ความสำคัญของข้อมูลปัญหาเทคโนโลยีทางการศึกษา


      

 

       ในยุคใหม่ของเทคโนโลยีทางการศึกษา เกิดปัญหามากมายสำหรับการปรับตัวทั้งในเชิงมิติของนโยบายการศึกษา กระบวนการเรียนการสอน ผู้สอน และ ผู้เรียน รวมทั้งผู้ผลิตสื่อการศึกษา

 

     

 

     นโยบายการศึกษาที่มุ่งไปสู่การปฏิรูปทั้งรูปแบบ เนื้อหา และวิธีการเรียนการสอน รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ) ยังมีคำถามข้อสงสัยมากมายหลายประการถึงผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม และความรวดเร็วทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่กำลังก้าวสู่ความร่วมมือของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน

 

    

 

    การสนับสนุนอุปกรณ์เทคโนโลยีทางการศึกษาทั้งทางด้าน hardware และ software โดยภาครัฐ ถูกจัดความสำคัญเป็นลำดับแรก เพื่อเป็นเครื่องมือนำไปสู่การสื่อสารทางการศึกษาในยุคใหม่ พร้อมการเสริมหนุนเทคนิควิชาการด้านไอทีอย่างเข้มข้น ปัญหาที่สำคัญคือ เนื้อหาของหลักสูตรแบบใหม่ที่เหมาะสมทั้งการเรียนรู้ตามระบบ การหาความรู้ด้วยตนเอง หรือผ่านทาง  social media อื่นๆ  รวมทั้ง IT Infrastructure ในการรองรับอย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไร?

 

  

 

      ปัญหาต่อมา คือ ความทั่วถึงของเครื่องใช้และอุปกรณ์เหล่านี้ กระจายมากเพียงพออย่างไร? .. นอกจากเงินอุดหนุนจากส่วนกลางแล้ว แต่ละสถานศึกษามีงบประมาณมากพอหรือไม่ ? ภาคเอกชนอื่นๆ เข้ามามีส่วนสนับสนุนด้านนี้มากน้อยเพียงไร ? และได้มีการใช้ระบบเทคโนโลยี บูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนอย่างเต็มประสิทธิภาพเพียงไร?

 

 

 

     ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนบางแห่ง ยังมีปัญหาการปรับตัวเข้ากับระบบการเรียนการสอนแบบเทคโนโลยียุคใหม่ หรืออาจจะไม่มีแรงจูงใจมากพอที่จะขับเคลื่อนได้รวดเร็ว ซึ่งย่อมทำให้ผู้เรียนประสบความล่าช้าตามไปด้วย

 

        

 

     ผู้ปกครองมีส่วนสนับสนุนเยาวชนนอกห้องเรียนมากน้อยเพียงใด? ทั้งในเชิงเทคโนโลยีและการใช้งานอย่างมีคุณภาพ

 

      

 

      ข้าพเจ้าอยากเห็นข้อมูลที่ชัดเจนครบถ้วนในการสะท้อนปัญหาข้างต้นของภาพรวมเหล่านี้ ซึ่งย่อมจะช่วยการวิเคราะห์อย่างสมเหตุผล เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมในแต่ละกรณีได้ มิเช่นนั้นจะกลายเป็นการเขียนแบบ "หลับตาคลำหาหางช้าง"..

 

     

    Large_prod_763_23015    

 

        อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ข้าพเจ้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาเยาวชนเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับองค์กรเครือข่าย ได้มีโอกาสสัมผัสกับสถานศึกษาหลายแห่งของภูมิภาคต่างๆ สามารถกล่าวถึงข้อเท็จจริงในภาพย่อยว่า ความตื่นตัวของเทคโนโลยีทางการศึกษามีสูงมาก เหตุเพราะ สภาพแวดล้อมด้านนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ย่อมสร้างทางเลือกที่ดี ต่อยอดระบบเดิมในการดำรงชีวิตที่สะดวกรวดเร็ว สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆอย่างมีคุณค่า

 

  

 

     ข้าพเจ้าเชื่อว่า หากภาครัฐมีความตั้งใจจริงในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีทางการศึกษา และสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง บนข้อมูลที่ครบถ้วน ผลสำเร็จย่อมเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน..คือ >>> การสร้างคนดี+คนเก่ง+คนมีความสุข

 

    ขอขอบคุณที่ EGA และ GotoKnow เปิดประเด็นเรื่องนี้ ให้ร่วมแสดงความคิดเห็น..

 

    ในช่วงปัจฉิมวัยที่ใช้เวลาในโลกไซเบอร์เนตหน้าจอดิจิตอล ไม่ต่ำกว่าวันละห้าชั่วโมง ข้าพเจ้าขอให้กำลังใจทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อย่างเต็มที่

 

         

 

................................................

ขอบคุณบางภาพจาก internet


หมายเลขบันทึก: 495335เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2013 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ระบบ IT หรือ เทคโนโลยีต่างๆๆ ทางการศึกษานั้น สำคัญมากนะคะ เพราะการศึกษา เปรียบเสมือน "รากแก้ว" ของการศึกษาของเด็ก เยาวชน คนไทย และสังคมไทย

ขอบคุณมาก สำหรับบทความดีดีนี้นะคะ

เด็กดอย ... คอยต่อไป

อุปกรณ์พื้นฐานอีกนานครับพี่ใหญ่

ตาบอดยังคลำช้างไม่เลิก ;)...

เยี่ยมชมบันทึกและเป็นกำลังใจ

ขอบคุณบันทึกดีดี..คะพี่ใหญ่นงนาท

" เทคโนก้าวไปว่องไว ไม่กลัว

เส้นทางห่างไกล เทคโนไม่ทั่ว หน้ากลัวกว่า"

เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขก่อนสิ่งอื่นใด

พร้อมเรียนรู้ พร้อมใช้ แต่เน็ตและสื่อกลางเข้าไปไม่ถึง

จะพัฒนากันอย่างไร?

 

 

 

แต่

น้องดร.สมศรี../น้องอาจารย์ Wasawat../น้องหมอป.../น้องดร.ขจิต

น้อง Sila../ศูนย์วิชาการเอดส์../น้องอ.นุ../น้องKrugui../น้องรศ.ดร.ชยพร

น้องชลัญธร../น้องดาวลูกไก่../ น้องหนุ่มกร../น้อง Kunrapee../น้องEGA

น้องคลินิคเทคโนโลยี่

* สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่บันทึกนี้ค่ะ

* น้องดร.สมศรี.. โลกเทคโนโลยี่ก้าวหน้าไปแบบรวดเร็วและต่อเนื่อง ระบบการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวอย่างเหมาะสมกับภูมิสังคมและความพร้อมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนะคะ

* น้องอาจารย์ Wasawat.. เด็กดอย..เด็กเมืองอีกหลายพื้นที่ ที่พี่ใหญ่ได้ไปเห็น ให้ความสนใจในกระแสเทคโนโลยี่มากค่ะ..ต้องสร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้ให้มากขึ้นตามลำดับ

* น้อง EGA.. เราเห็นปัญหาเหล่านี้ตรงกันของรูปธรรมแห่งผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา :

.......... มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่ง วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนาธรรมตามความจำเป็น

......... มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาแบบเรียนตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิต และมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม

  • ตอนนี้ สำหรับน้อง (คุณย่าของฟ้าคราม) กำลังทุกข์ใจในเรื่องของอนาคตว่าเจ้าฟ้าครามจะเป็นไปอย่างไร สิ่งแรก คือ ฟ้าครามต้องปรับสภาพให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ คือ เทคโนโลยี + ภาษาที่หลากหลายให้ได้ก่อนค่ะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวเขาและตัวเราที่ต้องใส่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ให้กับเขาค่ะ
  • พี่ใหญ่ครับ
  • ผมกำลังวางแผนเขียนเรื่องนี้
  • ชอบประเด็นเรื่องนโยบายการศึกษา
  • บ้านเรามีแต่นโยบาย แต่เขาไม่ทำครับ
  • ครอบคลุมอย่างที่ตัวเองเคยเห็นปัญหาการจัดการสื่อเทคโนโลยีในโรงเรียนครับ ที่สำคัญมากตามทัศนะตัวเอง เป็นเรื่องความเอาจริงเอาจังในเรื่องการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมักเป็นแค่คำพูดให้ดูดี.. สำหรับสื่อคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต หรือเทคโนโลยี จึงดำเนินไปแบบคือๆกัน ก็คือเพื่อให้ได้ผลงาน เพื่อให้ดูเสมือนว่าโรงเรียนก็ทันสมัยตามโลกเขาทันอะไรพวกนั้น 
  • "การบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ" ยังเป็นข้อด้อยชัดเจน การจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์วันนี้อาจจะดีขึ้นมาบ้าง แต่ก็ยังคล้ายแบบเดิมเมื่อครั้งที่โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ใหม่ๆอยู่มาก คือเน้นสอนวิธีใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ในรายวิชาอื่นๆที่ควรจะมีสื่อคอมพิวเตอร์ใช้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยตามที่ศักยภาพโรงเรียนมีต้องรอเป็นคิวสุดท้าย ถ้าเครื่องว่าง ห้องว่าง ประมาณนั้น อย่างไรก็ตามเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ซึ่งบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น ก็น่าจะทำให้สถานการณ์การจัดการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ หรือใช้เทคโนโลยีถูกทิศถูกทางมากขึ้น 
  • ขอบคุณข้อคิดดีๆเหล่านี้ครับพี่ใหญ่

น้องบุษยมาศ../น้องดร.ขจิต../น้องครูธนิตย์../น้องครูวุฒิ..น้องผศ.วิไล

น้องครูแดง../น้องหมอนามัยทิมดาบ../น้องปริม..หลานอักขณิช

น้องน้อย../น้องชฎารัตน์

* สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่บันทึกนี้ค่ะ

* น้องบุษยมาศ..เด็กๆในยุคการศึกษาแห่งเทคโนโลยี่ คงต้องเรียนรู้ในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม ตามความพร้อมของระบบและนอกระบบการศึกษาที่เอื้ออำนวยให้..สำคัญอยู่ที่การปลูกฝังจิตสำนึกในการบริหารตนเองและการสร้างคุณค่าแก่การดำเนินชีวิตที่ดีงามจากการใช้เทคโนโลยี่เหล่านี้นะคะ

* น้องดร.ขจิต..3 P : Policy..Process..People..>>> Keys of Success Factors..รู้ข้อมูล..ร่วมกันแก้ไขและพัฒนา

*น้องครูธนิตย์..ขอบคุณค่ะที่มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ขอเป็นกำลังใจแก่สถานศึกษาและบุคลากรทุกท่านค่ะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท