บทเพลง พลังในการสร้างภาพฝันร่วม


บทเพลงของกะหรอเป็นเครื่องมือสร้างภาพฝันร่วมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งที่อื่น ๆน่าจะหยิบยืมไปใช้ได้
ตลาดนัดความรู้วันที่29ก.ย. มีการสร้างความรู้ที่สำคัญคือ การใช้บทเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงเป้าหมาย
และกระบวนการจัดการความรู้ของกะหรอซึ่งแกนนำชุมชนเป็นผู้แต่งเนื้อร้องและท่วงทำนอง 
โดยทีมวิจัยทั้ง 6คนได้ร่วมขับร้องให้เพื่อน ๆ ฟัง ทำให้ผมฉุกคิดขึ้นว่า อุดมการณ์ของชีวิตตามแนวคำสอนของศาสนา
ที่ผูกไว้กับเรื่องเล่า ตำนาน เพลงกล่อมเด็ก และฯลฯ จนซึมซับอยู่ในวิถีชีวิต วัฒนธรรม
ของชุมชนเป็นเครื่องมือสำคัญที่ได้ฝังรหัส(ภาพฝัน)ลงในชุมชนด้วยกระบวนการผลิตซ้ำด้วยพิธีกรรมและประเพณีต่าง ๆ
ซึ่งเป้าหมายของการจัดการความรู้ต้องการทำให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสวัสดิการชุมชน 
ธนาคารชุมชน วิสาหกิจชุมชนในกรณีต.กะหรอ เและสังคมดี คนมีความสุขด้วยพลังของสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาท
ในกรณีของสงขลา





ถ้าสามารถทำให้เป็นเป้าหมายของชุมชนและของสมาชิกทุกคนฝังรหัสลงในจิตสำนึกในระดับลึกเช่นที่เคยเป็นมา
ทั้งเรื่องการบวชเรียน ความพอเพียง เป็นต้น หรือการเข้ามายึดครองของอุดมคติของความร่ำรวย 
สิ่งนั้นแหละจะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนขบวนองค์กรการเงินชุมชนโดยการเป็นสร้างภาพฝันร่วมของคนในองค์กรและชุมชน

การวางเป้าหมายในการขับเคลื่อนบนอุดมการณ์ที่แฝงฝังอุดมคติเดิมของชุมชนคือการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ด้วยสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาทจึงเป็นความรู้ที่มาจากภูมิปัญญาในความเข้าใจชุมชนและสังคมไทย
อย่างดียิ่ง 
การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือที่จะมาช่วยให้เป้าหมาย(อุดมคติ)นั้นเป็นจริงได้เร็วขึ้นเท่านั้น
ผมเห็นว่า บทเพลงของกะหรอเป็นเครื่องมือสร้างภาพฝันร่วมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งที่อื่น ๆน่าจะหยิบยืมไปใช้ได้ครับ


 

หมายเลขบันทึก: 4944เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2005 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท