น้ำมันตังอิ้ว คืออะไร ทำไมต้องมี


ในยุคหลังที่มีท่านหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นหัวเรือใหญ่ของการแกะพิมพ์ ได้มีการใช้น้ำมันตังอิ้วเป็นส่วนผสมสำคัญ ที่กลายมาเป็นสัญญลักษณ์ของพระสมเด็จยุคปลาย

ทุกท่านที่ศึกษาพระสมเด็จ จะได้ยินคำที่พูดถึงกันบ่อยๆมาก ก็คือ น้ำมันตังอิ้ว

ตามตำนานพระสมเด็จ ได้กล่าวว่า

การใช้น้ำมันตังอิ้วนั้น มีในพระการสร้างพระสมเด็จยุคปลาย

เพื่อแก้ไขปัญหาการแตกหักของพระสมเด็จที่สร้างขึ้นมาใหม่ๆ

ที่แต่เดิมใช้พวกน้ำอ้อยเคี่ยว (น่าจะแบบตังเมเหนียวๆ) ยางไม้ ผลไม้ที่มีความเหนียว (เช่น กล้วย) และแป้งจากข้าว ที่ได้ผลบ้างไม่ได้บ้าง พระจึงเสียหายไปมากพอสมควร

แต่มาในยุคหลังที่มีท่านหลวงวิจารณ์เจียรนัย เป็นหัวเรือใหญ่ของการแกะพิมพ์

ได้มีการใช้น้ำมันตังอิ้วเป็นส่วนผสมสำคัญ

ที่กลายมาเป็นสัญญลักษณ์ของพระสมเด็จยุคปลาย

ที่คงทน สวยงาม ไม่แตกร้าว และเป็นที่นิยมสูงสุดมาถึงปัจจุบัน

จากการวิเคราะห์ตามหลักการทางเคมีอินทรีย์

  • น้ำมันตังอิ้ว คือ น้ำมันข้นเหนียว แบบเดียวกับน้ำว่าน จะไม่ค่อยเข้ากับน้ำอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน
  • อย่างมากก็เป็นแบบ emulsion
  • แต่ช่วยรักษาเนื้อพระผงที่กำลังแห้งตัว ให้ทนทานพอสมควร
  • โดยทำให้เนื้อพระมีความหยุ่นตัว เหนียวแกร่ง ไม่แตกหักง่าย
  • เกาะยึดเนื้อปูนที่กำลังแห้ง
  • โดยเฉพาะในระยะแรกๆ ประมาณ 20-30 ปี ที่ยังไม่มีเนื้อปูนดิบมางอกคลุมรักษาเนื้อพระ

และ

  • ตังอิ้วน่าจะถูกเก็บกักไว้ในเนื้อพระโดยการปิดล้อมของความชื้น (ไม่เข้ากับน้ำ) และ
  • การหุ้มห่อของผิวปูนดิบที่ผิวพระ

และ

  • ตังอิ้วจะเริ่มซึมออกมา ตาม
    • รูเปิด (รูน้ำตา) ทางไหลระบายความชื้นของน้ำปูนเดิมของผิวพระ และ
    • รอยปริ รอยระแหง เมื่อเนื้อพระเริ่มแห้ง
  • และหรือ โดนความร้อนบ่อยๆ (เช่นการแขวนพระไว้กับตัวบ่อยๆ)
  • หรือโดนความร้อนจากการแช่น้ำร้อน

ที่ทำให้ผิวพระสมเด็จเนื้อปูนดิบ ที่ "ผ่านการใช้"

  • มีความหนึกนุ่ม
  • ไม่แห้งผาก 
  • ไม่แตกร้าว ทนทาน 
  • เหนียวจากด้านใน แกร่งจากผิวปูนด้านนอก
  • จึงแข็งประดุจหินอ่อน
  • มีคราบตังอิ้วประปราย

ถ้าเข้าใจหลักการทางเคมีนี้แล้ว จะทำให้สามารถเข้าใจ และดูพระสมเด็จเนื้อผงปูนดิบที่มีตังอิ้วได้โดยเข้าใจง่ายขึ้น และเร็วขึ้นครับ

หมายเลขบันทึก: 494867เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2012 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีครับ ท่านดร.แสวง ขอสอบถามเรื่องน้ำมันตังอิ๊วหน่อยครับ คือผมมีสมเด็จพิมพ์เจอีย์ใหญ่พิมพ์เดียวกับของดร.ที่โชว์ไว้ พระองค์นี้ตอนได้มาก็ดูแห้ง มีคราบตังอิ๊ว พอผมเอามาใส่ได้ประมาณสองสามอาทิตย์ สังเกตว่าคราบตังอิ๊วสีจะเข้มขึ้น โดยเฉพาะช่วงแขน และเส้นซุ้ม จะเป็นสีน้ำตาลเข้มออกดำ อยากทราบว่าจะนำมาเป็นข้อสรุปได้ไหมครับว่า 1.ถ้าพระที่เราห้อยคอไว้มีคราบตังอิ๊วซึมออกมาจะเป็นพระแท้แน่นอน ผมคิดเอาเองว่าพระเก๊คงไม่มีส่วนผสมของตังอิ๊ว วิธีคิดเดียวกัน 2.ถ้าพระที่ล้างรักออกแล้วเราใส่ห้อยคอไปซักเดือน มีคราบตังอิ๊วไหลออกมาคลุมผิวพระ จะถือได้ว่าเป็นพระแท้แน่นอน สรุปแบบนี้ได้ไหมครับ พร้อมกันนี้ผมได้ส่งรูปพิมพ์เจดีย์ใหญ่องค์ที่ว่าให้ดร.พิจราณาว่าเป็นพระแท้หรือไม่ครับ ขอขอบพระคุณท่านดร.ไว้เป็นอย่างสูง และขอความกรุณาเขียนบทความเกี่ยวกับพระเครื่องในแง่ทางวิชาการเช่นนี้ตลอดไปนะครับ พวกผมจะได้เลิกเชื่อเซียนพุทธพาณิชย์เสียที ขอบคุณครับ

ตังอิ้วไม่ได้มีมากมายนะครับ

กว่าจะคลุมองค์พระอาจจะเป็นเวลาหลายปี หรืออาจจะหมดแรงก่อนก็ได้

ดูลำดับการคลุมจะบอกอายุคร่าวๆได้ครับ

สัก 20 ปีจะเห็นความแตกต่างชัดเจน แต่สักสองสามปีก็น่าจะเห็นแววแล้วครับว่าแท้หรือเปล่า

แต่อ่านประวัติเอาจากผิวพระก็ได้ ไม่ต้องรอของใหม่ครับ

ขอรบกวนท่านดร.ด้วยครับกรุณาช่วยชี้ชัดให้หน่อยได้ไหมครับ ว่าองค์นี้แท้หรือไม่ ถ้าแท้ผมอยากจะล้างผิวพระ ดร.มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ ขอบคุณมากครับ

มองไม่ออกเลยครับ ถ่ายใหม่ หน้า หลังและข้างชัดๆ 1Mb มาที่

[email protected]

 ผมชอบอาจารย์ตรงที่อาจารย์ยินดีรับกับทุกคำร้องขอ....ดีใจมากครับที่เข้ามาเเล้วไม่ผิดหวังครับ


อิอิ ความรู้เพื่อสังคมครับ 55555555555555

อาจารย์คะ น้ำมันตังอิ้ว หาซื้อได้ที่ไหนคะ ... ที่จังหวัดเชียงใหม่ หาตามร้านสังฆภัณฑ์ ไม่เห็นเจอคะ

ผมพยายามเขียนให้คนเข้าใจโดยทั่วไป จึงต้องใช้คำที่เขาใช้กัน ว่า "ตังอิ้ว"  ที่จริงก็แค่น้ำมันชักเงาไม้

ลองไปร้านขายสิ่งก่อสร้าง ภาษาไทยเรียก "น้ำมันชักเงาไม้" ที่ผมก็ไม่แน่ใจว่ามีกี่แบบ อย่างหนึ่งก็ที่เราเรียก "ชะแล็ก" ลองไปถามเขาดูครับ

น้ำมันตังอิ๊วของจีนเข้ามาในประเทศไทย พ.ศ.อะไรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท