ลีซ่าจับมือ ม.มิชิแกนใช้ภาพกล้อง “รอทซี” เสริมการเรียนรู้ดาราศาสตร์แก่เด็กไทย


โครงการลีซ่า สกว. เตรียมจับมือ โครงการรอทซี ม.มิชิแกน สหรัฐฯ เปิดโอกาสให้เด็กไทยได้ใช้ภาพถ่ายจากกล้องโทรทัศน์ “รอทซี” เป็นสื่อใหม่ในการเรียนรู้ดาราศาสตร์ หมายศึกษาปรากฏการณ์บนห้วงเวหา

โครงการลีซ่า สกว. เตรียมจับมือ โครงการรอทซี ม.มิชิแกน สหรัฐฯ เปิดโอกาสให้เด็กไทยได้ใช้ภาพถ่ายจากกล้องโทรทัศน์ “รอทซี” เป็นสื่อใหม่ในการเรียนรู้ดาราศาสตร์ หมายศึกษาปรากฏการณ์บนห้วงเวหา

ในการเรียนวิชาวิทย าศาสตร์- ศาสตร์ด้านดวงดาวดูจะเป็นศาสตร์หนึ่งที่มีเสน่ห์ดึงดูดน้องๆ เยาวชนของเราได้ไม่น้อย ซึ่งก็อาจจะเป็นไปด้วยความกว้างใหญ่ไพศาลของจักรภพ, ความลึกลับในห้วงเวหา หรือแม้แต่จินตนาการที่ถูกเพิ่มเสริมเติมแต่งในภาพยนตร์แนวไซไฟ (Sci-Fi) สุดโปรดเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็เป็นได้

รศ.สุชาตา ชินะจิตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน การเรียนดาราศาสตร์เป็นความรู้ใหม่ที่ถูกบรรจุเข้าสู่หลักสูตรก ารศึกษาของชาติตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา มีเนื้อหาหลักได้แก่ ทรงกลมท้องฟ้า กลุ่มดาว ระบบสุริยะ และดาราจักร ฯลฯ ทว่าการเรียนการสอนส่วนใหญ่ยังเป็นไปในลักษณะการอ่านหนังสือท่อ งจำ เนื่องจากขาดแคลนสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นๆ ในส่วนของครูอาจารย์ส่วนใหญ่เองก็ขาดความมั่นใจในการสอน เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ตรง และยังยึดติดว่ากิจกรรมดาราศาสตร์จะทำได้แต่ในเวลากลางคืนเท่าน ั้น การเรียนการสอนดาราศาสตร์ให้ห้องเรียนจึงเป็นไปอย่างกระท่อนกระ แท่น

อย่างไรก็ดี เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สกว. จึงได้จัดตั้งโครงการศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ หรือลีซ่า (LESA: Learning center for Earth Science and Astronomy) ขึ้น เพื่อพัฒนาแนวทางการเรียนรู้ของเยาวชนและครูด้วยกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดความตื่นตัวเรียนรู้ดาราศาสตร์ในโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยนักเรียนจะได้ศึกษาจากโจทย์ที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติจริงแล ะได้ฝึกปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน

ความคืบหน้าล่าสุด สกว.กำลังจะจัดให้มีการลงนามความร่วมมือระหว่าง สกว. กับมหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย ศ.คาร์ล เอเคอร์ลอฟ (Carl Akerlof) หัวหน้า
โครงการรอทซี (ROTSE: Robotic Optical Transient Search Experiment) ขึ้น เพื่อทำให้ศูนย์ลีซ่าได้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ สำหรับเยาวชน เช่น ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดาวระเบิด และฝนดาวตก ผ่านการใช้ภาพถ่ายจากกล้องโทรทัศน์ที่ติดตั้งไว้รอบโลกของรอทซี มาเป็นสื่อในการสอนดาราศาสตร์ให้เยาวชนไทยในโครงการลีซ่า เพื่อเปิดโอกาสในการพัฒนานักดาราศาสตร์รุ่นเยาว์ที่มีมาตรฐานทั ดเทียมกับต่างประเทศต่อไป

ทั้งนี้ นอกจากการลงนามความตกลงดังกล่าวแล้ว สกว.ยังจะจัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ “ปฏิวัติเรียนรู้ดาราศาสตร์ไทยด้วยกล้องรอทซี” ด้วย ในวันศุกร์ที่ 14 ก.ค.นี้ เวลา 9.30-12.00 น. ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 49410เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 05:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท