อำเภอเชียรใหญ่นำร่องในการขับเคลื่อน KM


สรุปผลการประชุม "พบปะคณะกรรมการจัดการความรู้เมืองนคร (KM)"

วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2549 ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอเชียรใหญ่

ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 คน โดยเริ่มประชุมเวลา 10.00 น. โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านวิชม ทองสงค์ ได้เกริ่นนำเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันทั้งอำเภอเชียรใหญ่ โดยอำเภอเชียรใหญ่เป็นอำเภอนำร่องในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้เมืองนคร ซึ่งการประชุมในวันนี้ถือเป็นการทำความเข้าร่วมกันว่าเรามุ่งเป้าไปในทิศทางใด เพื่อให้เราทุกคนช่วยกันคิดว่าว่าเราจะทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายช่วยกันปฏิบัติให้วิสัยทัศน์ของนครศรีธรรมราช สำเร็จ

สิ่งที่สำคัญ คือ ชุมชน กระบวนการชุมชน ชุมชนที่เห็นภาพชัดคือ ระดับหมู่บ้าน สร้างชุมชนให้เข้มแข็งในระดับหมู่บ้าน ทำแผน 10 ซึ่งเป็นแผนพัฒนาคนหรือเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ จะเริ่มใช้ปี 2550 เป็นต้นไป และให้ภาคส่วนเป็นผู้สนับสนุน แนวคิดนี้เราจะทำทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีทั้งหมด 1,545 หมู่บ้าน ถ้าเราทำงานนี้ครั้งเดียวคงจะไม่ไหว ต้องแบ่งทำเป็น 3 รุ่น ซึ่งรุ่นที่ 1 เรากำลังดำเนินการกันอยู่มีจำนวน 400 หมู่บ้าน รุ่นที่ 2 จำนวน 600 หมู่บ้าน และรุ่นที่ 3 จำนวน 545 หมู่บ้าน

รุ่นที่ 1 จำนวน 400 หมู่บ้าน ทำตั้งแต่ปี 2548 ซึ่ง อ.เชียรใหญ่ มีทั้งหมด 25 หมู่บ้าน วิธีการทำงานก็คือ การสร้างแกนนำ 8 คน เป็นทีมผสม ประกอบด้วย กำนัน + ผู้ใหญ่บ้าน + อบต. + ผู้นำธรรมชาติ นำมาฝึกอบรมให้ความรู้ มีการฝึกภาคปฏิบัติ พอมีความรู้ความเข้าใจก็กลับไปในหมู่บ้านแล้วหาผู้นำเพิ่มเติม และกลุ่มที่หาเพิ่มเติมมาได้เราเรียกว่า "สภาชุมชนของหมู่บ้าน" ซึ่งภาระกิจที่เรามอบหมายให้แกนนำไปทำก็คือ ให้สมาชิกรายครัวเรือนสำรวจตัวเอง พื้นฐานชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งมี 3 องค์ประกอบคือ

1.รู้จักตนเอง

2.รู้จักชุมชน

3.รู้จักโลก

ซึ่งแบบสำรวจรายครัวเรือนมี 16 หน้า ได้เครือข่ายยมมนาเป็นผู้ออกแบบให้ และให้แต่ละครัวเรือนเป็นผู้สำรวจเอง โดยวิธีการตอบคำถาม คุยกันภายในครอบครัว ใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ในการสำรวจข้อมูล เมื่อสำรวจเสร็จพอว่าหายจนไปประมาณ 20% แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือเรื่องการต่อยอด การพัฒนาเรื่องอื่นมากกว่า ส่วนเรื่องแก้จนจะใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แผนชุมชนพึ่งตนเอง คือแผนที่ทำเพื่อพึ่งตนเองเป็นหลัก ส่วนใหญ่ไม่สำเร็จก็เพราะคอยแต่จะพึ่งคนอื่น ไม่ยอมทำด้วยตนเอง การใช้ความรู้ คือ เอาความรู้มาจัดการ เรียกว่า KM เพราะเป็นเครื่องมือเพื่อการดำเนินกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งแผนการได้วางไว้ 4 ปี มีขั้นตอนดังนี้

ปีที่ 1 ได้ขั้นตอน (ปกครองและยมมนา เกิดแผนชุมชนพึ่งตนเอง)

ปีที่ 2 ให้ความรู้ KM เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน (กศน. และหน่วยงานอื่น ร่วมกันทุกภาคส่วน และให้คิดเสมอว่า "ทุกส่วนราชการเป็นของชุมชน" จะถือว่าเป็นการบูรณาการภาคราชการอย่างแท้จริง

ปีที่ 3 กิจกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างน้อย 3 กิจกรรม เน้นการทำ KM อินทรีย์ สร้างเงื่อนไขให้เกิดการเรียนรู้งอกงามจากภายใน และก็เป็นกิจกรรมที่แก้ปัญหาของตนเอง

ปีที่ 4 สร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่มาทดแทน

คุณกิจ คือ ชุมชน เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม (เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ เราต้องวางรากฐานให้แน่น รดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย เหมือนความรู้ที่อยู่ในตัวคน)

คุณอำนวย คือ ทีมตำบลที่ลงไปร่วมด้วยช่วยกัน คือ กศน. อบต. เกษตร ฯลฯ และในทีมอาจจะกำหนด "คุณประสาน คุณลิขิต" เอาไว้ด้วย

คุณเอื้อ คือ หัวหน้าของข้าราชการที่ลงไปคลุกคลีกับชุมชน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากคุณเอื้อ เนื่องจากคุณเอื้อไม่รับรู้ด้วย

ยกตัวอย่างการทำกิจกรรม 1 กิจกรรม

  1. มีวิสัยทัศน์ (KV) มองว่ากำลังจะไปทางไหน ทำไปเพื่ออะไร

  2. ส่วนลำตัว (KS) หัวใจในการดำเนินกิจกรรม ยากที่สุดต้องมีอุดมคติ มีเวลา มีใจ มีเวที สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (3 มี) การจัดการความรู้เราต้องพร้อมใจกันเพื่อที่จะแบ่งปัน ต้องให้ส่วนลำตัวหมุนให้ได้ก่อนแล้วเอาความรู้มาใช้ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ความรู้ ยกระดับความรู้)

  3. หางปลา (KS) คลังความรู้ เมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วและก็บันทึกความรู้ไว้ บันทึกแบบเรื่องเล่า ให้บันทึกเป็นประเด็น ผลสำเร็จ ข้อค้นพบ และที่สำคัญเราจะต้องทำให้ปลาสะบัดหาง ปลาจะสะบัดหางได้ก็จะต้องมีเครือข่าย

การหาความรู้

  • หาเพิ่มจากภายนอก ต้องคัดเลือกให้เหมาะกับของเรา แล้วนำมาประยุกต์ใช้

  • ความรู้จากภายใน เรื่องดี ๆ มากมายมีอยู่ในตัวคนแต่ไม่ได้นำออกมา ทำอย่างไรถึงจะจัดเก็บความรู้ของชุมชนไว้ ให้มีการปรับปรุง มีระบบจัดเก็บให้ดี ค้นหาได้ง่าย

 

KM เป็นสิ่งที่ไม่ทำไม่รู้ เป็นการปฏิบัติจึงจะมีความรู้ชัดเจน ทำอย่างไรให้ ยินยอม พร้อมใจ แบ่งปัน ให้ความสำคัญ ช่วยเหลือ เป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ ต้องมีพื้นฐานความคิดให้ตรงกัน และต้องรู้จักฟังอย่างลึกซึ้ง อย่าเป็นแบบชาล้นถ้วย

หัวใจสำคัญของหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ

คุณธรรม ความรู้ ความรอบรู้

ความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีระบบภูมิคุ้มกัน

ประหยัด เรียบง่าย พึ่งตนเอง

คำสำคัญ (Tags): #เรารักในหลวง
หมายเลขบันทึก: 49906เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2006 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วได้รายละเอียดดีครับ

ขอบคุณ ครูนงเมืองคอนมากนะคะ ที่ติดตามอ่านบันทึกของหนูเคเอ็ม แล้วเจอกันวันที่ 20 นี้ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท