หยุดคิดเพื่อให้จิตว่างตรง


ขณะที่เราอธิบายอะไร พูดอะไร เขียนอะไรออกมา ขอให้เว้นระยะสักนิด จะเห็นความรู้สึกนึกคิดว่าเรา "วางจิตตรง" หรือ "ลำเอียง" เห็นศาสตร์เรา หรือคำสอนของครูเรา หรือความเชื่อ ความเห็นของเรา ดีกว่าของเขาหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ในฐานะผู้สอน เรายังไม่ได้ขัดเกลาตัวเราสักเท่าไหร่ "มีเขา มีเรา" อยากอวดวิชา และหากในฐานะผู้เรียน เราก็ไม่ได้ฟังใครที่มีเสียงแตกต่างจากเราเลย
Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself.
                                                                            Leo Tolstoy 
 
ขอยกคำคมของนักคิดชาวต่างชาติขึ้นก่อนเพื่อจะให้เห็นว่าข้อคิดนี้มีความเป็นสากลอย่างไร  เมื่อหันกลับมาดูหลักธรรมคำสอนในศาสนาพุทธ  เราก็พบว่าไม่ต่างกัน อีกทั้งยังมีความลุ่มลึกให้มองเห็นความจริง
 
  Large_luangpoocha1         
"อย่ายุ่งกับเรื่องของคนอื่น ภาวนามากๆ ดูตัวเองมากๆ 
หลวงปู่ชา สุภัทโท พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) บอกว่า . . . 
"ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90 % ดูตัวเองแค่ 10 %" 
คือ คอยดูแต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น
กลับเสียใหม่นะ . . . 
ดูคนอื่นเหลือไว้ 10 % ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร       
เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ 
ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90 % จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่"
                                                         tamdee.org
                                           เรื่อง สอนคนชอบยุ่งกับเรื่องของคนอื่น 
                                           โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก 
                                           
    
หลายครั้งที่ผู้เขียนไปเป็นวิทยากร/กระบวนกรอบรมการสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยศาสตร์นพลักษณ์ และการรู้ตัวเพื่อการพัฒนาจิต  มักจะได้ยินบางท่านที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์นพลักษณ์กล่าวว่า
 
"เป็นไปไม่ได้ที่จะจัดประเภทคนได้เช่นนี้"

 

"อย่าตัดสินคนด้วยการจัดประเภท เพราะไม่มีใครหรอกที่จะเป็นแบบนั้นได้แบบเดียว" 
 
"รู้แล้วว่าฉันเป็นลักษณ์ไหน ก็ดีนะ ไม่เห็นจำเป็นต้องเปลี่ยนอะไรเลย" 
 
Large_santidramflower1
Enneagram หรือนพลักษณ์มีผู้นำไปเผยแพร่ในแนวทางที่แตกต่างกัน รูปแบบในการสืบทอดแนวคิด ไม่ต่างอะไรกับความเชื่อแบบต่าง ๆ ที่ยังมีหลายลัทธิ ซึ่งให้คำอธิบายไม่เหมือนกัน
 
แก่นแท้ของ "วิธีการศึกษา" นพลักษณ์จะต้องอาศัย "การปฏิบัติ" โดยการสังเกตจึงจะมองเห็นตัวเอง และการมองเห็นตัวเองไม่มีใครมาตัดสินให้ แต่ให้ผู้ศึกษาใคร่ครวญกลับมาดูตัวเองและค้นพบตัวเอง กระบวนกรเป็นเพียงผู้สะท้อนภาพตัวตนให้ผู้ศึกษาฉุกคิด เรียกว่า "จุดประกาย" เหมือนไม้ขีดไฟเล็ก ๆ เท่านั้น แต่หากว่าเหตุปัจจัยไม่ถึงพร้อม ผู้ศึกษาก็มองไม่เห็นเอง เปลวไฟไม้ขีดนั้นก็จะดับลง ส่วนที่รู้สึกไปว่าจะเป็นลักษณ์นั้นลักษณ์นี้ นั่นเพราะยังค้นหาตัวเองไม่พบ ตัวตนคนเรามีเปลือกหุ้มหนาแน่นหลายชั้น
 
อยากให้ใครเห็นอย่างไร ก็เป็นเช่นนั้น                     Image Self
เชื่อว่าเราเป็นอะไร  ก็พยายามที่จะเป็นแบบนั้น          Ideal Self
 
ยังไม่นับรวมตัวตนด้านลบที่มักจะถูกซ่อนไว้ลึก มีโอกาสก็จะแสดงออกมาให้เห็น หากว่าขาดสติยั้งคิด
 
ทั้งนี้ คนละกรณีกับคำว่า "การปรับตัว" ที่ว่าเวลาเราเข้าสังคม หรือเข้าไปอยู่ในสถานการณ์หนึ่งเราก็เป็นแบบหนึ่ง เมื่อเปลี่ยนไปอยู่ในสถานการณ์แบบหนึ่ง ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง  แบบนี้ไม่ใช่คำอธิบายทั้งหมดของคำว่า "ลักษณ์" ของ Enneagram หรือนพลักษณ์  ลักษณ์ คือ "กิเลส" ไม่ใช่สิ่งที่จะวัดได้จากพฤติกรรมภายนอกเท่านั้น การศึกษาจากสิ่งที่แสดงออกมาภายนอกเพียงเพื่อจะนำมาทบทวนและย้อนกลับไปพินิจภายใน
 
ด้วยความเคารพในแต่ละศาสตร์ หากเราไม่เข้าใจที่มาของรากฐานความคิด หรือบริบทของศาสตร์ใด  ผู้เขียนจะไม่แตะต้องศาสตร์นั้นเลย เพราะพรมแดนของความไม่รู้นำมาซึ่งการกระทบผู้อื่น ศาสตร์อื่น สิ่งนี้สำคัญนัก หากเรารู้เพื่อละ และปล่อยวาง เราจะวางจิตตรง ในโลกนี้ สมัยนี้ มีความรู้มหาศาลล้นหลามกองอยู่ตรงหน้า ทุกสรรพสิ่งล้วนดีมีประโยชน์หากหยิบฉวยมาใช้เป็นด้วยสติมีโยนิโสมนสิการ ที่สำคัญ สิ่งใดที่หากว่าเรารู้แล้วทำให้กิเลสลดลงนั่นคือ "เรารู้ด้วยปัญญา"
 
 "ธรรมเทศกรรม" มี ๕ ประการ
๑.   อนุปุพพิกถา       สอนให้มีขั้นตอนถูกลำดับ
๒.   ปริยายทัสสาวี    จับจุดสำคัญมาขยายให้เข้าใจเหตุผล
๓.   อนุทยตา          ตั้งจิตเมตตาสอนด้วยความปรารถนาดี
๔   อนามิสันดร       ไม่มีจิตเพ่งเล็งเห็นแก่อามิส
๕   อนุปหัจจ์          วางจิตตรง ไม่กระทบตน และผู้อื่น
หนังสือพุทธธรรม หน้า 637  โดยพระพรหมคุณาภรณ์(ประยุทธ์ ปยุตโต)

 
หัวใจนักปราชญ์ สุ จิ ปุ ลิ มุ่งเน้นเรื่องฟัง  (ซึ่งรวมถึงอ่าน)  เพราะนี่คือหลักธรรมสำหรับผู้แสวงหาความรู้ หรือนักปราชญ์  แต่ถ้าเป็นหลักธรรมสำหรับผู้สอนจะเน้นเรื่องการพูด หรือการสอนเป็นหลัก หากเราจับประเด็นหัวใจของหลักธรรมคำสอนใด ๆ ได้  เราจะปฏิบัติโดยไม่ตั้งข้อสงสัยในคำสอนที่มีมาแต่ดั้งเดิม  เพราะสิ่งที่สืบทอดต่อกันมายาวนานนั้นมี "ภูมิ"  ที่เราสมควรจะต้องทำความเข้าใจในทางปฏิบัติก่อนจะคิดวินิจฉัยเอาเอง



หัวใจของการศึกษานพลักษณ์คือ "การสังเกต" จงทำตัวเป็นนักสังเกตการณ์ภายใน
                                 "Inner Observer" 
 
Large_45flowerview
สภาวะทางอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปมา ยามสบายใจก็จะมีลูกศรวิ่งไปเป็นลักษณ์หนึ่ง และยามเครียดลูกศรก็จะไปเป็นอีกลักษณ์หนึ่ง ซึ่งเป็นสภาวะชั่วคราว สุดท้ายเราจะกลับมาเป็นลักษณ์เดิมของตนเอง แม้กระทั่งปีกของลักษณ์ที่อยู่ใกล้ ๆ ก็เป็นเพียงสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเราชั่วคราว  และเราก็กลับมายึดกิเลสหลักของเราเข่นเดิม เพราะกิเลสเราคือเรือนอยู่ที่เราพักพิงจนเติบโตและจนกว่าจะลาจากคืนกายให้โลกไป
 
ผู้เขียนพูดได้เต็มปากเลยว่าการไปอบรมรู้ตัวเพื่อการพัฒนาจิตที่ผ่านมา หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะจัดแบบผิวเผิน เพราะส่วนใหญ่เป็นการจัดอบรมเพื่อการสร้างทีมงานของหน่วยงานหรือองค์กรแบบเป็นไปตามพิธีกรรม ด้วยข้อจำกัดของงบประมาณ หรือการจัดแบบได้ชื่อว่าจัด ทั้งที่การจัดอบรมในลักษณะนี้จะต้องมีขั้นของการพัฒนา
 
เนื่องจากกิจกรรมใด ๆ หากไม่ก่อให้เกิดการตระหนักรู้และนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงภายในแม้ในชั่วขณะ กิจกรรมนั้น ก็เป็นเพียงการสร้างความบันเทิงให้กับผู้ที่มาอยู่รวมกันเท่านั้น เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์แบบหลวมๆจบแล้วก็แยกย้ายกันไป ไม่มีสิ่งงอกงามอะไรให้จิตใจได้เติบโต
 
"จุดประกายการสร้างพื้นที่ความสุข" ที่กล่าวถึงในบันทึกที่แล้วของบล๊อก "รู้ตัวเพื่อการพัฒนาจิต" จึงเป็นเหมือนเปลวไฟจากไม้ขีดเล็ก ๆ  สุดท้ายหากเราไม่ใส่ใจไฟก็ดับ เพราะลมคือสิ่งภายนอกที่มากระทบ มันแรงกว่าภายในที่ไร้ภูมิคุ้มกัน
 
  เมื่อมองเห็นความแตกต่างของกันและกัน "รอยยิ้ม" ก็ผุดขึ้น
 
การทำงานร่วมกันผ่านกิจกรรม ทั้งที่ชีวิตทำงานปกติไม่ค่อยได้คุยกันเลย
 
             เมื่อใช้ใจนำ เขียนอะไรก็เป็นเรื่องของมิตรภาพ
 
 
 
     รอยยิ้มจากผู้ให้กำลังใจ "มีความสุขเมื่อทำอะไรร่วมกัน"
 
                        หัวใจของการทำงานเป็นทีม
                               เสียงเชียร์คือกำลังใจ
 
 
                              ความสุขอย่างมีอุดมการณ์
                            "ขอความสุขคืนประเทศไทย"
 
 
 
                      ความสุขจากการใช้ความคิด
 
 
เราเห็นความต่างไม่ใช่เพื่อการจัดประเภท จับคนใส่กล่อง แต่เป็นการมองให้เห็นตัวตนของเราเพื่อให้เกิดการละวางเสียบ้าง บางครั้ง บางขณะ ก็ยังดี 
 
สำหรับผู้เขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้อยู่เสมอคือ....
ขณะที่เราอธิบายอะไร พูดอะไร เขียนอะไรออกมา ขอให้เว้นระยะสักนิด จะเห็นความรู้สึกนึกคิดว่าเรา "วางจิตตรง" หรือ "ลำเอียง" เห็นศาสตร์เรา หรือคำสอนของครูเรา หรือความเชื่อ ความเห็นของเรา ดีกว่าของเขาหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น ในฐานะผู้สอน เรายังไม่ได้ขัดเกลาตัวเราสักเท่าไหร่ "มีเขา มีเรา" อยากอวดวิชา  และหากในฐานะผู้เรียน เราก็ไม่ได้ฟังใครที่มีเสียงแตกต่างจากเราเลย
 
                                  หยุดคิดเพื่อให้จิตว่างตรง

                         ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือน

 
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 494719เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

Enneagram นพลักษณ์ เพิ่งเคยได้ยินค่ะ แต่บรรยากาศการทำงานน่าสนุกจังค่ะ

ขอบคุณข้อคิดดีๆนี้ค่ะ..เป็นเรื่องที่ควรน้อมนำมาพิจารณาในวิถีชีวิตอย่างยิ่ง..

จะพยายามดูตัวเอง ให้มากกว่าดูคนอื่นค่ะ

 

  • ขอบพระคุณทุกท่านอย่างมากค่ะ ดอกไม้ของท่านคือกำลังใจที่มีค่าในการร่ำเรียนเขียนอ่านและพูดแลกเปลี่ยนด้วยความสำรวมอย่างมีมิตรไมตรีต่อกัน
  • ขอฝากร่องรอยความประทับใจไว้ก่อนและจะกลับมาทักทายภายหลัง เนื่องจากพรุ่งนี้จะเดินทางไปต่างจังหวัดแต่เช้าค่ะ
  • ด้วยความระลึกถึงทุกท่านค่ะ

หยุดคิด ..สักนิด.. ก็ดีค่ะ ขอบคุณบันทึกอันทรงคุณค่าค่ะ

เป็นเรื่องที่น่าศึกษามากๆ ครับ หยุดคิดสักนิด ทำให้เราเรียนรู้ตนเองได้มากขึ้น

ขอบคุณบทความดีๆ นะครับ

 

พี่ชอบความเสมอภาคจึงดูเลผู้อื่นเท่ากับดูแลตนเองค่ะ วันนี้มาเยี่ยมบ้างแลกเปลี่ยนเรียนรู้แง่คิดดีๆของกันและกันนะคะ สบายดีประเทศไทยค่ะ

  • ขอบคุณคุณ พฺ แจ่มจรัส ที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

อ่านแบบใส่ใจ  ไล่เรียง  ตัวอักษร

อ่านเพื่อผ่อน  กายใจ  ให้ว่างหนอ

อ่านเพื่อตรึก  ลึกกว้าง  อย่างลออ

อ่านบันทึก  นี้หนอ  สุขต่อเติม ...

 

ขอบพระคุณมากนะคะ สำหรับบันทึกชวนรู้ตัวพัฒนาจิต

จักต่อไฟจากไม้ขีดก้านเล็กๆ ก่อเป็นไฟภายใน...หล่อหลอม...ใจแห่งตน

 

บันทึกได้ดีมากครับ เห็นด้วยกับการสื่อสารให้มีชีวิตชีวาในการทำงานเป็นทีม

ยินดีที่คุณแม่น้ำ Blank มาเยี่ยมค่ะ

Enneagram เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและผู้อื่น เมื่อผู้เข้าร่วมอบรมมองเห็นผู้อื่นว่าแตกต่างจากเราอย่างไร ก็จะรู้สึกสบายใจเมื่อต้องทำอะไรด้วยกัน จึงทำให้บรรยากาศดูครื้นเครงขึ้นค่ะ

  • ภาพปฏิมากรรมที่ส่งมาให้ทำให้คนดูตัวเล็กนิดเดียวค่ะ คุณคนบ้านไกล Blank สื่อความหมายได้หลายอย่างเลยนะคะ
  • ภาพที่ส่งมาเห็นแล้วสงบเย็นมากค่ะ พี่ใหญ่ Blank ขอบคุณค่ะ
  • ขอบคุณค่ะคุณครูอิง Blank  ขอเป็นกำลังใจให้ฟันฝ่าอุปสรรคที่ขวางกั้นไปได้นะคะ

เข้ามาเรียนรู้ ดูจิต คิดตาม รู้สึกว่าเป็นบันทึกที่ พัฒนาจิตได้จริงๆ ชอบข้อความสั้นๆ ที่ว่า Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. แล้วผู้อ่านจะพยายาม "Inner Observer" นะคะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนี้

  • สวัสดีค่ะคุณ Bright Lily Blank จำกัลยาณมิตรเก่าแก่ได้เสมอค่ะ ยินดีที่แวะมาเยี่ยมค่ะ 
  • บันทึกนี้สกัดจากประสบการณ์ตรงที่เป็นคนเร็วในทุกเรื่องค่ะ 
  • การชะลอลงทำให้เราเกิดสติได้ง่ายขึ้นค่ะ 
  • ขอบคุณคุณ ลมอโศก  ที่แวะมาเยี่ยมเยียนค่ะ
  • ยินดีค่ะพี่หมูจ๋า Blank บ้านใกล้เรือนเคียง เห็นกันอยู่ทุกวันค่ะ แลกเปลี่ยนกันไปมา จะนำมาซึ่งความสุขสดชื่นในมิตรภาพค่ะ
  • เชื่อว่ากัลยาณมิตรทุกท่านใน G2K เป็นไม้ขีดไฟทุกท่านเลยค่ะ คุณ Tawandin
  • การสื่อสารด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างแท้จริงทำให้เกิดทีมงานที่มีประสิทธิภาพค่ะ ท่าน Dr. Pop Blank
  • สรุปประเด็นหลักของบันทึกนี้ออกมา"Inner Observer" ทำให้รู้สึกปลาบปลื้มมากค่ะ ที่กรุณาแวะมาเยี่ยมและมาอ่านค่ะ  ขอบคุณค่ะ คุณ Nopparat Pongsuk Blank

สวัสดีค่ะ อาจารย์ Sila Phu-Chaya

กลับมาอ่านอีกรอบ แล้วจิตสงบดีจังเลยค่ะ

กำลังสับสนเล็กๆ อยู่พอดี บันทึกนี้ เป็นเข็มทิศอย่างดีเลยค่ะ

เบื้องต้น ตนเองจะเห็นความสำคัญ และรักกิจกรรม กระบวนการทีมมากๆ และเห็นจริงตามนี้...

"กิจกรรมใด ๆ หากไม่ก่อให้เกิดการตระหนักรู้และนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงภายในแม้ในชั่วขณะ
กิจกรรมนั้น ก็เป็นเพียงการสร้างความบันเทิงให้กับผู้ที่มาอยู่รวมกันเท่านั้น
 เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์แบบหลวมๆ
จบแล้วก็แยกย้ายกันไป ไม่มีสิ่งงอกงามอะไรให้จิตใจได้เติบโต
....

โดยส่วนตัว เมื่อมีโอกาสเรียนรู้ระยะหนึ่ง และรู้ตนว่า

การสื่อสารจากความสับสน อยู่ระหว่างบูรณาการจัดระบบระเบียบความคิด จิตใจแก่ตนใหม่

อันตรายซับซ้อนมิใช่เพียงตนเท่านั้น แต่ผลกระทบเกิดรอบด้านเลย

การฝึกจิตให้สงบ นิ่ง อ่านหรือฟังให้มากขึ้น เป็นการปูพื้นฐานสติแก่ตน อีกรอบ

ขอบพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท