ตำราพิชัยสงครามของซุนจู้ และเง่าคี้ 2


ตำราพิชัยสงครามของซุนจู้ และเง่าคี้
"ผู้ทำสงครามโดยหวังชัยชนะ" ดวรปฏิบัติตามหลักสำคัญ ๓ ประการ :-             ๑. ทำสงครามให้สุดสิ้นเด็ดขาด ด้วยระยะเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้             ๒. ทำสงครามโดยให้สูญเสียทรัพย์สินสิ่งของ ชีวิตทหาร และการใช้ความพยายามให้น้อยที่สุด             ๓. สร้างความเสียหายให้ข้าศึกมากที่สุด โดยตัวเองมีความเสียหายน้อยที่สุด              "หลักสำคัญที่ซุนจู้ยึดถือ" คือ ความสามัคคีกลมเกลียวของประชาชนในบ้านเมือง สิ่งจำเป็นยิ่งที่ จะช่วยให้ชนะสงครามได้ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบ้านเมือง              "แม่ทัพที่ฉลาด" จะสร้างสถานการณ์ที่ช่วยทำให้เขาแน่ใจได้ว่า จะช่วยให้เขาตัดสินใจได้รวดเร็ว             ซุนจู้ย้ำเสมอว่า สิ่งจำเป็นที่สุดในการทำสงคราม คือ "ความสามารถในการโจมตีที่ความคิด ของข้าศึก"   ยุทธวิธีของแม่ทัพผู้สามารถ ขึ้นอยู่กับการนำเอาการรบแบบธรรมดา (เจิ้ง) และการรบแบบ พิสดาร (ฉี) มาใช้ให้ถูกต้อง ผสมผสานกันโดยเหมาะสม จะให้ผลในทางที่ดีเสมอ      เจิ้งกับฉี เปรียบได้กับวงแหวนสองวง เกี่ยวกันอยู่ ใครเล่าจะบอกได้ว่า ห่วงกลมทั้งสองที่คล้องกันอยู่นั้น เริ่มคล้องที่ใดและสิ้นสุดตรงไหน  ปฏิบัติการของกำลังส่วนที่เป็นฉี  หรือพิสดารเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ข้าศึก ไม่คาดคิดเสมอ             "แม่ทัพที่ดี รู้จักระมัดระวัง รอคอย แต่ไม่รีรอลังเล"  เขาเห็นโอกาสเปิดเขาลงมือกระทำการ โดยฉับพลันทันที และเด็ดขาด      ทฤษฎีของซุนจู้ ให้รู้จักปรับตนเองได้ตามสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น ซุนจู้เห็นว่า ผู้ที่ไม่รู้จักเลือกใช้พื้นที่ให้ ถูกต้อง ย่อมเป็นแม่ทัพมิได้     คู่ลู่ยุ นักทำแผนที่ทหารสำคัญของจีน (พ.ศ.๒๑๗๔-๒๒๓๕) บันทึกไว้ว่า             "ใครก็ตามที่เริ่มดำเนินการสงคราม ณ ที่ใดที่หนึ่งของประเทศ เขาควรรู้สภาพภูมิประเทศใน เขตสงครามโดยครบถ้วนถูกต้อง การทำสงครามโดยไม่รู้จักภูมิประเทศโดยละเอียด ย่อมจะต้องพ่ายแพ้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรุกหรือฝ่ายรับ"              "ไม่มีบ้านเมืองใดที่ได้ประโยชน์จากการทำสงครามยืดเยื้อ"  ซึ่งเป็นทฤษฎีของซุนจู้ยังนำมาใช้ใน ปัจจุบันในการปฏิบัติทางทหารของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ว่า "เอ็งมาข้ามุด เอ็งหยุดข้าแหย่ เอ็งแย่ข้าตี เอ็งหนีข้าตาม"   ซึ่งทราบกันดีว่ามาจากยุทธวิธีของ "เมาเซตุง" ที่ว่า                 ๑. เมื่อข้าศึกรุก      เราถอย                 ๒. เมื่อข้าศึกหยุดพัก  เรารบกวน                 ๓. เมื่อข้าศึกอิดโรยหลีกเลี่ยงการสู้รบ   เราเข้าตี                 ๔. เมื่อข้าศึกถอย  เราติดตามทำลาย            ฉะนั้น ยุทธวิธีของเมาเซตุง จึงไม่ใช่ความคิดใหม่ของเมาเซตุงเลย  ที่แท้มาจากความคิดและ ทฤษฎีตามตำราพิชัยสงครามของซุนจู้นั่นเอง  ตำราพิชัยสงครามของซุนจู้ และเง่าคี้บรรพที่ ๑ การประมาณสถานการณ์ บรรพที่ ๒ การทำศึก บรรพที่ ๓ ยุทธศาสตร์การรบรุก บรรพที่ ๔ ท่าที   บรรพที่ ๑ การประมาณสถานการณ์   ซุนจู้ กล่าวว่า.....    สงครามเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของบ้านเมือง เป็นเรื่องถึงเป็นถึงตายเป็นหนทางเพื่อความอยู่รอด หรือความพินาศ ฉิบหาย จึงเป็นอาณัติที่จะ "ต้องศึกษาให้ถ่องแท้"         จงวางกำหนดขีดความสามารถด้วย "หลักมูลฐานสำคัญ ๕ ประการ" และเปรียบเทียบ  "องค์ประกอบ ๗ ประการ" จะทำให้ประเมินความจำเป็น และความสำคัญได้ถูกต้อง     หลักมูลฐานสำคัญ ๕ ประการ (ขวัญ- ลมฟ้าอากาศ - ภูมิประเทศ - การบังคับบัญชา - กฎเกณฑ์วิธีการ) ๑. ขวัญหมายถึง สิ่งที่ทำให้ประชาชนมีความกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผู้นำ ประชาชนย่อมร่วมทางกับผู้นำ แม้จะต้องไปก็ไม่กลัวอันตราย ไม่เสียดายแแต่ชีวิต ๒. ลมฟ้าอากาศหมายถึง ภาวะความเปลี่ยนแปลง อันเนื่องมาจากอิทธิพลของธรรมชาติ การปฏิบัติทางทหารที่จะทำให้เกิดความเหมาะสมกับฤดูกาล ๓. ภูมิประเทศ (ยุทธภูมิ) หมายถึง ระยะทาง ความยากง่ายของพื้นที่ที่จะต้องเดินทัพข้าม เป็นพื้นที่เปิดหรือพื้นที่ปิดล้อม และโอกาสของความเป็นความตาย ๔. การบังคับบัญชาหมายถึง คุณสมบัติของแม่ทัพ อันจะต้องประกอบด้วยความมีสติปัญญา ความมีมนุษยธรรม มีความมานะพยายาม และมีความเคร่งครัด ๕. กฎเกณฑ์ และวิธีการหมายถึง การจัดขบวนทัพ การควบคุม การมอบหมายงานให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา การวางเส้นทางการลำเลียงอาหารได้สม่ำเสมอ จัดหายุทโธปกรณ์ที่จำเป็นแก่กองทัพ  "ไม่มีแม่ทัพคนใดที่ไม่เคยได้ยินสาระสำคัญทั้ง ๕ ประการนี้ ใครที่เคยปฏิบัติได้ดี ครบถ้วนทุกอย่างย่อมเป็นผู้ชนะ ใครที่ปฏิบัติมิได้ย่อมพ่ายแพ้"             ในการวางแผน   ต้องเปรียบเทียบ  "สิ่งต่างๆ ๗ ประการ" ต่อไปนี้ด้วยการประมาณคุณค่าอย่างระมัดระวังที่สุดเสียก่อน "ผู้ปกครองคนใดที่มีอิทธิพลต่อขวัญของผู้คน ผู้บังคับบัญชาคนใดที่มีความสามารถเหนือกว่ากองทัพ อย่างไหนที่จะได้เปรียบในการใช้ภูมิประเทศและธรรมชาติ กฎเกณฑ์และคำสั่งอย่างไรที่ปฏิบัติแล้วจะดีกว่า ขบวนศึกอย่างไรจะเข้มแข็งกว่า"
หมายเลขบันทึก: 49450เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท