในชุมชน เจ้าหน้าที่ทุกระดับมีส่วนร่วมในการคิด วางแผน ปฏิบัติและประเมินผลร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ มีเครือข่ายกับโรงเรียน วัด ชุมชนและส่วนราชการกับเอกชนในพื้นที่และมีการตั้งเป้าหมายที่ยั่งยืนและสมดุลในระยะยาว                

สรุป:   ปัจจัยสำคัญในการมุ่งสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมี 9 ปัจจัยคือFocus on Health (มุ่งเน้นสุขภาวะ) Strategic driven(นำพาด้วยกลยุทธ์) Empowerment(ฉุดด้วยการเสริมพลัง) Citizen and Community focus(มุ่งหวังประชาชนและชุมชน) Service and Process Management(เปี่ยมล้นการจัดการ) Creativity and Innovation (สร้างสรรค์นวัตกรรม)  Teamwork and Commitment (ทำด้วยทีมที่มุ่งมั่น) Participation (สานฝันอย่างมีส่วนร่วม) Sustainability(รวมพลังอย่างยั่งยืน) ซึ่งรวมเรียกปัจจัยเหล่านี้ว่าการจัดการสร้างเสริมสุขภาพทั่วทั้งองค์กร(Total Healthy Management) ที่โรงพยาบาลต่างๆสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาได้

คำสำคัญ: การสร้างเสริมสุขภาพ, ผสมผสาน, องค์รวม, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

คำสำคัญ (Tags): #r2r#kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 49990เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2006 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

โห....สุดยอดๆๆๆ....คะคุณหมอ...

แหม!!!....ท่านมีของดี...ไม่นำมาเล่าสู่กันฟังเลยนะคะ...หากให้ดี...เชียร์ๆๆ....พยายาลและท่านอื่นๆ...ทำด้วยยิ่งดีนะคะ

555....ประมาณว่ากะปุ๋มได้คืบจะเอาศอกคะ....

*^__^*

กะปุ๋ม

  • แวะมาเยี่ยมเยี่ยนค่ะอาจารย์หมอ
  • สุดยอดเลยค่ะ

                               Congrats     - น้อง -

จะหานิยามศัพท์"ปัจจัยแห่งความสำเร็จ" (Key Success Factors)ได้ที่ไหนบ้างคะ
ผมไม่แน่ใจนะครับว่าจะดูได้จากที่ไหน เพราะผมไม่ค่อยชอบไปดูนิยามที่มีคนเขียนไว้ ผมชอบนิยามเองมากกว่า ถ้าเราเข้าใจ คนของเราเข้าใจก็พอแล้ว

อาจารย์ค่ะ ทำอย่างไร ถึงจะได้วิชาที่อาจารย์ไปบรรยาย ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์ วันที่ 16 กพ 50 หนูมีโอกาศได้เข้ารับฟังอาจารย์ นอกจากจะชื่นชมและให้กำลังใจอาจารย์และพี่รพ.บ้านตาก ก็จะขอวิชาด้วยค่ะ..ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

โรงพยาบาลวังน้ำเขียว

5 ก.ค.50 09.00-12.00 น.

คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลวังน้ำเขียว 20 ท่าน

ขอความกรุณาเข้าไปเรียนรู้ด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท