การคำนวณค่า Impact Factor


        ผมมีตัวอย่างวิธีการคำนวณค่า Impact Factor มาเล่าสู่กันฟังครับ ได้จากหนังสือ "การเขียนบทความวิจัยระดับนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ดังที่ผมเคยแนะนำไว้แล้ว <Link> อยู่ในหน้า 26 - 27 ของหนังสือดังกล่าวครับ

        "วิธีคำนวณค่า Impact Factor

        มีหลักเกณฑ์อย่างง่าย ๆ ดังนี้ ตัวอย่างเช่น วารสาร Nature ซึ่งมีค่า Impact Factor ในปี 2002 = 30.432 (สูงเป็นอันดับ 5) คำนวณได้จากจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความของวารสาร Nature ซึ่งตีพิมพ์ภายในระยะเวลา 2 ปีย้อนหลัง (ปี 2000+2001) ได้รับการอ้างอิงภายในปีปัจจุบัน (ปี 2002)


        จำนวนครั้งที่ถูกอ้างอิงภายในปี 2002 ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature (ระยะเวลา 2 ปี)

        • ปี 2000 = 33,448 ครั้ง
        • ปี 2001 = 25,955 ครั้ง
        • ปี 2000+2001 = 59,403 ครั้ง

        จำนวนบทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature (ระยะเวลา 2 ปี)

        • ปี 2000 = 1,013 บทความ
        • ปี 2001 =    939 บทความ
        • ปี 2000+2001 = 1,952 บทความ

        จำนวนครั้งที่ถูกอ้างอิงในปี 2002/จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในปี 2000-2001

        = 59,403/1,952 = 30.432

        ค่า Impact Factor และอันดับของวารสารมักมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนการอ้างอิงในแต่ละปีพบว่า วารสาร Nature มีค่า Impact Factor สูงขึ้นในปี 2002 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2001 ซึ่งมีค่า Impact Factor = 27.955 และสูงเป็นอันดับ 8 ของวารสารทั้งหมดในฐานข้อมูล JCR"

        วิบูลย์ วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 4963เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2005 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์คะ

ดิฉันเคยเขียนบันทึกเรื่อง Journal Impact Factors ไม่เหมาะสำหรับประเมินคุณภาพงานวิจัย 

ดิฉันทำความเข้าใจเรื่อง Impact Factors มาพอสมควร เพราะที่ผ่านมาต้องใช้ในหลายๆ ครั้ง แต่ก็ไม่เห็นประโยชน์โดยรวมของวิธีการนี้เลย

ต้องใช้วิธีการใหม่กันได้แล้วคะ อาจารย์ลองอ่านบทความนี้ดูนะคะ http://bmj.bmjjournals.com/cgi/content/full/314/7079/497

"If scientific authors are not detectably rewarded with a higher impact by publishing in high impact journals, why are we so adamant on doing it? The answer, of course, is that as long as there are people out there who judge our science by its wrapping rather than by its contents, we cannot afford to take any chances. Although journal impact factors are rarely used explicitly, their implicit counterpart, journal prestige, is widely held to be a valid evaluation criterion and is probably the most used indicator besides a straightforward count of publications. As we have seen, however, the journal cannot in any way be taken as representative of the article. Even if it could, the journal impact factor would still be far from being a quality indicator: citation impact is primarily a measure of scientific utility rather than of scientific quality, and authors' selection of references is subject to strong biases unrelated to quality. For evaluation of scientific quality, there seems to be no alternative to qualified experts reading the publications. Much can be done, however, to improve and standardise the principles, procedures, and criteria used in evaluation, and the scientific community would be well served if efforts could be concentrated on this rather than on developing ever more sophisticated versions of basically useless indicators. In the words of Sidney Brenner, "What matters absolutely is the scientific content of a paper, and nothing will substitute for either knowing or reading it.""

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท