การเขียนเค้าโครงงานวิจัย


ก่อนทำการวิจัยทุกครั้ง ผู้วิจัยควรเขียนเค้าโครงงานวิจัย ทั้งนี้เพื่อเป็นการวางแผนการดำเนินงานอย่างละเอียดรอบคอบ

การเขียนเค้าโครงงานวิจัย 

  1. หัวข้องานวิจัย เขียนโดยให้มีองค์ประกอบ 2 ส่วนได้แก่

    1.1  ประเด็นหรือตัวแปรที่จะศึกษา

      ตัวอย่าง : การพัฒนาการอ่าน

    1.2  ประชากรที่จะศึกษา       

      ตัวอย่าง : นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัด สพฐ,

    ตัวอย่างหัวข้อ : การพัฒนาความสามารถในการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัด สพฐ,

  2.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ควรเขียนเป็น 5 ประเด็น  ดังนี้

    2.1  ประเด็นความสำคัญของตัวแปรตามที่เลือกมาศึกษา

    2.2  ประเด็นสภาพปัญหา และที่มาของปัญหาที่พบในกลุ่มประชากร

    2.3  ประเด็นแนวทางการวิจัย ที่ได้จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัย

    2.4  ประเด็นคำถามการวิจัยที่ต้องการหาคำตอบ

    2.5  ประเด็นเมื่อได้คำตอบแล้วจะเชื่อมโยงกับงานวิจัยที่มีอยู่แล้วได้อย่างไร และนำไปใช้ประโยชน์ในแง่ใดกับใครและหน่วยงานใดบ้าง

  3.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย เขียนเพื่อแสดงให้เห็นว่าจะทำอะไร รวมถึงมีความสอดคล้องกับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    3.1  เทคนิคการเขียน คือ เขียนบรรยายเป็นข้อๆ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ศึกษาเรื่องอะไร กับใคร และในแง่มุมใด

    3.2 หลักการเขียน คือ ต้องสอดคล้องกับคำถามวิจัยหรือประเด็นที่ผู้วิจัยใคร่รู้ ใน 4 ลักษณะ

      ก. การวิจัยแบบสำรวจ

      ข.การวิจัยแบบเปรียบเทียบ

      ค. การวิจัยแบบทดลอง

      ง. การวิจัยแบบความสัมพันธ์

    3.3  ต้องสอดคล้องกับหัวข้อและส่วนอื่นๆในโครงร่างงานวิจัย

  4. สมมติฐานของการวิจัย (ถ้ามี)

    4.1  สมมุติฐาน คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล เพื่อตอบความมุ่งหมาย (วัตถุประสงค์) ของการวิจัยที่ตั้งไว้

    4.2  สมมุติฐานการวิจัย มี 2 ชนิด

      ก. แบบมีทิศทาง

        ถ้าเป็นการวิจัยเปรียบเทียบ จะมีคำว่า "มากว่า", "น้อยกว่า", "สูงกว่า", "ต่ำกว่า" อยู่ในสมมุติฐานนั้น

        ถ้าเป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ จะมีคำว่า "สัมพันธ์กันทางบวก", "สัมพันธ์กันทางลบ"

      ข. แบบไม่มีทิศทาง

        ถ้าเป็นการวิจัยเปรียบเทียบ จะมีคำว่า "แตกต่างกัน" อยู่ในสมมุติฐานนั้น

        ถ้าเป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ จะมีคำว่า "สัมพันธ์กัน"

    4.3  ลักษณะของงานวิจัยที่ต้องตั้งสมมุติฐาน มี 3 ลักษณะ คือ

      ก. แบบเปรียบเทียบ

      ข. แบบหาความสัมพันธ์

      ค.  แบบทดลอง

  5.  กรอบแนวคิด และรูปแบบของการวิจัย เขียนเพื่อแสดงภาพรวมและกระบวนการวิจัย

    5.1  กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework)

      ก.  ปัจจัยนำเข้า (Input)

      ข.  กระบวนการ (Process)

      ค.  ผลผลิต (Output)

    5.2  รูปแบบของการวิจัย (Model Research)

      ก. เป็นการนำกระบวนการ (Process)ตามกรอบแนวคิด มาขยายเป็นกระบวนการย่อย ที่ใช้ดำเนินงานวิจัย โดยใช้ทฤษฎีที่ได้ศึกษามา

  6. ขอบเขตของการวิจัย เขียนเป็น 3 ด้านครับ

    6.1  ขอบเขตด้านเนื้อหา

    6.2  ขอบเขตด้านพื้นที่

    6.3  ขอบเขตด้านเวลา

  7.  วิธีการวิจัย เขียนเป็น 5 ประเด็นครับ

    7.1  ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง 

    7.2  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 

    7.3  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 

    7.4  การจัดกระทำข้อมูล คือการนำข้อมูลมาแจงนับและจัดกระทำเพื่อตอบปัญหาการวิจัย หรือเพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัย มีขั้นตอนดังนี้

    7.5  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

  8.  ประโยชน์ของผลการวิจัย เขียนให้สอดคล้องกับวัตุประสงค์

    8.1 เขียนให้ชัดเจนว่าให้ประโยชน์ออกมาในรูปใด และเป็นผลโดยตรงจากเรื่องที่วิจัย เช่น.. ประโยชน์วิจัยแล้วได้อะไร ตกแก่ใคร   นำไปใช้ทำอะไร

    8.2 เขียนบรรยายเป็นข้อๆ ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย(วัตถุประสงค์ของการวิจัย)

    8.3 ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรขยายความสำคัญของผลการวิจัยให้กว้างเกินความเป็นจริง

  9. นิยามศัพท์เฉพาะ เขียนอธิบายตัวแปรต้น และตัวแปรตามที่เราศึกษาครับ

    9.1 เป็นการให้ความหมายของคำที่มีความสำคัญในการวิจัยเรื่องนั้น

    9.2  นิยามโดยอาศัยหลักทฤษฏี, หลักการ, แนวคิดจากผู้รู้, งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    9.3 เขียนในรูปของนิยามปฏิบัติการ (Operation Definition O.D.) ที่เป็นนามธรรมให้เป็นคุณลักษณะพฤติกรรม หรือกิจกรรมที่จะศึกษา ให้อยู่ในรูปที่วัดได้ สังเกตุได้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการสร้างเครื่องมือวิจัย ให้มีความเที่ยงตรง (Validity)

  10.  เอกสารอ้างอิง

    10.1  ภาษาไทย

      ก. เอกสาร ตำรา

      ข. งานวิจัย

    10.2 ภาษาอังกฤษ

เอกสารอ้างอิง

ผ่องพรรณ  ตรัยมงคลกูล, สุภาพ  ฉัตราภรณ์.  การออกแบบการวิจัย.  กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2541.

ประพนธ์  เจียกูล และคณะ.  การเรียนรู้การทำวิจัยด้วยตนเอง.  กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2543.

 ชูศรี  วงศ์รัตนะ.  เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย.  กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2544.

 ______.  เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย.  กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.

 บุญธรรม  กิจปรีดาบริสุทธิ์.  ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์, 2549.

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 494556เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2013 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท