HOREI กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพ.ศ.2481


ผลแห่งการสมรส

เปรียบเทียบ Act Concerning the Application of Laws [Horei] (กฎหมายขัดกันของประเทศญี่ปุ่น) กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 ของประเทศไทย

Article 14.   ( Effect of marriage )            The effect of marriage shall be determined , in cases where the law of the countries of  which the parties are nationals is the same , by that law , and upon absence of such law , in cases where the law of the parties’ habitual residence is the same , by that law , and in cases where neither of these is the case , by the law of the place most closely related to both parties.

มาตรา 14  ผลแห่งการสมรส              ผลแห่งการสมรสให้เป็นไปตามนี้            ในกรณีที่คู่สมรสมีสัญชาติอันเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สมรส            ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่คู่สมรสมีภูมิลำเนาร่วมกัน    ถ้าไม่มีกฎหมายเช่นว่านั้น ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคู่สมรสมากที่สุด

มาตรา 14 ของ  Act Concerning the Application of Laws ของญี่ปุ่นนั้น น่าจะเทียบเคียงได้กับ มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 ของประเทศไทย ที่บัญญัติว่า

" มาตรา ๒๑ ถ้าคู่สมรสมีสัญชาติอันเดียวกัน หรือถ้าภริยาได้มาซึ่งสัญชาติแห่งสามีโดยการสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่งคู่สมรส

            ในกรณีที่ภริยามิได้ได้มาซึ่งสัญชาติแห่งสามีโดยการสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งสามี "

เปรียบเทียบความเหมือนกันของกฎหมาย 2 ฉบับนี้           

ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายขัดกันของไทยหรือของญี่ปุ่น ลำดับแรกของการเลือกใช้กฎหมายอันจะมีผลต่อการสมรสของคู่สมรสให้ใช้กฎหมายตามสัญชาติร่วมกันของคู่สมรส

            จุดที่แตกต่างก็คือ ในกรณีที่สามีภริยามีสัญชาติต่างกัน กฎหมายขัดกันของไทยให้ใช้กฎหมายสัญชาติแห่งสามีใช้บังคับ ส่วนกฎหมายขัดกันของญี่ปุ่นให้ดูก่อนว่าคู่สามีภริยานั้นมีภูมิลำเนาเดียวกันหรือไม่ ถ้ามีภูมิลำเนาร่วมกันก็ให้ใช้กฎหมายแห่งภูมิลำเนานั้นบังคับ  หากสามีภริยาไม่มีทั้งสัญชาติร่วมกัน และภูมิลำเนาร่วมกันแล้ว ทางเลือกสุดท้ายคือให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดของคู่สามีภริยาที่มีร่วมกันใช้บังคับ

           ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า หากคู่สมรสมีสัญชาติเดียวกัน การเลือกใช้กฎหมายที่จะบังคับแก่คดีก็จะไม่เกิดปัญหามากนั้นเพราะก็หมายความว่าการพิจารณาคดีนั้นก็ใช้กฎหมายที่คู่สมรสมีสัญชาติร่วมกันใช้บังคับไป  แต่ถ้าหากคู่สมรสเกิดมีสัญชาติที่แตกต่างกัน ในกรณีที่ใช้กฎหมายขัดกันของไทย ตัวบทบอกไว้ชัดเจนว่าให้ใช้กฎหมายสัญชาติแห่งสามีใช้บังคับ  แต่สำหรับกฎหมายขัดกันของญี่ปุ่นนั้นหากสัญชาติของคู่สมรสต่างกันแล้ว ต้องไปดูที่ภูมิลำเนาของคู่สมรสว่าเป็นภูมิลำเนาเดียวกันหรือไม่ ถ้าเป็นภูมิลำเนาเดียวกันก็ใช้กฎหมายแห่งภูมิลำเนานั้นซึ่งตรงนี้ไม่มีปัญหาเพราะตัวบทบอกไว้ชัดแจ้ง  แต่ถ้าหากว่าคู่สมรสนั้นมีทั้งสัญชาติที่ต่างกัน และมีภูมิลำเนาที่ต่างกันอีกด้วย กฎหมายขัดกันของญี่ปุ่นให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคู่สมรสมากที่สุด ซึ่งตรงนี้หมายความถึงอะไรล่ะ? จะหมายถึงถิ่นที่คู่สมรสจดทะเบียนสมรสหรือเปล่า?  หรือหมายความถึงถิ่นที่คู่สมรสจัดพิธีสมรสขึ้น?  หรือหมายความถึงถิ่นที่คู่สามีภริยาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภริยา?  หรือหมายถึงถิ่นที่มีการฟ้องร้องคดี?  เพราะคำว่าถิ่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคู่สมรสมากที่สุดนั้นอาจพิจารณาไปได้หลายแง่

 

หมายเลขบันทึก: 49543เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
จักร บรรเจิด(นรต ๖๑)

ผมคิดว่าน่าจะเป็น ถิ่นที่สามีภริยา ร่วมอยู่กินกันฉันสามีและภริยามากว่า เนื่องจากดูตามเจตนารมณ์ของกฎหมายญีปุ่นแล้ว น่าจะไล่ควมสำคัญจากจุดใหญ่ทีสุดคือสัญชาติร่วมกัน ลงมาคือภูมิลำเนาร่วมกัน และลงมาน่าจะเป็นที่พักอาศัยทีสามีภริยาอยู่ร่วมกัน

ก็คล้ายๆกับคนไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่หนึ่งแต่ทีพักอาศัยอาจจะมีอีกทีหนึ่ง

ยกตัวอย่างเช่น นายก.เป็นคนจังหวัดอุดร นั่นหมายความว่ามีภูมิลำเนาอยู่ที่อุดร มาทำงานกรุงเทพ นั่นคือที่พักอาศัยอยู่ที่กรุงเทพ นายก.ทิ้งขยะในกรุงเทพเป็นความผิด นายก.ก็ต้องถือหลักข้อบังคับของกรุงเทพ จะอ้างว่าตนเป็นคนอุดรทิ้งที่อุดรไม่ผิด ทิ้งที่กรุงเทพก็ต้องไม่ผิดด้วย ดังที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นเพียงจะยกตัวอย่างให้เห็นว่า ถิ่นที่อยู่ก็มีความสำคัญ รองจากภูมิลำเนา คล้ายๆกับปพพ.ของไทยที่บัญญัติกี่ยวกับภูมิลำเนา

ให้ถือว่าถิ่นที่อยู่เป็นภูมิลำเนาสำหรับผู้ไม่มีภูมิลำเนา

เพราะฉนั้นแล้วกฎหมายญี่ปุ่นก็น่าจะมองว่าถิ่นที่อยู่นั้นสำคัญรองลงมาจากภูมิลำเนา ดังนั้น ถิ่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดของคู่สามีภริยาที่มีร่วมกันใช้บังคับ

ก็น่าจะหมายความถึง ถิ่นที่อยู่ที่สามีภริยาอยู่กินด้วยกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท