วงจรชีวิตและสังคมผึ้ง


ถ้าคนเป็นแบบนี้บ้างประเทศชาติคงมีความสุขมากกว่านี้

          สวัสดีชาว  gotoknow  และท่านผู้อ่านทุกท่านวันนี้ข้าพเจ้าจะมาเล่าถึงวงจรชีวิตของผึ้งแต่ละวรรณะให้ทราบคะ จากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษามา

          เราคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าไม่มีผึ้งตัวไหนสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นระยะเวลานาน  จากความสัมพันธ์กับผึ้งวรรณะอื่นภายในสังคมเดียวกัน เพราะผึ้งเป็นสัตว์สังคมและมีวิวัฒนาการสูงดังนั้นรังผึ้งในแต่ละรังจึงเปรียบเสมือนเป็นครอบครัวหนึ่ง  ที่ประกอบด้วยผึ้ง  3  วรรณะ  คือ  ผึ้งนางพญา   ผึ้งงานและผึ้งตัวผู้  ซึ่งแต่ละวรรณะก็มีหน้าที่ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งแต่ละวรรณะมีหน้าที่ดังนี้

        1. ผึ้งนางพญา มีลักษณะรูปร่างและลำตัวใหญ่กว่าผึ้งวรรณะอื่นๆ ปกติจะมีอายุประมาณ  1-2  ปี  แต่บางตัวอาจมีอายุนานถึง 3  ปีคะ หน้าที่ของผึ้งนางพญาก็คือวางไข่  นางพญาที่ดีจะวางไข่วันละประมาณ  200  ฟอง ถ้ามีการซื้อขายผึ้งนางพญาเขาจะซื้อผึ้งนางพญาที่เป็นแบบ Laying  Queen  เพราะการวางไข่จะมากกว่าและสมำเสมอกว่าผึ้งนางพญาที่เป็นแบบ Virgin  Queen

        2. ผึ้งงาน  มีลักษณะรูปร่างและลำตัวเล็กที่สุดในบรรดาผึ้งทั้ง 3 วรรณะแต่ละรังจะมีผึ้งงานมากที่สุดประมาณ 5,000-30,000 ตัว  ลำตัว มีสีน้ำตาลอ่อนแกมดำปนเหลือง ปีกทั้งสองข้างจะมีความยาวเท่ากับลำตัว และที่ขาคู่หลังจะมีที่เก็บละอองเกสรดอกไม้
-ลักษณะการทำงานของผึ้งงาน เป็นผึ้งเพศเมียที่เจริญเติบโตมาจากไข่ที่ได้รับการผสมกับอสุจิของผึ้งตัวผู้เช่นเดียวกับ ผึ้งนางพญา ในระยะที่ยังเป็นตัวอ่อน 3 วันแรก ก็จะได้รับอาหารตัวอ่อน (รอยัล เยลลี่) เช่นเดียวกับผึ้งนางพญา ทำหน้าที่เกือบทุกสิ่ง ทุกอย่างภายในรัง แบ่งหน้าที่กันทำงานตามลำดับอาวุโส เช่นตอนวัยสาว ก็ต้องคอยรักษาความสะอาดรัง เป็นพี่เลี้ยงให้อาหารอ่อน เป็น ทหารเฝ้ารัง กลั่นน้ำหวานให้เป็นน้ำผึ้ง ผลิตไขผึ้งเพื่อทำรัง และซ่อมแซมรัง เข้าสัปดาห์ที่ 3เริ่มทำหน้าที่ออกไปหาน้ำหวานและเกสรดอกไม้ มาเลี้ยงพรรคพวก ส่วนที่เหลือก็จะสะสมไว้เป็นอาหารสำรอง ผึ้งงานมีอายุประมาณ 4-8 สัปดาห์ เพราะต้องทำงานหนักกว่าผึ้งวรรณะอื่นจึงมีวงจรชีวิตที่สั้นกว่าทุกวรรณะ

        3  ผึ้งตัวผู้  ในแต่ละรังจะมีอยู่ประมาณ 200-500ตัว จะมีลักษณะสั้นป้อม อ้วนมู่ทู่ มีสี3. ผึ้งดำเกือบสนิท มีตารวมโตกว่าผึ้ง งานและผึ้งนางพญา ปีกทั้งสองยาวคลุมปิดตลอดทั้งลำตัว ไม่มีเหล็กไน และที่ขาคู่หลังก็จะไม่มีที่เก็บละอองเกสรดอกดไม้เช่น เดียวกัน
-ลักษณะหน้าที่การทำงานของผึ้งตัวผู้ เจิรญเติบโตมาจากไข่ของผึ้งนางพญาที่ไม่ได้รับการผสมกับอสุจิหรืออาจเกิด มาจากการวางไข่ของผึ้งงาน ผึ้งตัวผู้มีหน้าที่ในการผสมพันธุ์อย่างเดียว ส่วนอาหารจะได้รับจากผึ้งงานนำมาป้อนให้  ถ้าผึ้งตัวผู้ตัวไหนที่ไม่ได้ทำหน้าที่คือการผสมพันธ์  ผึ้งตัวนั้นก็จะไม่ได้รับการดูแลจากผึ้งงานเลย คือจะไม่ได้กินอาหารเพราะผึ้งงานจะไม่นำมาป้อนให้แล้วในที่สุดผึ้งตัวผู้ก็จะตาย

      จะเห็นได้ว่าผึ้งแต่ละวรรณะจะทำแต่หน้าที่ของตัวเองเท่านั้น  ทำด้วยความเต็มใจไม่เกี่ยงงอนกัน  แม้หน้าที่ของตัวเองจะหนักหนากว่าวรรณะอื่นเช่นผึ้งงานที่ออกมาจากไข่ปุ๊บก็ต้องเริ่มทำงานตลอดชั่วอายุถ้าคนเป็นแบบนี้บ้างประเทศชาติคงมีความสุขมากกว่านี้นะคะ  ว่าป่ะ

คำสำคัญ (Tags): #apicuture#pikkajoo#4
หมายเลขบันทึก: 49834เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2006 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 06:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท