ประหยัดพลังงานในสำนักงาน


มาตรการประหยัดพลังงาน สำนักงาน กศน.จังหวัดนนทบุรี

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕

 

แนบท้ายแผนปฏิบัติการลดใช้พลังงาน สำนักงาน กศน.จังหวัดนนทบุรี ประจำปี ๒๕๕๕

ลำดับที่

มาตรการ

ผู้รับผิดชอบ

๑.

มาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

 

 

๑.๑.  การใช้เครื่องปรับอากาศ

        ๑) ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ ๒๖ องศาเซลเซียส หรือตามความเหมาะสม

        ๒) เปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงเวลา ๙.๓๐ - ๑๑.๓๐ น. และ           ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.

        ๓) ถ้ามีการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการและวันหยุดราชการ การเปิดเครื่องปรับอากาศต้องมีผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อย ๕ คน กรณีที่อยู่ปฏิบัติงานไม่ถึง    ๕ คน ให้ใช้พัดลมแทน

        ๔) ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่ไม่มีคนอยู่ในห้องเกิน ๑ ชั่วโมง

        ๕) ลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศโดยเปิด-ปิดประตู เข้า-ออก เท่าที่จำเป็น ระมัดระวังไม่ให้ประตูเปิดค้างไว้

        ๖) การดูแลเครื่องปรับอากาศ

          - ให้ดูแลทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ หน้ากากเครื่องปรับอากาศ และคอยล์ทำความเย็นอย่างน้อย ๒ เดือน/ครั้ง หรือ ๖ ครั้ง/ปี

          - ให้ทำความสะอาดแผงระบายความร้อน อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง

          - ตรวจสอบมิให้มีการนำสิ่งของไปวางขวางทางลมเข้า - ออก ของชุดระบายความร้อนที่อยู่นอกอาคาร

 

 

๑.๒  การใช้ไฟฟ้า/แสงสว่าง

        ๑) ตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าแสงสว่างในหน่วยงาน ให้เปิดเฉพาะจุดที่เห็นว่ามีแสงสว่างไม่เพียงพอ หรือพิจารณาเปิดในส่วนที่จำเป็น

        ๒) ปิดสวิตซ์ไฟในห้องทำงานระหว่างเวลาหยุดพักกลางวัน (๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐น.) ยกเว้น เฉพาะกรณีที่มีงานเร่งด่วน ให้เปิดเฉพาะจุดที่จำเป็นต้องใช้งาน

        ๓) ปิดสวิตซ์ไฟทุกครั้งเมื่อไม่มีคนอยู่

        ๔) ถอดปลั๊กหรือปิดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดหลังเลิกงาน

        ๕) การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการทั้งในวันราชการและวันหยุดราชการ ให้เปิดไฟ เพียง ๒ ใน ๓ ของจำนวนหลอดไฟทั้งหมด

        ๖) ติดสติ๊กเกอร์บริเวณสวิตซ์เปิด - ปิด ให้ทราบว่าเป็นของไฟดวงไหน

        ๗) เมื่อต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ให้ใช้เฉพาะอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เบอร์ ๕  ที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น

 

 

 

 

 

 

๑.

๑.๔  การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และพริ้นต์เตอร์

        ๑) ปิดจอภาพเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อไม่มีการใช้งานเกิน ๑๕ นาที โดยให้ตั้งเวลาปิดหน้าจออัตโนมัติ

        ๒) ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อไม่มีการใช้งานเกิน ๓๐ นาที และปิดอุปกรณ์เครื่องต่อพ่วงหลังเลิกงานและถอดปลั๊กออก

        ๓) ตั้งระบบ Screen Saver ให้ทำงานเพื่อรักษาคุณภาพหน้าจอ

        ๔) ตั้งค่ากำหนดให้ระบบประหยัดพลังงานอัตโนมัติที่มากับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงานเพราะจะช่วยประหยัดไฟฟ้า

        ๕) ใช้การแชร์เครื่องพิมพ์ (Printer  Server)

        ๖) ไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของราชการสำหรับดูหนัง ฟังเพลง หรือเล่นเกมส์

        ๗) ตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ในบริเวณที่มีการระบายความร้อนได้ดี

        ๘) ตรวจสอบและทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงอยู่เสมอ

        ๙) ควรตรวจทานข้อความบนจอภาพโดยใช้คำสั่ง Print Preview ก่อนทุกครั้ง

 

 

๑.๕ การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ

        ๑) ปิดและถอดปลั๊กไฟเครื่องใช้สำนักงาน เมื่อไม่จำเป็นหรือเมื่อเลิกใช้ เช่น โทรทัศน์ พัดลม กระติกน้ำร้อน เป็นต้น

        ๒) ให้กดปุ่มพัก (Standby Mode) เมื่อเลิกใช้เครื่องถ่ายเอกสาร หรือตั้งเวลาปิดระบบอัตโนมัติไม่เกิน ๓๐ นาที เพื่อเข้าสู่ Energy Save Mode

        ๓) กำหนดให้มีเวลาการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าร่วมกัน เช่น กระติกน้ำร้อน  เป็นต้น

 

 

 

๒.

มาตรการประหยัดน้ำมัน

๒.๑ ตรวจเช็คเครื่องยนต์ และบำรุงรักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานเสมอ ได้แก่

           - ตรวจเช็คเครื่องยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง และไส้กรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ

           - ตรวจเช็คลมยาง รวมทั้งสภาพรถยนต์โดยทั่วไป

๒.๒ จัดทำระเบียนคุมการใช้รถยนต์ และทำสถิติการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ แต่ละคันทุกเดือน รวมทั้งการเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กระทำโดยเคร่งครัด

๒.๓ ขับรถยนต์ด้วยความเร็วไม่เกินความเร็วสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้

           - บนทางธรรมดา ไม่เกิน ๙๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง

           - บนทางด่วน ไม่เกิน ๑๑๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง

           - บนทางด่วนมอเตอร์เวย์ ไม่เกิน ๑๒๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง

๒.๔ จัดระเบียบการใช้รถในการจัดส่งเอกสาร เพื่อลดการเดินทางและลดการใช้รถ ดังนี้

           - กรณีไม่เร่งด่วนให้ส่งเอกสารทางไปรษณีย์

           - หากเป็นเอกสารเร่งด่วนให้ใช้ E-Mail หรือโทรสาร (Fax)

๒.๕ กำหนดเส้นทางการใช้รถยนต์ในการไปปฏิบัติงานนอกสถานที่โดยให้มีการวางแผนก่อนเดินทางล่วงหน้า

๒.๖ ไม่ติดเครื่องยนต์ขณะจอดรถคอย และดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อจอดรถยนต์เป็นเวลานาน

๒.๗ ไม่เลี้ยงคลัตซ์ หรือเอาเท้าแช่ไว้ที่คลัตซ์ระหว่างขับและให้ใช้เกียร์ให้สัมพันธ์กับความเร็วรอบของเครื่องยนต์

 

๓.

มาตรการด้านการใช้โทรศัพท์และโทรสาร

๓.๑ ใช้โทรศัพท์เฉพาะเรื่องที่จำเป็น และไม่ควรใช้ครั้งละนานๆ

๓.๒ ก่อนการโทรออกทางไกลทุกครั้ง ให้กดรหัส ๑๒๓๔

๓.๓ การส่งหนังสือที่ไม่เร่งด่วนให้งดส่งทาง Fax

 

๔.

มาตรการด้านการใช้บริการไปรษณีย์

๔.๑ ส่งหนังสือสำคัญให้ส่งโดยวิธีการลงทะเบียนธรรมดาหรือลงทะเบียนตอบรับ

๔.๒ หากเรื่องใดส่ง Fax แล้ว ไม่ควรส่ง EMS

 

๕.

มาตรการอื่นๆ

๕.๑ เอกสารที่ไม่สำคัญควรใช้กระดาษสองหน้า

๕.๒ ให้ใช้แผ่น CD บันทึกข้อมูลแบบที่สามารถบันทึกซ้ำได้ ให้ Back Up ข้อมูลเก็บไว้ในแผ่น CD ให้เรียบร้อยก่อน แล้วนำมาใช้ใหม่

 

คำสำคัญ (Tags): #กศน
หมายเลขบันทึก: 494165เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะพยายามช่วยนะ ต้องช่วยกัน 55555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท