ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรม


                               ท่านเคยได้อ่านข่าวนี้หรือยัง
 
"ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สภาจุฬาฯ ถอนปริญญาเอก “ศุภชัย หล่อโลหการ” ไม่มีผลย้อนหลัง “บวรศักดิ์”แจงในอดีตอาจจะใช้โดยสุจริต"
จากแหล่งข่าว "Thaibublica"
http://thaipublica.org/2012/06/plagiarism-5/

 

"สวรรค์ล่ม ! "ศุภชัย หล่อโลหการ" ถูก สภาจุฬาฯเพิกถอน"ดอกเตอร์""
จากแหล่งข่าว "Matichon Online"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340770233&grpid=03&catid=03
 
โปรดอ่านรายละเอียดในข่าวดังกล่าวข้างต้นเพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจคำว่าคัด ลอก เลียนแบบ ซึ่งอยู่ในกฎหมายลิขสิทธิ์ โดยเฉพาะท่านที่อยู่ในวงการวิชาการและ/หรืองานวรรณกรรม  ทั้งนี้ แม้ว่ากรณีข่าวข้างต้นจะเป็นการเพิกถอนปริญญาบัตร ยังไม่มีการวินิจฉัยโดยศาลว่าเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่  แต่ผู้เขียนก็ปรารถนาที่จะให้พวกเราที่เป็นนักเขียนโดยอาชีพหรือโดยใจรักมีความระมัดระวังในเรื่องนี้เป็นอย่างมากเพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อพิพาทโดยไม่จำเป็น

                

 
ในบันทึกนี้ จึงขอเชิญชวนท่านกัลยาณมิตรนักเขียนผู้มีใจรักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และชอบสร้างสรรค์งานวรรณกรรมมาทำความรู้จักกฎหมายลิขสิทธิ์กันหน่อยค่ะ เพื่อป้องกันมิให้ประมาทพลาดพลั้งไปคัด ลอก หรือเลียนแบบงานของเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ทราบว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย โดยจะมุ่งเน้นการอธิบายถึง "ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรม" เท่านั้น  เนื้อหาสาระอาจจะเข้มข้นพอสมควร เนื่องจากเป็นการประมวลมาตราที่จำเป็นและเกี่ยวข้องมาไว้ในที่นี้ให้มากที่สุด
 
 
นิยามคำสำคัญที่เกี่ยวข้อง
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗
มาตรา ๔
"ผู้สร้างสรรค์" หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้
"ลิขสิทธิ์" หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น 
"วรรณกรรม" หมายความว่า งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย
 
คำอธิบาย 
คำว่าผู้สร้างสรรค์หมายถึง ผู้แต่ง ประพันธ์ สร้างสรรค์ หรือทำงานนั้นขึ้น ซึ่งอาจมีเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ โดยอาจจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้นหรือไม่ใช่ก็ได้  ในขณะที่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อาจจะเป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นเอง หรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยผลของกฎหมายหรือสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้สร้างสรรค์กับบุคคลอื่นนั้นก็ได้
 
คำว่า "ลิขสิทธิ์"   ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของทรัพย์สิน โดยเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ แต่มีค่าสำหรับผู้เป็นเจ้าของ ซึ่งได้รับการรับรองตามกฎหมายที่ให้มีสิทธิโอนหรือจำหน่ายผลงานของตนเองได้ทุกรูปแบบเท่าที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
 
อรพรรณ  พนัสพัฒนา ได้กล่าวไว้ในหนังสือคำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์ว่าองค์ประกอบของงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้แก่ เป็นการแสดงออกซึ่งความคิด (expression of ideas) และ เป็นการสร้างสรรค์ด้วยตัวเอง (originality)

 

 
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
โดยระบบอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนหรือแสดงสงวนลิขสิทธิ์ให้ปรากฎไว้ที่งานไม่ว่าจะเป็นงานประเภทใดก็ตาม  
 
 
การละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
 (๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง (๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
 
"ทำซ้ำ" หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพจากต้นฉบับจากสำเนาหรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายความถึงคัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
 
"ดัดแปลง" หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
 
"เผยแพร่ต่อสาธารณชน" หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง การบรรยาย การสวด การบรรเลงการทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น
 
 
ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา ๓๒ การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท
(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
 (๖) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ โดยผู้สอนเพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(๗) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ 

มาตรา ๓๓ การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง
 
 
สำหรับกรณีงานศึกษาและงานวิจัย
ตามพจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕  คำว่า “วิจัย” แปลว่า การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา และคำว่า “ศึกษา” แปลว่าการเล่าเรียน ฝึกฝนและอบรม ดังนั้น การวิจัยหรือศึกษา จะต้องเป็นการใช้ความอุตสาหะวิริยะในการสร้างสรรค์งานของตนเองขึ้นมาใหม่  และย่อมไ้ด้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์

 

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่จะต้องเขียนหนังสือ ตำรา บทความ และจะต้องมีการนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาประกอบด้วย  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสดงให้เห็นว่างานที่ยกมานั้นใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์  ซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์  อย่างเช่น การอ้างที่มา และชื่อผู้สร้างสรรค์ไว้ด้วย  ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าว จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของเกินสมควร
 
คดีตัวอย่าง  ๑  สถาบันศึกษาแห่งหนึ่งมีนักศึกษา ๕,๐๐๐ คน ได้ทำสำเนางานของ นาย ก. ประมาณครี่งหนึ่งของงานออกพิมพ์ขายนักศึกษาเพื่อประโยชน์ในการศึกษาโดยไม่แสวงหากำไร ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ โดยมีจำนวนเกินกว่าความจำเป็น
 
คดีตัวอย่าง  ๒  จำเลยคัด ลอก หรือเลียนแบบงานวรรณกรรมของโจทก์มาประมาณ ๓๐ หน้า จากจำนวนทั้งหมด ๑๕๐ หน้า อันถือว่าเป็นงานบางตอนก็ตาม แต่ว่างานบางตอนของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นเนื้อหาสาระสำคัญและมีปริมาณมาก จึงถือว่าเป็นการคัด ลอก หรือเลียนงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเกินสมควร
 
 
บทลงโทษทางแพ่ง
๑. ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร โดยคำนึงถึงความร้ายแรงของความเสียหาย รวมทั้งการสูญเสียประโยชน์ และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการบังคับตามสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ (มาตรา ๖๔)
๒. ในกรณีที่มีหลักฐานโดยชัดแจ้งว่าบุคคลใดกระทำการหรือกำลังจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวระงับหรือละเว้นการกระทำดังกล่าวนั้นได้ และไม่ตัดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าเสียหายตาม ๑.  (มาตรา ๖๕)
๓. ค่าปรับที่ได้ชำระตามคำพิพากษาให้จ่ายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นจำนวนกึ่งหนึ่ง แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งสำหรับส่วนที่เกินจำนวนเงินค่าปรับที่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับแล้วนั้น (มาตรา ๗๖)
 
 
บทลงโทษทางอาญา
๑. ผู้ใดกระทำการอันละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา ๓๑ "ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(๑) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(๓) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
(๔)  นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร"
ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสี่แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๗๐)
๒. ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีกต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น (มาตรา ๗๓)
 
 
หมายเหตุ 
เนื่องจากผู้เขียนจะต้องออกเดินทางไปต่างจังหวัดในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้านี้  แต่เห็นว่าเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์เฉพาะงานวรรณกรรม เป็นเรื่องจำเป็นเร่งเด่วนที่มีผลกระทบต่อบางท่านที่อาจจะยังไม่ทราบถึงความเสี่ยงในการเขียนงานวรรณกรรมโดยคัด ลอก เลียนแบบมาอย่างไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา  จึงขอรวบรวมเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นไว้ในบันทึกนี้ก่อน และจะมาอธิบายขยายความ รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมในโอกาสต่อไปโดยเร็ว  หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

 

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พศ ๒๕๓๗
https://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf
                          ขอบพระคุณทุกท่านที่แวะมาอ่าน

              

หมายเลขบันทึก: 494161เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

ได้เข้าใจ ในลิขสิทธิ์ มากขึ้นครับ ขอบคุณครับ

เรียน อาจารย์นพลักษณ์ ๙ ครับ

ผมอยากรบกวนอาจารย์เข้าไปตอบปัญหาท่านสุดท้ายที่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ให้หน่อยนะครับ เนื่องจากผมไ่ม่ใช่นักกฎหมาย อาจจะไม่แม่นยำและตรงนักครับ

กฎหมายลิขสิทธิ์ : การนำ "ภาพ" มาประกอบการเขียน

ขอบคุณนักขนาดครับ ;)...

ขอขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ :)

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่นำมาแบ่งปันค่ะ

  • สวัสดีค่ะท่านอ.ศิลา
  • มีปราชญ์หลายท่าน และผู้เชี่ยวชาญหลายท่านที่มีความรู้ความสามารถ
  • แต่ไม่ได้จดลิขสิทธิ์ด้วยความที่ไม่รู้กฏหมาย
  • มักจะถูกผู้อื่นไปจดลิขสิทธิ์งานประดิษฐ์ ฯ เป็นของตนเอง
  •  ขอบคุณที่ได้เผยแพร่ค่ะ

วิ่งไปบอก คุณชลัญ GTK ดีไหมเนี่ย ในกรณีนั้น สมาชิก และหรือ กลุ่ม GTK จะทำอย่างไร??

ให้รายละเอียดดีมากเลยครับ กำลังต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมากเลยครับ ขอบคุณครับ

  • ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ ตอนนี้อยู่ที่ประจวบคีรีขันธ์ ใช้ ipad พิมพ์ ยังไม่ได้ซื้อ keyboard มาใช้ พิมพ์ไม่ค่อยถนัดค่ะ  แต่พอดีมีประเด็นอยากตอบในโอกาสแรกก่อนค่ะ
  • ประเด็นที่ว่าคือลิขสิทธิ์ไม่ต้องจดทะเบียนนะคะ ลิขสิทธิ์คุ้มครองงานสร้างสรรค์ที่เป็นการแสดงออกซึ่งความคิดและเป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง กฎหมายคุ้มครองโดยอัตโนมัติ 
  • กรณีภาพถ่าย ไม่ได้ถ่ายเองต้องอ้างแหล่งที่มาด้วยค่ะ เว้นแต่หาแหล่งอ้างอิงไม่ได้ กับอีกกรณีหนึ่งคือขออนุญาตเจ้าของลืขสิทธิ์แล้ว
  • ส่วนกรณีผลงานของนักปราชญ์อาจจะเป็นเรื่องสิทธิบัตร ซึ่งต้องจดทะเบียนค่ะ และกรณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่สืบทอดกันมาอาจจะมีความคาบเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิบัตร และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาเหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด ดังนั้นลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ จะขอทะยอยให้ข้อมูลในโอกาสต่อไปค่ะ

".....การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์

โดยระบบอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนหรือแสดงสงวนลิขสิทธิ์ให้ปรากฎไว้ที่งานไม่ว่าจะเป็นงานประเภทใดก็ตาม....."

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณมากนะคะ...


เห็นด้วยนะคะ...กว่าจะคิดงานวิจัย 1 เรื่องน้องใช้ทั้งพลังต่างๆ มากมายทั้ง เงิน  ปัญญา  สมอง ความเครียดฯลน

  • ขอบคุณคุณแว่นธรรมทองที่แวะมาค่ะ เชื่อว่าหลายท่านทราบดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะท่านที่เป็นสมาชิก g2k มานานและท่านที่อยู่ในวงการวิชาการค่ะ แต่ที่เขียนบันทึกนี้เนื่องจากเห็นว่าเริ่มมีสมาชิกใหม่เข้ามาใน g2k เรื่อยๆ อาจจำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลเพื่อแนะนำด้วยความปรารถนาดีอีกครั้งค่ะ
  • จริง ๆ แล้วสิ่งที่เขียนก็มีีคนเขียนไว้เยอะ บันทึกนี้เพียงรวบรวมมาตราที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดค่ะ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับบันทึกที่เตือนใครต่อใครได้หลายคน

ขอบคุณความรู้ดีๆค่ะ

  • อาจารย์นพลักษณ์ ๑๐ Blank แวะไปตอบแล้วนะคะ คำถามโยงใยพอสมควร จริง ๆ การตอบปัญหาแบบนี้ ต้องมานั่งคุยกันค่ะ ตกลงข้อกล่าวหาที่เจ้าของตลาดฟ้องคืออะไรแน่ ถ้าเป็นเรื่องละเมิดลิขสิทธิ์คงเป็นไปไม่ได้ เพราะคุณบัวแดงเป็นคนถ่ายภาพเอง แต่ถ้าเป็นเรื่องเครื่องหมายการค้าที่เขาไปจดทะเบียนก่อนแล้ว กล่าวหาได้ค่ะ แต่ก็ต้องไปพิสูจน์ที่ศาลว่าภาพถ่ายที่ใช้คือเครื่องหมาย/สัญลักษณ์เดียวกันหรือเปล่า
  • ขออภัยที่ตอบช้าไปหน่อยนะคะ เพิ่งกลับมาถึงบ้านและใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องเป็นราว เวลาใช้ไอแพด ไม่ค่อยถนัดเขียนอะไรยาว ๆ เลยค่ะ เรียกว่ายังไม่ลงทุนซื้อบูรทูธคีย์บอร์ดก็อย่างนี้แหละค่ะ 
  • ขอบคุณคุณหนูรี Blank   ที่แวะมาอ่านค่ะ
  • ขอบคุณคุณ ..ปริม pirimarj..Blank  ค่ะ เห็นหน้าบ่อย ๆ รู้สึกอบอุ่นใจค่ะ
  • สวัสดีคุณเอื้องแซะ Blank ค่ะ ไม่ค่อยได้พบกันเสียนาน ยังระลึกถึงเสมอนะคะ จดจำคนเก่า (ไม่แก่) ใน g2k ได้ทุกคนเลยค่ะ 
  • ผลงานของนักปราชญ์หากเป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่จากเดิม ไปจดสิทธิบัตรได้ค่ะ แต่หากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ต้องจดค่ะ อย่างไรก็ตาม มีภูมิปัญญาท้องถิ่นบางอย่างที่มีบริษัทผู้เชี่ยวชาญต่างชาตินำไปพัฒนาขึ้นจากเดิมและไปจดสิทธิบัตร กรณีนี้เราจะเสียเปรียบอย่างมากค่ะ เลยเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "โจรสลัดชีวภาพ" ค่ะ
  • ขอบคุณอย่างมากเลยค่ะที่กรุณาแวะมาเยี่ยมเยียน
  • ยินดีอย่างยิ่งที่ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ค่ะ คุณวิชญธรรม    Blank
  • ประเด็นที่ท่านชัด บุญญา Blank ยกมาเป็นสาระสำคัญทีเดียวเลยค่ะ บางท่านยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่ ส่วนหนึ่งมาจากกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามีหลายตัว เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และแตะละตัวบทกฎหมายก็จะมีความเหมือนและต่างเหลื่อมล้ำกันอยู่ค่ะ 
  • ขอบคุณท่านมากค่ะที่กรุณาแวะมาเยี่ยมเยียน
  • ขอบคุณค่ะคุณSomsriBlank ลิขสิทธิ์คุ้มครองผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ยิ่งในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์งานเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อยู่แล้ว หากต้องทำงานวิจัย/วิทยานิพนธ์สักเรื่องหนึ่ง ล้วนแต่ใช้ความอุตสาหะวิริยะและความคิดสร้างสรรค์ค่ะ กฎหมายจึงต้องค้มครองค่ะ
  • เรื่องนี้พลั้งเผลอกันได้ ตั้งใจเตือนตัวเองด้วยเหมือนกันค่ะ คุณ krugui Blankและก็ดีใจที่หากจะเป็นประโยชน์กับหลายท่านค่ะ

ซึ้งใจ ขอบคุณมากครับ ;)...

  • ขอบคุณมากครับ
  • ที่ให้ความรู้
  • พี่สบายดีไหมครับ

อาจารย์นพลักษณ์ ๑๐ ติดค้างกาแฟหนึ่งแก้วนะคะ

  • สบายใจแต่ไม่ค่อยสบายกายเลยค่ะ ท่านอาจารย์ขจิต สะบักสะบอมกับการเดินทางบ่อย ๆ รู้สึกอยากเป็นเจ้าหญิงนิทรานอนยาวสักเดือนหนึ่งเลยค่ะ
  • หวังว่าท่านอาจารย์จะสบายดีนะคะ ช่วงนี้หน้าฝน หากอยู่บ้าน ไม่ได้ไปไหน จะรู้สึกเย็นสบายนะคะ

ขออนุญาตนำบันทึกนี้ใส่ไว้ในส่วนท้ายของ GotoKnow ค่ะพี่ศิลา เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงให้สมาชิกและผู้อ่านทุกท่านได้เข้าถึงเนื้อหานี้ได้สะดวกยิ่งขึ้นค่ะ

ขอบคุณมากค่ะพี่

ยินดีอย่างยิ่งค่ะ ท่านอาจารย์จันทวรรณBlank

ไวรัสกินคอมฯ..เกิดความเสียหายทางข้อมูล..คนกินปัญญาชน..ทำความเสียหายให้กับจิตมโนธรรม

เข้าใจแล้ว80 ํ/.คอยติคตามต่ออีก

ขอบคุณครับ

กำลังโดนอยู่คะ ไม่มีความรู้ทางด้านนี้เลย ไม่คิดว่าความตั้งใจทำงานให้สำเร็จมันเหนื่อยยากต้องคิดและหาข้อมูล สมองไม่ต้องพักผ่อน แต่สิ่งที่ตั้งใจทำมากับมือ กลายเป็นผลงานเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ให้กับคนที่ไร้จรรยาบรรณ จิตใต้สำนึกความดีของคนเราอยู่ที่ไหนกันนะ....ความยุติธรรมที่ไร้ยุติธรรม เข้าใจเลยคะตอนนี้ว่ามันจุก. T^T

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท