อาเซียน : คนรู้จัก เพื่อน หรือมิตร (๓)



กิ๊ฟ - อคิราห์ นิรันตรานนท์  ห้อง ๒/๓  ถ่ายทอดความรู้เรื่องพืชจากหน่วยวิชามานุษกับโลกออกมาเป็นนิทานเพลง ดังนี้

 

นิทานเรื่องใบเลี้ยงเดี่ยวใบเลี้ยงคู่

 

          กาลครั้งหนึ่งมีหมีแพนด้าตัวหนึ่งชอบกินต้นไผ่มาก และมีต้นตาลอยู่ข้างๆ พอดี  ต้นไผ่ยินดีจึงร้องเป็นเพลง  ต้นไผ่ๆ  หมีแพนด้าชอบกิน อร่อยๆ มาก  และวันหนึ่งในคณะเดียวกันนั้นมีต้นมะม่วงต้นหนึ่งก็มาเห็นต้นตาลอยู่ข้างๆ จึงชอบใจและร้องเพลงว่า มะม่วงลูกใหญ่ คนกินได้มันดี มันมีความมันเอย  ต้นตาลดีใจจึงร้องเพลงว่า ต้นตาลต้นตาลมีเด็กน้อยชื่อตาล อยู่ในโรงเรียนเพลิน  และเด็กชื่อตาลมากินลูกมะยม ต้นมะยมดีใจจึงร้องเป็นเพลงว่า มะยมต้นใหญ่ ก้านของมันตีเจ็บ ตีเด็กแล้วร้องไห้ 

 

แก่นความรู้ที่ครูปลูกไว้ 

  • อีเล้งเค้งโค้ง  (อนุบาล) หนังสือนิทานภาพของครูชีวัน วิสาสะ
  • พรรณพฤกษาสัตวาภิธาน  ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
  • ความรู้เรื่องพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และใบเลี้ยงคู่ จากหน่วยวิชามานุษกับโลก
  • ทักษะการเขียน ร้อยแก้ว และร้อยกรอง
  • เพลง Flower (สามโน้ต) ของคุณ Janet Green  (ซอล มี  ซอล มี  ซอล ซอล ลา ซอล มี  ซอล มี  ซอล มี  โด)  จากหน่วยวิชาดนตรีชีวิต

 

 

ชั้น ๑ – ๓ จัดประสบการณ์ภาคสนามให้ได้ไปเรียนรู้จากชุมชนรอบข้าง

 

รู้จักชุมชนรอบโรงเรียน จ.กรุงเทพฯ

รู้วิธีการกินท้องถิ่นศาลายา  จ.นครปฐม

เรียนรู้วิถีพื้นที่ตลิ่งชัน จ.กรุงเทพฯ

รู้ระบบนิเวศของป่าชายเลน จ. สมุทรสาคร

ไปดูแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา

 

ชั้น ๔ – ๖  ขยายประสบการณ์การเรียนรู้ภาคสนามสู่พื้นที่ภาคกลาง

 

การผลิต และการใช้พลังงานไฟฟ้า จ.กาญจนบุรี

วิถีพอเพียงที่ไร่ทักสม จ. นครนายก

วิถีชุมชนที่บ้านห้วยสะพาน จ.กาญจนบุรี

ชีวิตและปรัชญาจากอัมพวา จ.สมุทรสงคราม

ศึกษาเปรียบเทียบวิถีชุมชนมอญ กับชุมชนไทยยวน จ.ราชบุรี

เรียนรู้นครประวัติศาสตร์ สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์

 

ขยายความเข้าใจสู่ภูมิภาคอื่นๆ  และประเทศเพื่อนบ้าน

 

“เข้าใจความแตกต่างหลากหลาย ชื่นชมความงดงามที่ปรากฏอยู่ในวิถีชีวิต”

ผ่านการเรียนรู้ภาษาถิ่น เพลงกล่อมเด็ก นิทานพื้นบ้าน วรรณคดี การศึกษาเปรียบเทียบข้ามวัฒนธรรม

 

สร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

ทักษะ 3 R  อ่านออก  เขียนได้  คิดเลขเป็น

 ทักษะ 7 C

ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะการแก้ปัญหา

  • เครื่องมือ

ผังมโนทัศน์ ประมวลความรู้

AARการเรียนรู้ของตนเอง 

  • กระบวนการ

การเรียนรู้โดยใช้ Open Approach ทั้ง ๕ ขั้นตอน

ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ

ขั้นการให้โจทย์สถานการณ์

ขั้นการดูแลส่งเสริมผู้เรียนเป็นรายบุคคล

ขั้นการนำเสนอความคิด

ขั้นการประมวลสรุปการเรียนรู้ร่วมกัน

 

  • การบ้านโครงงาน
 
  • การทำข้อสอบคิดวิเคราะห์

ตัวอย่างเช่น ให้นักเรียน ชั้น ๒ วิเคราะห์บทพิจารณาอาหาร (ที่ต้องท่องพร้อมกันก่อนรับประทานอาหารเป็นประจำทุกวัน) ว่าใครทำอะไรให้เราบ้าง และเราควรทำอย่างไร

 

“อาหารนานา  คุณค่ามากมี  ประโยชน์ทวี  สิ่งดีเลือกสรร  ชาวนาชาวสวน  ล้วนลำบากกัน  อีกพ่อแม่นั้น  ต้องหมั่นทำกิน  พืชสัตว์ชีวิต  อุทิศจนสิ้น  ก่อนเราดื่มกิน  ควรระลึกคุณ  ใส่ใจแบ่งปัน  ช่วยกันเกื้อหนุน  รู้จักเจือจุน  รู้คุณค่าเอย

อาหารคือชีวิต  อันหล่อเลี้ยงชีวิต  ให้เราเติบโต  แข็งแรง  และมีความสุข  ขอบพระคุณทุกชีวิต ที่ให้อาหารมื้อนี้แก่เรา”

 

ส่วนทักษะด้านอื่นๆ อีก 6 C ได้แก่

  • ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  • ทักษะความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์์
  • ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
  • ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
  • ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี สารสนเทศ
  • ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้

 

สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้จากการทำงานกลุ่มย่อย  การเรียนรู้ภาคสนาม และ การทำโครงงาน ที่สอดคล้องไปกับกระบวนการเรียนรู้ในช่วงเวลาต่างๆ  เพื่อสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑  และเป็นผู้ที่พร้อมเรียนรู้ไปจนตลอดชีวิต 

 

 

หมายเลขบันทึก: 497264เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2012 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

6 C กับทักษะการียน ดีจริงๆค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท