แผนแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน ประเด็น “คนพิการ”


ได้มีการกำหนดนโยบายแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะด้านคนพิการ (เน้นที่เด็ก) ขึ้นเพื่อเป็นกรอบทิศทางการพัฒนาและพิทักษ์คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ โดยได้เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน และ ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดและวางแผนในทุกขั้นตอน และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

แผนแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน  ประเด็น “คนพิการ”
     เมื่อวานซืน (3 ต.ค.48) ผมต้องทบทวนเรื่องคนพิการอีกครั้ง เพื่อเตรียมพร้อมในการนำเสนอโครงการต่อ สวรส. (แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย) ในวันที่ 5 ตุลาคม 2548 ที่จะถึงนี้ ก็พบว่า นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้มีการกำหนดนโยบายแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะด้านคนพิการ (เน้นที่เด็ก) ขึ้นเพื่อเป็นกรอบทิศทางการพัฒนาและพิทักษ์คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ โดยได้เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน และ ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดและวางแผนในทุกขั้นตอน และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ดังที่จะยกมานำเสนอไว้ดังนี้
     เด็กพิการหมายรวมเด็กที่มีความพิการทางกาย ทางสติปัญญา และทางสังคม
     สภาพปัญหา
     1. เด็กพิการส่วนใหญ่ไม่ได้รับสิทธิในการได้รับการศึกษา และการ พัฒนาศักยภาพ รวมทั้งการนันทนาการที่เหมาะสม
     2. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิตตามปกติของเด็ก พิการ โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นกายภาพสาธารณะ เช่น ถนนหนทาง การคมนาคมสาธารณะ และอาคารสารธารณะ เป็นต้น
     3. โอกาสประกอบอาชีพของเด็กพิการยังจำกัด
     4. ไม่มีการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนาและ ดูแลเด็กพิการอย่างเคร่งครัด
     5. เด็กพิการถูกนำไปแสวงหาผลประโยชน์
     สาเหตุของปัญหา
     1. บิดามารดาผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่เข้าใจวิธีการป้องกันมิให้เด็ก เป็นคนพิการ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึงการประสบอุบัติเหตุต่างๆ ในเยาว์วัย
     2. เด็กพิการมักจะได้รับความช่วยเหลือในลักษณะสงเคราะห์มากกว่า จะมีแนวความคิดเกี่ยวกับศักดิ์ศรีของเด็ก และให้เด็กพัฒนาเพื่อช่วยตัวเองได้ รวมทั้งการ มีชีวิตเยี่ยงเด็กปกติอื่นๆ
     3. สังคมและโดยเฉพาะรัฐ ไม่นำพาและเอาธุระในการส่งเสริมเด็ก พิการให้มีชีวิตปกติด้วยการสร้างและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต ของเด็กพิการ
     4. สังคมไม่เชื่อว่าเด็กพิการก็มีความสามารถและใช้ความสามารถได้ และยังแสดงความรังเกียจและมีอคติในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการไม่รับเข้าเรียนและไม่ รับเข้าทำงาน
     5. การแสวงหาผลประโยชน์จากเด็กพิการเกิดขึ้นเพราะเด็กพิการเอง ก็ไม่ทราบสิทธิของตน และไม่สามารถเรียนหรือเรียกร้องได้จากสังคม
     ผลกระทบ
     1. เด็กพิการเป็นจำนวนมากกลายเป็นผู้ที่ไม่สามารถใช้ศักยภาพและ ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้ นับเป็นการสูญเสียทรัพยากร มนุษย์
     2. เด็กพิการเกิดปมด้อย และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับตนเองว่าเป็นคน ไร้ศักดิ์ศรีและไร้ประโยชน์
     3. สังคมต้องลงทุนเฝ้าดูและเลี้ยงดูเด็กพิการให้อยู่เฉยๆ โดยเด็กพิการไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ถ้าไม่มีการส่งเสริมสนับสนุนไปในทางที่ถูกต้อง
     ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ
     1. รัฐต้องจัดบริการการศึกษาที่หลากหลายรูปแบบ บริการการ สาธารณสุข และการนันทนาการที่เหมาะสมให้กับเด็กพิการอย่างทั่วถึง โดยถือว่าเป็น สิทธิของเด็กพิการที่พึงมีพึงได้รับ
     2. พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ต้อง ครอบคลุมถึงเด็กพิการที่เป็นบุตรของมารดาไทยหรือบิดาไทยที่สมรสกับคนต่างชาติ
     3. ปรับปรุงอาคารสถานที่สาธารณะ ทางสาธารณะและบริการ สาธารณะให้มีลักษณะกายภาพที่เอื้อต่อเด็กพิการที่จะใช้ได้
     4. ปรับปรุงกฎหมาย กฎและระเบียบทุกฉบับที่กีดกันเด็กพิการ โดย เฉพาะที่ละเมิดสิทธิเด็กในการศึกษา การสาธารณสุข การนันทนาการ และการมีส่วนร่วม
     5. ในการจัดบริการการศึกษา การสาธารณสุข การนันทนาการและ อื่นๆ ให้คำนึงถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและสื่อพิเศษหรืออุปกรณ์พิเศษสำหรับเด็ก พิการด้วย
     สำหรับความก้าวหน้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากที่เคยนำเสนอไว้ใน ถึง คนพิการ ฉบับที่ 1, ถึงคนพิการ ฉบับที่ 2 และถึง คนพิการ ฉบับที่ 3 นั้น จะได้นำเสนอต่อไป หลังจากกลับจาการนำเสนอโครงการต่อ สวรส. (แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย) ในวันที่ 5 ตุลาคม 2548 ซึ่งจังหวัดพัทลุงได้รับเชิญไปเพียงจังหวัดเดียวเท่านั้น ก็ยังนึก ๆ อยู่ว่าคนพิการในจังหวัดอื่น ๆ ก็น่าจะไดรับเชิญด้วย เพราะครั้งหนึ่งเคยนึกน้อยใจแทนคนพัทลุงเช่นกันว่า “น้อยมากที่จะได้รับโอกาสในการพัฒนา” เมื่อมีการนำร่องโครงการอะไรก็จะไม่ค่อยตกมาถึงคนพัทลุงหรอก ข้ามไป ข้ามมา ระหว่าง สงขลา ตรัง และนครศรีธรรมราชตลอด (แค่คิด เฉย ๆ ไม่ได้น้อยใจอะไรมาก วันนี้จึงพยายามพัฒนาความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ในรูปแบบ “ไตรภาคีฯ”)

หมายเลขบันทึก: 4989เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2005 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท