farm@kasetpibul
งานฟาร์ม คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ม ราชภัฏพิบูลสงคราม

ขี้ขี้เยี่ยวเยี่ยวจากภูมิปัญญาชาวบ้านในทางการเกษตร


มูลคนสุดยอดของปุ๋ยทางการเกษตร

เรื่องขี้ขี้เยี่ยวเยี่ยวจากภูมิปัญญาชาวบ้านในทางการเกษตร

               “ขี้และเยี่ยว”เป็นภาษาที่ชาวบ้านหรือคนทั่วไปรู้และเข้าใจความหมายของมันดี มีภาษาทางการใช้คำเรียกขี้ว่า”อุจจาระ”ส่วนเยี่ยวคือ”ปัสสาวะ” ขี้และเยี่ยวเป็นส่วนหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตขับออกมาจากร่างกายเมื่อกินหรือบริโภคสิ่งต่างๆเข้าไปเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตหรือเพื่ออยู่รอดอาจมีทั้งเป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์สิ่งที่ย่อยไม่หมดหรือมากเกินไปก็จะขับออกมา ขี้เยี่ยวมีความหมายเรียกชื่อตามคำนำหน้า เช่นขี้คนเยี่ยวคน ขี้เยี่ยววัวควาย ขี้ไก่ ขี้หมู ขี้ค้างคาว มากมายหลายๆขี้หลายๆเยี่ยว ฯลฯ

               คนเรารู้จักการนำเอาขี้เยี่ยวจากตนเองและสิ่งมีชีวิตมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรจากดึกดำบรรพ์ มีตำนานขี้เยี่ยวเป็นสมบัติล้ำค่าของคนจีนนำมารดพืชผักสุดยอดของปุ๋ยธรรมชาติ “กินดีดีขี้ดีดี” ภาคอีสานมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเยี่ยว “บักหูดสามเปา” คนขี้เกียจ ปลูกต้นมะกรูดมะนาวตื่นเช้ามาก็ขี้เยี่ยวใส่ต้นไม้แต่ผลทำให้มะกรูดมะนาวโตดีออกลูกออกผลเต็มต้น จนถึงแม้ในปัจจุบันมีงานวิจัยทดลองของนักวิชาการเช่น  การหมักอุจจาระเป็นปุ๋ยตามแนวพระราชดำริจังหวัดนนทบุรี ดร.อาณัฐ ตันโช (หัวหน้าภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่) ทำวิจัยนำเยี่ยวผสมน้ำรดต้นไม้พืชผักซึ่งได้ผลดีเยี่ยมฯ

ประโยชน์จากขี้เยี่ยวที่มีต่อพืชทางการเกษตร(ธาตุอาหารพืช N P K อื่นๆ)

วัสดุอินทรีย์

เพื่อการเกษตร

C (%)

คาร์บอน

N (%)

ไนโตรเจน

P2O5 (%)

ฟอสฟอรัส

K2O (%)

โปรแตสเซียม

 

C/N

คาร์บอน/ไนโตรเจน

อุจจาระ(ขี้คน)

7.3

1

1.5

0.5

7.3:1

ปัสสาวะ(เยี่ยว/คน/วัน/กรัม)

 

6-180

0.7-1.6

1.5-2.0

 

มูลค้างคาว

 

1.54

14.28

0.60

 

มูลไก่

 

2.42

6.29

2.11

 

มูลวัว

 

1.10

0.40

1.60

 

มูลควาย

 

0.92

0.60

1.16

 

มูลหมู

 

1.30

2.40

1.00

 

                ขี้เยี่ยวคนปุ๋ยอินทรีย์ที่เยี่ยมที่สุดทางการเกษตร หมักขี้เยี่ยวแบบจุลินทรีย์ชีวภาพไม่น้อยกว่า 28 วัน เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส โรคหนอนพยาธิทุกชนิด และเชื้อโรคชนิดอื่นๆจะตายแบบจุลินทรีย์ดีทำลายเชื้อร้ายตามธรรมชาติ นำไปใช้กับพืชทางการเกษตรตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ “เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช”ได้ดีแล

                                                                   ณัฐพงษ์ พรดอนก่อ

หมายเลขบันทึก: 498490เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2012 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท