อบต.บางพระ (ต่อ)


อบต.บางพระเป็นตัวอย่างการทำงานแนวใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง มุ่งทำงานสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ทำหน้าที่เป็น "คุณเอื้อ" และ "คุณอำนวย" สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อความอยู่ดีมีสุขของคนในชุมชน

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อบต.บางพระอปท.สร้างการเรียนรู้ชุมชนเข้มแข็ง</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">เราเน้นการสร้างคนของเราเอง ค่อย ๆ พัฒนาเขาขึ้นมา  ถ้าคนของเราไม่ดีแล้วต่อไปชุมชนเราจะเป็นอย่างไร?”  นางเยาวมาฎ  ย้ำและเน้นว่า  อบต.จึงพยายามหนุนเสริมการทำกิจกรรมอะไรก็ตามที่จะช่วยพัฒนาคนในทุกกลุ่มของชุมชน และทำอย่างบูรณาการ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุซึ่งต้องการให้มีสุขภาพจิตดี และมีสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจก็ดึงลูกหลานมาร่วมกิจกรรมด้วย เพื่อกลับไปบ้าานจะได้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวของตนเองได้ระดับหนึ่ง</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">มีคณะกรรมการแต่ละด้านซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจากการมีส่วนร่วมและตั้งกัน คอยแนะนำ ปรึกษา  แต่ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นสะท้อนจากความต้องการ  คณะกรรมการเป็นพี่เลี้ยง อบต.สนับสนุน  เช่น สมทบทุนในการพาไปศึกษาดูงาน หรือการจัดอบรมความรู้ต่าง ๆ </p><table border="0" align="center"><tbody><tr><td>

 

คุณวรยุทธ  ช่วยณรงค์ (ขวา) นายกอบต.บางพระ 

นายจินต์ไท จันทร์ทอง (ซ้าย) ปธ.สภาอบต.บางพระ

</td></tr></tbody></table></span>ด้วยกระบวนการเช่นนี้ วิสัยทัศน์ของ อบต.บางพระ ที่ว่า ตำบลน่าอยู่ พื้นที่มั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง จึงสะท้อนมาจากกระบวนการมีส่วนร่วมดังกล่าว ซึ่งในขั้นตอนก็มีการทำประชาคมกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันด้วย และทุกกิจกรรมที่ทำก็สนับสนุนสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ดังกล่าว ดังที่คุณวรยุทธ  ช่วยณรงค์ นายก อบต.กล่าวว่า <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">การพัฒนาตำบลของเรา เราจึงเน้นกระบวนการแบบมีส่วนร่วมที่ประชาชนต้องได้ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผล ร่วมตรวจสอบ โดยถือว่าการพัฒนาท้องถิ่นเป็นเรื่องของทุกคน เรามีการจัดเป็นเครือข่ายเป็นกลุ่ม เช่น คณะกรรมการสตรี พัฒนาเยาวชน กลุ่มเกษตรธรรมชาติ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มเลี้ยงสัตว์น้ำ ฯลฯ ทุกกลุ่มมีกระบวนการเสนอปัญหา คิดกิจกรรม โครงการเพื่อเสนอเข้าบรรจุในแผนพัฒนาตำบล บุคคลเดี่ยวๆ เสนอไม่ได้ ต้องมีกระบวนการกลุ่ม เรียกว่าการทำงานต้องมาจากกลุ่มประชาชน มาจากพื้นที่โดยตรง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> คุณวรยุทธ เล่าว่า เมื่อทำกระบวนการมีส่วนร่วมมา 6-7 ปี เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น  ความเป็นเนื้อเดียวกันของอบต.กับชุมชน จากเดิมที่ อบต.ก็ทำหน้าที่ของตนเองไป ไม่ค่อยได้สนใจชุมชน ก็จัดสรรโครงการสร้างถนน สิ่งก่อสร้างต่าง คิดง่าย ๆ งบ 10 ล้านบาท หักค่าจ้างค่าใช้จ่ายสำนักงานก็เหลือไม่เท่าไหร่ ทำได้ไม่กี่โครงการ แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นการทำงานอย่างปัจจุบันที่ออกมาลักษณะโครงการซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นย่อย ๆ มากมาย 40-50 กิจกรรม และทุกกลุ่มคนในชุมชน มันเกิดการเรียนรู้และปรับตัวในการปฏิบัติทั้งเจ้าหน้าที่ของ อบต.เอง ที่จากเป็นงบก่อสร้างมีหน้าที่แค่ทำสัญญา ตรวจรับงาน และงานสำนักงานอีกเล็กน้อยส่วนใหญ่อยู่ที่สำนักงาน ก็กลายมาเป็นการทำหน้าที่ประสานงาน  สนับสนุน และเชื่อมต่อ ซึ่งตรงนี้เห็นชัดหลังจากที่ทำมาหลายปี ชุมชนเขาทำเองเขาเชื่อมกันเอง และใช้สถานที่ของ อบต.ในการทำกิจกรรมได้อย่างสะดวกและรู้สึกเป็นเจ้าของ  และจะให้ อบต.มีส่วนร่วมเมื่อเขามีประเด็นที่จะให้อบต.ช่วยหรือเกี่ยวข้อง  เน้นการมีส่วนร่วม ใช้แผนเป็นเครื่องมือ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">คณะกรรมการของกลุ่มต่างๆ จะต้องทำการบ้าน มีการประชุมปรึกษาหารือ วิเคราะห์ปัญหา คิดโครงการ ถ้าไม่ต้องของบประมาณจากที่ไหน ก็ลงมือทำกันได้เองเลย ถ้าต้องขอ งบประมาณจากหน่วยราชการก็ใช้วิธีประสานงานไป ถ้าจะของบประมาณ อบต. ก็ต้องทำโครงการมาผ่านการพิจารณาของประชาคมหมู่บ้าน ประชาคมตำบล มีการเชิญพี่น้องประชาชนในพื้นที่มาร่วมพิจารณาด้วย ไม่ใช่รู้กันแค่กรรมการกลุ่มเท่านั้น เวลาเรียกประชุมประชาคม ท่านกำนันเป็นคนเรียกประชุม ประชาคมหมู่บ้านก็จะจัดลำดับความสำคัญของโครงการที่แต่ละกลุ่มเสนอมา เช่น กลุ่ม อสม. อาจเสนอ 5 โครงการ เขาต้องจัดลำดับความสำคัญ 1 ถึง 5 แล้วก็รวมเป็นแผนพัฒนาหมู่บ้าน เอามาต่อกันเป็นแผนพัฒนาตำบล ซึ่งจะครอบคลุมงานทุกด้าน </p><table border="0" align="center"><tbody><tr><td>   </td></tr></tbody></table><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">เมื่อเสนอแผนเข้าสภา อบต. ซึ่งมีสมาชิก อบต. จากทุกหมู่บ้าน บ้านละ 2 คน ร่วมพิจารณา ตรงนี้ก็ง่ายแล้ว เพราะแผนที่เข้าสภามาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง สภา อบต.อนุมัติแผน อนุมัติงบประมาณ ฝ่ายบริหารก็มีหน้าที่จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการต่างๆ ตามแผนนั้น </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ที่ผ่านมาไม่มีการขัดแย้งกัน ไม่มีการแย่งงบประมาณกันเลย เพราะกระบวนการมี ส่วนร่วมอย่างนี้เปิดเผย โปร่งใส แต่ละหมู่บ้านมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการของเขาเองมาแล้ว ก็ตกลงกันระหว่างหมู่บ้านได้อย่างเข้าอกเข้าใจกัน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">การจัดสรรงบประมาณ อบต. ตามแผนพัฒนาตำบล เรียกได้ว่าฝ่ายบริหาร อบต. ไม่ได้นั่งคิดเองแทนประชาชน แต่ผ่านกระบวนการประชาชน ทำให้เกิดกลุ่ม เกิดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดความรักความผูกพันธ์ พึ่งพาอาศัยกัน เข้าอกเข้าใจกัน อบต. เองก็ทำงานง่ายขึ้นแยะ </p>  <table border="0" align="center"><tbody><tr><td>   </td></tr></tbody></table><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">อย่างไรก็ตาม ความรู้ที่เห็นชัดเกิดในผู้ปฏิบัติ เป็นการทำไปเรียนรู้ไปและสะท้อนออกมาในการปฏิบัติงาน  แต่การจัดเก็บ สังเคราะห์ บันทึก  ยังไม่ได้ทำในลักษณะนั้นที่เป็นภาพใหญ่ของทั้งตำบล  แต่ในกลุ่มย่อย ๆ ก็อาจมีบ้างแต่ไม่เป็นทางการ แต่ที่เห็นชัดเจนคือความรู้ถูกสร้าง ถูกใช้ ถูกประยุกต์ และต่อยอดในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องของกลุ่มต่าง ๆ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p> นี่คือภาพสะท้อนการจัดการความรู้ของ อบต.บางพระกับชุมชนบางพระ  เป็นการปฏิบัติงานแนวใหม่ของอบต.ที่สะท้อนบทบาทการทำงานที่สอดคล้องกับนโยบายการกระจายอำนาจ  ซึ่งชุมชนเข้มแข็งจะเกิดได้ก็ด้วยการมี อบต.ที่มีการจัดการความรู้ที่ดีนั่นเอง

คำสำคัญ (Tags): #อบต.
หมายเลขบันทึก: 49555เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอเสนอตัวชี้วัด(ที่ไม่ใช่พระ) ชุมชนเข้มแข็งมาให้อ่านเล่นๆ แบบไม่เครียดครับ

  รวมกลุ่มคน ร่วมกันคิด ร่วมกันผลิต ร่วมกันขาย ร่วมกันจ่าย ร่วมกันออม วัฒนธรรมพร้อม สิ่งแวดล้อมดี มีคุณธรรม

  (เพราะสังคมดี ไม่มีขาย อยากได้ ต้องร่วมสร้าง)

คุณไชยยงค์-คงตรีแก้ว

ขอบคุณค่ะ ชัดเจนมาก แต่ถ้าจะแนะนำตัวอย่างดี ๆ ที่เป็นอย่างที่ว่าให้เราได้ไปชื่นชมบ้างจะขอบคุณมากค่ะ   เพราะสังคมดี ไม่มีขาย ถ้าเจอตัวอย่างดี ๆ ที่ไหนต้องช่วยกันบอกต่อค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท