การเพิ่มประสิทธิภาพการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มครูผู้ช่วย


จากการประเมินติดตามการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ประเมินการเตรียมความพร้อมฯที่ ก.ค.ศ.ประกาศใช้ในปัจจุบันจากทั่วประเทศ พบปัญหาหลายประการ ที่แสดงให้เห็นถึง ความไม่พร้อมของโรงเรียนที่มีเป็นจำนวนมาก ตลอดจนความไม่พร้อมของ กรรมการสถานศึกษา และครูพี่เลี้ยง รวมทั้งความไม่จริงจังกับการดูแลเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มของหน่วยงานต้นสังกัด

         พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547  มาตรา 56 ระบุว่า ผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งครู ให้ผู้นั้นเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มในตำแหน่งครูผู้ช่วย เป็นเวลาสองปี ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ.
        และตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด  ได้กำหนดให้ครูผู้ช่วยรับการพัฒนาและประเมินอย่างเข้มจากกรรมการ 3 คน คือ  ผู้บริหารสถานศึกษา  กรรมการสถานศึกษา และครูพี่เลี้ยง โดย 3 เดือนจะมีการประเมิน 1 ครั้ง ซึ่งเท่ากับ 8 ครั้งใน 2 ปี  ถ้าผ่านการประเมินก็ได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตำแหน่งครู     
         การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มดังกล่าว เป็นการพัฒนาและประเมินตามสมรรถนะความเป็นครูซึ่งถือเป็นการเตรียมพร้อมและได้เห็นเส้นทางวิชาชีพครูที่ชัดเจนที่จะก้าวไปสู่วิทยฐานะครูชำนาญการในอนาคต โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับกระบวนการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ซึ่งหมายถึงการพัฒนาคนให้มาเป็นครูด้วยจิตสำนึกความเป็นครูที่แท้จริง เพื่อจะอยู่ในระบบนี้จนถึงเกษียณอายุราชการ  ดังนั้นในมาตรา 56จึงกำหนดเพิ่มเติมอีกว่า
     “...ถ้าในระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม แล้วแต่กรณี ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 พิจารณาเห็นว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีความประพฤติไม่ดี  หรือไม่มีความรู้ หรือไม่มีความเหมาะสม หรือมีผลการประเมินทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนด โดยไม่ควรให้รับราชการต่อไปก็ให้สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการได้  ไม่ว่าจะครบกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มหรือไม่ก็ตาม...”
        แต่จากการประเมินติดตามการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ประเมินการเตรียมความพร้อมฯที่ ก.ค.ศ.ประกาศใช้ในปัจจุบันจากทั่วประเทศ  พบปัญหาหลายประการ  ที่แสดงให้เห็นถึง  ความไม่พร้อมของโรงเรียนที่มีเป็นจำนวนมาก  ตลอดจนความไม่พร้อมของ กรรมการสถานศึกษา และครูพี่เลี้ยง รวมทั้งความไม่จริงจังกับการดูแลเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มของหน่วยงานต้นสังกัด
        ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม จากระบบปกติที่ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว  ผมจึงขอเสนอให้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มจิตสำนึกความเป็นครูให้แก่ครูผู้ช่วยในระหว่างการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม โดยมี วัตถุประสงค์ 2 ประการคือ
        1. เพื่อให้ครูผู้ช่วยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การสอนซึ่งกันและกันระหว่างการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
        2.  เพื่อเพิ่มจิตสำนึกความเป็นครูให้แก่ครูผู้ช่วยในระหว่างการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
เป้าหมายเชิงปริมาณ
           ครูผู้ช่วยที่อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ทุกคน

เป้าหมายเชิงคุณภาพ
          ครูผู้ช่วยมีความกระตือรือร้น มีจิตสำนึกของความเป็นครู และมีความภาคภูมิใจในวิชาชีพครูมากขึ้น
กิจกรรม
          ประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูผู้ช่วยที่อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม  1 วัน (ควรเป็นวันหยุดราชการ)

หมายเลขบันทึก: 497142เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท