การป้องกันการชักในมารดาครรภ์เป็นพิษ โรงพยาบาลศรีสงคราม


ครรภ์เป็นพิษ
               ชื่อผลงาน  : การป้องกันการชักในมารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ โรงพยาบาลศรีสงคราม

คำสำคัญ : ภาวะครรภ์เป็นพิษ ( PIH-pregnancy induced hypertension ) คือ ภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดจากการตั้งครรภ์ ซึ่งมักร่วมกับการมีโปรตีนในปัสสาวะ หรืออการบวมร่วมด้วย สรุปผลงานโดยย่อ: พัฒนาระบบการคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ ระบบการส่งต่อและการดูแลการคลอดเพื่อป้องกัน และเฝ้าระวังการชักในมารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ ชื่อที่อยู่องค์กร : งานห้องคลอด โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม สมาชิกทีม: นางกรมรี แพงดี, นางสาวศศิธร พรหมประกาย,นางสาวสุกัญญา อนุญาหงษ์, นางสาวกวินชิดา ศรีมี,นางศรีสุดา งาธรณกิจ,นางสาวนันจิรา ทากิระ,นางสาวทัชชกร กลางประพันธ์,นางสาวนิภาวรรณ ศรีสุวอ,นางสาวรัชฎา ยะภักดี

 เป้าหมาย : 1. ใช้ Care map ในการดูแลมารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ =100 %

                   2. ลดอัตราการชักในครรภ์เป็นพิษ = 0

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ : โรงพยาบาลศรีสงครามเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง มีผู้คลอดเฉลี่ย 70 ราย/เดือน จาการเก็บข้อมูลปี 2552 – ก.ค.2555 มารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นผู้ป่วยใน จำนวน 98 คน เป็นผู้ป่วยนอก จำนวน 91 คน ในจำนวนทั้งหมดส่งต่อ รพท.นครพนม จำนวน 42 คน มีมารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษและเกิดการชัก จำนวน 4 คน จากการทบทวนอุบัติการณ์และวิเคราะห์โดยทีมสหวิชาชีพ พบสาเหตุการชักของมารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษในโรงพยาบาลเกิดจากการประเมินสภาพไม่ครบถ้วน ทำให้การวินิจฉัยและการรักษาล่าช้า จนมารดาเกิดภาวะชัก ปัญหาประการหนึ่งคือ บุคลากรขาดศักยภาพในการประเมินสภาพ นอกจากนี้การวางแผนการดูแลรักษาที่ไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ ได้รับการดูแลรักษาล่าช้าจนเกิดการชัก หน่วยงานและทีม PCT จึงได้มีการจัดทำ CPG ,Care map และDischarge planning ในการดูแลมารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ มีการปรับปรุง CPG และจัดทำ flow chart แนวทางปฏิบัติที่สำคัญของแต่ละหน่วยงานเชื่อมโยงระหว่างคลินิคฝากครรภ์ ห้องคลอด หลังคลอดและระบบการส่งต่อ เช่น ประเมินความเสี่ยงแรกรับโดยการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ การบริหารยา MgSO4 และการเฝ้าระวังอาการข้างเคียงจากการบริหารยา เป็นต้น งานห้องคลอดจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันการชักในมารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ โดยเน้นที่การประเมินความเสี่ยงและการปฏิบัติตามCPG,Care map


กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ

  •  ทบทวนอุบัติการณ์ Eclampsia วิเคราะห์สาเหตุปี 52 ,53 สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการประเมินสภาพไม่ครบถ้วน และบุคลากรขาดศักยภาพในการประเมิน จำนวน 3 ราย
  • พัฒนาบุคลากร โดยการจัดประชุมวิชาการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น การดูแลมารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ ( PIH ) พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการประเมินมารดาคลอดที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิด Eclampsia และการดูแลมารดาระหว่างส่งต่อตาม CPG และ Care map อย่างเคร่งครัด
  • ปรับปรุงระบบงาน • ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติการเฝ้าระวัง ดูแลในระยะคลอดเพิ่มมาตรการในการปฏิบัติเมื่อพบความเสี่ยง กำหนดแนวทางการรายงานแพทย์ • จัดหายาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นให้พร้อมใช้ • ฝึกทักษะการดูแลและการทำคลอดให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานอื่นเพื่อเพิ่มเป็นอัตรากำลังเสริม • ทบทวนระบบการส่งต่อและการดูแลระหว่างส่งต่อ • พัฒนาคลินิก ANC ทุติยภูมิเพื่อคัดกรองครรภ์เสี่ยงและวางแผนการคลอดที่เหมาะสม การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง -ระยะเวลาในการวินิจฉัยภาวะ PIH ( pregnancy - induced hypertension ) เร็วขึ้น สามารถให้การดูแลหรือส่งต่อในระยะเวลาที่เหมาะสม -มีอัตราการ Refer มารดาที่มีความเสี่ยงต่อภาวะ Eclampsia สูงขึ้น ปี 2554-2555 ไม่พบภาวะ Eclampsia

    บทเรียนที่ได้รับ
    

    • จากการปรับปรุงระบบงานทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาได้ในเชิงระบบ • การทบทวนด้วยทีมสหวิชาชีพทำให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางด้านบริหาร การบริการ และด้านวิชาการ ส่งผลให้ระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์และการคลอดมีประสิทธิภาพมากขึ้น

     แผนที่จะพัฒนาต่อเนื่อง คือ ลดอัตราการ Refer โดยพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการประเมินและรายงานแพทย์ได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม ดูแลการคลอดในรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติการณ์เพื่อให้การคลอดที่โรงพยาบาลอย่างปลอดภัย

     การติดต่อกับทีมงาน : นางกรมรี แพงดี หัวหน้างานห้องคลอด โรงพยาบาลศรีสงคราม
    อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม โทรศัพท์ 042 – 599230 ต่อ 101 , 081- 6628211
    email. [email protected]

หมายเลขบันทึก: 498958เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2013 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท