การขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษา: อีสานตอนบน_04_โรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม ร้อยเอ็ด


วันที่ 21 มิถุนายน  2555 ผมและ ผศ.ไพรัตน์ เดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม ที่ตั้งอยู่ ณ กิ่งอำเภอเชียงขวัญ  จ.ร้อยเอ็ด (อยู่ห่างจากตัวจังหวัดเพียงประมาณ 10 กิโลเมตร) ดูเว็บไซต์ของโรงเรียนได้ที่นี่ครับ  เป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ ปศพพ. ด้วยการนำของ ผอ.ระวี ขุณิกากรณ์ และ อาจารย์ฉลาด ปาโส ท่านทั้งสองได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ไว้ที่นี่ครับ.... ส่วนบันทึกต่อไปนี้เป็นเพียงความคิดเห็นและสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากท่านทั้งสองซึ่งอาจจะบกพร่องผิดถูกได้นะครับ...ดังนั้นอย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ...

ต่อข้อ "หัวปลา" ที่ว่า ผอ.ทำอย่างไรให้โรงเรียนได้เป็นศูนย์  ผอ.ระวี ตอบว่าอย่างนี้ครับว่า สร้างครูก่อน จากนั้นให้ครูสร้างนักเรียน  ท่านขยายให้ฟัง ผมจับประเด็นได้ว่า 

    ที่ ร.ร.เชียงขวัญเน้น "การมีส่วนร่วม" ที่สุด การสร้างครูนั้นให้โอกาสครูทุกคนในโรงเรียน โดยไม่ฝืนความคิดเห็นของแต่ละคน เปิดโอกาสใด้ "ลองผิดลองถูก" ตามแนวความคิดของตนเอง ซึ่งตอนแรกครูส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า ปศพพ. คือเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรพอเพียง ครูหลายคนจึงทำฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตร เช่น พานักเรียนปลูกกล้วย เป็นต้น ต่อมาเมื่อนำแต่ละเรื่องมาทำการ "ถอดบทเรียน" (ถอดประสบการณ์) เช่น ถามว่าทำไมปลูกกล้วย ปลูกที่ไหน ปลูกอย่างไร เป็นไปตามหลักวิชาการหรือไม่ สอดคล้องกับหลัก ปศพพ. อย่างไร เป็นต้น ปรากฎว่า ทำให้ครูเริ่มเข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ จนตกผลึกร่วมกันว่า ปศพพ.ในโรงเรียนคือ ปศพพ.เพื่อการศึกษา ไม่จำเป็นต้องการเกษตรอย่างเดียว เข้าใจว่า ปศพพ.คือหลักคิด ในการดำเนินการชีวิต ไม่ใช่รูปแบบหรือวิธีการ 

   ผอ.ระวี เล่าว่า ท่านคัดเลือกครูที่กระตือรือร้น สนใจ ขยัน มาเป็นครูแกนนำชุดแรก จากนั้นให้ครูแกนนำพานักเรียนแกนนำถอดบทเรียนอีกทอดหนึ่ง โดยให้คณะกรรมการนักเรียนเป็นนักเรียนแกนนำกลุ่มแรก ด้วยการทำกระบวนการ "ถอดบทเรียน" บ่อยๆ แต่มีข้อห้ามในช่วงต้นว่า ห้ามพาถอดบทเรียนเกี่ยวกับการเกษตร และฝึกให้นักเรียนได้ฝึกการนำเสนอด้วย

    ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ ผอ.ระวี คือ อ.ฉลาด ปาโส  ผมทราบภายหลังว่าท่านเคยเป็นศิษย์อาจารย์กันมาก่อน ในอีกมุมมองหนึ่งก็คือ ท่านสร้างอ.ฉลาด ขึ้นมากับมือ....ข่าวล่าสุดว่า ท่านกำลังมอบโจทย์ให้ อ.ฉลาด สร้างรุ่นต่อไปได้แล้ว... ในใจผมเชียร์ให้ อ.ฉลาด ทำหัวข้อวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ (ท่านกำลังเรียน ป.เอก ที่ มมส.)...ผมขอไม่เขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้จาก อ.ฉลาดในบันทึกนี้ เพราะผมได้เรียนรู้เยอะมาก จึงอาจทำให้บันทึกยาวจนไม่น่าอ่านไป แต่สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นปัจจัยที่แท้จริงของความสำเร็จของเชียงขวัญคือ "ความชัดเจนอย่างมีส่วนร่วม" ดังตัวอย่างในภาพนี้ 

   

คำสำคัญ (Tags): #21st century skills#plc#ปศพพ.
หมายเลขบันทึก: 494090เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012 01:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012 01:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท