ตอนที่ ๓ ผลกระทบของมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีของสหภาพยุโรปต่อการส่งออกของไทย


การที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนดมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา มาตรการนั้นย่อมต้องนำไปบังคับอย่างเสมอภาคและทั่วถึง ดังนั้นผู้ผลิตทุกรายก็ย่อมต้องได้รับผลกระทบเหมือนๆกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการรายใดจะสามารถควบคุมรายจ่ายให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันทางการค้ากับผู้ผลิตรายอื่นได้

ต่อ

ผลกระทบของ NTBs ที่มีต่อการค้า
๑. การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต  การกำหนดมาตรการต่างๆของกล่มประเทศผู้นำเข้าย่อมต้องสร้างภาระเรื่องค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ผลิตเป็นธรรมดา  แต่กรณีที่ต้องพิจารณานั้นอยู่ที่การเพิ่มขึ้นของภาระค่าใช้จ่ายว่าเป็นไปโดยนัยสำคัญหรือไม่  เพราะการที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนดมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา  มาตรการนั้นย่อมต้องนำไปบังคับอย่างเสมอภาคและทั่วถึง  ดังนั้นผู้ผลิตทุกรายก็ย่อมต้องได้รับผลกระทบเหมือนๆกัน  ขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการรายใดจะสามารถควบคุมรายจ่ายให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันทางการค้ากับผู้ผลิตรายอื่นได้  แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs ที่ยังไมมีศักยภาพเพียงพอที่จะปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของตนเพื่อรองรับกับมาตรการใหม่ๆที่ถูกกำหนดขึ้น

๒. ความสามารถในการแข่งขันลดลงหรือไม่  ในประเด็นนี้ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงโดยเปรียบเทียบทั้งกับผู้ประกอบใน EU และผู้ประกอบการรายอื่นที่ประสงค์จะส่งสินค้าเข้าไปขายใน EU  ในประเด็นนี้ที่ประชุมเห็นว่าไม่น่าเป็นห่วงสำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่  โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ในการทำการค้ากับประเทศที่มีมาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษีจะสามารถปรับตัวและพัฒนาเทคโนโลยีได้เท่าทันมาตรการใหม่ๆได้

๓. การย้ายแหล่งผลิตสินค้า  หรือย้ายตลาดรองรับสินค้า  เนื่องจากในบางกรณีประเทศผู้นำเข้าใช้มาตรการที่เข้มงวดจนผู้ประกอบการไม่สามารถปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ทัน  ก็มีความจำเป็นต้องย้ายตลาดรองรับสินค้าไปยังประเทศที่ไม่มีมาตรการดังกล่าวหรือมีมาตรการที่ไม่เข้มงวดเท่า  เป็นต้น


ตัวอย่างสินค้าที่อาจได้รับผลกระทบ
                   อาหาร  อาจมีมาตรการดังต่อไปนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง

                   -   มาตรฐานอาหาร  มักเป็นการกำหนดกันเองระหว่างผู้ซื้อ – ผู้ขาย

                   -   การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหาร  โดยการขึ้นธรรมเนียมในการรับใบประกันคุณภาพสินค้าประเภทนี้ยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง

                   -   สารปนเปื้อนในอาหารและบรรจุภัณฑ์  มาตรการนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการตรวจสอบซึ่งเครื่องมือดังกล่าวมีราคาสูงมาก

                   -   กฎแหล่งกำเนิดสินค้า  เป็นต้น

                   เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  อาจมีมาตรการดังต่อไปนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง

                   -   มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้บริโภค

                   -   มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม  เป็นต้น

                   เครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ  อาจมีมาตรการดังต่อไปนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง

                   -   การตรวจสอบกระบวนการผลิต  เป็นต้น

                        ทั้งนี้ภาพลักษณ์สินค้าไทยในสหภาพยุโรป ยังคงมีภาพลักษณ์ที่ดีในแง่คุณภาพและชื่อเสียง  แต่ทั้งนี้ราคาจำหน่ายก็ยังอยู่ในระดับปานกลาง  คือไม่ต่ำและไม่สูงจนเกินไป  ยังสามารถแข่งขันได้  แต่ทั้งนี้ผู้ส่งออกของไทยเองก็สามารถเสริมสร้างความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์ได้  เช่น  การออกฉลากประหยัดพลังงานโดยไม่ต้องรอให้ประเทศผู้ซื้อกำหนดมาตรการออกมาก่อน  มาตรการสมัครใจนี้สามารถเรียกความน่าเชื่อถือจากผู้ซื้อได้เป็นอย่างดี

 NTBs ในอนาคต
                   -   คาดการว่าจะมีการใช้ NTBs มากขึ้น  โดยนำมาใช้แทนภาษีศุลกากร

                   -   NTBs จะครอบคลุมประเภทสินค้ามากขึ้นเรื่อยๆ

                   -   NTBs จะเข้มงวดและมีบทลงโทษที่รุนแรงยิ่งขึ้น  เช่นกรณีที่เกิดกับพริกแห้งอินเดียที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป  แล้วถูกตรวจพบเชื้อราที่ประเทศฟินแลนด์  สหภาพยุโรปก็ได้กำหนดมาตรฐานพริกแห้งที่จะนำเข้าสหภาพยุโรปครั้งใหม่ให้สูงยิ่งขึ้น  ไม่เฉพาะจากอินเดียเท่านั้นแต่รวมถึงประเทศผู้ส่งออกรายอื่นๆด้วย  ซึ่งเป็นการสร้างภาระแก่ผู้ส่งออกเป็นอย่างมาก

                   -   NTBs จะเข้าไปกำหนดกลุ่มสินค้ามากขึ้นเรื่อยๆ  เช่น จากเดิมมีแค่การกำหนดไก่แช่แข็ง ไก่ปรุงสุก  ก็กำหนดเป็นไก่แช่แข็ง  ไก่หมักเกลือแช่แข็ง  ไก่ปรุงสุก  เป็นต้น

                   -   NTBs จะถูกสงสัยว่าเป็นมาตรการที่กีดกันทางการค้ามากขึ้น  เช่น  การกำหนดมาตรการ Bio – Terrorism ของสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้ตู้คอนเทนเนอร์ทุกตู้ที่จะบรรจุของเข้าสหรัฐอเมริกาต้องมีการติดตั้งสัญญาณ GPS เพื่อสามารถอ้างอิงที่อยู่ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางได้  มาตรการดังกล่าวเป็นที่สงสัยของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกว่าเป็นมาตรการที่เกินความจำเป็นหรือไม่

                   -   NTBs จะถูกนำไปใช้ตามๆกัน  เช่นมาตรการ REACH ของสหภาพยุโรปที่กำลังพิจารราจะนำมาใช้  ทางญี่ปุ่นก็ได้นำความคิดดังกล่าวไปศึกษาเพื่อหาวิธีที่จะนำมาปรับใช้ต่อไป


--------


 ขอขอบพระคุณ
รองศาสตราจารย์  ดร.  นิรมล  สุธรรมกิจ                                                

คณะเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณชุติมา  บุณยะประภัสร                                                                  

ผู้ตรวจการกระทรวงพาณิชย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. จาริต  ติงศภัทิย์                                                 

ผู้อำนวยการศูนย์ยุโรปศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 

หมายเลขบันทึก: 49907เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2006 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ได้รับความรู้เพิ่มอีกแล้ว  ขอขอบคุณมากนะ

จ้า . . . ขอบคุณ

ที่เอาข้อมูลมาก็จากกระทรวงเธอทั้งนั้นแหล่ะ

เด๋วว่างๆจะแวะไปเยิ่ยมเยียนนะ

นอต

มาแวะเยี่ยมเยือน...

บล็อกแน่นไปด้วยความรู้ดีจังจ้ะ ^_^

สนใจด้านนี้อยู่พอดี

 

 

 

//เยี่ยมๆ

สวัสดีครับอาจารย์

ขอบคุณที่สนใจงานของผมครับ งานชิ้นนี้เป็นผลพวงมาจากการเข้าร่วมประชุมแล้วหัวหน้า (ที่ทำงานเก่า) ให้ทำรายงานส่ง ก็เลยเป็นที่มาของงานชิ้นนี้ครับ

นอต

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท