การเดินทางของชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการอำเภอตะโหมด


นอกจากเรื่องการเข้าถึงสิทธิ์แล้ว มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดขึ้นทุกเดือนในสามตำบลของอำเภอตะโหมด โดยคุณชายขอบ จากสสจ.พัทลุงและคุณพี่พรทิภา เสนชู พยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลตะโหมดเป็นคุณเอื้ออยู่ข้างหลัง

                         การเดินทางของชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการอำเภอตะโหมด ผมมองเห็นสิ่งดีดีเกิดขึ้นมากมายในช่วง สามเดือนที่เริ่มรวมตัวรวมพลังและเริ่มพอกพูนพลังมาเรื่อย ๆ โดยการนำของพิ่อำนวย  ศิริสว้สดิ์  ประธานของชมรม ฯ  ในดับอำเภอ และการขยันขันแข็งของ น้องดอน  ขวัญทอง  ประธานชมรม ฯ ตำบลตะโหมด      น้องกุ้งคุณคนอง   สุขเกษมผู้หลากหลายความสามารถและเหล่าคุณกิจทั้งหลาย       มีกิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน   มีของติดไม้ติดมือเล็กๆน้อยๆไปฝาก เป็นกำลังใจ  สำรวจค้นหาการเข้าถึงสิทธิคนพิการในสิทธิหลักประกันสุขภาพ รหัส  74     การขึ้นทะเบียนคนพิการของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จากตัวเลขเดิมก่อนการพัฒนาชมรมฯ มี 60 กว่าเปอร์เซนต์ขณะนี้ขึ้นไปเฉียดๆ 90 แล้ว

                            นอกจากเรื่องการเข้าถึงสิทธิ์แล้ว   มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดขึ้นทุกเดือนในสามตำบลของอำเภอตะโหมด โดยคุณชายขอบ จากสสจ.พัทลุงและคุณพี่พรทิภา  เสนชู พยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลตะโหมดเป็นคุณเอื้ออยู่ข้างหลัง

                             จากการมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสรุปกิจกรรมโครงการส่งเสริมการพลศึกษาและกีฬาคนพิการประจำปี  2549  ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลตะโหมด   โดยมีสมาชิกแกนนำเข้าร่วมประชุมกันอย่างครบถ้วน ร่วมกับ จนท. ของโรงพยาบาลตะโหมดและ              จนท. พัฒนาชุมชนของเทศบาลและ อบต.    หลักๆ  ที่ได้คือการเรียนรู้เชื่อมโยงเครือข่ายกับภาคีอื่น  การได้รับการสนับสนุนจากเทศบาล       อบต.   อย่างอบอุ่น และประทับใจในความร่วมมือของเหล่ามวลสมาชิกคนพิการและผู้ดูแล   ความสนุกสนาน เฮฮา จากการแข่งกีฬาหลายประเภท   หลังประชุมผมได้รับโทรศัพท์นัดหมายจากน้องดอน ตอนบ่ายโมง  ว่าทางแกนนำจะมาเยี่ยมและประชุมต่อที่สถานีอนามัย ฯ ให้ผมเตรียมน้ำท่าคอยต้อนรับ   มีแกนนำ  20   คน นำโดยพี่พรทิภา     เสนชู   เพื่อจะกำหนดให้สถานีอนามัยบ้านเกาะเรียนเป็นศูนย์การประสานงานที่ทำการชมรม ฯ  ของอำเภอตะโหมด ผมเองในฐานะเจ้าของบ้านก็ยินดี   เพราะเป็นช่องทางที่สามารถให้คนพิการสื่อสารไปข้างนอกได้ทั้งทาง เน็ตและทางอื่นๆ

                               สาระการประชุมต่อ มีคำถามว่า ได้อะไรบ้างที่เดินมา สองสามเดือน  ภูมิใจอะไร และจะทำอะไรต่อ  มีปัญหาอะไรมั๊ย  ก็ได้ความคิดร่วมคือ  ภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือคนพิการด้วยกัน ได้เพื่อน ได้ทีมงาน ได้คนคอยช่วยเหลือ จะพยายามทำให้คนพิการได้มีงานทำที่เหมาะสม     เข้าถึงสิทธิ์ให้มากที่สุด ที่สำคัญเราจะพบปะพูดคุยมีเวทีอย่างนี้ กันทุกวันที่  10  ของทุกเดือน ส่วนปัญหาที่พบคือบางกรณีพ่อแม่ยังไม่ยอมรับความพิการของลูก ในส่วนของผมได้เสนอกติกาว่า ในครั้งต่อไปหรือทุกครั้งที่ประชุมให้ทุกท่านที่มาประชุมต้องได้พูดได้เสนอความคิดเห็นกันทุกคนไม่ยกเว้นเพื่อการมีส่วนร่วมที่ดี และต้องพัฒนาบุคคลในทีมงานให้เป็นคุณลิขิตคอยบันทึกเรื่องราวเพื่อการเรียนรู้อีกคนหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 49942เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2006 19:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เอาเรื่องที่เขียนต่อยอดมาฝากครับผม
  • http://gotoknow.org/blog/thaithinking

  • ขอบคุณมากครับผม

  • ดีใจที่ทำงานประสานกันกับคุณชายขอบและโรงพยาบาลครับ

ขอบคุณครับ  อาจารย์ขจิต ที่ได้เติมเต็ม ถ้าเราช่วยกันบอกต่อ ส่งต่อ ในแนวคิดอันงดงามนี้  บ้านเมืองเราคงจะผ่านวิกฤติได้ด้วยความผาสุข ครับ.......ผมชื่อและศรัทธาอย่างนั้น 

  • แวะมาทักทายครับผม
  • สบายดีไหมครับ เห็นฝนตกหนักมากครับ

พี่หรอยคะ...

ในฐานะเป็นหนึ่งในทีมไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชนสู่ความยั่งยืน.....ตกลงวันที่ 1-2 ธันวาคม 2549 พี่ได้ร่วมไปกับทีมคุณชายขอบหรือเปล่าคะ...

...

หากได้ไป...หวังว่าคงได้เจอและ ลปรร. นะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

  • แวะมาทักทาย
  • วันที่ 1 ไปกรุงเทพฯ ไหมครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท