Article 15 ของ APPENDIX 3BAct Concerning the Application of laws (Horei) กับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายมีลักษณะบางประการที่เหมือนกันอย่างไร


เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่าข้อกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นดังกล่าวนี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับกฎหมายของประเทศไทย (บางส่วน)เช่นกัน
APPENDIX 3B

Act Concerning the Application of laws (Horei)

( Law No.10 , June 21 , 1898 )

 Article 15 มีสาระสำคัญแห่งบทบัญญัติ (ตามความเข้าใจ) ดังนี้

เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสินสมรส ( ทรัพย์สินระหว่างสามี ภริยา) การคุ้มครองในการทำธุรกรรมการซื้อขายภายในประเทศ  

1.เป็นการนำบทบัญญัติของมาตรา 14 มาใช้ในเรื่องสินสมรสโดยอนุโลม โดยบัญญัติว่าเมื่อมีกรณีหนึ่งกรณีใดในเรื่องที่เกี่ยวกับบรรดาเอกสาร ,วัน เวลาและลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายในเรื่องที่เกี่ยวกับบรรดาสินสมรสนั้น ให้เป็นไปตามบทบัญญัติตามรายละเอียดแห่งกฎหมาย ดังนี้

1 ).กฎหมายของรัฐที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติ

2 ).กฎหมายของรัฐที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนา หรือ

3 ).กรณีพิจารณาเรื่องอสังหาริมทรัพย์นั้น ให้ใช้กฎหมายแห่งท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่

                        2.สินสมรสที่อยู่ในภายใต้บังคับของกฎหมายของต่างประเทศนั้น ห้ามมิให้ขัดต่อหลักสุจริต ตราบเท่าที่สินสมรสนั้นมีความเกี่ยวพันกับนิติกรรมที่ได้ทำที่ประเทศญี่ปุ่นและอสังหาริมทรัพย์ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในกรณีนี้ ไม่สามารถใช้กฎหมายสินสมรสของต่างประเทศได้ โดยให้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายสินสมรสของประเทศญี่ปุ่น

                        3.แม้จะมีเงื่อนไขในการปฏิบัติตามวรรคก่อน สัญญาที่เกี่ยวกับสินสมรสนั้น ก็ต้องให้สอดคล้องกับกฎหมายของต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อสามารถที่จะใช้เป็นโต้แย้งกับบุคคลภายนอก ในกรณีที่สัญญาดังกล่าวนั้นได้ทำในประเทศญี่ปุ่น

 

 เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าเห็นว่าข้อกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นดังกล่าวนี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับกฎหมายของประเทศไทย (บางส่วน)เช่นกัน ซึ่งกฎหมายที่ว่าก็คือพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 โดยมีความสอดคล้องกับมาตราแห่งพรบ.ดังนี้

 มาตรา 16

  ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินตั้งอยู่บังคับแก่สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์

                    อย่างไรก็ดี ในกรณีการส่งสังหาริมทรัพย์ออกนอกประเทศ ให้ใช้กฎหมายสัญชาติของเจ้าของทรัพย์บังคับแก่ทรัพย์นั้นตั้งแต่เวลาส่งทรัพย์ออกนอกประเทศ มาตรา 22

                          ถ้ามิได้มีสัญญาก่อนสมรส ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติ

                    ถ้าสามีและภริยามีสัญชาติแตกต่างกัน ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งสามี

                    อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ มาตรา 25

                              ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญและผลแห่งสัญญาก่อนสมรส ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญและผลแห่งสัญญาก่อนสมรสเช่นว่านั้น ให้เป็นไปตามกฎหมายซึ่งคู่สัญญาเจตนาหรือพึงสันนิษฐานได้ว่ามีเจตนาที่จะยอมอยู่ใต้บังคับแห่งกฎหมายนั้น ถ้าไม่มีเจตนาเช่นว่านี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งประเทศที่คู่สมรสตั้งภูมิลำเนาครั้งแรกหลังจากการสมรส

                    อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่ 
หมายเลขบันทึก: 49553เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าจะสรุปให้เห็นความแตกต่างของกฎหมายทั้งสองอีกครั้งนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท