โรคธาลัสซีเมีย คุกคามเด็กไทย


โรคธาลัสซีเมีย คุกคามเด็กไทย

 

โรคธาลัสซีเมีย คุกคามเด็กไทย

โรคธาลัสซีเมีย หรือโรคโลหิตจาง เป็นโรคซีดชนิดหนึ่งเกิดจากเม็ดเลือดแดงผิดปกติ มีอาการเลือดจางเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อนมากมาย ปัจจุบันโรคนี้กำลังเป็นปัญหา สาธารณสุขโรคหนึ่ง ในแต่ละปีประเทศไทยจะมีเด็กทารกเกิดใหม่เป็นโรคธาลัสซีเมีย ประมาณ 12,125 คน ครึ่งหนึ่งเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ซึ่งรัฐจะต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลประมาณปีละ 5,000-6,000 ล้านบาท โดยเฉลี่ยผู้ป่วย 1 ราย เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเดือนละ 10,000 บาท

ธาลัสซีเมียถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม พบบ่อยมาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
ปัจจุบันคนไทยประมาณร้อยละ 1 หรือประมาณ 5 แสนคน ป่วยเป็นโรคนี้ และประมาณ ร้อยละ 20-30 ของคนไทยหรือประมาณ 18-24 ล้านคน มียีนต์ผิดปกติ บ่งชี้ว่า อาจเป็นพาหะ ของโรค ถ่ายทอดโรคสู่บุตรหลานได้ ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ในการตั้งครรภ์ 5 ใน 100 คน เป็นการตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคนี้ คิดเป็นจำนวนการตั้งครรภ์ ที่เสี่ยงถึงปีละ 5 หมื่นครรภ์ ส่งผลต่อการเสียชีวิตและเกิดความพิการต่าง ๆ ของทารก
รวมทั้งการที่เติบโตขึ้น อย่างไม่แข็งแรงสมบูรณ์เหมือนคนปกติ

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นพาหะ หรือเป็นโรคธาลัสซีเมีย ก่อนอื่นต้องตรวจสอบประวัติ ครอบครัว ว่ามีใครเป็นโรค หรือเป็นพาหะของโรคนี้บ้างหรือไม่ และที่จะรู้ได้แน่นอน ก็โดยการเจาะเลือดตรวจ ได้ที่โรงพยาบาลของรัฐ และเอกชนทุกแห่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการป้องกัน และควบคุมโรคธาลัสซีเมีย เพื่อลดอัตราการเกิดโรคธาลัสซีเมียในเด็กแรกเกิด ให้ลดลงครึ่งหนึ่ง เพราะผู้ที่จะถ่ายทอดโรคธาลัสซีเมียไปสู่ลูกหลานได้ คือ ผู้ที่เป็นโรค หรือเป็นพาหะของโรค ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นพาหะ โอกาสที่จะถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน มีถึงร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 และโอกาสที่ลูก จะเป็นพาหะถึงร้อยละ 50 หรือ 2 ใน 4 และพบว่าโอกาสที่ลูกจะไม่เป็นร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 เท่านั้น

ถ้าพ่อหรือแม่เป็นพาหะเพียงคนเดียว พบว่าโอกาสที่จะถ่ายทอด ไปสู่ลูกหลานเป็นพาหะ มีร้อยละ 50 โอกาสที่จะมีลูกปกติร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2 เรียกว่าอัตราเสี่ยงที่ลูกจะเป็นพาหะ ของโรค หรือเป็นปกติจะมีเท่ากัน ทุกครั้งของการตั้งครรภ์ พ่อแม่ที่ปรารถนาจะให้ลูกเกิดมา สมบูรณ์ แข็งแรง จึงควรหาวิธีป้องกันโรคนี้

การป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมีย จำเป็นที่คู่สมรส จะต้องตระหนักถึง และวางแผน ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง ศึกษาประวัติของแต่ละครอบครัว ว่าใครเป็นโรคนี้หรือไม่ ที่สำคัญ ก่อนแต่งงาน ทั้งคู่ควรตรวจเลือดก่อน หากพบว่าเป็นพาหะ หรือเป็นโรคเลือดจาง ธาลัสซีเมีย ควรหลีกเลี่ยงการแต่งงาน แต่ถ้าตรวจพบหลังแต่งแล้ว ควรคุมกำเนิดไว้ ไม่ควรมีลูก และพบแพทย์ เพื่อรับคำปรึกษาทางพันธุกรรม และการวางแผนครอบครัวต่อไป

ในรายที่ตั้งครรภ์แล้ว หากตรวจพบว่าเป็นโรค หรือเป็นพาหะของโรค ทั้งพ่อและแม่ หรือคนใดคนหนึ่ง ต้องไปฝากครรภ์กับแพทย์ที่มีความชำนาญ ทั้งนี้ แพทย์จะตรวจว่า เด็กในครรภ์ เป็นโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ และจะให้คำปรึกษาที่เหมาะสมได้
โรคธาลัสซีเมีย แม้จะรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมาก และมีความยุ่งยาก ในการปฏิบัติ ที่สำคัญเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธ์สู่ลูกหลาน และแฝงอยู่ในทุกคนได้ โดยไม่มีอาการใด ๆ เลย ทุกคนจึงมีโอกาสเป็นพาหะแพร่โรคนี้ได้ จงร่วมกันป้องกัน และควบคุม โรคกันอย่างจริงจังเสียแต่บัดนี้ เพื่อเด็กไทยของเราจะได้ปลอดภัยจากโรคร้ายนี้
หมายเลขบันทึก: 49687เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2006 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท