ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่


         ในการประชุมคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 ของ สสส. เมื่อวันที่ 7 ก.ย.49   เจ้าหน้าที่ของ สสส. ได้นำเสนอประสบการณ์การลงไปทำงานกับภาคีในพื้นที่   ว่าไป "เจอตอ" คือขยับงานไม่ออก   เพราะในพื้นที่มีการแบ่งพวกเต็มไปด้วยความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน

         ผมจึงเสนอว่า  ในการทำงานแบบ area-based นั้นต้องคำนึงถึงความเป็นจริง 2 ประการและความเชื่อ 1 ประการ

         ความเป็นจริงประการแรก   ในแต่ละพื้นที่จะมีคนที่ทำงานในลักษณะที่เรียกว่า "งานพัฒนา" มากมาย   ในหลากหลายมิติ  หลากหลายประเด็น  หลากหลายความเชื่อและอคติ   รวมทั้งจะมีทั้งความเป็นมิตร  เป็นศัตรูต่อกันอย่างซับซ้อนซ่อนเงื่อน

         ประการที่สอง  มีหน่วยเกื้อหนุนเข้าไปส่งเสริมนักพัฒนาในพื้นที่มากมาย   มีความหลากหลายและซับซ้อนซ่อนเงื่อนอีกแบบหนึ่ง

         ดังนั้น  การที่จะให้งานพัฒนา "สุขภาวะ" ในพื้นที่ดำเนินการแบบรวมตัวกันทำงานเป็นหนึ่งเดียว   ทำไม่ได้   ไม่ควรทำเพราะจะล้มเหลว

         ต้องดำเนินการแบบ "ขับเคลื่อนความซับซ้อน" (driving complexity) ให้เดินไปสู่เป้าหมาย "สุขภาวะ" ซึ่งก็มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนภายในตัวมันเอง

วิธีขับเคลื่อนความซับซ้อนทำโดย
        - แผนที่ความดี (Success Stories Mapping)
        - ตลาดนัดความสำเร็จ
        - Storytelling
        - มีคณะเลขานุการกิจ  คว้าความรู้จดบันทึกไว้ชื่นชมและนำไป re-use ยกระดับต่อ
        - ลปรร. กันด้วยวิธีการอื่น ๆ และแต่ละกลุ่มมีการจดบันทึกขุมความรู้ของตนเองด้วย

         นี่คือเคล็ดลับการใช้ KM เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนสุขภาวะในพื้นที่

         สคส. ส่ง KM ให้ สสส. ใช้ขับเคลื่อนสุขภาวะในพื้นที่และในวิธีการทำงานแบบอื่น ๆ ของ สสส. โดยตรงแล้วครับ

วิจารณ์  พานิช
 8 ก.ย.49

หมายเลขบันทึก: 49448เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน   ท่านอาจารย์

     เชื่อว่า "ความซับซ้อนซ่อนเงื่อน" มักแฝงอยู่กับการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในสังคม อีกมาก โดยเฉพาะหน่วยงานทางราชการ "ความลับลมคมใน" ยังมีให้เห็นอยู่เสมอค่ะ

     ขอรับวิธีการขับเคลื่อนความซับซ้อน ที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาแนะนำ นำไปใช้และนำไปบอกต่อเพื่อการต่อยอดความรู้ที่ไม่รู้จบค่ะ

     ขอบคุณค่ะ 

ขอบพระคุณคะอาจารย์...

พรุ่งนี้กะปุ๋มไปเป็นวิทยากรกระบวนการ KM ที่ สสจ.กาฬสินธุ์ได้...ความคิดต่อยอดแล้วคะ...ว่าจะขับเคลื่อนอย่างไรดี...แม้จะเป็นโจทย์ที่แตกต่างกันออกไป..แต่น่าจะก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้สำหรับตน...ต่อไปได้อีกคะ...

*^__^*

กะปุ๋ม

มีเรื่องเล่าจากชุมพรเป็น มรรควิธี ในการเดินไปสู่เป้าหมาย "สุขภาวะ" มาแลกเปลี่ยนครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท